วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โรคไขมันในเส้นเลือดสูง


คอเลสเตอรอล หมอเขียว หมอดำรง หมอคนโด หมอสันต์ หมอวัลลภ พรเรืองวงศ์ หมอบรรจบ ชุณหสวัสดิกุล หมอสันต์






กะทิไม่มีคอเลสเตอรอล

โดยธรรมชาติคอเลสเตอรอลจะอยู่ในผนังเซลล์
สัตว์ทุกชนิดมีผนังเซลล์ จึงมีคอเลสเตอรอล แต่ในพืชทุกชนิดโดยธรรมชาติ ไม่มีคอเลสเตอรอล เพราะมีวิวัฒนาการน้อยกว่า ในวงการอุตสาหกรรมอาหารใช้ว่าอาหารนั้นดี ีไม่มีคอเลสเตอรอล แต่เขาใช้น้ำตาลหรือวัตถุแฝงลงไปในอาหารและเครื่องดื่ม นั่นต่างหากที่ทำให้เป็นอันตราย...

จากการวิจัยย้อนหลัง10-20ปีพบว่า คอเลสเตอรอลในอาหารส่งผลต่อเลือดน้อยมาก ปัญหาสุขภาพของแต่ละคน
มาจากการกินไขมันอิ่มตัว กินอาหารดึก...

การกินในปัจจุบันให้พิจารณารูปแบบการกิน ที่หลากหลาย โน่นนิดนั่นหน่อย
กินแบบกระจาย ปริมาณไม่มากหรือน้อยเกินไป...
ถ้าเป็นอาหารไทยคือการกินผักลวกจิ้ม กินปลา
(เรา:หลวงปู่จะตักอาหารทุกอย่าง อย่างละนิด โดยสอนว่าให้กินเพื่ออยู่ แต่ที่นั่งอยู่นี่ อยู่เพื่อกิน)
https://youtu.be/3F8XK6BCQfE




**********



(15:03) มื้อเช้ากินทุกอย่างอย่างราชา จัดการมื้อเย็นงดข้าวแป้งน้ำตาล(=ขนม)
เพราะคาร์โบไฮเดรตกระตุ้นร่างกายสร้างไขมัน ยาลดไขมันสุดท้ายทำให้เป็นไขมันพอกตับ เพราะยาไม่ช่วยลดไขมัน ยาเพียงแค่ย้ายไขมันไปไว้ตามอวัยวะต่างๆ
https://youtu.be/BpSGoWJVyhE


จากตุ้ม ลิ้มอี่เฮียง



ไขมันในเลือดสูง น้ำย่านางช่วยได้
https://m.facebook.com/answermorkeaw2/photos/a.865894460215992.1073741828.865872563551515/870740196398085/?type=3


        
หมอคนโด มะโกะโตะผู้เขียนหนังสืออย่าให้หมอฆ่าคุณ หน้า31 พูดถึงคลอเลสเตอรอลว่า“ทำให้เซลล์แข็งแรง จึงสำคัญมากที่เจะไม่ทำให้มันลดลง“


         หมอดำรง  เชี่ยวศิลป์  คลอเลสตอรอลยิ่งสูงยิ่งดี แต่ต้องดูค่าของคลอเลสตอรอลรวมหารด้วยHDL ค่าที่ได้ไม่เกิน4จึงจะไม่อันตราย ,และดูค่าของไตกรีเซอร์ไรด์หารด้วยHDL ค่าที่ได้ไม่เกิน3จึงจะไม่อันตราย ถ้าคุณมีค่าเหล่านี้ลองคำนวณดู แม้ว่าค่าคลอเลสตอรอลรวมเกิน200 พิจารณาทบทวนให้มากก่อนกินยาลดไขมันเพราะผลข้างเคียงของยาต่อตับมีสูง https://youtu.be/3NTqFyMjPsw


นพ.ดำรง เชี่ยวศิลป์1 https://youtu.be/saCRK5kLT4U
(10:58) วิธีออยพูลลิ่ง : ช่วยไม่ให้เหงือกบวมและลดคราบหินปูนโดย
1.เช้าบ้วนปาก3-4ครั้งให้แบคทีเรียในปาก 6,000 กว่าตัวบ้วนทิ้งไปก่อน
2.เอาน้ำมันมะพร้าวหีบเย็น 1 ชต.หรือ10หรือ15ซีซีใส่ปาก
3.กลิ้ง กรอก กลั้ว ดึง ดัน ดูด 30 นาที ถ้ารีบ10นาที แล้วบ้วนทิ้งใส่ถุง มีคำแนะนำว่าการบ้วนลงอ่างล้างหน้าหรือโถส้วมจะเกิดอุดตัน


หมอสันต์ ใจยอดศิลป์ คลอเลสเตอรอล 250 ไม่สำคัญ 

  • ผมอยากจะย้ำให้ผู้มีไขมันในเลือดสูงทุกคน ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงเหตุมากที่สุด ขณะที่ยาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

    โคเลสเตอรอล 250 ไม่สำคัญ สำคัญที่ไขมันดี (HDL) เท่าไร ไขมันเลว (LDL) เท่าไร อย่างเช่นสมมุติว่าคุณออกกำลังกายทุกวัน HDL สูงถึง 120 ก็สบายแฮดีแล้ว ไม่ต้องทานยาลดไขมันเพราะแสดงว่า LDL อย่างมากก็ไม่เกิน 100 เพราะ cholesterol เป็นผลรวมของ HDL + LDL + 1/5 triglyceride การจะกินยาลดไขมันหรือไม่เขาดูที่ค่า LDL เทียบกับความเสี่ยงของตัวเรา อย่างคุณผมประเมินจากข้อมูลหยาบๆที่มีพอบอกได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่ำ จะจำเป็นต้องใช้ยาก็ต่อเมื่อ LDL มากกว่า 160 ขึ้นไป บางหมอที่อนุรักษ์นิยมมากๆอย่างผมนี้ถ้าความเสี่ยงต่ำจริงๆจะให้ยาก็ต่อเมื่อ LDL มากกว่า 190 ขึ้นไป ดังนั้นดูลองดูให้ดีนะครับ คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็ได้ 


     ผมอยากจะย้ำให้ผู้มีไขมันในเลือดสูงทุกคน ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงเหตุมากที่สุด ขณะที่ยาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ วิธีดังกล่าวรวมถึง

    3.1 การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งแบบแอโรบิก(aerobic) แบบยืดหยุ่น(flexibility) และแบบเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ (Strength training) โดยอย่างน้อยต้องออกกำลังกายแบบต่อเนื่องหรือแอโรบิกให้หนักพอควร (หอบเหนื่อยจนร้องเพลงไม่ได้) ติดต่อกันไปอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ส่วนการทำงานบ้านปัดกวาดเช็ดถูที่คุณว่าเหนื่อยจังนั้นเป็นการออกกำลังกายระดับเบา ไม่ใช่ระดับหนักพอควรตามความหมายของผลวิจัยการออกกำลังกายต่อสุขภาพ ผมแนะนำให้คุณจัดเวลาออกกำลังกายอย่างเดียวอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เช่นเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น ถ้าได้วันละสักหนึ่งชั่วโมงก็ดี 

    3.2 การลดอาหารไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันที่ชั่วร้ายที่สุด ได้แก่เนยเทียมที่ทำจากไขมันทรานส์ ขนมอบหรือเบเกอรีที่มีมาการีนเป็นส่วนประกอบ ครีมเทียมใส่กาแฟ อาหารอบเนย อาหารทอด ขนมกรุบกรอบต่างๆ เป็นต้น ไขมันทรานส์นี้ในเมืองไทยบางครั้งจะเขียนข้างฉลากว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัว หรือเป็นน้ำมันพืชเพื่อหลอกผู้บริโภคให้เข้าใจผิด ทั้งๆที่มันไม่เหมือนกันเพราะไขมันทรานส์เป็นน้ำมันพืชที่ผ่านไฮโดรเจน ไม่ใช่น้ำมันพืชธรรมดา เมืองไทยไม่มีกฎหมายบังคับให้ติดฉลากบอกว่ามีไขมันทรานส์หรือไม่ ทำให้เข้าผิดได้ง่าย นึกว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัวชนิดธรรมดาเช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ซึ่งดีต่อสุขภาพ ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องรู้จักแยกแยะให้ดี 

    3.3 การลดอาหารไขมันอิ่มตัว ทั้งไขมันอิ่มตัวจากสัตว์เช่นเนื้อ หมู ไก่ และไขมันอิ่มตัวจากพืชเช่นน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว นอกจากนี้ยังต้องระวังไขมันอิ่มตัวที่มาในรูปอื่นเช่น ไข่ นมโฮลมิลค์ เนย ชีส ไอศกรีม เค้ก คุ้กกี้ น้ำสลัดสำเร็จรูป เป็นต้น 

    3.4 เพิ่มอาหารเส้นใยชนิดละลายได้ คืออาหารกาก หรืออาหารเส้นใย (fiber) แบ่งออกเป็นสองชนิดคือชนิดไม่ละลาย (insoluble) เช่นพืชผักต่างๆ กับชนิดละลายได้ (soluble) ซึ่งได้จากธัญพืชทั้งเมล็ด หรือจากส่วนเคลือบรอบนอกเมล็ดของธัญพืชแบบไม่ขัดสี (whole grain) เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง โอ๊ตแบรนด์ ข้าวสาลีแบบโฮลวีท ซึ่งมีลักษณะเป็นยางเหนียวๆเมื่อหุงหรือนึ่ง งานวิจัยในอาสาสมัครพบว่าเส้นใยชนิดละลายได้นี้ ช่วยลดไขมันไขมันเลว (LDL) ลดไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มไขมันดี (HDL) 

    3.5 ถ้าอ้วน ต้องลดความอ้วนอย่างเอาเป็นเอาตาย ผมเขียนตอบเรื่องการลดความอ้วนไปหลายครั้งแล้ว ท่านที่สนใจหาอ่านย้อนหลังดูได้ครับ

    3.6 ลด ละ เลิก แอลกอฮอล์ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์มากมีผลเพิ่มไขมันในเลือด รวมทั้งไขมัน LDL

หมอสันต์อธิบายการแปลผลเลือด จากข้อความข้างล่างคลิกอ่านที่นี่
http://visitdrsant.blogspot.com/2012/10/blog-post_4.html?m=1
Triglyceride คือไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคชนิดหนึ่งในร่างกายเรา ระดับที่สูงจนต้องใช้ยาคือเกิน 200 mg/dl ของคุณได้ 218 ก็ถือว่าเป็นโรคไขมันในเลือดผิดปกติชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง

 HDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าเอ็ช.ดี.แอล. เรียกอีกอย่างว่า “ไขมันดี” เพราะมันเป็นไขมันที่ดึงไขมันที่พอกหลอดเลือดออกไปจากหลอดเลือด ดังนั้นยิ่งมีเอ็ช.ดี.แอล.มากก็ยิ่งดี คนปกติควรมีเอ็ขดีแอล.เกิน 40 mg/dl ขึ้นไป ของคุณมี 37 ก็ถือว่าต่ำผิดปกติ หมายความว่าเป็นคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมาก

LDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าแอลดีแอล. หรือเรียกอีกอย่างว่า “ไขมันเลว” เพราะมันเป็นตัวไขมันที่พอกอยู่ที่ผนังหลอดเลือดและเป็นไขมันก่อโรคโดยตรง การจะตัดสินว่าคนไข้คนไหนควรกินยาลดไขมันเมื่อไหร่ก็ตัดสินกันจากระดับแอลดีแอล.นี่แหละ โดยเทียบกับความเสี่ยงในการเป็นโรคที่แต่ละคนมีเป็นทุนอยู่แล้ว  กล่าวคือ

ถ้ามีความเสี่ยงต่ำ จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 160
ถ้ามีความเสี่ยงปานกลาง จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า130
ถ้ามีความเสี่ยงสูง หรือเป็นโรคหัวใจ หรือเบาหวาน หรืออัมพาตแล้ว จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 100

     ในกรณีของคุณนี้ น่าเสียดายที่คุณไม่ได้บอกความดันเลือด สถานะของการสูบบุหรี่ และประวัติการตายของบรรพบุรุษมา ผมจึงประเมินระดับชั้นความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดให้คุณไม่ได้ แต่หากดูจากดัชนีมวลกายที่สูงเกินปกติ (26) น้ำตาลที่ค่อนไปทางสูง ไตรกลีเซอไรด์ที่สูงผิดปกติ และไขมันดีที่ต่ำมาก ผมเดาว่าระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือดของคุณต้องเป็นระดับปานกลางขึ้นไปแน่นอน นั่นหมายความว่า ณ จุดนี้ คุณต้องรีบรีดไขมันเลวออกจากตัวให้เหลือต่ำกว่า 130 ให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ คุณก็ต้องกินยาลดไขมัน


สำนักข่าว BBC รายงานเรื่อง 'cholesterol 'does not predict stroke in women' = "โคเลสเตอรอล "ไม่ได้พยากรณ์สโตรค (stroke = สโตรค / กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน" ในผู้หญิง"

เมื่อพบบทความนี้    มีรายละเอียดน่าสนใจจาก นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ ที่เว็บ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/428294
จึงอยากกระจายต่อ โดยมีข้อความที่ตัดมาดังนี้


สโตรคหรือโรคหลอดเลือดสมองในซีกโลกตะวันออก (เอเชีย) มีลักษณะต่างจากโลกตะวันตก (ฝรั่ง) คือ ความดันเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งถ้ามีการตรวจวัดความดันฯ และรักษาให้ต่อเนื่องจะลดความเสี่ยงอัมพฤกษ์-อัมพาตได้มาก
.
โคเลสเตอรอลในร่างกายได้มาจากอาหารประมาณ 20%, ได้จากการสร้างใหม่ภายในร่างกาย 80% (สร้างที่ตับ)
.
การป้องกันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ในสูงทำได้ โดยการลดไขมันอิ่มตัว เช่น อาหารทอด, ไขมันปาล์ม กะทิ น้ำมันมะพร้าว ไขมันสัตว์ ฯลฯ และลดไขมันทรานส์ หรือไขมันแปรรูป เช่น ขนมกรุบกรอบ เค้ก คุกกี้ เนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม ฯลฯ
.
การลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ (TG) ทำได้ โดยการลดอาหารทอด, ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) หนัก, ไม่กิน "ข้าว-แป้ง-น้ำตาล" มากเกิน, และไม่นั่งคราวละนานๆ โดยเฉพาะถ้าดู TV หรือใช้อินเตอร์เน็ต, ควรลุกเดินไปมาทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
.
การออกแรง-ออกกำลังให้หนักขึ้น นานขึ้น หรือบ่อยขึ้น เช่น เดินเช้า 30 นาที, ตอนเย็นเดินเพิ่มอีก 10 นาที ฯลฯ มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง


คอเลสเตอรอลกับเรื่องราวซ่อนเงื่อนทางธุรกิจอยู่มากมาย
  • คุณเคยคิดไหมว่า ทำไมจู่ๆ "ภาวะ" คอเลสเตอรอลสูงซึ่งไม่เป็นที่รู้จักเลยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว กลับกลายเป็น "โรค" ซึ่งสร้างความกลัว ความวิตกกังวลให้กับคนนับสิบล้านทั่วโลก?

ความ กลัวคือความทุกข์ประการหนึ่ง เป็นสิ่งที่บั่นทอนความสุขของผู้คน แต่ความกลัวก็เป็นสิ่งที่บันดาลความสุขให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ คนขายยายังไงเล่า

การสร้างความกลัวดังกล่าวให้รายได้กับบริษัทยาทั่วโลกมากกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

คอเลสเตอรอลเป็นสารองค์ประกอบที่จำเป็นตัวหนึ่งในร่างกายของเรา เราใช้มันสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ สร้างฮอร์โมนเพศ สร้างฮอร์โมนคอร์ติโซลเพื่อช่วยระบบร่างกายแบกรับความเครียด

ต่อ มามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงว่า ระดับคอเลสเตอรอลสูงในเลือดมีความสัมพันธ์ต่อโรคหัวใจหลอดเลือด แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า คอเลสเตอรอลที่ระดับเท่าไหร่จึงจะเสี่ยงต่อโรคกลุ่มนี้และมีประชากรจำนวนกี่คนที่จะเสี่ยงต่อเรื่องนี้จริงๆ
นายเฮนรี แกดสเดน ซึ่งเป็นประธานบริษัทเมิร์ก ยักษ์ใหญ่ของธุรกิจยาซึ่งกำลังจะเกษียณอายุ ได้ให้สัมภาษณ์นิตยสารฟอร์จูนว่า "บริษัทยา ถูกจำกัดศักยภาพไว้ให้อยู่เฉพาะกับผู้เจ็บป่วยเท่านั้น แท้จริงแล้วบริษัทเมิร์กควรทำแบบบริษัทขายหมากฝรั่ง คือผลิตยาขายให้กับคนสุขภาพดี ให้บริษัทสามารถขายยาให้แก่ทุกๆ คน"

แปล ฝรั่งพูดไทยให้คนไทยฟังก็คือ นายแกดสเดนคิดว่า ถ้าเขามัวแต่ขายยาลดคอเลสเตอรอลให้กับผู้ป่วยจริงๆ คือพวกโรคหัวใจ เขาก็จะรวยช้า จำเป็นอยู่เองที่เขาจะต้องทำให้คนปกติที่ไม่ป่วย แต่เข้าใจว่าตัวเองป่วย และหันมากินยาลดไขมันของเขา เขาจะได้รวยเร็วขึ้น

คิดได้ดังนั้นแล้ว นายเฮนรี แกดสเดน ก็จัดการทำ "ใต้ โต๊ะ" กับคณะผู้เชี่ยวชาญชุดหนึ่งในสหรัฐซึ่งมีหน้าที่กำหนดค่ามาตรฐานของคอเลสเต อรอลในเลือด ให้ปรับค่าปกติของคอเลสเตอรอลจากเดิมที่ 250 ม.ก./ด.ล. มาเป็น 200 ม.ก./ด.ล. งานนี้ประชุมกันในปลายปี ค.ศ.2001

ผล ก็คือ หลังการประชุมในคืนนั้นคนทั่วโลกนอนหลับไป ครั้นตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็พบว่ามีประชากรหลายสิบล้านคนทั่วโลก ซึ่งเมื่อวานนี้ยังเป็นคนปกติอยู่ แต่นอนหลับไปคืนเดียว ตื่นขึ้นมาก็พบว่าตนกลายเป็นผู้ป่วยไปเสียแล้ว

ด้วยเหตุนี้ยาสแตตินซึ่งครอบคลุมชาวอเมริกัน 13 ล้านคน ในปี ค.ศ.1990 จึงเพิ่มกลุ่มประชากรที่ต้องบริโภคยาเป็น 36 ล้านคน ภายในชั่วข้ามคืนเดียวตามกำหนดของหลักเกณฑ์ใหม่โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ (ด้านการใช้ยา) ในปีดังกล่าว

ซึ่งต่อมามีความจริงที่พบว่า คณะผู้เชี่ยวชาญคณะนี้มี 14 คน มี 5 คน ที่มีความสัมพันธ์ด้านการเงินกับผู้ผลิตสแตติน 8 ใน 9 ของคนคณะนี้รับจ้างบรรยาย เป็นที่ปรึกษา หรือทำวิจัยให้บริษัทยายักษ์ใหญ่ มีผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งรับเงินจากบริษัทถึง 10 บริษัทด้วยกัน

ความเชื่อมโยงเหล่านี้ไม่เป็นที่รับรู้ของสาธารณะ จนมีองค์กรสื่อในอเมริกานำมาเปิดโปง และเกิดวิวาทะครั้งใหญ่

ใครที่สนใจเรื่องนี้ไปหาอ่านได้ในหนังสือ "อุบายขายโรค" พิมพ์โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นบรรณาธิการ

คุณเป็นอีกคนหนึ่งใช่ไหมที่ตกอยู่ในฐานะ นักบริโภคยาลดไขมัน
คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้หมอเคยชี้ว่าคุณเป็นโรคคอเลสเตอรอลสูงเมื่อระดับเกิน 250 ม.ก./ด.ล. แต่ต่อมาไม่นานกลับไปหาหมอคนเดิม ทีนี้ท่านบอกคุณว่า "มีงานวิจัยใหม่แล้วว่าคอเลสเตอรอลที่ปลอดภัยต้องไม่เกิน 200 ม.ก./ด.ล. เพราะคนที่ระดับคอเลสเตอรอลระหว่าง 200-250 ม.ก./ด.ล. ก็มีสิทธิตายด้วยหัวใจหลอดเลือดอีกตั้งเยอะ เห็นท่าจะจำเป็นจ่ายยาลดคอเลสเตอรอลให้คุณละนะ ไหนๆ คุณก็เบิกค่ารักษาพยาบาลได้อยู่แล้ว" ดังนั้น คุณก็ยอมรับอย่างน่าชื่น

แต่ คุณรู้ไหมว่า ยาลดไขมันเหล่านี้เข้าไปทำหน้าที่อย่างไรในร่างกาย ทำไมจู่ๆ คนมีนิสัยแย่ๆ ในการกินอาหารจนคอเลสเตอรอลสูง ครั้นหันมากินยาลดไขมันแต่ยังคงดำเนินชีวิตแย่ๆ ต่อไป แล้วคอเลสเตอรอลในเลือดก็ลดลงได้

ตามหลักฟิสิกส์แล้ว สสารย่อมไม่สูญสลายไปไหน แล้วคุณเคยสงสัยไหมว่า ไขมันที่คุณกินเข้าไปอย่างตามใจปาก มันหายไปไหนหมด

คำตอบก็คือ ยาลดไขมันไปทำหน้าที่เพิ่มปุ่มรับ (receptor) บนเซลล์ตับ ให้ตับเก็บรับคอเลสเตอรอลจากกระแสเลือด แล้วไปซุกอยู่ในเซลล์ตับนั่นเอง

ผล ก็คือการหลอกลวงว่า ในเลือดของเราหลังกินยาแล้วหลอดเลือดสะอาด แต่หารู้ไม่ว่าเป็นการกลบเกลื่อนหลักฐานของนิสัยบริโภคนิยมที่เหลวไหล เหมือนการกวาดเอาขยะไปซุกอยู่ใต้พรมนั่นเอง

พูดง่ายๆ ว่าไขมันเหล่านั้นย้ายที่อยู่ไปซุกอยู่ในตับ

จึงพบความจริงว่าใครก็ตามกินยาลดไขมันไป 3-5 ปี ขอท้าพิสูจน์ให้ไปตรวจอัลตราซาวด์ตับได้เลย จะพบผู้คนจำนวนมากที่กลายเป็นโรคไขมันพอกตับไปแล้ว

แถมปัจจุบันนี้คนที่กินยาจนคอเลสเตอรอลต่ำมากแล้ว หมอยังไม่ยอมเลิกจ่ายยา แต่บอกผู้ป่วยว่า "คุณต้องกินยาตลอดชีวิต"

เรื่อง ของคอเลสเตอรอลจึงมีเรื่องราวซ่อนเงื่อนทางธุรกิจอยู่มากมาย และผู้บริโภคก็ตกเป็นเหยื่อของการแพทย์พาณิชย์ นี่คือประเด็นที่หนึ่งที่จะชี้ให้เห็นในวันนี้

เขียนโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล  (103) Healthybyself 
@คอเลสเตอรอล ล้วงลับระดับโลก@
  • เคยกินยาชนิดนี้แล้วปรึกษาหมอว่าขอหยุด  โดยขอควบคุมอาหารอย่างเข้มงวดตามแนวชีวจิตผสมหมอเขียว  งดของทอด  แม้แต่กระเทียมเจียว  ออกกำลังกายโดยรำกระบองทุกวัน ปฏิบัติธรรม  โคเลสเตอรอลรวมจาก 288  ลดลงมาเหลือ 236  ในเวลา 3 เดือน  สาเหตุมาจากการใช้ชีวิตในการกิน  นอน  ทำงาน ที่ไม่สมดุลย์  เมื่อพบบทความนี้    มีรายละเอียดน่าสนใจจาก นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ ที่เว็บ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/470190  จึงอยากกระจายต่อ โดยมีข้อความที่ตัดมาดังนี้
  • ความเสี่ยงโดยเฉลี่ย คือ ขนาดยาที่ทำให้คน 3 คนพ้นจากอาการโรคหัวใจ (หลอดเลือดหัวใจตีบตันกำเริบ - heart attack) จะทำให้คน 1 คนเป็นเบาหวาน
    .
    ทางเลือกที่น่าจะดี คือ ปรับเปลี่ยนแบบแผนในการใช้ชีวิต (lifestyle / ไลฟ์สไตล์) และ/หรือ ใช้ยาสเตติน โดยเริ่มจากขนาดต่ำก่อน และทำการป้องกันโรคเบาหวานดังต่อไปนี้
    1. หลีกเลี่ยง / "ลด-ละ-เลิก"
         1.1  เครื่องดื่มเติมน้ำตาล
    เครื่องดื่มซื้อปลอดภัยน้อยกว่าเครื่องดื่มชงเอง เพราะใส่น้ำตาล-ครีม-ครีมเทียมมากถ้าชงเอง...ควรใช้น้ำตาลแต่น้อยใช้น้ำตาลเทียมผสมน้ำตาลอย่างละ 1/2 เช่น ไลท์ชูการ์ ฯลฯ หรือใช้น้ำตาลเทียมช่วยใช้นมไขมันต่ำแทนครีมเทียมได้ (ถ้าชอบครีมเทียมควรเลือกยี่ห้อดีน เพราะทำจากน้ำมันถั่วเหลือง ยี่ห้ออื่นทำจากน้ำมันปาล์ม)
           1.2  ข้าวขาว-แป้ง-น้ำตาล-น้ำผลไม้
    กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือขนมปังเติมรำ (โฮลวีท) แทนขนมปังขาว อย่างน้อย 1/2, ลดอาหารทำจากแป้งกินผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล เช่น ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ ส้ม ส้มโอ แอปเปิ้ล ฯลฯ แทนน้ำผลไม้
            1.3  เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่กว่าสัตว์ปีก เช่น แพะ แกะ วัว หมู ฯลฯเนื้อสำเร็จรูป เช่น หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอก ไส้อั่ว เบคอน ฯลฯ
    ระวังน้ำหนักเกิน-อ้วน  ไม่สูบบุหรี่  ไม่ดื่มหนัก
    2. ลงมือทำ
    ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
    กินผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้กรองกาก)
    ระวังระดับวิตามิน ต่ำกว่า 75 nmol/L ซึ่งทำได้โดยการรับแสงแดดอ่อน 15-20 นาที/วัน และ/หรือ กินวิตามินรวมที่มีวิตามิน พร้อมอาหารที่มีไขมัน
    เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ โดยการออกแรง-ออกกำลังแบบต้านแรง 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น เล่นเวท ยกน้ำหนัก ขึ้นลงบันได เดิน-วิ่งขึ้นลงเนิน ฯลฯ
    กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะสำคัญในการดึงไขมัน-น้ำตาลจากกระแสเลือดไปใช้วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ขึ้นลงบันได หรือเดินขึ้นลงเนิน ซึ่งถ้ามีบันไดน้อยขั้น ให้จับราวบันได เดินหน้าถอยหลังที่บันได โดยใช้บันได ขั้น

น้ำมันปาล์มกับโคเลสตอรอล

คนชอบกินของทอด  แต่ชีวิตกำลังแย่ลง  มีรายละเอียดน่าสนใจจาก นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์ ที่เว็บ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/470201 อยากช่วยกระจาย  จึงขอตัดบางตอนมาดังนี้

  • น้ำมันปาล์มโอเลอินนิยมใช้ในการทอดน้ำมันท่วม และปิ้งขนมปัง เนื่องจากทนความร้อนได้ค่อนข้างสูง, การศึกษาใหม่จากเดนมาร์กพบว่า น้ำมันชนิดนี้ไม่ค่อยดีกับร่างกาย คล้ายน้ำมันหมู 
  • น้ำมันปาล์มมีข้อดี คือ จุดเกิดควันสูง ทนความร้อนสูง และมีราคาถูก ใช้มากในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป ทว่า... มีไขมันอิ่มตัวสูง
  • เบเกอรี่ทั่วไปมักจะใช้เนยขาว-เนยเทียมทำจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นไขมันทรานส์
  • น้ำมันเนยนิยมใช้ทำเบเกอรี่แบบแพง และใช้ในอาหารแขกบางชนิด
  • .ไขมันทรานส์ (ไขมันแปรรูป หรือไขมันโรงงาน) / trans fat = ไขมันแปรรูปในโรงงาน ลดโคเลสเตอรอลชนิดดี - HDL และเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดเลว - LDL)
  • ไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในคุกกี้ เบเกอรี ขนมใส่ถุง เนยเทียม ฟาสต์ฟูด
  • โคเลสเตอรอล หรือคราบไขมันในเลือด (cholesterol) ประกอบด้วยตัวละครสำคัญ 3 ชนิดได้แก่
(1). โคเลสเตอรอลฝ่ายดี (HDL) - ทำหน้าที่นำคราบไขหรือขยะตามผนังหลอดเลือดกลับไปตับ ขับออกทางน้ำดี
.
ถ้ากินเส้นใย หรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่ว ผักผลไม้ที่มีเมือกลื่น ฯลฯ มากพอ จะขับออกทางอุจจาระ, ถ้ากินไม่มากพอ... ส่วนหนึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้ากระแสเลือดใหม่
.
(2). โคเลสเตอรอลฝ่ายร้าย (LDL) - ทำหน้าที่นำโคเลสเตอรอลจากตับ (80% สร้างที่ตับ โดยขึ้นกับพันธุกรรม ปริมาณไขมันอิ่มตัว-ไขมันทรานส์หรือไขมันแปรรูป ยิ่งกินมาก-ยิ่งสร้างมาก; 20% มาจากอาหาร) ไปยังเซลล์ต่างๆ เพื่อใช้สร้างผนังเซลล์ และฮอร์โมนบางชนิด
.
LDL ส่วนหนึ่งจะสะสมที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบมากขึ้นเรื่อยๆ (เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 2 ขวบ), เมื่อตีบมากพอ จะเสี่ยงโรคหลอดเลือดตีบตัน เช่น โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ
.
(3). ไขมันไตรกลีเซอรายด์ (triglyceride / TG) - ทำหน้าที่เป็น "ผู้ช่วยฝ่ายร้าย" คือ ทำให้ HDL อายุสั้นลง, LDL มีขนาดเล็กลง ซึมออกจากกระแสเลือดไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดได้มากขึ้น


  • การทำอาหารผัดควรหลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง และมีจุดเกิดควันสูง เช่น น้ำมันคาโนลา-เมล็ดชา-ถั่วลิสง-รำข้าว ฯลฯ และควรกินถั่ว-ปลาที่ไม่ผ่านการทอด เพื่อให้ได้รับโอเมกา-3 พอประมาณ










    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น