วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560
แสงแดดรักษาโรคและพิษของวิตามินดี
คุณนิดดาเล่าว่า
เราไปตากแดด แสงแดดช่วยให้การทำงานดี ในแสงแดดมีประจุไฟฟ้าครบทั้งหมด ช่วยให้ร่างกายปรับสมดุล ต้านอนุมูลอิสระด้วย"
เธอรักษาอาการผิดปกติที่หัวใจด้วยการนั่งสมาธิกลางแสงแดด ครั้งละ 30 นาที/วัน นั่งสมาธิแบบไม่หลับตา เพื่อให้ดวงตาได้รับแสงแดด สวมเสื้อผ้าสีอ่อนเพื่อรับรังสีในแสงแดด เสื้อผ้าสีเข้มจะดูดความร้อนแต่สะท้อนรังสีออกไป โดยแสงแดดจะใช้คอเลสเตอรอลใต้ผิวหนังของเราในการเปลี่ยนรังสีตัวนี้ให้เป็นวิตามินดี และดื่มน้ำ (ดื่มน้ำน้อยทำให้เลือดข้น) หกเดือนต่อมาอาการผิดปกติที่เกิดกับหัวใจหายสนิท
"ตอนนั้นป้าคิดว่านั่งตอนเช้าคือประมาณเจ็ดโมงจะดีต่อการรักษา แต่ตอนนี้ที่ป้าศึกษาทะลุแล้ว ปรากฎว่าแสงแดดที่ดีมาก คือแสงแดดระหว่างเก้าโมงเช้าถึงบ่ายสามโมง who ประกาศออกมาเลย เพราะว่าเป็นรังสีคนละตัว ตอนเช้าเป็นรังสีสีแดงเป็นรังสีที่ขยายเส้นเลือด เป็นแสงที่ผ่อนคลาย ช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนิน แต่รังสีตอนเก้าโมงเช้าเป็นยูวีบี(แสงเหนือม่วง) เป็นรังสีรักษาโรค ป้าก็เลยเขียนหนังสือเรื่องแสงแดดออกมา"
แสงแดดสามารถต้านการอักเสบในกระแสเลือด รู้ว่าอากาศในแสงแดดมีออกซิเจนมากกว่าในที่ร่ม แสงแดดช่วยหลั่งสารเซโรโทนิน ทำให้มีการผ่อนคลาย แสงยูวีทำปฏิกิริยากับผิวหนัง กับคอเลสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้กลายมาเป็นวิตามินดี 3 ซึ่งเป็นตัวที่จำเป็นกับชีวิตมาก
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000087566
********************************************************************
แสงแดดและพิษของวิตามินดี
แสงแดดมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง เช่น
-แสงแดดรักษาโรคเบาหวานได้
- การได้รับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าช่วยสร้างวิตามินดี และเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- ช่วยคลายหนาว
- ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล
แสงแดดที่มีช่วงคลื่นพอเหมาะ คือแดดยามเช้า
เนื่องจาก แสงแดดมีวิตามินดี ซึ่งช่วยป้องกันโรคดังนี้
หัวใจ โรคความดันสูง และโรคเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญของร่างกายบกพร่อง และอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น สามารถกระตุ้นให้หลอดเลือดบริเวณผิวหนังขยายตัว ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีมีส่วนช่วยทำให้สมองดี ความจำดี สมองประมวลผลได้รวดเร็วช่วยให้ร่างกายตื่นตัว กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟินที่ทำให้จิตใจและอารมณ์แจ่มใส ช่วยรักษาหอบหืดและภูมิแพ้ หรือโรคติดเชื้ออย่างวัณโรค หรือโรคเรื้อนได้ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำใส้ และ มะเร็งปากมดลูกวิตามินดีมีส่วนช่วยลดไขมันหน้าท้องได้ ซึ่งก็เท่ากับแสงแดดมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักไปด้วยแสงแดดช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น หายจากโรคซึมเศร้าได้และแสงแดดจะช่วยให้เซลล์ผิวหนังแข็งแรงและหนาขึ้นหากเราได้รับแสงแดดอ่อนๆ อย่างสม่ำเสมอ
วิตามินดีหากได้รับมากเกินไปก็เกิดเป็นพิษขึ้นได้
แต่การได้แสงแดดมากไม่ทำให้เกิดพิษของวิตามินดีเพราะความร้อนที่ผิวหนังช่วยสลายวิตามินดีในร่างกายไม่ให้มีมากเกินไป การได้วิตามินดีจากอาหารธรรมชาติก็ไม่ทำให้เกิดพิษของวิตามินดียกเว้นเฉพาะกรณีที่รับประทานน้ำมันตับปลาค็อดเป็นจำนวนมาก พิษของวิตามินดีส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานวิตามินดีเสริมโดยตรงมากเกินไป
อาการเป็นพิษได้แก่คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด ท้องผูก เปลี้ย ถ้าเป็นมากอาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้นจนสมองสับสนและหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ ในงานวิจัยนวัตกรรมสุขภาพหญิง (Women’s Health Initiatives) พบว่าหญิงหมดประจำเดือนที่รับประทานแคลเซียมวันละ 1,000 มก.ควบกับวิตามินดีวันละ 400 IU นาน 7 ปี เกิดนิ่วในไตมากกว่าหญิงที่รับประทานยาหลอก 17% ผลเสียมักเกิดหากรับประทานวิตามินขนาดสูงต่อเนื่องนานๆ แต่การรับประทานขนาดสูงเป็นช่วงสั้นๆเช่น 50,000 IU ใน 8 สัปดาห์ไม่ทำให้เกิดพิษ กลับจะเป็นข้อดีเสียอีกที่ทำให้ร่างกายเก็บส่วนที่เหลือไว้ใช้ช่วงขาดวิตามินได้ [10]
Update ข้อมูล 17 พย. 54
สถาบันแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (NIH) ได้ปรับปรุงคำแนะนำเรื่องระดับปกติของวิตามินดีในเลือด ดังนี้
(1) ถ้าต่ำกว่า 30 nmol/L (<12ng/mL) จะเป็นโรคกระดูกอ่อน (2) ถ้าอยู่ระหว่าง 30–50 nmol/L (12–20 ng/mL) ถือว่ายังต่ำเกินไป ไม่พอที่จะทำให้มีสุขภาพกระดูกและสุขภาพทั่วไปปกติ (3) ถ้า ≥50 nmol/L (≥20 ng/mL) ถือว่่าพอเพียงที่จะทำให้สุขภาพกระดูกและสุขภาพทั่วไปเป็นปกติ () ถ้ามากกว่า 125 nmol/L (>50 ng/mL) ถือว่ามากเกินไปและอาจเป็นอันตรายได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
แคลเซี่ยมเสริม กับการเป็นโรคหัวใจ
มาถึงวันนี้ กล่าวโดยสรุปก็คือข้อมูลที่มีอยู่ทำให้สรุปได้ว่าการทานแคลเซียมเสริมจะควบวิตามินดีหรือไม่ก็ตาม อาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและอัมพาตมากขึ้น ข้อสรุปนี้ผมสรุปตามหลักฐานการแพทย์ทั้งหมดที่มีถึงวันนี้ แต่ขอให้เข้าใจก่อนนะครับว่าแพทย์ทั่วโลกจะยังแนะนำให้ทานแคลเซียมเสริมไปอีกอย่างน้อยสิบปี เพราะการเปลี่ยนแปลงนิสัยการสั่งการรักษาโรคของแพทย์ด้วยหลักฐานใหม่ๆนั้น จะใช้เวลาประมาณสิบปี ไม่เชื่อคอยดู
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น