วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มันสีม่วงและสีส้ม






จ.24 ต.ค59 ซื้อมันม่วงจากตลาดนัดปากซอยเมื่อพฤ.20 ต.ค59 ส่วนมันส้มซื้อที่พลังบุญวันส.22 ต.ค59 ต้มแบบป้าหมอน แต่ลดน้ำ้ตาลพอปะแล่ม
ถ้าให้กะทิขาว ให้ต้มแบบต้มมันให้สุก แยกต้มกะทิน้ำตาลมะพร้าวเกลือ จึงตักมันมาใส่ในกะทิ




https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156513452707028&id=172425057027

สีม่วงชลอความเสื่อมของตา
สีส้มลดอัตราการกลายพันธ์ุของเซลและทำลายเซลมะเร็ง





วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วูบ



หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่1) https://www.doctor.or.th/article/detail/3870

หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่2) https://www.doctor.or.th/article/detail/3894
(เรา:คำตอบข้างต้นนึกถึงตอนหลวงปู่ล้มในวันปีใหม่ ท่านให้คนออกไป ไม่เข้ามายุ่งกับท่าน แล้วท่านนอนราบกับพื้น / การดื่มน้ำเยอะขนาดขวด1.5ลิตรในช่วงบ่ายที่ออกไปก่อสร้าง จะเดินกลับมาดื่มน้ำบ่อยๆ การเดินคือการออกกำลังกายด้วย)

หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่3) https://www.doctor.or.th/article/detail/3906

หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่4) https://www.doctor.or.th/article/detail/4017
เปลี่ยนหมอที่รักษาทำได้อย่างไร

หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่5) https://www.doctor.or.th/article/detail/4027


หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่6) https://www.doctor.or.th/article/list/7623





หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่1) https://www.doctor.or.th/article/detail/3870
อาจารย์ : “ก่อนการเจ็บป่วยคราวนี้ คุณมีอาการผิดปกติอะไรนำมาก่อนหรือไม่ หรือรู้สึกปกติดี”คนไข้ : “ก่อนที่จะมีอาการวูบ ผมถ่ายอุจจาระเป็นสีดำเหมือนเฉาก๊วยอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ครับ แต่ผมคิดว่าผมคงกินอาหารพวกเลือดหมูเข้าไป อุจจาระจึงเป็นสีดำ เพราะผมไม่รู้สึกผิดปกติอะไร จึงไม่ได้ไปตรวจ”อาจารย์ : “หมอคงเห็นแล้วว่า อาการวูบของคนไข้เกิดขึ้นหลังจากคนไข้มีเลือดออกในกระเพาะลำไส้ จนอุจจาระดำอยู่  2 สัปดาห์
“เมื่อคนไข้เสียเลือดไปมากจนถึงจุด ๆ หนึ่ง ความดันเลือดจะตกลงอย่างมากเมื่อเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือท่ายืน แม้ความดันเลือดในท่านอนจะปกติ (ถ้าเลือดออกมากกว่านี้ ความดันเลือดในท่านอนจึงจะตกด้วย)
“ดังนั้น ถ้าหมอไม่วัดความดันเลือดในท่านั่งหรือท่ายืน หมอก็จะไม่สามารถวินิจฉัย ‘ภาวะความดันเลือดตกเมื่อเปลี่ยนท่า’ ได้ เมื่อความดันเลือดตกเลือดจะไปเลี้ยงสมองไม่พอ คนไข้ก็จะเกิดอาการวูบ ถ้านั่งหรือยืนอยู่ ก็จะล้มลงหรือฟุบลง

การล้มลงหรือฟุบลง เป็นการช่วยเหลือตนเองตามธรรมชาติ เพื่อให้ศีรษะต่ำลง เลือดจะได้ไหลไปเลี้ยงสมองได้ง่ายขึ้น แล้วคนไข้ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาใหม่
“ถ้าคนใกล้ชิดไม่เข้าใจ เห็นคนไข้ล้มนอนลงกับพื้น กลัวคนไข้จะเปื้อนหรือหายใจไม่สะดวก จับคนไข้ลุกขึ้นนั่งหรือพยุงไว้ให้ศีรษะสูงขึ้นจากพื้น เช่น ให้นอนพาดตัก หรืออื่น ๆ เลือดจะไปเลี้ยงสมองได้ยากกว่าท่านอนราบหรือท่านอนหัวต่ำกว่าลำตัว ทำให้คนไข้หมดสตินานออกไปอีก ซึ่งอาจทำให้สมองขาดเลือดนานจนทำให้ชัก เกร็ง กระตุก หรืออื่น ๆ จนทำให้หมอวินิจฉัยผิดคิดว่าเป็นโรคสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดถูกอุดตันได้

“คนไข้รายนี้ขณะมาในแท็กซี่ ถ้านอนมาคงจะไม่มีอาการมาก แต่ถูกญาติขนาบไว้ 2 ข้างเพื่อนั่งอยู่ได้ เลือดจึงไปเลี้ยงสมองน้อยลงกว่าท่านอน พอนั่งมาถึงโรงพยาบาลสมองขาดเลือดนานไปหน่อย จึงใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะรู้สึกตัวขึ้นมา
“เมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาแล้ว ไม่มีความผิดปกติใด ๆ ทางสมองเหลืออยู่แสดงว่าไม่น่าจะใช่ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก
“การส่งไปตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และคลื่นแม่เหล็กสะท้อนจึงเป็นการเสียเงินโดยใช่เหตุ ที่ตรวจจะตรวจคือ หาสาเหตุของการตกเลือดในกระเพาะลำไส้ หมอตรวจหาหรือเปล่า”
แพทย์ : ตรวจครับส่องกล้องตรวจพบแผลในลำไส้เล็กส่วนต้นครับ ตกลงอาจารย์จะตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจให้หรือเปล่าครับ”อาจารย์ : “หมอจะตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจเพื่อดูอะไรอีกล่ะเสียเงินเปล่า ๆ”คนไข้ : ไม่เป็นไรครับ ผมเป็นข้าราชการ ผมเบิกได้หมดครับ”อาจารย์ : ถึงคุณเบิกได้หมด แต่ก็ต้องมีคนออกเงินให้คุณ เงินหลวงก็คือเงินภาษีอากรของพวกเราทุกคนรวมทั้งของคุณด้วย
“ยิ่งกว่านั้นการตรวจพิเศษต่าง ๆ เหล่านี้ ประเทศของเรายังผลิตอุปกรณ์และวัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้เอง เงินเหล่านี้จึงต้องเสียไปให้แก่ต่างประเทศ และมันเป็นการเสียเปล่า เพราะไม่มีความจำเป็นและไม่เป็นประโยชน์แก่คุณหรือแก่สังคมเลย มันเป็นการดำน้ำพริกละลายแม่น้ำเท่านั้น
“ที่คุณได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์และคลื่นแม่เหล็กสะท้อน ก็เสียค่าใช้จ่ายไปเปล่า ๆ เป็นหมื่น ๆ บาทแล้ว โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แถมคุณยังต้องทนทรมานไปนอนนิ่ง ๆ กระดุกกระดิกไม่ได้ และยังมีเสียงเครื่อง (MRI) ดังปัง ๆ ๆ รบกวนโสดประสาทอยู่เป็นชั่วโมง ๆ โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรคืนมาเลย
คุณคิดว่ามันคุ้มหรือ”
คนไข้ : “ขอบคุณครับ ถ้าอาจารย์คิดว่าไม่จำเป็นผลก็ไม่ทำครับ แต่ทำไมอาจารย์ท่านอื่นถึงคิดว่าจำเป็นล่ะครับ”อาจารย์ : “ในทางการแพทย์ หรือในวิชาชีพอื่นๆ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ คนย่อมแตกต่างกันได้
“อย่างไรก็ตามในกรณีของคุณ อาจารย์คนที่มีความเห็นว่าหลอดเลือดสมองของคุณถูกอุดตัน อาจเป็นเพราะเขาฟังประวัติหรือเรื่องราวของคุณตามที่แพทย์ประจำบ้านเล่าให้ฟังและเขาไม่ได้ซักถามคุณเอง เขาจึงเข้าใจผิดและคิดถึงโรคตามที่แพทย์ประจำบ้านคิดและวินิจฉัยไว้”
คนไข้ : ครับอาจารย์ หมอคนอื่น ๆ ไม่เห็นถามอาการผมเหมือนที่อาจารย์ถาม เขามัวไปถามเรื่องอื่น ๆ ผมก็เลยไม่มีโอกาสเล่ารายละเอียดของอาการวูบให้เขาฟัง”อาจารย์ : บางครั้งอาจารย์เขาเชื่อลูกศิษย์มากเกินไป ไม่ซักประวัติเอง ไม่ตรวจร่างกายเอง ก็อาจโดนลูกศิษย์พาเข้ารกเข้าพงได้ง่ายประวัติอาการของคนไข้มีความสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยและติดตามการดำเนินโรค การซักประวัติที่ผิดพลาดหรือซักไม่มีเช่นในกรณีของคุณ ที่คุณไม่ค่อยรู้สึกตัวตอนมาโรงพยาบาล ทำให้ได้ประวัติที่ไม่ถูกต้อง จึงทำให้การตรวจรักษาผิดทางได้ง่าย โชคดีที่โรคของคุณเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง จึงไม่เกิดอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ“

คนไข้ : 
แล้วผมจะหายขาดมั้ยครับ และจะกลับบ้านได้เมื่อไหร่ครับ”อาจารย์ : “เท่าที่ผมทราบจากหมอที่ดูแลคุณอยู่ ขณะนี้คุณมีอยู่โรคเดียว คือ แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นที่ตกเลือด และเป็นสาเหตุของอาการวูบของคุณในเวลาต่อมา
“โรคแผลในกระเพาะลำไส้เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ ถ้าคุณกินยาเป็นประจำ ประมาณ 3-6 เดือน และระวังอย่าให้เครียด และอย่าไปกินยาแก้ปวดที่ระคายกระเพาะลำไส้ เช่น ยาจำพวกแอสไพริน หรือยาแก้ปวดข้อปวดกระดูก หรือยาชุดที่ขายกันอยู่ทั่วไปอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารหรือของที่ระคายกระเพาะลำไส้ เช่น พริกน้ำส้ม ของเผ็ดจัด สุรา ยาดอง การสูบบุหรี่ เป็นต้น
“ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ต้องอย่าเครียดกังวลมากเกินไป เพราะความเครียดกังวลจะทำให้กรดในกระเพาะมาก ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้เกิดแผลในกระเพาะลำไส้ได้
“ส่วนคุณจะกลับบ้านได้เมื่อไร คงต้องถามแพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้ของคุณครับ เพราะเขาเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาคุณโดยตรง ส่วนผมเป็นเพียงแพทย์ที่ปรึกษาเท่านั้น”




หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่2) https://www.doctor.or.th/article/detail/3894


เลือดซึ่งเป็นของเหลว(เป็นน้ำ)จะไหลไปสู่ที่ต่ำคือที่ขาและเท้า เลือดที่จะสูบฉีดไปเลี้ยงสมอง (ในศีรษะ) จึงลดลง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลมและล้มฟุบลงโดยยังรู้ตัวอยู่ (ค่อย ๆ นั่งลงและนอนลง ทำให้ไม่เจ็บตัว) หรือล้มฟาดลงโดยไม่รู้ตัว (ทำให้เกิดบาดแผลหรือรอยฟกช้ำจากการกระแทกกับพื้น โถส้วม เตียง โต๊ะ หรือสิ่งอื่น)
หลังจากนอนราบลงนอนกับพื้น(ศีรษะต่ำลงได้ระดับเดียวกับลำตัวหรือต่ำกว่า) เลือดก็จะไหลไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น ทำให้ฟื้นคืนสติ หรือมีแรงเพิ่มขึ้นพอจะลุกขึ้นได้ แต่ถ้าลุกขึ้นเร็ว ๆ อาจเวียนศีรษะ และหน้ามืดเป็นลมอีกได้ ถ้าหน้ามืดเป็นลมแล้วยังไม่ล้มฟุบลง หรือนอนลง ยังคงยืนหรือนั่งอยู่เพราะถูกเบียดไว้ หรือถูกจับไว้ให้อยู่ในท่านั้น สมองจะขาดเลือดมากขึ้นหรือนานขึ้น ทำให้หมดสติรุนแรง และอาจเกิดอาการชัก อุจจาระ ปัสสาวะราด หรืออาจเกิดอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ เป็นต้น

เมื่อเห็นคนหมดสติ ล้มฟุบลง จึงไม่ควรเข้าไปอุ้มหรือประคองให้อยู่ในท่านั่งหรือในท่าที่ศีรษะสูงกว่าระดับตัว เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้น ควรปล่อยให้นอนหงายราบเหยียดยาว แล้วรีบคลำดูชีพจรที่คอและที่ขาหนีบ ถ้าคลำไม่ได้ และคนไข้ไม่หายใจและไม่รู้สึกตัวเลย ให้รีบฟื้นชีวิต( cardio – pulmonary resuscita-tion ) แบบคนไข้หัวใจหยุด( cardiac arrest ) ถ้าคลำได้ และคนไข้ยังหายใจเองได้ แม้จะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตาม ให้คลายเสื้อผ้าและส่วนที่บีบรัดร่างกายส่วนต่าง ๆ ออกให้ของฉุน ๆ ถ้ามี (เช่น แอมโมเนีย หัวหอมทุบหรือผ่าซีก ยานัตถ์ หรืออื่น ๆ) อย่าให้คนมาล้อม (มุงดู)คนไข้ ใช้พัดโบกลมให้คนไข้โดยเฉพาะบริเวณหน้า บีบนวดตามแขนขา ใช้ผ้าเย็น ๆ หรือผ้าชุบน้ำเช็ดหน้า แต่อย่าประคองศีรษะ และลำตัวให้สูงขึ้น แล้วสักพักหนึ่ง คนไข้จะรู้สึกตัวและตื่นขึ้นเอง (แม้จะไม่ได้รับความช่วยเหลือ คนไข้ก็จะรู้สึกตัวและตื่นขึ้นเอง หลังจากนอนราบอยู่กับพื้นจนสมองได้รับเลือดไปเลี้ยงจนพอเพียงกับอาการขาดเลือดแล้ว)
เมื่อคนไข้ดีขึ้นแล้ว ต้องถามประวัติอาการและหาสาเหตุที่ทำให้คนไข้ “วูบเมื่อเปลี่ยนท่า” ซึ่งเป็นอาการของ “ความดันเลือดตกเมื่อเปลี่ยนท่า”วิธีที่จะช่วยยืนยันการวินิจฉัย ”ภาวะความดันเลือดตกเมื่อเปลี่ยนท่า” ก็คือ การวัดความดันเลือดในท่านอนกับท่ายืน หลังจากที่คนไข้ฟื้นจากอาการหน้ามืดเป็นลมแล้ว ถ้าพบว่าความดันเลือดตัวบนในท่ายืนต่ำกว่าในท่านอนมากกว่า 30 ทอรร์ (มิลลิเมตรปรอท) ก็จะยืนยันการวินิจฉัยภาวะนี้ได้

เมื่อวินิจฉัยภาวะนี้ได้แล้ว ก็ต้องสืบหาสาเหตุของภาวะนี้จากการชักประวัติและตรวจร่างกาย
สาเหตุที่พบบ่อย เช่น

1. การขาดน้ำหรือเลือด
 เมื่อร่างกายขาดน้ำ เช่น ไม่มีน้ำดื่ม อาเจียนมาก ท้องเดิน(ท้องร่วง)มาก หรือขาดเลือด(เช่น เสียเลือดจากบาดแผล เลือดออกในกระเพาะลำไส้(เช่น คนไข้รายนี้) เสียเลือดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคพยาธิปากขอในลำไส้ โรคเม็ดเลือดแดงแตก( hemolysis ) หรืออื่น ๆ จนคนไข้ซีดลงอย่างรวดเร็วเป็นต้น

2. การขาดการออกกำลังกาย เช่น นอนอยู่กับเตียงนาน ๆ ทำงานนั่งโต๊ะเป็นประจำ ไม่ได้ออกกำลัง
กายร่างกายอ่อนแอ หรือเป็นโรคเรื้อรังที่ทำให้ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

3. การกินยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ (เช่น คนที่ต้องการลดน้ำหนักเร็ว ๆ เพื่อหลอกตนเอง
หรือผู้อื่น) ยาลดความดันเลือด ยาระบบประสาท เป็นต้น

4. โรคทางระบบประสาท โดยเฉพาะที่ไปกระทบกระแทกประสาทอัตโนมัติ เช่น โรคเบาหวานที่
เป็นมานานโดยเฉพาะที่ไม่ได้คุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี จะทำให้ความดันเลือดตกเมื่อเปลี่ยนท่าได้มาก ๆ คนสูงอายุที่ระบบประสาทเสื่อมหรือเสียไป เป็นต้น

เมื่อตรวจพบสาเหตุก็ต้องรักษาสาเหตุด้วยถ้ารักษาได้ อาการ “วูบเมื่อเปลี่ยนท่า” ก็จะหายขาด
ถ้ารักษาสาเหตุไม่ได้ เช่น คนสูงอายุที่ระบบประสาทเสื่อมลงหรือเสียไป ก็ต้องแนะนำให้คอยระวังตัวอย่าลุกขึ้นจากเตียงเร็วนัก ถ้าลุกขึ้นจากท่านอน ก็ให้นั่งสักครู่
ระหว่างที่นั่งอยู่ก็บิดตัวไปมากระดกเท้าขึ้น ๆ ลง ๆ และเขย่งเท้าให้หัวเข่ายกขึ้นยกลงสักพัก แล้วจึงลุกขึ้นยืนโดยจับพนักเตียง หรือพนักเก้าอี้ไว้
เมื่อยืนขึ้นมาแล้ว ก็ควรยืนอยู่กับที่สักพัก โดยมือยังจับพนักเตียงหรือพนักเก้าอี้ไว้ ถ้าเวียนศีรษะหรือหน้ามืดให้รีบนั่งลงหรือนอนลงทันทีเมื่ออาการดีขึ้น จึงลุกขึ้นยืนใหม่
ในขณะที่ยืนจับพนักเตียงหรือพนักเก้าอี้อยู่ ควรจะเขย่งเท้าขึ้น ๆ ลง ๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อขาได้ทำงานจะได้เกิดการขับไล่เลือดไม่ให้ไหลตกลงไปที่ขาและเท้าได้ จะได้ไม่เกิดอาการ “วูบ”
การยืนเฉย ๆ นาน ๆ โดยไม่ได้ขยับขาในคนที่ร่างกายอ่อนแอ หรือขาดน้ำขาดเลือด (เช่น ในคนไข้รายนี้) จะทำให้เลือดตกไปที่ขาและเท้าทำให้สมองขาดเลือด และเกิดอาการ “วูบ” ได้

การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ระวังการดื่มน้ำและกินอาหาร (ไม่ให้เกิดการอาเจียน อุจจาระร่วง ฯลฯ) การรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายโดยเร็วหรือให้ดีที่สุด และอื่น ๆ จะทำให้รอดพ้นจาก “การวูบเมื่อเปลี่ยนท่า” หรือ “การวูบในท่ายืน” ได้และจะทำให้สุขภาพโดยทั่วไปแข็งแรงขึ้น และรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ หรือดีขึ้นจากโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ได้ด้วย

การป้องกันไว้ก่อน ย่อมดีกว่าการปล่อยให้ “วูบ” จนหัวร้างข้างแตกเสียหน้า เสียตำแหน่ง (อย่างกรณีนักมวย “เขาค้อ”) เสียเงิน (เข้าโรงพยาบาล) และเสียอะไรต่อมิอะไรอื่น ๆ มิใช่หรือ

(เรา:คำตอบข้างต้นนึกถึงตอนหลวงปู่ล้มในวันปีใหม่ ท่านให้คนออกไป ไม่เข้ามายุ่งกับท่าน แล้วท่านนอนราบกับพื้น / การดื่มน้ำเยอะขนาดขวด1.5ลิตรในช่วงบ่ายที่ออกไปก่อสร้าง จะเดินกลับมาดื่มน้ำบ่อยๆ การเดินคือการออกกำลังกายด้วย)


หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่3) https://www.doctor.or.th/article/detail/3906
คนไข้รายที่ 2 : เป็นอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง ขณะกำลังยืนสอนนักเรียนแพทย์และแพทย์ประจำบ้านอยู่ข้างเตียงคนไข้ ก็เกิดอาการ “วูบ” ล้มลง และหมดสตินักเรียนแพทย์รีบพยุงศีรษะและลำตัวของอาจารย์ขึ้น เพราะเห็นว่าพื้นห้องของหอคนไข้ทั่วไป(หรือที่ชาวบ้านชอบเรียกว่า “หอคนไข้อนาถา”) นั้นไม่สะอาดนัก กว่าจะหาเตียงให้อาจารย์นอนได้ ซึ่งไม่ใช่ของง่าย(เพราะโดยปกติเตียงในหอคนไข้จะเต็มทุกเตียง จึงต้องขอให้คนไขที่ดีขึ้นแล้วลุกออกจากเตียงก่อน แล้วคลุมผ้าปูที่นอนใหม่ทับลงไปและเปลี่ยนปลอกหมอนใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดเชื้อโรคจากคนไข้เดิม) ก็เสียเวลาไปหลายนาที อาจารย์จึงมีอาการชักและเกร็งและตาค้าง ทำให้แพทย์ประจำบ้านคิดว่าหัวใจของอาจารย์หยุดเต้น จึงรีบทุบหน้าอีกและจะทำการฟื้นชีวิต (ใส่ท่อช่วยหายใจ และขย่มหน้าอกเพื่อนวดหัวใจ ฯลฯ)  แต่โชคดีที่มีคนสังเกตเห็นว่าอาจารย์ยังหายใจเองได้ แม้จะไม่รู้สึกตัว และยังพอจะคลำชีพจรได้ อาจารย์จึงไม่ต้องเจ็บตัวจากการใส่ท่อช่วยหายใจ และการขย่ม(กระแทก)หน้าอก จึงได้มีการให้น้ำเกลือ และให้ยากระตุ้นหัวใจและความดันเลือดแทน หลังจากนั้น ก็มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและปรากฏว่า คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ ถึงตอนนี้อาจารย์ก็รู้สึกตัวลืมตาตื่นขึ้น พร้อมกับรู้สึกงงว่า ทำไมตนถึงมานอนบนเตียงคนไข้ แต่ยังรู้สึกอ่อนเพลียอยู่

เมื่อดีขึ้นแล้ว จากการถามประวัติ ปรากฏว่าอาจารย์คนนี้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปกติก็กินยาลดความดันเลือดอยู่เป็นประจำ แค่คืนก่อนนอนไม่ค่อยหลับ ตอนเช้ารู้สึกปวดมึนศีรษะจึงลองวัดความดันดู ปรากฏว่าสูงขึ้นไปกว่าปกติ 20-30 ทอร์ (มิลลิเมตรปรอท) จึงเพิ่มยาความดันในมื้อเช้าอีกเท่าตัว (จากครึ่งเม็ดเป็นหนึ่งเม็ด) และรีบมาโรงพยาบาลเพื่อให้ทันสอนนักเรียนแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน โดยไม่ได้กินอาหารเช้า เมื่อสอนไปสักพัก รู้สึกหน้ามืดและเวียนศีรษะ ก็คิดว่าไม่เป็นไรยังคงยืนสอนต่อไปจนในที่สุด ก็ไม่รู้ตัวและล้มฟุบลง นักเรียนแพทย์โดยเจตนาดีที่จะไม่ให้อาจารย์ต้องนอนอยู่กับพื้น จึงได้ประคองลำตัวและศีรษะของอาจารย์ขึ้นให้อยู่ในท่านั่ง กว่าจะหาเตียงให้อาจารย์นอนได้ ก็ทำให้สมองขาดเลือดไปนานเกิดอาการชักเกร็งและตาค้าง และคลำชีพจรที่คอและขาหนีบไม่ได้ (ที่คลำไม่ได้ อาจเป็นเพราะควากฉุกละหุก หรือความตื่นเต้น หรืออาจเป็นเพราะความดันเลือดตกลงอย่างมาก จนทำให้คลำได้ยาก)จึงทำให้เข้าใจว่า “หัวใจหยุดเต้น” (cardiac arrest) จึงเตรียมใส่ท่อช่วยหายใจ และขย่มหน้าอกเพื่อนวดหัวใจ

แต่คนไข้ “หัวใจหยุด” มักจะหยุดหายใจภายในเวลา 1-2 นาที แต่อาจารย์คนนี้ยังหายใจอยู่ และมีผู้สังเกตเห็นและฉุกคิดได้ว่าไม่ใช่ภาวะหัวใจหยุดเต้น อาจารย์คนนี้จึงรอดพ้นจากการเจ็บตัวไป
เมื่อได้นอนราบกับเตียงแล้วสักพัก ก็ตื่นขึ้นมาเองได้ น้ำเกลือและยากระตุ้นหัวใจและความดันเลือดคงมีส่วนช่วยด้วย แต่ถึงจะไม่ให้ยา โดยทั่วไปแล้วคนไข้ที่เป็นลมหน้ามืดในท่ายืนเมื่อได้นอนราบลงกับพื้นแล้วสักพักก็จะดีขึ้นเอง (บังเอิญรายนี้ลูกศิษย์คิดจะช่วยอาจารย์ไม่ให้สกปรกและน่าเกลียด จึงได้ประคองอาจารย์ขึ้นไว้ในท่านั่ง จึงเกิดอาการมากขึ้น) 

อาการ “วูบ” ของอาจารย์แพทย์รายนี้ก็คล้ายคลึงกับอาการ “วูบ” ของคนไข้รายแรก คือ เกิดจาก “ความดันเลือดตกในท่ายืน” หรือเลือดไหลลงไปที่ขาและเท้าในท่ายืนมากกว่าปกติ จนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ และทำให้เกิดอาการ “วูบ” ขึ้น

แต่สาเหตุที่ทำให้ “วูบในท่ายืน” ของอาจารย์แพทย์รายนี้ ต่างจากในคนไข้รายแรกที่เกิดจากการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะลำไส้ เพราะของอาจารย์แพทย์รายนี้เกิดจากสาเหตุอย่างน้อย 4 ประการ

1.การอดนอนหรือการนอนไม่ค่อยพอในคืนก่อนทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไม่ได้สมบูรณ์เต็มที่ในวันต่อมา จึงไม่สามารถสอนนักเรียนนาน ๆ คนที่อดนอนจึง “วูบ” หรือเป็นลมได้ง่าย

2.การกินยาลดความดันเลือดอีกเท่าตัวในตอนเช้าวันนั้นเพราะรู้สึกปวดมึนศีรษะแล้วไปวัดความดันเลือดสูงกว่าปกติ
อันที่จริง คนที่อดนอนก็อาจปวดมึนศีรษะได้เป็นธรรมดา ไม่ใช่ว่าพอปวดมึนศีรษะก็คิดว่าเป็นอาการปวดมึนศีรษะเกิดจากความดันเลือดสูง
อนึ่ง คนที่นอนไม่หลับ มักจะเครียด หรือหงุดหงิด คนที่ไม่สบาย เช่น ปวดมึนศีรษะอยู่ก็มักจะเครียดจากความกลัว หรือความไม่สบายกายได้เช่นเดียวกัน
ในขณะที่เครียด ความดันเลือดมักจะสูงกว่าปกติเป็นธรรมดาอยู่แล้ว จึงไม่ควรกินยาลดความดันเลือดเพิ่มขึ้น เพราะการกินยาลดความดันเลือดเพิ่มขึ้นเป็นการแก้ปลายเหตุ ที่จริงควรกินยาแก้เครียดและยาแก้ปวดศีรษะจะดีกว่า ถ้าไม่สามารถนอนพักผ่อนได้ (การนอนหลับพักผ่อนจะเป็นการแก้สาเหตุมากกว่าการกินยา)
เมื่อไปกินยาลดความดันเลือดเพิ่มขึ้น จึงทำให้ความดันเลือดตกลงไปมากเมื่อความเครียดบรรเทาลง หรือหมดไป
เมื่อความดันเลือดตกลงไปมาก จึงทำให้เกิดอาการ “วูบ” ขึ้น

3.การงดอาหารเช้า แล้วไปทำงานแบบท้องว่าง ทำให้ร่างกายขาดพลังงานได้ง่าย คนที่อดอาหารจึง “วูบ” หรือเป็นลมได้ง่าย

4.อากาศหรือบรรยากาศ อากาศในหอคนไข้มักจะมีกลิ่นอับหรือกลิ่นที่ไม่ชวนดมต่าง ๆ และไม่มีการถ่ายเทอากาศ(ไม่มีลมพัด) ให้คลายร้อน และให้สดชื่นมากนัก อีกทั้งยังถูกรุมล้อมด้วยนักเรียนแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านในการสอนข้างเตียงเช่นนี้ ทำให้อึดอัดมากขึ้น บรรยากาศที่อึดอัดร้อนอบอ้าว หรือความจอแจ คับแคบ เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งสำหรับการ “วูบ” หรือเป็นลมได้ง่าย
“ถ้าเราเข้าใจอาการ “วูบ” จากการเป็นลมหน้ามืดเช่นนี้แล้ว ก็จะสามารถป้องกันและรักษาอาการ “วูบ” แบบนี้ได้เอง

เพราะถึงไปโรงพยาบาล การรักษาก็ไม่แตกต่างกัน นั่นคือให้นอนพัก และรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ “วูบ”



หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่4) https://www.doctor.or.th/article/detail/4017
การรักษาและป้องกันอาการ “วูบ” ในกรณีนี้เป็นสิ่งที่คนไข้จะต้องปฏิบัติเองทั้งนั้น แพทย์และพยาบาลไม่สามารถปฏิบัติแทนได้ อย่างมากก็ได้แต่แนะนำและอธิบายให้คนไข้เข้าใจเท่านั้น
อนึ่ง การไปโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทาง (แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะอวัยวะหนึ่งอวัยวะใด) มากอาจจะถูกสงสัยว่า “วูบ” จากโรคหัวใจ “วูบ” จากโรคสมองหรืออื่น ๆ
ทำให้ต้องตรวจพิเศษ (ตรวจแล็บ) เพิ่มเติม เสียเวลา เสียเงิน เจ็บตัว และอาจเกิดผลแทรกซ้อนจากการตรวจดังกล่าวได้
ดังนั้น ถ้ามีอาการ “วูบ” แบบหน้ามืดเป็นลม พอนอนพักแล้วหายเป็นปกติ และสามารถหาสาเหตุด้วยตนเองได้ ให้แก้สาเหตุนั้น และในขณะที่รู้สึกหน้ามืดหรือเริ่ม “วูบ” รีบนอนราบลง ก็จะไม่เป็นอันตรายได้



หมอชาวบ้าน วูบ(ตอนที่5) https://www.doctor.or.th/article/detail/4027 “โรคที่คุณเป็นนี้จะหายเร็วขึ้น ถ้าคุณปฏิบัติรักษาตนเองให้ดี เช่น อย่าตรากตรำทำงานมากเกินไป นอนหลับพักผ่อนได้ดี กินอาหารร้อนและเครื่องดื่มร้อน ๆรักษาความอบอุ่นของร่างกาย อย่าเข้าออกสถานที่ที่มีความร้อนเย็นต่างกันมาก ๆ เป็นต้น


หญิง : “แล้วที่การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์คราวก่อน บอกว่าสมองดิฉันขาดเลือดเพราะหลอดเลือดอุดตันนั้น แล้วหมู่นี้ ความจำของดิฉันก็ไม่สู้จะดีเสียด้วย”
หมอ : “ที่จริงหมอคนที่ท่าน เอกซเรย์เขาเพียงแค่สงสัยเท่านั้น เขาจึงอยากให้ทำใหม่ใน 2-3 วัน
“แต่คุณต้องจำไว้ว่า หมอเอกซเรย์เขาไม่ได้ตรวจร่างกายคุณและไม่ได้ถามประวัติคุณ เขาเพียงแต่อ่านเอกซเรย์ซึ่งเปรียบเสมือนรูปภาพ (หรือเงาของอวัยวะ)ของคุณเท่านั้น จึงอาจผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าไปพยายามวินิจฉัยถึงการทำงานของอวัยวะนั้น ๆ เพราะรูปภาพของคุณก็บอกแต่เพียงว่า รูปร่างคุณเป็นอย่างไร หน้าตาสวย หรือไม่สวยก็เท่านั้นเอง ส่วนคุณจะทำงานได้เก่งหรือไม่ ทำงานได้ดีหรือไม่ รูปภาพของคุณย่อมบอกหมอไม่ได้
“เช่นเดียวกับความจำของคุณ ความจำนั้นเป็นการทำงานของสมอง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถบอกได้ว่าสมองของคุณจำได้มาก หรือจำได้น้อยเพียงไร มันบอกได้แต่ความปกติทางกายภาพเท่านั้น

“อนึ่ง ถ้าหมอที่ส่งคุณไปตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เขียนไม่ไปส่งตรวจว่า เขาสงสัยภาวะสมองขาดเลือด หมอเอกซเรย์ก็อาจจะเกิดความรู้สึกคล้อยตามไปได้ในขณะที่อ่านเอกซเรย์นั้น
“การแปลผลการตรวจพิเศษ (การตรวจแล็บ) ต่าง ๆ จึงต้องพิจารณาร่วมไปกับอาการ และผลการตรวจร่างกายเสมอ มิฉะนั้นจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย”
หญิง : “ถ้าอย่างนั้นที่ดิฉันไปตรวจก็เสียเงินไปเปล่า ๆ สิคะ”
หมอ : “ครับ การไปโรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ จึงควรจะหมอที่ไว้ใจได้ในโรงพยาบาลนั้น ๆ ก่อน ถ้าสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไป บางครั้งเรื่องเล็กกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ต้องเสียเงิน เสียเวลา และอาจจะต้องเจ็บตัวจนเกินความจำเป็นด้วย”
หญิง : “แล้วทำไมแพทยสภา หรือแพทยสมาคมไม่จัดการให้โรงพยาบาลเหล่านี้ตรวจรักษาให้ถูก-ต้องล่ะคะ”
หมอ : “เพราะการตรวจรักษาต่าง ๆ มีเกณฑ์กว้างมาก และการชี้ว่า ผิดหรือถูกนั้นมักไม่มีเส้นแบ่งชัดเจน เช่นในกรณีของคุณ ถ้าคุณถามผมว่าผมแน่ใจเต็มที่เลยหรือว่า สมองคุณไม่มีภาวะขาดเลือด ผมก็ต้องตอบว่า ผมไม่แน่ใจ 100 เปอร์เซ็นต์ อาจจะแน่ใจเพียง 98-99 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่หมอคนอื่นเขาอาจจะแน่ใจเพียง 50-60 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีก 40-50 เปอร์เซ็นต์นั้น เขาสงสัยว่าสมองคุณอาจจะขาดเลือด เขาจึงส่งคุณไปตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

“เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าเขาตรวจรักษาผิด ก็คงจะกล่าวไม่ได้ แต่จะกล่าวว่าเขาตรวจรักษาถูก ก็คงจะกล่าวไม่ได้เช่นเดียวกัน
“แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ เขาทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ทำให้คุณเสียเงินมากขึ้น และอาจจะต้องเสียเวลามากขึ้น ถ้าคุณเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล”
หญิง : “คุณหมอพูดเข้าข้างพวกเดียวกันใช่มั้ยคะ คุณหมอไม่กล้าพูดว่าเขาหลอกเอาเงินจากคนไข้โดยการตรวจรักษาที่ไม่จำเป็น ใช่มั้ยคะ”
หมอ : “ที่จริง ผมพยายามพูดอย่างเป็นกลางที่สุด เพราะความจำเป็นหรือไม่ จำเป็นนั้นขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแต่ละคน
“คนไข้บางคน ชอบให้ตรวจโน่นตรวจนี่มาก ๆ เพราะเขารู้สึกว่าโก้ได้ตรวจกับเครื่องมือใหม่ ๆ แปลก ๆ เสียเงินมาก ๆ แล้วโก้ เอาไปคุยโอ้อวดกับญาติมิตรได้เป็นปี
“แต่บางคนก็ไม่อยากตรวจอะไรเลย แม้แต่การตรวจเลือดง่าย ๆ ก็ไปอ้างว่าเป็นบาปที่จะเจาะเลือดพระอรหันต์
“คนที่ชอบตรวจมาก ๆ ก็จะกล่าวว่า การตรวจนั้น ๆ จำเป็นและถูกต้อง ส่วนคนที่ไม่ชอบก็จะกล่าวว่า ไม่จำเป็นและไม่ถูกต้อง
“ทางที่ดีที่สุดก็คือ คนไข้จะต้องรักษาสิทธิของตนเอง เช่น โดยการถามแพทย์ถึงเหตุผลและผลดีผลเสียของการตรวจรักษาต่าง ๆ แล้ว วินิจฉัยด้วยตนเองว่า ตนพร้อมหรือไม่พร้อม สำหรับการตรวจรักษานั้น ๆ”
หญิง : “แล้วหมอที่ไหนเขาจะมาคอยอธิบายให้ฟังเหมือนคุณหมอล่ะคะ ถามเขา 2-3 คำ เขาก็โมโหแล้ว”
หมอ : “คุณก็ควรเห็นใจหมอบ้าง ถ้าเขาตรวจคนไข้มาหลายชั่วโมง ไม่ได้พัก แล้วก็ยังมีคนไข้รออีกตั้งแยะ ถ้าคุณไปเซ้าซี้เขาตอนนั้น เขาก็อาจจะมีอารมณ์บ้าง เพราะเขาก็ยังเป็นปุถุชนอยู่”
หญิง : “ถ้าอย่างนั้น ก็ต้องปล่อยให้โรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ หลอกเงินคนไข้ต่อไป ใช่มั้ยคะ”
หมอ : “ไม่ใช่อย่างนั้น ทางแพทยสภา แพทย์สมาคม และกระทรวงสาธารณสุขเขาพยายามจะควบคุมดูแลให้โรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ ปฏิบัติให้ถูกต้อง 
“แต่คนที่รู้ดีที่สุดว่า โรงพยาบาลเอกชนใด หรือแพทย์คนใด ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็คือคนไข้ หรือประชาชนที่ไปใช้บริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ
“ถ้าคนไข้หรือประชาชนที่ไปใช้บริการโรงพยาบาลหนึ่ง โรงพยาบาลใดไปพบไปเห็นบริการที่ไม่ถูกต้อง หรือสงสัยว่าไม่ถูกต้อง แล้วไม่ร้องเรียนไปที่แพทยสภาหรือกระทรวงสาธารณสุข แพทยสภาหรือ กระทรวงสาธารณสุขก็คงไม่ทราบ หรือถ้าทราบ แต่ไม่มีผู้เสียหายหรือไม่มีหลักฐาน ที่จะฟ้องร้องหรือเอาผิดกับแพทย์หรือโรงพยาบาลนั้น แพทยสภาก็ไม่สามารถเอาผิดกับแพทย์ที่ประกอบวิชาชีพอย่างไม่ถูกต้อง และกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่สามารถสั่งปิดโรงพยาบาลนั้น ๆ ได้

“ดังนั้น คนไข้และประชาชนจึงเป็นคนที่ตรวจสอบและดูแลการกระทำที่ไม่ถูกต้องของแพทย์ และโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้ดีกว่าแพทยสภาแพทย์สมาคม และกระทรวงสาธารณสุข อย่างน้อยก็โดยการเล่าให้ฟังญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงฟังต่อ ๆ กันไปและงดใช้บริการของแพทย์นั้นหรือโรงพยาบาลนั้น
“ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนไข้และประชาชน อย่าไปยึดติดกับการบริการข้างเคียง เช่น ตึกและห้องที่หรูหรา เครื่องมือเครื่องไม้มาก คนรับใช้(บริกร) มาก มีห้องหรูหรา ห้องทำผม บางแห่งมีห้องนวด (ทั้งแบบกายภาพบำบัด และแบบอาบอบนวด) ด้วยเพราะบริการข้างเคียงเหล่านี้จะทำให้การแพทย์มีลักษณะเป็นการแพทย์พาณิชย์มากขึ้นและเพิ่มขึ้น

“ที่น่าวิตกก็คือ ประชาชนในปัจจุบันยึดติดกับความฟุ่มเฟือยและวัตถุนิยมเหล่านี้ จึงทำให้การแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนต่างๆ กลายเป็นการแพทย์พาณิชย์เพิ่มขึ้นๆ แล้วก็มอมเมาให้ประชาชนชอบบริการแบบนี้มากขึ้นๆ โรงพยาบาลเอกชนจึงเกิดมากขึ้น ๆ เหมือนดอกเห็ดในฤดูฝน”
หญิง : “โอ้โฮ คุณหมอเลยระบายเสียยกใหม่ แล้วดิฉันจะไปเล่าให้พี่ ๆ น้อง ๆ และเพื่อนฝูงฟังค่ะ”
หมอ : “ดีแล้ว เพราะคุณทำให้หมอเสียเวลาไปพอสมควรทีเดียว คุณจึงควรชดใช้ด้วยการให้การศึก-ษาแก่ญาติมิตรต่าง ๆ ต่อไป จะได้ไม่ต้องมาต่อว่าหมอเกี่ยวกับพฤติกรรมของหมอคนอื่นอีก”
หญิง : “คุยกับหมอจนเลือดขึ้นหน้าและขึ้นสมองแล้ว ดิฉันเลยหายเวียนหัวแล้วค่ะ”
หมอ : “ดีมาก กำลังใจและความตั้งใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้สำเร็จ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการหายจากอาการและหายจากโรคได้ด้วย”

คนไข้รายนี้อายุเพียงประมาณ 30 ปี จึงไม่น่าจะเป็นโรคสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน และอาการเวียนหัวบ้านหมุนก็สมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าของศีรษะอย่างชัดเจน จึงน่าจะเป็นความผิดปกติของหูชั้นใน จากการอดนอน การแพ้อากาศ การเป็นไข้หวัด หรืออื่น ๆ จึงอาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้เมื่อเกิดสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น การรักษาต่าง ๆ ได้กล่าวไว้ในการสนทนาข้างต้นแล้ว
























******************************************************************************

หน้ามืด
 เกิดจากการที่สมองขาดเลือดและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงชั่วคราว อาจเกิดจากลุกขึ้นยืนเร็วเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย กินยาหรือดื่มแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์กดประสาท แต่หากมีอาการต่อเนื่อง2-3 วัน อาจเป็นเพราะความดันโลหิตต่ำ หรือโลหิตจาง
http://101goodhealth.blogspot.com/2015_07_01_archive.html


 วูบ หรือหมดสติ หรือลมชัก 
อาจเกิดจะระบบป้องกันตนเองของร่างกายมนุษย์ เมื่อเลือดดำที่กลับคืนสู่หัวใจ และเลือดแดงจากหัวใจส่งเลี้ยงสมอง ไหลช้าไหลน้อยกว่าปกติ ซึ่งมาจากความเครียดในอารมณ์ ที่มุ่งสู่เป้าหมายและปัจจัยเวลาในชีวิตมากและนานเกินไป ทำให้พักผ่อนน้อย นอนหลับไม่สนิท  ร่างกายจึงต้องป้องกันตนเอง เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
   วิธีป้องกันและแก้ไขด้วยตนเอง หรือคนใกล้ตัวสามารถช่วยเหลือได้ โดยนวดมือจากจุดจับชีพจรถึงปลายนิ้วทุกนิ้ว มือซ้ายนวดมือขวา มือขวานวดมือซ้าย ให้คนป่วยหายใจลึกๆยาวๆทางจมูกเท่านั้น ทำต่อเนื่องสัก 3-4 นาที แล้วเอามือขวาของผู้ป่วยมาแตะที่บ่าซ้าย ของผู้ป่วยเอง แตะเบาๆเนิบๆสัก30วินาที ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆให้หมด จากนั้นให้ดื่มน้ำหรือจิบน้ำสัก 1-2 อึก อาการจะดีขึ้นแล้ว ทำอีกสักหนึ่งรอบ ก็สามารถจะหายเป็นปกติได้
    เมื่อค่อยยังชั่วแล้ว อย่าลืมทำกายบริหาร ปรับสมดุล
ดื่มน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติชั่วโมงละ 1 แก้ว สังเกตปัสสาวะให้ใส เป็นใช้ได้ และหายใจลึกๆยาวๆเข้าออกทางจมูกเท่านั้น
    อาการนี้เครื่องมือแพทย์ปัจจุบัน ไม่สามารถตรวจพบได้ว่าเกิดจากอะไร  เพราะเส้นเลือด ไม่ตีบ ไม่ตัน ไม่แตกความดันก็เป็นปกติ แต่เป็นการไหลช้าไหลน้อยของเลือด ซึ่งเครื่องมือแพทย์ปัจจุบันตรวจไม่ได้ ตรวจไม่พบ