วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การตรวจสุขภาพและการใช้ยา










(09:47) เวลาเจ็บป่วย ผมจะทำอย่างไร
 ตอนแรกผมก็กังวลใจเหมือนกัน เพราะผมไม่มีเงินเลย
แต่ผมเริ่มไตร่ตรองมากขึ้น
จริงๆแล้ว ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเลย
ความเจ็บป่วยคือบางสิ่ง ที่จะเตือนให่เรารู้ว่า
เรากำลังทำบางสิ่งบางอย่างในชีวิตผิพลาดไป
นั่นคือสาเหตุว่า ทำไมเราจึงป่วย

ดังนั้นเมื่อผมป่วย ผมจึงต้องหยุดและหันมาดูตัวเอง
และคิดให้ได้ว่า ผมทำอะไรผิดไป
ผมได้เรียนรู้วิธีการใช้น้ำเพื่อบำบัดตัวเอง
วิธีการใช้ดินเพื่อรักษาตัวเอง
ผมเรียนรู้วิธีที่จะใช้ ความรู้พื้นฐานในการรักษาตัวเอง





กินยาแก้ไมเกรนโดยซื้อเอง จนต้องตัดขาเหนือเข่าทั้ง2ข้าง เริ่มดูคลิปที่40:00

https://youtu.be/PdGxlD8rkYY

ข่าวดี!!!..แพทย์ไทยรักษา 6 โรคร้าย...หายได้ โดยไม่ต้องใช้ยา...ใช้เวลาเพียง 4 เดือน!!!!


https://youtu.be/YMIfzKy5dp0

เริ่มดูที่ 3.24 "ไม่รู้หรอกว่าเป็นเบาหวาน ก็ไปเที่ยวญี่ปุ่น ระหว่่างไปเที่ยวก็ปัสสาวะตลอด กลับมาเมืองไทยก็เลยตรวจ ตรวจปุ๊บก็เจอเลย 294  นี่คือรู้ครั้งแรก จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยน พอรู้ปุ๊บรู้สึกช็อค ไม่ได้กลัวโรคพราะมันไม่ได้เจ็บปวด กลัวความพิการ ไม่ตาบอดก็ไตวาย อันนี้น่ากลัวมาก การรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน เรารักษาด้วยยา ตัวเบาหวานเองก็ทำให้ไตเสื่อม ยาก็ทำให้ไตเสื่อม หนีเสือปะจรเข้



เวลานี้ผมรักษาเบาหวานโดยไม่ใช้ยาคือใช้อาหารที่เรารับประทานเนี่ยะไปรักษามัน

05.11 เราเห็นทางเดินของโรค 4 ปีมานี่ต้องกินยาวันละ 15 เม็ด 4ปีมานี่ต้องกินยารวมประมาณ20000 กว่าเม็ด ก็เลยเป็นที่มาของจุดเปลี่ยน ผมมีความพร้อมมีโรงพยาบาลเองแต่ไม่ใช้ยา อยากจะเชิญชวนคนไทยให้มาสู้กับโรคที่มาพร้อมกับความเจริญ คือถ้าเราใช้แบบดั้งเดิมตามวิถีธรรมชาติ เราจะไม่เป็นโรคพวกนี้เลย 


การกอดดีกว่ายา
http://thesecret.tv.br/2015/11/abracos-sao-melhores-para-a-sua-saude-do-que-remedios-de-acordo-com-a-ciencia/

นี่ คือ6 เหตุผลที่พิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์์ โดยที่กอดดีกว่ายาเสพติดเพื่อสุขภาพของคุณ

1. ช่วยกระตุ้นการกอดนี่คือความจริง: กอดกระตุ้นการผลิตของสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ในศูนย์อารมณ์ของสมอง ส่งเสริมความรู้สึกของความพึงพอใจและลดความวิตกกังวลและความเครียด. นักจิตวิทยาที่ DePauw มหาวิทยาลัยแมตต์ Hertenstein. กล่าวว่า"neuropeptide โดยทั่วไปส่งเสริมความรู้สึกของความจงรักภักดี ความไว้วางใจและความสามัคคี"

2. กอดบรรเทาความกลัวของการเสียชีวิต แปลกฉันรู้ แต่อ้อมกอดจริงสามารถช่วยลดความกลัวของการดำรงอยู่ของพวกเขาที่ตาย แน่นอนว่าเราทุกคนตายในที่สุด แต่อ้อมกอดทำให้ดูเพียงเล็กน้อยต่อไป นักวิจัยKoole ซานเดอร์ กล่าวว่า ์"สัมผัสความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพที่แม้กระทั่งวัตถุที่จำลองการสัมผัสคนอื่นสามารถช่วยปลูกฝังในคนที่ความรู้สึกของการดำรงอยู่

3. กอดช่วยกระตุ้นโดพามีน ี่ เริ่มต้นกอดจะคล้ายกันมากกับการรับยา การไหลเวียนของโดปามีนถูกเรียกโดยยาเสพติด ซึ่งจะเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจ แต่เมื่อคุณหยุดสามารถผลิตภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง ระดับต่ำของโดพามีนอาจนำไปสู่​​โรคต่างๆเช่นโรคพาร์กินสันผิดปกติท​​างอารมณ์ กอดช่วยกระตุ้นการผลิต โดพามีนในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับที่ไม่เป็นอันตราย

4. กอด(เบบี้)ทารกช่วยให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดี พ่อแม่ที่โอบกอดทารกของพวกเขา ช่วยให้พวกเขาเติบโตและกลายเป็นผู้ใหญ่ ที่ผ่อนคลายมากขึ้น โลกต้องการมัน

5. กอดช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย งานวิจัยบางคนแสดงให้เห็นว่าโอบกอดเผยแพร่ immunoregulatory ฮอร์โมนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันของเรา เปลี่ยนวิธีการที่ร่างกายของเราจัดการกับความเครียดทั้งทางร่างกายและสังคม

6. (กอด)กอดสร้างความสมดุลให้กับระบบประสาทผิวของเรามีเครือข่ายของศูนย์ความกดดันขนาดเล็กที่เรียกว่า corpuscles Pacinian ศูนย์ความกดดันเหล่านี้รู้สึกสัมผัสและเชื่อมต่อกับสมองผ่านเส้นประสาทเวกั เมื่อคุณได้รับการกอดหรือสัมผัส โดยทั่วไปจะเปลี่ยนเป็นสื่อกระแสไฟฟ้าของผิว จะสร้างสภาวะสมดุลมากขึ้นสำหรับการทำงานของระบบประสาท

*****************

หลีกเลี่ยงอันตรายจากการตรวจรักษา














 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์


นพ.สันต์ หัตถีรัตน์กล่าวในบทความเรื่องโรงพยาบาลไม่ปลอดภัย หมอชาวบ้าน. 36(432).เมษายน 2558.หน้า34-36.

    จากการศึกษาวิจัยในสหรัฐฯ พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลยังเสียชีวิตจากผลข้างเคียงของการตรวจรักษาหลายแสนคนต่อปี และเกิดอันตรายร้ายแรงจากผลของการตรวจรักษาหลายล้านคนต่อปี
 
      การอยู่โรงพยาบาลจึงไม่ปลอดภัยและอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตและสุขภาพได้ โดยผู้ป่วยและญาติไม่อาจล่วงรู้ได้


 นพ.สันต์ หัตถีรัตน์กล่าวในบทความเรื่อง รู้ตัวเมื่อสาย.หมอชาวบ้าน.เมษายน 2556

การตรวจสุขภาพที่กระทำกันทั่วไป จึงมักจะก่อให้เกิดความประมาท ถ้าผลการตรวจเลือดและแล็บต่างๆ ออกมาเป็นปกติ ทั้งที่พฤติกรรมของผู้ที่ตรวจสุขภาพแสดงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอย่างชัดเจน การหยุดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ มากกว่าการตรวจสุขภาพที่กระทำกันโดยทั่วไป

การสูบบุหรี่ก็เช่นเดียวกัน กว่าพิษภัยร้ายแรงจะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ก็จะเกิดหลังสูบบุหรี่เป็นประจำอยู่หลายสิบปี เช่น โรคมะเร็งปอด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคถุงลมปอดโป่งพอง เป็นต้น ซึ่งเมื่อปรากฏอาการชัดเจน และ/หรือรุนแรง ก็มักจะสายเกินแก้แล้วเช่นเดียวกัน ตัวอย่างผู้ป่วยรายที่ ๙๒

ผู้ป่วยรายนี้เป็นชายชาวบราซิล อายุ ๕๗ ปี ที่เป็นข่าวไปทั่วโลกเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ เพราะเป็นที่รักและชื่นชมของนักเตะและแฟนฟุตบอลทั่วโลกในความรู้ความสามารถของท่านทั้งในและนอกสนามฟุตบอล โดยท่านได้รับการยืนสงบนิ่งไว้อาลัยในการแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญๆ ทั่วโลกในวันต่อๆ มาท่านคือ “หมอโสคราเตส” (Dr.Socrates)

เสียชีวิตที่โรงพยาบาลอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ (Albert Einstein Hospital) ในนครเซา เปาโล (Sao Paulo) ประเทศบราซิล หลังจากถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการอาหารเป็นพิษ ในคืนวันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ และเสียชีวิตด้วยภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (septic shock) เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ในวัย ๕๗ ปี

ผมไม่เคยมีปัญหากับแอลกอฮอล์ เพราะผมไม่ได้เสพติดสุรา เนื่องจากผมไม่เคยมีอาการถอนสุรา (alcohol withdrawal symptoms) หลังหยุดดื่มเป็นเวลานานๆ ตลอดเวลาที่ผมเกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ ผมถือว่าแอลกอฮอล์เป็นเสมือนเพื่อนคนหนึ่ง”

อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งที่ท่านเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเดือนสิงหาคมและกันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ จากเลือดออกในทางเดินอาหาร ท่านได้ตระหนักว่าภาวะดังกล่าวเป็นผลร้ายจากการดื่มสุรามากเกินไปในสมัยเป็นนักฟุตบอล แม้ท่านจะยืนกรานว่าสุราไม่ได้มีผลกระทบต่อการเล่นฟุตบอลของท่าน แต่คงยากจะปฏิเสธว่า สุราไม่ได้มีผลต่อสุขภาพของท่านและทำให้ท่านเสียชีวิตในวัยเพียง ๕๗ ปีเพราะภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งท่านยอมรับว่าน่าจะเป็นผลจากการดื่มสุรามากในวัยหนุ่ม ทำให้เดาว่าภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารดังกล่าวน่าจะเกี่ยวข้องกับตับที่ทำงานลดลงจากพิษของสุราหรืออาจถึงขั้นเป็นโรคตับจากพิษสุราได้

แต่การตระหนักและยอมรับพิษร้ายของสุราที่ดื่มมากในวัยหนุ่ม และเพิ่งมาปรากฏอาการอย่างรุนแรงใน พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นการตระหนักรู้ที่ช้าและสายเกินไป
เพราะนอกจากสุราจะทำให้เกิดเลือดออกในทางเดินอาหารแล้ว ยังทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลงด้วย

ดังนั้น เมื่อท่านเกิดภาวะอาหารเป็นพิษในคืนวันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ท่านจึงเสียชีวิตอย่างรวดเร็วจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในวันอาทิตย์ที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔
นี่เป็นตัวอย่างผู้ป่วยที่แม้ว่าจะเป็นนักกีฬาและเป็นแพทย์ แต่ก็ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะความประมาท ไม่ดูแลสุขภาพของตนเอง และเสพสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (บุหรี่และสุรา) เป็นประจำในวัยหนุ่ม จนเมื่อเกิดอาการรุนแรงและตระหนักว่ามีสาเหตุจากพิษภัยของสิ่งที่เสพนั้น ก็สายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้แล้ว  โดยทั่วไป นักกีฬาระดับชาติและระดับโลก จะได้รับการตรวจสุขภาพ (รวมทั้งการตรวจเลือดและอื่นๆ) เป็นประจำ แต่คงไม่พบความผิดปกติใดๆ “หมอโสคราเตส” จึงเพิ่งจะตระหนักถึงพิษภัยของสุราเมื่อเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารขณะที่มีอายุถึง ๕๗ ปีแล้ว

นพ.สันต์ หัตถีรัตน์กล่าวในบทความเรื่อง สุนัขกัดตาย.หมอชาวบ้าน.เมษายน 2556
http://www.doctor.or.th/article/detail/13860



ถ้าให้ผู้เขียน “เดา” หรืออนุมานจากภาพข่าวที่ได้เห็น ได้ฟังและได้อ่าน สาเหตุการตายในผู้ป่วยรายนี้ คือ
๑. การแพ้หรือเป็นพิษจากยาที่ได้รับจากการไปโรงพยาบาลครั้งแรก ซึ่งน่าจะรักษาได้ถ้าผู้ป่วยกลับไปยังโรงพยาบาลเดิมที่มีบันทึกอยู่แล้วว่า ผู้ป่วยได้รับยาอะไรไปบ้าง และอาการที่เปลี่ยนไปเข้าได้กับการแพ้ยาหรือเป็นพิษจากยาหรือไม่ (การเปลี่ยนโรงพยาบาล ทำให้แพทย์คนใหม่ไม่มีข้อมูลเดิมไว้เปรียบเทียบ)
๒. การเสียเลือดมาก และแพทย์ (ถ้ามีแพทย์ในห้องฉุกเฉินในวันหยุดราชการในโรงพยาบาลนั้น) มองข้ามเรื่องการเสียเลือดมาก เพราะไม่ได้ไปเห็นกองเลือดที่จุดเกิดเหตุ และไม่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้บาดเจ็บ (โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทย ใช้ “แพทย์จบใหม่” หรือ “มือใหม่หัดขับ” ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน ความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะผู้บริหารโรงพยาบาลและรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้!)
น่าเสียดายที่ผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าวไม่สนใจกับ “การเสียชีวิตของคน” เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไข (คล้ายกับกรณี “๙๑ ศพ” ในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓) แต่กลับไป “เล่นข่าว” เรื่อง “หมากัดคน” และรายละเอียดของ “หมาพันธุ์นั้นพันธุ์นี้” ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา “การขาดแคลนแพทย์” “ความรู้ความสามารถกับจรรยาแพทย์” และ “ระบบสาธารณสุข” รวมทั้งระบบอื่นๆ ที่มีความสำคัญแก่ชีวิตและความอยู่ดีมีสุขภาพของประชาชนทั่วไป ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนและสามารถ “ลอยนวล” ต่อไปตัวอย่างผู้ป่วยรายที่ ๘๗

นายมานะ เทศฤทธิ์ อายุ ๕๑ ปี เป็นข่าวฮือฮาไปทั่วประเทศเมื่อวันที่ ๑๑-๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ เพราะถูกสุนัขที่เลี้ยงไว้กัด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ตามข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์หลายฉบับและจากข่าววิทยุโทรทัศน์ในประเทศ ปรากฏว่า หัวหน้าหน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างโรจนธรรมสถานสัตหีบ ชลบุรี ได้รับแจ้งว่า มีคนถูกสุนัขกัดได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส จึงรีบไปยังที่เกิดเหตุ

พบนายมานะอยู่ในสภาพโชกเลือด ตามร่างกายมีบาดแผลเหวอะหวะหลายแห่ง เพราะถูกเจ้าปีเตอร์ ซึ่งเป็นสุนัขพันธุ์โกลเดน รีทรีฟเวอร์ วัย ๓ ปี เพศผู้ ที่เลี้ยงไว้ในบ้านกัด เพื่อนบ้านที่เห็นเหตุการณ์ได้ช่วยกันจับและล่ามโซ่ไว้หน้าบ้านเพื่อความปลอดภัย

เบื้องต้นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยได้ช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บและนำตัวส่งรักษายังห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ
ภรรยาผู้ป่วยเล่าว่า ตนและสามีเลี้ยงเจ้าปีเตอร์มาได้ประมาณ ๓ ปี ก่อนเกิดเหตุสามีอยู่บ้านกับเจ้าปีเตอร์ตามลำพัง กระทั่งเพื่อนบ้านโทรศัพท์บอกว่า สามีถูกเจ้าปีเตอร์กัด จึงรีบกลับมาบ้าน พร้อมให้เพื่อนบ้านช่วยกันจับเจ้าปีเตอร์ล่ามโซ่ไว้ ก่อนจะแจ้งหน่วยกู้ภัยนำตัวส่งรักษายังโรงพยาบาล

ส่วนสาเหตุน่าจะเกิดจากที่ผ่านมา สามีชอบรังแกเจ้าปีเตอร์ ด้วยการใช้เท้าเตะอยู่เป็นประจำ ทำมาตั้งแต่เจ้าปีเตอร์อายุได้เพียง ๗-๘ เดือนเท่านั้น คาดว่าก่อนเกิดเหตุสามีคงไปเตะมันเหมือนที่ทำเป็นประจำ เจ้าปีเตอร์จึงเกิดความแค้นกระโดดกัด จนสามีได้รับบาดเจ็บ

หลังเจ้าหน้าที่กู้ภัยนำสามีส่งห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ แพทย์ได้ทำบาดแผลเรียบร้อยแล้วบอกให้กลับบ้านได้ หลังจากกลับบ้าน สามีเข้าห้องน้ำและเกิดช็อกจนหมดสติในห้องน้ำ จึงต้องนำตัวส่งต่อยังโรงพยาบาลสัตหีบ ที่อยู่ห่างจากบ้านไปประมาณ ๒ กิโลเมตร แต่อาการไม่สู้ดี จึงรีบนำตัวส่งต่อไปยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดชลบุรี จนสามีเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยทางโรงพยาบาลชลบุรีแจ้งสาเหตุว่า ผู้ตายติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นเหตุให้เสียชีวิต สร้างความกังขาให้แก่เหล่าบรรดาญาติๆ อย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ญาติได้นำศพนายมานะไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดสัตหีบ โดยจะมีพิธีสวดอภิธรรม ๔ คืน และฌาปนกิจในวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔

นักข่าวได้สอบถามความเห็นจากสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งกล่าวว่า เท่าที่ติดตามข่าวและเห็นภาพในโทรทัศน์ เข้าใจว่าสุนัขตัวดังกล่าวเป็นลูกผสม ไม่ใช่พันธุ์โกลเดน รีทรีฟเวอร์แท้ ที่ปกติเป็นสุนัขใจดีมากและเชื่องกับทุกคน ใช้เป็นสุนัขนำทางคนตาบอดและใช้ช่วยเหลือคน แต่สุนัขพันธุ์ผสม ทำให้คาดเดานิสัยยาก

*****************








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น