วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

พลับพลึงกับการักษาปวดหมอนรองกระดูกและสะโพก




ประสบการณ์ของข้าพเจ้าจากการรักษาอาการปวดหมอนรองกระดูกและสะโพก
พฤ.9มีค60 ใช้ใบพลับพลึงแก่ตัดท่อน ย่างไฟจากเตาแก๊สจนอ่อน ขอบบางส่วนไหม้ไฟ เอาใบนั้นมานาบบริเวณที่มีอาการทับเสื้อที่ใส่ นวดทับใบเบาๆ ความรู้สึกแรกเลยคือสบายผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ตึง เหมือนใช้กระเป๋าน้ำร้อน แต่สักพักจะมีเจลจากก้านไหลออกมา ทาเจลนั้นกับเนื้อที่ปวด ตอนนี้ใบจะไม่ร้อนแล้วพออุ่นๆ ฉีกก้านใบที่มีเจลคลึงกับที่ปวดให้ทั่ว เจลจะค่อยๆซึมเข้าเนื้อ รอให้เจลซึมลงผิวจนแห้ง ประมาณ5-10นาทีจึงเลิกทำ เราทำเช้า กลางวัน เย็น ในวันแรก วันที่2ทำเเฉพาะเย็นและใบที่เก็บมาในวันที่2เป็นใบเก่าเหลือจากวันแรก ไม่ได้เก็บเข้าตู้เย็น ทิ้งตากแดดที่แคร่ เจลที่ก้านใบจึงมีน้อย
ส.11มีค60ตื่นตี3 เหยียดยืดตามท่าหมอลดาวัลย์และยกขา2ข้างให้สูงเท่าที่จะสูงได้ ทำ3ครั้ง จากนั้นลุกโดยตะแคงขวา รู้สึกเบาสะโพกกว่าที่เคยมา จึงก้มกราบพระโดยนั่งท่าเทพธิดาแยกเข่ายกก้นให้หน้าผากแตะพื้น  กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ที่ข้อศอกแตะพื้นด้วย แล้วสวดอรหัง นโม อิติปิโส แผ่เมตตา กราบหลวงปู่ขอเมตตาเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ แล้วกราบ3ครั้ง แต่หนนี้กราบให้หน้าผากแตะพื้นได้เป็นปกติ
ไม่เจ็บ ลุกยืนได้เลย ไม่ต้องคลานไปเกาะยกพื้นข้างหน้าต่างเพื่อช่วยพะยุงตัว ดันตัวก่อนลุกขึ้น นี่ถ้าวันที่2ได้ทำเช้ากลางวันเย็น คงจะเห็นผลดีและเร็วกว่านี้



บีบีซีนิวส์ – นักวิจัยสหรัฐฯพบสาร “ไซโคลพามีน” ในพืชตระกูลพลับพลึง ที่สามารถยับยั้งการทำงานของโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งได้ ระบุเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยเดิมที่พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถทำให้เนื้องอกมะเร็งในหนูหดตัว

นักวิจัยในสหรัฐฯค้นพบว่าสารไซโคพามีนที่อยู่ในพืชจำพวกพลับพลึง สามารถทำให้ก้อนเนื้อที่เกิดจากโรคมะเร็งของหนูลดขนาดลง ซึ่งเชื่อว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งในตับอ่อน ในกระเพาะ ในหลอดอาหาร และในท่อส่งน้ำดีของมนุษย์ได้

ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยที่ค้นพบว่าสารไซโคลพามีน สามารถต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยงานวิจัยได้ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วระบุว่า สารดังกล่าวนี้จะช่วยรักษาเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นในเซลส์ประสาทสมองของเด็กได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆที่สนับสนุนว่าสารไซโคลพามีนสามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งในปอดจากการสูบบุหรี่ได้

งานวิจัยที่พบว่าสารไซโคลพามีนสามารถรักษาก้อนเนื้อมะเร็งได้นั้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร เนเจอร์ ซึ่งใช้ข้อมูลพื้นฐานจากงานวิจัยสองชิ้นที่ได้รับการค้นพบมาก่อนหน้า งานวิจัยชิ้นแรกนั้น ดร.ฟิลิป บีคี และคณะจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ พบว่าโปรตีนพลังงานสูงที่มีชื่อว่า โซนิค เฮดท์ฮอก เป็นตัวเร่งให้เนื้องอกในหลอดอาหาร กระเพาะ และตับอ่อนเกิดขึ้น

โปรตีนชนิดนี้จะมีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเด็กที่ยังอยู่ในครรภ์ของมารดา นักวิจัยพบว่าหากโปรตีนชนิดนี้เริ่มทำงานอีกครั้งเมื่ออายุมากขึ้นจะเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ซึ่งจากการทดลองกับหนูพบว่าสารไซโคลพามีนจะไปยับยั้งการทำงานของโปรตีนชนิดนี้ และเมื่อทำการทดลองผ่านไป 12 วันก็พบว่าก้อนเนื้อมีขาดเล็กลง

งานวิจัยอีกชิ้นที่ช่วยสนับสนุนผลการวิจัยล่าสุด โดยดร.ซาเราะห์ ซอญิร และคณะจากโรงพยาบาลแมซซาจูเซ็ทส์ และคณะแพทย์ศาสตร์ฮาร์วาร์ดพบว่า สารไซโคลพามีนส่งผลกระทบต่อหนูที่เป็นโรคมะเร็งในตับอ่อนได้ โดยงานวิจัยทั้งสองชิ้นข้างต้นทำให้เชื่อว่าสารไซโคลพามีนจะสามารถนำไปใช้กับมะเร็ง ที่เกิดขึ้นกับคนในบริเวณเดียวกับที่ทดลองกับหนูได้
- See more at: http://www.goosiam.com/health/html/0006152.html#sthash.DAUKSwld.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น