วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นม/ครีมเทียม มีชื่อต่างๆกันมันคืออะไร


รีดนมแบบอุตสาหกรรม

วิธีการทำนมข้นหวานใช้เอง

-นมผง  ¾ ถ้วยตวง33.33%
-น้ำตาลทรายละเอียด ¾ ถ้วยตวง33.33%

ผสมนมผงกับน้ำตาลให้เข้ากันพักรอไว้

-เนยสด  3 - 4 ช้อนโต๊ะ11.11%
-น้ำร้อนจัด ½ ถ้วยตวง


เติมเนยสดลงผสมในน้ำร้อน คนจนละลายหมด  แล้วค่อยๆเติมส่วนผสมนมผงกับน้ำตาลลงไปพร้อมกับคนด้วยตะกร้อมือตลอด อย่าให้มีจับตัวเป็นก้อน  กวนไปเทไปจนหมดและส่วนผสมเนียนหน้าตาเหมือนนมข้นหวาน  
ถ้าจะให้ดีใส่ลงในเครื่องปั่นผสมอาหารจะทุ่นแรงและเนียนกว่า

ส่วนผสมตามข้างบนนี้จะได้นมข้นหวานประมาณเท่ากับ 1 กระป๋องนมข้นที่ขายกันทั่วไป  แต่คุณภาพของที่เราทำเองย่อมเหนือชั้นกว่า 

~~~~~~

มีข่าวในเว็บไซต์ของ อย. ไทยมาฝากครับ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคทุกท่าน
จากการแถลงข่าวของ อย. เมื่อวานนี้ (15 ต.ค. 51) ผลการสุ่มตรวจนมข้นแปลงไขมันไม่หวาน สูตรน้ำมันปาล์ม ตรามะลิ ชนิดกระป๋อง พบสารเมลามีน 92.82 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก จึงขอให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ งดใช้ผลิตภัณฑ์รุ่นดังกล่าว เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย. ทำหนังสือแจ้งบริษัท ผู้ค้าปลีก และ สสจ. ให้เรียกคืนสินค้าออกจากท้องตลาดแล้ว

(ภาพจากเว็บของ อย. http://www.fda.moph.go.th )
อย.ได้ตรวจผลิตภัณฑ์ของบริษัทเดียวกันนี้ 10 รายการ พบปนเปื้อน 1 รายการ ไม่ปนเปื้อน 6 รายการ และยังรอผล 3 รายการ

หรือที่ http://www.fda.moph.go.th/

นมข้นแปลงไขมันหวาน



ครีมเทียมข้นหวาน / ครีมเทียมพร่องไขมัน 


โปรดสังเกต! นมข้นหวาน กับ ครีมเทียมหวาน ไม่เหมือนกันนะคะ แม้จะมีหน้าตาและรสชาติคล้ายๆ กัน โดยปรกติแล้ว นมข้นหวาน (Sweetened Condensed Milk) คือนมที่ระเหยน้ำออกบางส่วนแล้วเติมน้ำตาลลงไปเพื่อรักษาไม่ให้นมบูดเน่า โดยอาศัยหลักที่ว่าน้ำตาลจะทำให้มี Osmotic pressure สูง แบคทีเรียส่วนมากจะไม่สามารถเจริญ และขยายพันธุ์ในน้ำเชื่อมที่มีความเข้มข้นสูง ได้ปริมาณน้ำตาลในนมข้นหวานอยู่ในระหว่าง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณของไขมันในนมข้นหวานมีตั้งแต่น้อยมาก (นมข้นหวานชนิดหางนม) จนถึง 9 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเนื้อนมมีตั้งแต่ 22-28 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณน้ำมีตั้งแต่ 24-27 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักสุทธิของนมข้นหวานหนึ่งกระป๋องหนัก 397 กรัม ส่วนประกอบของนมข้นหวานแตกต่างกันในแต่ละบริษัท โดยทั่วไปแล้วนมข้นหวานที่มีปริมาณไขมันต่ำจะมีราคาถูกกว่านมที่มีปริมาณไขมันสูง ชนิดของไขมันก็ทำให้ราคานมข้นหวานแตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิต ถ้าต้นทุนการผลิตสูง ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย

ชนิดของนมข้นหวาน
นมข้นหวานได้มาจากกรรมวิธีที่ต่างกันอย่างน้อยสองวิธี วิธีหนึ่งคือใส่น้ำตาลลงในนมสดแล้วระเหยน้ำออกจนเป็นนมข้นหวาน อีกวิธีหนึ่งคือเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ของนมซึ่งแยกกันอยู่ เช่น น้ำมันเนย นมผงและน้ำมารวมกัน เติมน้ำตาลลงไปแล้วระเหยน้ำส่วนที่เกินออกเสียบ้าง วิธีนี้เรียกว่า Recombined หรือ Reconstituted milk

นมข้นหวานมีหลายชนิดพวกที่ไม่มีไขมันเรียกว่า นมข้นหวานหางนมหรือ Sweetened Condensed Skim milk พวกที่มีไขมันเนย 8-9 เปอร์เซ็นต์ เรียก Sweetened Condensed Full Cream Milk นมข้นหวานที่ใช้น้ำมันพืชแทนน้ำมันเนยเรียก Sweetened Condensed Full Milk

ประโยชน์ของนมข้นหวาน
การใช้นมข้นหวานของคนไทยบางครั้งใช้เป็นของหวาน เช่น ใช้ขนมปังหรือข้าวหลามจิ้มนมข้นหวาน หรือใช้นมข้นหวานราดไปบนขนมซึ่งใส่น้ำแข็ง เมื่อจะใช้นมข้นหวานชงเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชา หรืออื่น ๆ เราก็มักใส่นมข้นหวานลงไปมาก ๆ การบริโภคนมข้นหวานเป็นจำนวนมากนี้เนื่องจากผู้บริโภคส่วนมากเป็นผู้ที่ต้องใช้แรงงาน เมื่อกินของหวานเข้าไปก็รู้สึกสดชื่นมีเรี่ยวแรง เพราะนมข้นหวานเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง แต่ก็ไม่เป็นอาหารที่สมบูรณ์ (unbalance) นอกจากจะเติมนมผงหรือน้ำนมถั่วเหลืองลงไปในนมข้นหวาน

ประโยชน์ของนมข้นหวานนอกจากจะใช้บริโภคโดยตรงแล้ว ยังใช้ในการทำขนมอบต่าง ๆ ทำไอศกรีม ทำลูกกวาด ทำขนมพาย เอแครและน้ำสลัดชนิดครีม (Mayonnaise) ได้อีกด้วย

นมข้นหวาน 1 ช้อนชา (ตักแบบร้านกาแฟ) หนักโดยเฉลี่ย 15.7 กรัม มีคุณค่าทางอาหารดังนี้
พลังงาน 62.3 แคลอรี
โปรตีน 1.2 กรัม
วิตามิน เอ 111 หน่วยสากล
วิตามิน ดี 11.55 หน่วยสากล
วิตามิน บี 1 0.0774 มิลลิกรัม
นมชง 1 แก้ว (250 มิลลิลิตร) ถ้าใช้นมข้นหวาน 3 ช้อนชา (ตักอย่างรวดเร็วแบบร้านกาแฟไม่ได้ตวง) จะมีคุณค่าดังนี้
พลังงาน 187 แคลอรี
โปรตีน 3.6 กรัม
วิตามิน เอ 333 หน่วยสากล
วิตามิน ดี 34.65 หน่วยสากล
วิตามิน บี 1 0.2 มิลลิกรัม
นมโคสด 1 แก้วจะมีคุณค่าดังนี้
พลังงาน 170 แคลอรี
โปรตีน 8.8 กรัม
วิตามิน เอ 160 หน่วยสากล
วิตามิน ดี 36 หน่วยสากล
วิตามิน บี 1 0.1 มิลลิกรัม

โดย ชีวอโรคยา นำมาจาก สาระความรู้ จากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่มา: นมและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ.2526,หน้า 97-98, ประกาย จิตรกร 



ครีมเทียม




ครีมเทียม
https://www.doctor.or.th/article/detail/3204
โพสโดย Fon เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2535 00:00

 เดือนนี้จะพาท่านผู้อ่านมารู้จักการอ่านฉลากครีมเทียมกัน ครีมเทียมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการสภากาแฟบ้านเราเมื่อประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา โดยพวกเรามักเรียกกันติดปากว่า “คอฟฟี่เมต” ซึ่งเป็นชื่อการค้า ก็เลยอาจสั่งลูกหลานให้ไปซื้อคอฟฟี่เมตยี่ห้อคูซ่าบ้าง ยี่ห้อบรูคส์บ้างก็ได้ ตามที่ตกลงกันไว้ในฉบับก่อนๆว่าสิ่งแรกที่เราลองสังเกตดู ก็คือ เครื่องหมาย อย. ซึ่งพบว่ามี 3 ชนิด คือ ผ.ค., ฉ.ผ.ค. และ ส.ค. แสดงว่า ครีมเทียม (แสดงโดยอักษร “ค”) มีการผลิตเองในประเทศทั้งในโรงงาน (ผ) และสถานประกอบการระดับเล็กกว่าโรงงาน (ฉ.ผ.) นอกจากนี้ยังมีการสั่งเข้าในแบบสำเร็จรูป (ส) อีกด้วย

ครีมเทียมถูกจัดเป็นอาหารประเภทควบคุมเฉพาะในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และกฎหมายได้ระบุคำจำกัดความของครีมเทียมไว้ดังนี้ “ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญหรือครีมที่มีมันเนยผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไขมันทั้งหมด”

ชนิดของครีมเทียม

ครีมเทียมถูกคิดค้นขึ้นมาให้พวกคอกาแฟทั้งหลาย ก็เพื่อความสะดวกเป็นหลัก เนื่องจากฝรั่งนิยมเติมครีมลงในเครื่องดื่มพวกกาแฟและโกโก้ อย่างไรก็ตาม ครีมชนิดพาสเจอไรซ์จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ส่วนครีมกระป๋องก็มีใช้บ้าง แต่กลิ่นรสสู้ครีมพาสเจอไรซ์ไม่ได้ แถมสียังออกเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนๆ อีกด้วย ครีมเทียมจึงเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกและประหยัด เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาถูกกว่า นอกจากนี้การขนย้ายในรูปผงแห้งทำให้ประหยัดค่าขนส่งได้เป็นอันมาก

กรดไขมันในครีมเทียม

คุณภาพที่ผู้ผลิตครีมเทียมต้องการเน้นให้เหมือนครีมแท้มากที่สุด คือ ความมัน ซึ่งสามารถอธิบายได้จากความรู้สึกที่ขาดหายไปเมื่อดื่มนมสดพร่องมันเนยเปรียบเทียบกับนมสดธรรมดา ความมันนี้เกิดจากไขมันเนย หรือไขมันที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง คือ มีกรดไขมันประเภทอิ่มตัวในปริมาณสูง กล่าวง่ายๆ คือเป็นไขมันประเภทที่ใส่ตู้เย็นแล้วเป็นไข

ไขมันที่ใช้เป็นครีมเทียมมักเป็นไขมันพืชเพราะมีราคาถูก ที่นิยม คือ ไขมันมะพร้าว เนื่องจากประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณค่อนข้างสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีระบุถึง น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม บางยี่ห้อก็ว่ามีไขมันจากเมล็ดผ่านกรรมวิธี และบางยี่ห้อก็ว่าน้ำมันถั่วเหลือง ถ้าเราดูเผินๆ จะเห็นว่า ยี่ห้อที่ระบุว่า ใช้น้ำมันถั่วเหลืองและไขมันจากเมล็ดปาล์มน่าจะไม่เป็นพิษภัยกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด เนื่องจากชนิดของกรดไขมันในน้ำมันถั่วเหลืองไม่มีผลต่อการเพิ่ม หากยังลดการสร้างสารโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดด้วย ส่วนกรดไขมันในน้ำมันจากเมล็ดปาล์มก็ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดเหมือนเช่นกรดไขมันอิ่มตัวที่พบในไขมันเนยและมะพร้าวที่ก่อปัญหา

ลดโคเลสเตอรอลเลี่ยงครีมเทียม

ถ้าดูลึกๆ จากการอ่านศัพท์ภาษาอังกฤษข้างบรรจุภัณฑ์ด้วยจะพบว่า มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า “Partially hydrogenated” หรือ “Hydrogenated” อยู่ข้างหน้าคำว่า “น้ำมันถั่วเหลือง” หรือน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม คำภาษาอังกฤษดังกล่าว หมายความว่า กรดไขมันในน้ำมันเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการทำให้อิ่มตัว แล้วกระบวนการนี้ทำให้รสชาติของครีมเทียมมีความมัน แต่ก็มีผลเสียต่อผู้มีปัญหาในเรื่องโคเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด ผมจึงเน้นว่าขอให้ศึกษาฉลากให้รอบคอบก่อนซื้อ และครีมเทียมในท้องตลาดส่วนใหญ่แทบทุกยี่ห้อไม่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด

ส่วนผสมที่มีการเติมในครีมเทียมเกือบทุกยี่ห้อ คือ น้ำตาลข้าวโพด และบางยี่ห้อก็ระบุว่า กลูโคส แต่เมื่อได้อ่านคำบรรยายภาษาอังกฤษแล้วจึงทำให้ทราบว่า ไม่ได้มีการเติมน้ำตาลลงไปโดยตรง เป็นการเติมสารที่เรียกว่า กลูโคสไซรัป (glucose syrup) หรือแบะแซ นั่นเอง แบะแซที่บ้านเราทำจากแป้งมันสำปะหลัง ส่วนน้ำตาลข้าวโพดทำจากแป้งข้าวโพด

อันที่จริงการระบุว่า เป็นน้ำตาลข้าวโพดก็ไม่ตรงกับความจริงนัก เนื่องจากการผลิตไซรัปดังกล่าวทำโดยการย่อยโมเลกุลของแป้งเพียงบางส่วน มิใช่ย่อยจนกลายเป็นน้ำตาล ถ้าจะเปรียบโมเลกุลของแป้งให้ดูง่ายๆ ก็คล้ายๆ กับสร้อยไข่มุก โดยที่ไข่มุกแต่ละเม็ด ก็คือ น้ำตาลกลูโคส

การระบุว่า เติมน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลข้าวโพดตามภาษาไทยก็หมายความว่า เติมในรูปของเม็ดไข่มุก แต่ตามความจริงแล้วเติมในรูปของไซรัป ก็คือ สร้อยไข่มุกเส้นสั้นๆ ไม่ใช่เติมเป็นเม็ดไข่มุก

เฮ้อ! เขียนแล้วก็ปวดหัว เอาเป็นว่าการแปลฉลากตรงส่วนผสมนี้ก็ไม่ตรงกันระหว่างระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษอีก การเติมไซรัปลงไปก็ช่วยให้มีความข้นนิดหน่อยเวลาเติมในกาแฟ และยังใช้เป็นตัวกลางที่ใช้จับน้ำมันในช่วงการผลิตทำเป็นผงด้วย ส่วนผสมอื่นๆ เช่น เคซีน (โดยภาษาอังกฤษก็ระบุว่าเป็น sodium caseinate) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากน้ำนม หรือบางยี่ห้อก็ใช้โปรตีนพืชซึ่งก็คาดว่าคงเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ปริมาณการผสมเคซีนในรูปโซเดียมเคซิเนตในครีมเทียมบางยี่ห้ออาจไม่สูงนัก แต่ก็เป็นจุดที่ผู้ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความดันเลือดสูงและต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมควรสังวรไว้ด้วย

นอกจากนี้ส่วนผสมอื่นๆ บางชนิดที่พบในส่วนฉลากภาษาอังกฤษ เช่น

สารโมโน, ไดกลีเซอร์ไรด์ (Mono, di-glycerides) เป็นตัวช่วยให้น้ำและน้ำมันรวมตัวกันได้เนียนขึ้น
สารไดเค-ออร์โทฟอสเฟต (di-k-orthophosphate) ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพในแง่ความเป็นกรดด่าง
และสารเอ็นเอ ซิลิโคอะลูมิเนต (Na Silico aluminate) ช่วยทำให้ผงครีมเทียมไม่เกาะติดกันเป็นก้อน และเทง่าย
ท่านผู้อ่านคงเข้าใจถึงชนิดและประโยชน์ของส่วนผสมที่ใช้เติมลงในครีมเทียมพอสังเขปแล้ว ครีมเทียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกใช้ในการเติมลงในเครื่องดื่มประเภทต่างๆ หลายประเภทและยังให้ความอร่อยได้ไม่แพ้ครีมแท้ อย่างไรก็ตาม อยากจะย้ำให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโคเลสเตอรรอล ความดันเลือดสูง ต้องศึกษาส่วนผสมอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ก่อนบริโภคผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ และอยากฝากถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรตรวจสอบการแปลฉลากให้ถี่ถ้วนกว่านี้ และมีการสื่อความหมายที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในผู้บริโภคบางกลุ่ม ซึ่งในระยะยาวอาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ

นอกจากนี้ยังอยากให้มีการระบุส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด มิใช่เฉพาะส่วนประกอบหลัก เพราะส่วนประกอบบางชนิดอาจเติมในปริมาณต่ำจึงไม่ได้มีการระบุ แต่อาจมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคบางกลุ่มได้

ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 163-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน  เล่มที่: 163
เดือน/ปี: พฤศจิกายน 2535
คอลัมน์: รู้จักอาหารจากฉลาก
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต

                                                          ~~~~~~~~~

ผมเคยกิน กาแฟ ใส่ครีมเทียม กินติดต่อ 4ปี     กินวันละ 2 - 3 แก้ว/วัน
chol เพิ่มขึ้นจาก 190 เป็น 300 
ได้คลื่นหัวใจขาขึ้น ผิดปรกติ (หมอบอกเป็นโรคหัวใจ)
อ้วน 100 กก. .. ได้เก้าท์ ได้เบาหวาน ความดัน ไตเสื่อม ครบเซ็ต .... แถมเนื้องอกที่หลัง 2 จุด เท่านนิ้วโป้ง

หลังจากเลิก และคุมอาหาร ออกกำลังกาย 1 ปี   โรคทุกอย่างหายสนิท
เหลือไตเสื่อม 2-3 ปี ปรกติ
เนื้องอก ก็เหลือเท่านิ้วก้อย และคงที่ไม่ขยาย   รอแต่ไปผ่าออก......

สรุปเกือบตายเพราะครีมเทียมครับ
https://pantip.com/topic/30756310













นักโภชนาการเตือนซื้อ “นมข้นหวาน - นมข้นจืด” อ่านฉลากให้ชัวร์ พบหลายรายเปลี่ยนเป็น “ครีมเทียมข้นหวาน - ครีมเทียมพร่องไขมัน” ใช้สูตร “แป้ง - น้ำมันปาล์ม - กลูโคสไซรัป” เป็นส่วนประกอบแทนนม - ไขมันนม ชี้ไขมันอิ่มตัวสูง ไม่ให้คุณค่าโภชนาการ กินมากเสี่ยงคอเลสเตอรอลพุ่ง

       วันนี้ (22 พ.ค.) รศ.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวว่า นมข้นหวาน และ นมข้นจืด (ผลิตภัณฑ์นมที่ใช้ใส่อาหารและเครื่องดื่ม) เดิมผลิตจากนมและไขมันนมเป็นหลัก ทำให้เมื่อบริโภคยังพอได้รับคุณค่าทางโภชนาการ คือ โปรตีนและแคลเซียมอยู่บ้าง 


แต่ขณะนี้พบว่ามีการพัฒนาสูตรไปเป็นผลิตภัณฑ์ครีมเทียมที่มีส่วนผสมของแป้ง น้ำมันปาล์ม และ กลูโคสไซรัปแทน โดยยังคงรสชาติของอาหารและเครื่องดื่มได้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ที่สำคัญคือ ไม่ได้ให้คุณค่าทางโภชนาการเหมือนเดิม และยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะเป็นการรับประทานแป้งกับไขมัน โดยในน้ำมันปาล์มมีไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งการรับประทานมากๆ จะส่งผลให้คอเรสเตอรอลในร่างกายสูงขึ้นได้ ซึ่งในครีมเทียม 1 ซองปริมาณ 3 กรัม เป็นไขมันอิ่มตัวถึง 1 กรัม ถ้าเป็นเครื่องดื่มชนิดชงที่ต้องตวงส่วนผสมเองยิ่งมีการใส่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากขึ้น

       “ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ค่อยๆ มีการพัฒนาสูตรขึ้นมาในระยะ 10 ปี แรกๆ พัฒนาเป็นนมข้นดัดแปลงไขมันยังพอรับได้ เพราะยังมีโปรตีนและแคลเซียมจากนมบ้าง แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะไม่ใช้คำว่านมอีกแล้ว แต่จะใช้คำว่าครีมเทียมข้นหวานแทนนมข้นหวาน ใช่ครีมเทียมพร่องไขมัน ครีมเทียมพร่องมันเนายแทนนมข้นจืด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้บริโภคยังไม่เข้าใจ เพราะยังคิดว่าผลิตจากนมปกติ แต่เมื่อดูที่ส่วนประกอบแล้วจะพบว่ามีนมเป็นส่วนประกอบน้อยมาก และถูกทดแทนด้วยแป้ง และน้ำมันปาล์ม ซึ่งเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค” รศ.วิสิฐ กล่าว

       รศ.วิสิฐ กล่าวว่า เรื่องนี้ประชาชนต้องพิจารณาให้ดี ถ้าคิดว่าใส่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลงไปในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อทำให้รสชาติดีแล้ว ต้องตระหนักเสมอเรื่องสุขภาพด้วย เพราะจะไม่ได้รับคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ดังนั้น จึงไม่ควรบริโภคผลิตภัณฑ์เหล่านี้มากเกินไป เพราะไขมันอิ่มตัวซึ่งมีผลทำให้ระดับคอเรสเตอรอลในร่างกายสูง โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือหากเป็นไปได้ การรับประทานชา กาแฟ ขอแนะนำให้ใส่นมสดดีกว่า เพราะอย่างน้อยยังได้รับแคลเซียมและโปรตีนบ้าง ถ้าคนที่ต้องระวังเรื่องสุขภาพอาจจะเติมนมพร่องมันเนย นมขาดมันเนยเข้าไปก็ได้ อาจจะไม่มัน อร่อยเท่ากับครีมเทียม แต่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนอาหารคาวที่มีการผสมนมเข้าไป เช่น ต้มยำ ฉู่ฉี่ ฯลฯ ก็สามารถหันมาใส่กะทิเหมือนเดิมได้ เพราะขณะนี้นักวิชาการโภชนาการทั่วโลกรับรองว่าไขมันจากกะทิ ถือเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถดึงมาใช้ได้ทันที ไม่สะสมในร่างกาย ถือว่ามีประโยชน์มากกว่า

       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการลงสำรวจผลิตภัณฑ์นมข้นหวาน นมข้นจืดในร้านสะดวกซื้อพบว่า ผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อยังใช้คำว่า “นมข้นหวาน” ในฉลากผลิตภัณฑ์อยู่ โดยระบุส่วนประกอบมีนมผงขาดมันเนย 10% นมผงพร่องมันเนย 5% ขณะที่บางยี่ห้อจะรุบชัดเจนว่าเป็นครีมเทียมข้นหวาน หรือครีมเทียมพร่องไขมันสำหรับใส่อาหารหรือเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้โดยรวมแล้วจะแทบไม่มีส่วนผสมของนมเลย โดยจะระบุส่วนผสมเป็น น้ำมันปาล์ม น้ำตาล และกลูโคสไซรัป หากมีส่วนผสมของนมก็ถือว่าน้อยมาก เช่น นมผงขาดมันเนย 5% บางผลิตภัณฑ์ใช้ส่วนผสมอย่างอื่น เช่น เวย์ผง บัตเตอร์มิลค์ผง เป็นต้น
                                              ~~~~~~~~~~~

trans fat เป็นไขมันเลว ไม่มีในธรรมชาติ ร่างกายจัดการได้ยากกว่าปกติควรหลีกเลี่ยง
trans fat มีส่วนสัมพันธ์กับระดับคอเลสเตอรอลเลว LDL 

trans fat ที่พบบ่อย (เอาไว้อ่านฉลากเพื่อเลี่ยง)
เนยเทียม margarine 
เนยขาว หรือ ไขมันพืช Shortening

https://pantip.com/topic/30756310

                                              ~~~~~~~~~~

ไขมันทรานส์
ไขมันทรานส์ (อังกฤษtrans fat) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้
ไขมันมีสายไฮโดรคาร์บอนขนาดใหญ่ยาว ซึ่งอาจเป็นไขมันไม่อิ่มตัว คือ มีพันธะคู่อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง หรือไขมันอิ่มตัว คือ ไม่มีพันธะคู่เลย ก็ได้ tyในธรรมชาติ โดยทั่วไปกรดไขมันมีการจัดเรียงแบบซิส (ซึ่งตรงข้ามกับแบบทรานส์[1]
แม้ว่าไขมันทราน์จะกินได้ แต่มีการแสดงแล้วว่าไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด[2][3] ส่วนหนึ่งไปเพิ่มไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ลดระดับไลโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดและเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย[4] ไขมันทรานส์ยังเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ แต่น้อย เช่น กรดแวกซีนิก (vaccenic acid) และกรดคอนจูเกตเต็ดไลโนเลอิก (conjugated linoleic acid) มีไขมันทรานส์ที่เกิดเองตามธรรมชาติในปริมาณหนึ่งในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไขมันธรรมชาติและไขมันสังเคราะห์มีความแตกต่างทางเคมี แต่ไม่มีความเห็นพ้องกันทางวิทยาศาสตร์ถึงความแตกต่างในผลกระทบต่อสุขภาพ การศึกษาสองชิ้นในประเทศแคนาดาได้แสดงว่ากรดแวกซีนิกซึ่งเป็นไขมันทรานส์ธรรมชาติ ที่พบในเนื้อวัวและผลิตถัณฑ์นม แท้จริงแล้วอาจเป็นประโยชน์เมื่อเทียบกับน้ำมันพืชที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชัน (hydrogenated vegetable shortening) หรือมันหมูและน้ำมันถั่วเหลือง โดยลดระดับคอเลสเตอรอลรวม LDL และไตรกลีเซอไรด์[5][6][7] ในทางตรงข้าม การศึกษาโดยกระทรวงการเกษตรสหรัฐอเมริกาแสดงว่า กรดแวกซีนิกมีผลเสียต่อ LDL และ HDL เหมือนกับไขมันทรานส์อุตสาหกรรม[8] เมื่อขาดหลักฐานอันเป็นที่ยอมรับและการตกลงทางวิทยาศาสตร์ หน่วยงานโภชนาการจึงพิจารณาไขมันทรานส์ทั้งหมดว่ามีผลเสียต่อสุขภาพเท่ากัน[9][10][11] และแนะนำให้ลดการบริโภคไขมันทรานส์ลงเหลือน้อยที่สุด[12][13]
องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาออกข้อกำหนดเบื้องต้นว่าน้ำมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน (ซึ่งมีไขมันทรานส์) โดยทั่วไปไม่ผ่านการรับรองว่าปลอดภัย ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การห้ามไขมันทรานส์ที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรมจากอาหารอเมริกา[14] ในประเทศอื่น มีข้อจำกัดทางกฎหมายต่อปริมาณไขมันทรานส์ สามารถลดระดับไขมันทรานส์ได้ โดยการใช้ไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู น้ำมันปาล์ม หรือไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันอย่างสมบูรณ์ ไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาอินเทอร์เอสเทอริฟิเคชัน (interesterified fat) และสูตรทางเลือกซึ่งใช้ไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันไม่อิ่มตัวหรือผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันบางส่วน ไขมันที่ผ่านปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันไม่ใช่ไวพจน์กับไขมันทรานส์ เพราะปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่สมบูรณ์จะขจัดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งหมด คือ ทั้งซิสและทรานส์

ประโยชน์แก้ไข

เนื่องจากไขมันทรานส์คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์ แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ มักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น

ผลต่อสุขภาพแก้ไข

การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ
  1. น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  2. มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  3. มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษCoronary Heart Disease) โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ข้อมูลบนฉลากอาหารแก้ไข

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้อาหารทุกประเภทที่จัดจำหน่ายภายในประเทศ ต้องระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะต้องมีปริมาณกรดไขมันทรานส์น้อยกว่า 0.5 กรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ส่วนประเทศอื่น ๆ เช่น แคนาดา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ก็มีการออกกฎให้ระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการเช่นกัน รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการจำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบด้วย ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับให้มีการระบุข้อมูลปริมาณของไขมันทรานส์บนฉลากอาหาร
                                                         ~~~~~~~~
นม ที่ใช้บริโภคในปัจจุบันของบ้านเรา ส่วนใหญ่มาจากน้ำนมโค โดยแบ่งผลิตภัณฑ์นมออกเป็น 4 ประเภท
http://health.mthai.com/howto/health-care/6893.html
http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=15310
1.นมพาสเจอร์ไรซ์
นมสดพาสเจอร์ไรซ์ นิยมบรรจุในขวดพาสติกขุ่น กล่องกระดาษหรือถุงพลาสติก โดยวางจำหน่ายในตู้เย็นหรือ ตู้แช่ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้นมเสีย เนื่องจากกระบวนการผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์ ใช้อุณหภูมิต่ำ ประมาณ 72 – 73 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำลาย เชื้อจุลลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย กระบวนการนี้จะใช้ความร้อนต่ำที่สุด เพื่อรักษากลิ่น และรสของน้ำนมสดไว้ นมสด พาสเจอร์ไรซ์ในท้องตลาด  ควรดื่มให้หมดใน 3 วันหลังจากเปิดขวด บรรจุในภาชนะที่มีสี ซึ่งบอกความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • สีน้ำเงิน หรือสีแสด หมายถึง น้ำนมสดธรรมดา มีไขมันต่ำ ร้อยละ 3.3 ขึ้นไป
  • สีฟ้า หมายถึง น้ำนมสดพร่องมันเนย หรือที่รุ้จักกันในนาม "หางนม" เป็นนมที่แยกเอาไขมันส่วนใหญ่ออกไป เหลือไขมันประมาณ 0.05-0.1 ไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก คุณค่าทางโภชนะไม่ครบถ้วน ประเทศไทยมักนำเข้านมชนิดนี้ในรูปนมผง มาละลายน้ำ ผสมกับนมสด เพื่อลดต้นทุนในการผลิต หรือก็ใช้หางนม 100 % ละลายน้ำมาใช้เด็กกิน และที่สำคัญคือในต่างประเทศ มันจะใช้หางนม ไปเป็นส่วนผสมของ "อาหารสัตว์" (ลูกใครกินหางนมละะลายน้ำ ก็คล้ายๆกับกินอาหารสัตว์ทางอ้อมนะ)
  • สีขาว หมายถึง น้ำนมสดขาดมันเนย มีไขมันน้อยมาก ต่ำกว่าร้อยละ 0.1
  • สีทอง หมายถึง น้ำนมสด มีไขมันถึงประมาณ ร้อยละ 4
สำหรับเด็กและวัยรุ่น ควรบริโภคชนิดสีน้ำเงิน หรือสีแสด ส่วนผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี หรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือไขมันในเลือด ควรบริโภคชนิดสีฟ้า หรือสีขาว นอกจากนี้ ยังมีนมสดชนิดปรุงแต่งรสชาติ ซึ่งมีสัญญลักษณ์ ดังนี้
  • สีเขียว คือ นมสดรสหวาน
  • สีน้ำตาล คือ นมสดรสช็อคโกแลต
  • สีชมพู คือ นมสดรสสตรอเบอรี่
นมประเภทนี้ จะมีส่วนผสมของนมสดประมาณร้อยละ 95 ที่เหลือคือ น้ำตาล, กลิ่น และสี นอกจากนี้กฏหมายยังไม่ กำหนดปริมาณไขมัน ผู้ผลิตนิยมเติมไขมันในปริมาณเพียงร้อยละ 2 นมชนิดนี้ นิยมใช้ในโครงการอาหารเสริมของ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอื่น ๆ ซึ่งมักมีข้อด้อยกว่านมจืด คือ ราคาแพงกว่า มีพลังงานจากไขมันต่ำกว่า มีน้ำตาลสูงกว่า และมีมาตรฐานของโปรตีนต่ำกว่าเล็กน้อย
 2.นมสเตอริไลซ์
นมสดสเตอร์ไรซ์ มักบรรจุในกระป๋องโลหะปิดสนิท เป็นนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อทั้งหมดกระบวนการผลิตใช้ความร้อนสูง 110 – 116 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อจุลินทรย์ที่ทำให้เกิดโรค และอาหารเน่าเสียในอุณหภูมิการเก็บรักษาปกติได้ (อุณหภูมิห้องปกติ เก็บได้ 1 – 2 ปี)เก็บได้นาน 4 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ทุกชนิด(รวมทั้งสปอร์) เนื่องจากกรรมวิธีใช้ความร้อนสูงมาก และเนิ่นนาน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโภชนาการอย่างชัดเจน นมที่ได้อาจจะมีสีคล้ำลง และมีกลิ่นไหม้ ซึ่งเป็นกลิ่นเฉพาะตัว (ไม่เชื่อลงซื้อนมตราหมี มาทาน เปรียบเทียบกับนมกล่องดูสิ จะรู้ถึงความแตกต่าง)


ผลิตภัณฑ์นมสเตอร์ไรซ์ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. นมสดพร้อมดื่ม คือ นมสดธรรมดาที่บรรจุกระป๋อง ซึ่งฉลากระบุว่าเป็นนมโค 100%
2. นมข้นไม่หวานหรือนมข้นจืด คือ  เป็นการนำนมสดมาระเหยน้ำที่อยู่ในนมออกไปจนนมข้นหรือนมผงขาดมันเนยละลายน้ำในอัตราส่วนที่น้อยกว่าปริมาณน้ำที่มีในนมสดธรรมดาครึ่งหนึ่ง แล้วเติมลงไป ถ้าเติมไขมันเนยลงไปเรียกว่า นมข้นคือรูปไม่หวาน ถ้าเติมน้ำมันปาล์มลงไป เรียกว่า นมข้นแปลงไขมัน ชนิดไม่หวาน นมข้นไม่หวาน เมื่อนำมาบริโภคในรูปของน้ำนมสด ต้องเติมน้ำลงไปในอัตราส่วน 1:1 จะมีคุณค่าในแง่โปรตีน และพลังงาน ใกล้เคียงกับน้ำนมสดธรรมดา แต่ชนิดที่ใช้น้ำมันปาล์มมีปริมาณกรดไขมันจำเป็น และวิตามินบางชนิดต่ำกว่า จึงไม่สมควรใช้เลี้ยง ทารก หรือเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้บริโภคได้ประมาณ 1 ปี ให้พลังงานสูง แต่ทานมากๆ อ้วน

3. นมข้มหวาน คือนมธรรมดามีขั้นตอนการผลิตเริ่มต้นคล้ายนมข้นไม่หวาน คือต้องมีการระเหยน้ำออก หรือละลายนมผงขาดมันเนย ผสมกับไขมันเนยหรือไขมันปาล์มตามอัตราส่วนดังกล่าว แล้วจึงเติมน้ำตาลลงไปประมาณร้อยละ 45 นำน้ำนมมาผ่านความร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที แล้วจึงทำให้ข้นเหมือนกับนมข้นจืด หลายๆคนจึงมักใช้ราดหน้าขนมปัง หรือใส่ในชา กาแฟ โอวัลติน ข้อดี อร่อย ทำให้อาหารน่าทานกว่าเดิม ให้พลังงานสูง แต่ทานเยอะๆ อ้วนเร็วกว่านมข้นจืด
จะเห็นว่านมข้นหวานมีน้ำตาล ในปริมาณสูงมาก จึงต้องมีการผสมน้ำในปริมาณมากก่อนบริโภค ทำให้คุณค่าทางโภชนาการโดยเฉพาะโปรตีนจานมจะต่ำกว่า น้ำนมสดมาก นมข้นหวาน จึงไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก หรือใช้เพื่อประโยชน์ในการเสริมคุณค่าอาหารเช่นเดียวกับน้ำนมสดธรรมดา

4.นมยู เอช ที น้ำนมสดที่บรรจุในกล่องยูเอชทีเป็นนมที่นิยมแพร่หลายมากที่สุด โกงกันมากที่สุด นมบูดมากที่สุด เป็นนมที่ผ่านความร้อนสูงในระยะเวลาที่สั้นมากคือ (130 – 135 องศา เซลเซียส เวลา 1 – 3 วินาที) จึงทำให้น้ำนมยังมีกลิ่นและรสที่ดี ไม่มีกลิ่นเป็นนมต้ม (ไหม้) เหมือนนมสดสเตอร์ไรซ์ นมสดที่บรรจุใน กล่องยูเอชที มีอายุการเก็บในสภาพอุณหภูมิห้องได้นาน 6 เดือน สีของกล่องนมมีความหมายเหมือนกับสีที่แสดงอยู่บนขวดหรือกล่อง นมพาสเจอร์ไรซ์ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีบรรจุในขวดพลาสติก ซึ่งสามารถเก็บที่สามารถเก็บไว้โดยไม่ต้องแช่เย็นประมาณ 180 วัน

5.เนยเหลว(Butter) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเอาครีมที่เป็นไขมันที่ลอยตัวขึ้นมาจากน้ำนมมาปั่นให้เนยแตกตัว เนยที่แตกตัวออกมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดๆ ต้องนำไปนวดไล่น้ำให้เป้นเนื้อเดียวกัน ในที่อุณหภูมิสูงเนยจะเหลว ข้อดี อร่อยใช่ทานขนมปังแล้วทานอร่อยขึ้น ให้พลังงานสูง ข้อเสีย ทานมากๆอ้วนเร็วกว่านมข้นทั้ง 2 ประเภท(น้ำนมที่เหลือจากการผลิตเนยเหลวก็คือหางนม)

6.เนยแข็ง (Cheese) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเอาน้ำออกภายหลังการตกตะกอนของนม แล้วนมมาผสมกับเอนไซม์ Rennet ที่มีอยุ่ในกระเพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง จนนมจับกันเป็นก้อนแล้วจึงแยกน้ำออกไปจะทำให้เนื้อแน่นขึ้น เนยแข็งชนิดแรก เกิดจากการนมน้ำนมแพะใส่ในถุงน้ำที่ทำจากกระเพาะอาการของแกะค่ะ เนยแข้งทุกคนรู้เลยว่า อร่อยมาก ให้พลังงานสูงพกพาง่าย กินสะดวก ราคาอาจจะแพงไปบ้าง แต่ถ้าทานมากๆ ก็จะอ้วนเร็วกว่าผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด

7.ครีมฟู(Whipped Cream) เป็นอาหารนมประเภทของหวานอย่างหนึ่ง เป้นอาหารที่ให้พลังงานสูงมาก แต่ราคาแพง จึงมักใช้ในการตกแต่งเค้กหรือไอศครีม

8.นมเปรี้ยว เป็นนมที่หมักจากเชื้อจุลินทร์ที่มีประโยชน์ โดยจุลินทรีย์นั้นจะหมักทำให้นมมีค่า pH 0.75-0.8 ของกรดแลคติก และทำให้น้ำตาลแลคโตสที่เป็นองค์ประกอบของนมแตกตัว ทำให้ย่อยง่าย ดังนั้นคนที่ดื่มนมแล้วท้องเสีย จึงควรมาดื่มนมเปรี้ยวแทน ความเปรี้ยวของนมนอกจากยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแล้ว ยังทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น