วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

โปรตีนเกษตร/ มังสวิรัติกินยังไงไม่ให้ขาดสารอาหาร






รำปิ้งกล้วย
เนื้อกล้วยน้ำว้าสุก1ผล งาขาวคั่วตำ(งาดำคั่วมีแคลเซี่ยมมากที่สุด)ไม่เกิน2ช้อนแกง รำอ่อนคั่ว(รำข้าวสาลีอบ)ไม่เกิน2ช้อนแกง

ใช้มือขยำเข้ากัน ห่อใบตองกลัดไม้จิ้มฟัน ย่างบนกะทะเทฟล่อนปิดฝาหรือเตาถ่าน5-10นาที

คนขี้ร้อนป่วยด้วยภาวะเย็นเกิน ใส่งาและรำอ่อนน้อยหน่อย
คนขี้หนาวป่วยด้วยภาวะเย็นเกิน ใส่งาและรำอ่อนมากหน่อย 

งามีฤทธิ์ร้อน บำรุงสมอง บำรุงกระดูก บำรุงรักษาระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท
 .  .  .  .  .  .  . ให้ทำงานปกติ บำรุงผิวพรรณ
รำข้าวมีฤทธิ์ร้อน  บำรุงกระดูก ช่วยในขบวนการสร้างพลังงานของเซลล์ บำรุงเลือด
                 ช่วยต้านมะเร็ง ซับสารพิษจากร่างกาย บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ 
กล้วยน้ำว้า ช่วยให้การทำงานของหัวใจดียิ่งขึ้น

กินเช้าหรือเย็น

สูตรป้านิดดูที่38:20

กล้วยรำงาปิ้ง(สูตรหมอเขียว)




 ***************************************************************************** พี่อี๊ดแม่ครัวสวนป่านาบุญดอนตาล อธิบายเมนูอาหารสุขภาพและวิธีทำ
ยึดหลักปรุงพอสุก กินตามลำดับดังนี้
ข้าวต้มสุขภาพ:ข้าวสารซาวน้ำและเก็บน้ำที่ซาวไว้ล้างผัก ใส่น้ำต้มจนสุกไม่เละ ผักต้มหลากหลายโดยใส่ผักสุกยากก่อนจบด้วยผักใบเขียว ปรุงรสด้วยเกลือ30%
มะละกอคลุกมะเขือเทศ ใส่น้ำมะขามเปียกผสมน้ำตาลและเกลือ เพิ่มมะนาว
ข้าวกับกับข้าว
ถั่วต้มหมุนเวียนไม่ซ้ำ แยกแช่ถั่วไม่แช่รวมกัน ใส่น้ำแช่มากๆ แช่ค้างคืน ยกเว้นถั่วทอง แช่ 30 นาที ใส่ถั่วสุกยากต้มก่อน ปรุงด้วยเกลือ

น้ำใบบัวบก
06.35 ช่วยความจำ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่วยสมานแผล
09.50 นำผักปั่น-ผักบุ้ง อ่อมแซบ กล้วยน้ำว้าสุก มะม่วงดิบ มะละกอดิบ
14.02 กรรมและผลของกรรมที่ส่งผลต่อความเจ็บป่วย




น้ำนมธัญพืช
 https://youtu.be/0gPjaPGprYI?list=UUs1wz10aK6vUYy9g3zfYG3w



 เมนูอาหารปรับสมดุล http://morkeawfansclub-food.blogspot.com/



ก๋วยจั๊บเจ

แช่แผ่นก๊วยจั๊บ10นาทีหรือนุ่ม

วิธีทำ
แช่ถั่วเขียวซีก 2 ชั่วโมง ให้บานและนิ่มขึ้น
ซาวข้าวสารล้างให้สะอาด และเทถั่วเขียวซีกที่แช่แล้วเทผสมลงใน
หม้อหุงข้าว ประมาณน้ำที่ใช้หุงขึ้นอยู่กับข้าวสารเก่าหรือใหม่
เวลาหุงใช้เท่ากับเวลาปรกติของหม้อหุงข้าว เมื่อสุกแล้วตักเสริฟ


วิธีทำ
หั่นหัวปลีให้เป็นฝอย ลวกให้สุกคือไม่ฝาด คลุกส่วนผสมในภาชนะได้แก่ หัวปลีลวก ข้าวคั่ว มะนาว เกลือ ซีอิ้ว มีรสเล็กน้อยใส่หัวแดง ใบสะระแหน่ ผักชีใบยาว คลุกอีกครั้งตักใส่จานเสริฟ
หมายเหตุ ท่านที่มีภาวะร้อนเกินมาก ลดหรืองดส่วนผสมที่มีฤทธิ์ร้อน ปรับให้เหมาะสมกับร่างกาย ณ เวลา นั้น ๆ

วิธีทำ
ต้มน้ำให้เดือด ใส่ผักกวางตุ้ง  ปิดฝาลวกให้สุก ประมาณ 4 นาที
ดูให้ก้านในใส ถ้าไม่สุกจะเหม็นเขียว และขม
สุกแล้วตักเสริฟ จิ้มทานกับเกลือ


ส่วนผสมฤทธิ์เย็น
แผ่นเมี่ยง,ผักกาดหอม,มะเขือเทศ,เส้นมะละกอดิบ,
ผักบุ้งจีน,แตงกวา,มะขามเปียก, เกลือ,น้ำตาล
ปรับใช้ผักฤทธิ์เย็นได้ตามชอบ
วิธีทำ
ล้างผักให้สะอาด แล้วนำมาห่อด้วยแผ่นเมี่ยง
น้ำจิ้ม ต้มน้ำมะขามเปียก ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล
ปรุงให้ได้ 3 รส เสร็จแล้วจัด ใส่จานเสริฟ



ผัมะละกอกับฟักเขียว: มะละกอห่าม, ฟักเขียว, เห็ดฟาง,ใบอ่อมแซบ,เกลือ

วิธีทำ
ขูดมะละกอและฟักเขียวเป็นเส้น หั่นเห็ดฟางเป็นชิ้นเล็ก
เด็ดใบอ่อมแซบ ตั้งกะทะไฟปานกลางใส่น้ำร้อน 1-2 ทัพพี ใส่มะละกอ และฟัก ผัดจนเส้นมะละกอนิ่มไม่แข็งถ้าน้ำเริ่มแห้งเติมน้ำได้ เมื่อนิ่มใส่เห็ดฟาง ชิมรส เติมเกลือเล็กน้อย และโรยด้วย ใบอ่อมแซบ เสร็จแล้วตักเสริฟ

ต้มจืดสุขภาพ https://youtu.be/fJUrQBZSdCU


หมกหรือนึ่งหัวปลี https://youtu.be/MyLEFfZ8CWc

สวนป่านาบุญ3 ส้มตำ แกงอ่อม
http://youtu.be/-AExqLA8MOU

ข้าวผัดดอกเกลือ ธัญพืช https://youtu.be/cNpg5vymPmY


ข้าวคลุกกะปิ
https://m.youtube.com/watch?v=oNxv6Z7yXJ4


น้ำยาเห็ดนางฟ้าและเห็ดฟาง  https://youtu.be/2X9RItrmhIc

ยำมะม่วง https://youtu.be/cUd_n12UvMQ


หมอเขียว แฟนคลับ เมนูอาหาร แต่ผัดใช้น้ำมันและใส่น้ำตาล

ยำวุ้นเส้น




                 
                  แกงอ่อม

แกงอ่อม
1.ต้มน้ำเดือดปุดๆ ใส่ตะไคร้ หอมแดง รอเดือด
2.ใส่น้ำย่านาง หัวไชเท้า รอเดือด
3.ใส่ฟักเขียว รอฟักสุก ใส่มะละกอห่าม ฟักทอง รอสุก
4. ผักหวานบ้าน อ่อมแซบ เกลือ30%
5.โรยใบแมงลัก

สูตรอาหารปรับสมดุล


 ******************************************************************************
ป้าเช็งสอนแจ๋ว ทำกับข้าว








 ******************************************************************************

 ******************************************************************************

แฟนห้ามกินมังสวิรัติ เพราะซีด  

30 กันยายน 2554

คุณหมอสันต์คะ

ดิฉันทานอาหารมังสะวิรัติแล้วถูกแฟนห้าม โดยอ้างว่าทานแล้วซีด เมื่อไปให้หมอตรวจหมอก็บอกว่าเป็นโลหิตจาง ค่า Hb ได้ 11.3 และหมอแนะนำว่าให้เลิกทานมังสะวิรัติ ดิฉันไม่เชื่อ คนทานมังสะวิรัติมีทั่วโลก งั้นเขาก็เป็นโลหิตจางกันหมดสิคะ จึงอยากถามคุณหมอถ้าดิฉันจะทานมังสวิรัติต่อไปจะต้องทำอย่างไรดีจึงจะไม่ซีด

..............................................

ตอบครับ(นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)

สาเหตุของโรคโลหิตจางมีเยอะแยะแป๊ะตราไก่นะครับ แต่คุณให้ข้อมูลมาประเด็นเดียวคือการทานมังสวิรัติผมก็จะตอบประเด็นเดียว คือโลหิตจางจากการขาดอาหาร ก็แล้วกัน

ถ้าถามว่าคนกินมังสะวิรัติมีอัตราการเป็นโรคโลหิตจางมากกว่าคนกินทุกอย่างที่ขวางหน้าจริงไหม ตอบว่า “จริงครับ”

แล้วถ้าถามต่อว่ามีวิธีทานมังสวิรัติโดยไม่ให้มีปัญหาโลหิตจางไหม ตอบว่า “มีครับ”

โลหิตจางที่เกิดจากขาดสารอาหาร มีอยู่สี่ประเด็นเท่านั้นคือ ขาดโปรตีน ขาดวิตามินบี12 ขาดธาตุเหล็ก และขาดโฟเลท เรามาว่ากันไปทีละประเด็นนะครับ

1. ประเด็นโปรตีน พึงทราบก่อนว่าอาหารโปรตีนทุกชนิดเมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายจะย่อยลงไปเป็นกรดอามิโนก่อน แล้วค่อยเอาไปประกอบเป็นเนื้อหนังมังสาขึ้นมาภายหลัง ในบรรดากรดอามิโนทั้งหลายนี้ บางส่วนร่างกายก็สร้างขึ้นเองได้ แต่มีอยู่ 8 ตัวที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่ได้ คือ ทริปโตแฟน, เฟนิลอะลานีน, ไลซีน, ทริโอนีน, วาลีน, เมไทโอนีน, ลิวซีน, ไอโซลิวซีน ประเด็นมันอยู่ที่ว่าพืชทุกชนิดไม่มีชนิดไหนมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 8 ตัว เช่นถั่วเหลืองที่ว่ามีกรดอะมิโนจำเป็นมากที่สุดก็มีแค่ 7 ตัว ยังขาดเมไทโอนีน งามีเมไทโอนีนแยะแต่ขาดตัวอื่นหลายตัว ข้าวกล้องมีเมไทโอนีนแต่ขาดไลซีน เป็นต้น ดังนั้นการทานมังสวิรัติต้องทานพืชอาหารโปรตีนหลายคละกันเพื่อให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นครบทุกตัว เช่นทานถั่วเหลืองผสมกับงา (สูตรยอดนิยม) หุงข้าวกล้องกับถั่วดำ  จึงจะได้โปรตีนครบเหมือนทานโปรตีนจากสัตว์ เพราะโปรตีนจากสัตว์เช่นนมวัวและไข่จะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 8 ตัวในตัวของมันเอง

2. ประเด็นวิตามินบี.12 วิตามินตัวนี้ได้จากการสร้างสรรค์ของบักเตรี ผ่านกระบวนการหมัก ดังนั้นคนไทยซึ่งชอบทานของหมักๆเหม็นๆ เช่น กะปิ น้ำปลา ปลาร้า กันเป็นประจำอยู่แล้วจึงไม่ขาดวิตามินบี.12 ถึงจะเป็นมังสวิรัติเคร่งครัดไม่ทานกะปิน้ำปลาหรือปล้าร้าเลย ในผักสดที่เราทานก็มีวิตามินบี.12 อยู่บ้าง และเรายังมีทางได้วิตามินบี.12 มาจากการที่บักเตรี ในลำไส้ของเรา เอาสารคาร์โบไฮเดรตในกลุ่มโอลิโกแซคคาไรด์จากอาหาร เช่น ถั่วไปย่อยด้วยวิธีหมักจนได้แก้สและวิตามินบี.12 ออกมาเป็นผลพลอยได้ แค่นี้ก็พอใช้แล้ว 

ปัญหาจะเกิดก็ต่อเมื่อเราทานยาปฏิชีวนะซึ่งมักทำให้บักเตรีที่หมักอาหารในลำไส้ของเราเกิดล้มตายเป็นเบือ เมื่อนั้นคนทานมังสวิรัติก็จะขาดวิตามินบี.12 ได้ อีกกรณีหนึ่งมีข้อมูลการศึกษาในผู้สูงอายุอเมริกันว่าคนเราเมื่ออายุมากขึ้นลำไส้จะดูดซึมวิตามินบี.12 ไปใช้ได้น้อยลง ดังนั้นในทั้งสองกรณีคือเมื่อทานยาปฏิชีวนะ หรือเมื่ออายุมากขึ้น ผมแนะนำว่าคนที่ทานมังสวิรัติอย่างเคร่งครัดน่าจะทานวิตามินบี.12 เสริมด้วย

3. ประเด็นธาตุเหล็ก อาหารมังสวิรัติจะมีธาตุเหล็กเหลือเฟือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในถั่ว ผักที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักกูด ผักแว่น ใบแมงลัก เห็ดฟาง พริกหวาน กะเพราแดง ขึ้นฉ่าย และธัญพืช แต่ธาตุเหล็กที่ได้จากอาหารที่เป็นพืชไม่ได้อยู่ในรูปของโมเลกุลฮีม ร่างกายนำมาใช้ยากเพราะต้องอาศัยกรดสกัดเอาตัวเหล็กออกมาก่อนจึงจะดูดซึมไปใช้ได้ ต่างจากธาตุเหล็กจากสัตว์เช่นเลือด ตับ เนื้อ ซึ่งอยู่ในรูปของฮีมที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ง่าย คนทานมังสวิรัติจึงต้องทานอาหารที่ให้ธาตุเหล็กมาก ร่วมกับอาหารที่ให้วิตามินซีมากเพราะวิตามินซีช่วยการดูดซึมธาตุเหล็ก งานวิจัยผู้ทานอาหารมังสวิรัติพบว่าการทานอาหารประเภทข้าวและผักที่เราทานอยู่เป็นประจำโดยไม่มีเนื้อสัตว์เลย การดูดซึมธาตุเหล็กที่มีอยู่ในอาหารไปใช้จะเกิดขึ้นเพียง 3-10% เท่านั้น แต่ถ้าได้วิตามินซีจากผลไม้อีก 25-75 มก. (ฝรั่งประมาณครึ่งลูก) การดูดซึมของธาตุเหล็กที่มีอยู่ในข้าวและผักนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10-12% จึงควรทานอาหารที่มีวิตามินซี.สูงร่วมกับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงไปด้วยเสมอ ถ้าเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงก็ เช่น ส้ม ผรั่ง มะม่วง มะละกอ แคนตาลูป มะเฟือง สตรอเบอรี่ กีวี สับปะรด ส่วนผักที่มีวิตามินซีสูงก็เช่น พริกหวาน ผักบุ้ง คะน้า ตำลึง พริก มะเขือเทศ บรอกโคลี 

ยังมีประเด็น สารแทนนิน ที่พบในน้ำชา กาแฟ จะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กให้ร่างกายได้รับเหล็กน้อยลงไปอีก แคลเซียมที่ได้จากนมหรือจากยาเม็ดแคลเซียมก็ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก จะเห็นว่าผู้ทานมังสวิรัตินั้นมีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุเหล็กได้ง่ายๆ จากหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่มีหลักฐานว่าซีดหรือโลหิตจาง ควรตรวจเลือดดูค่า ferritin ซึ่งเป็นโปรตีนบอกระดับเหล็กในร่างกาย หากต่ำก็แสดงว่าเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแน่นอน ต้องทานธาตุเหล็กเสริมทันทีและต้องวิเคราะห์แบบแผนวิธีทานอาหารของตนว่าทำไมจึงได้รับเหล็กไม่พอแล้วปรับวิธีทานเสียใหม่

4. ประเด็นโฟเลทหรือกรดโฟลิก งานวิจัยอาหารไทยพบว่าโฟเลตมีมากในถั่วผักคะน้า กะหล่ำ ผักโขม ผักกาด และผลไม้เช่นส้ม สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ คนเป็นมังสะวิรัติจึงไม่ขาดโฟเลทยกเว้นเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ซึ่งร่างกายต้องการมากเป็นพิเศษ ประเด็นสำคัญคือการสูญเสียโฟเลตจากการปรุงอาหารด้วยความร้อน งานวิจัยเดียวกันพบว่าการนึ่งผัก 20-60 นาทีทำให้โฟเลตเสียไป 90% ดังนั้นจึงควรหาโอกาสทานผักสดหรือผักที่ที่ไม่ต้องปรุงด้วยความร้อนนานๆด้วย

 ******************************************************************************

proteinkasettung



โปรตีนเกษตร




********************************

เกิดหลังจากวิกฤตอีกวิกฤตหนึ่ง คือพอเราหายจากโรค ปีถัดมา 2547 สามีป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อันนี้หนักเลย แม้ว่าจะตรวจพบเร็วและอยู่ในขั้นต้น แต่วิธีการรักษามะเร็ง แพทย์จะทำคีโม ต้องฉายแสงและผ่าตัด ผลข้างเคียงคือผมร่วง เหนื่อย ไม่มีแรง หายใจไม่ออก และพอผ่าตัดต่อมลูกหมากก็ทำให้ฉี่ไม่ได้ ต้องใส่แพมเพิร์ส เพราะต่อมลูกหมากเป็นท่อที่เกาะท่อปัสสาวะ แล้วท่อปัสสาวะเคลื่อนตัวได้ด้วยการขยับของต่อมลูกหมาก พอไม่มี ก็เหมือนท่อวางเฉยๆ คุมการฉี่ไม่ได้ ก็ปรึกษากันเราก็เอาแนวความคิดเราบอกกับเขาซึ่งเขาเป็นทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้วย ตกลงกันได้ว่าเราจะไม่ป่วยเพราะรักษา ก็ตัดสินใจย้อนศรไปทางธรรมชาติบำบัด โอเค เราใช้ชีวิตผิดมาแล้ว เครียดกินอาหารไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง 

ป้านิดดา สามี และหลาน

 ศาสตราจารย์ ดร.ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ อดีตนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก

*************************************



กรรมวิธีการผลิตโปรตีนเกษตร

แบบดั้งเดิม จะใช้วัตถุดิบ ได้แก่ โปรตีนสกัดจากถั่วเขียว แป้งถั่วเหลืองชนิดมีไขมันเต็ม ดีแอลเมทไธโอนิน เกลือไอโอไดด์ วิตามินรวม โซเดียมคาร์บอเนต และสารละลายกรดเกลือ 3% นำมาผสมให้เป็นเนื้อเดียวกันในเครื่องผสม จากนั้นนำมาเกลี่ยบนถาดและตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้แห้งโดยใช้ตู้อบ หรือถ้านำมาตีป่นหยาบๆ จะได้โปรตีนเกษตรแห้งแบบเนื้อสับ

ปัจจุบันผลิตมาจากแป้งถั่วเหลืองพร่องไขมัน 100 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งเป็นโปรตีนจากพืชถึง 50 เปอร์เซ็นต์


วิธีการใช้โปรตีนเกษตร

1.แช่ในน้ำเย็น โดยใช้โปรตีนเกษตร 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน 


2.ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จะดูดน้ำจนพองนิ่ม หรือแช่ในน้ำเดือดใช้เวลา 2 นาที

3.บีบน้ำออก นำไปประกอบอาหารได้

4.ล้างหลาย ๆ ครั้งจนหมดกลิ่นอับ บีบให้แห้ง

 ******************************************************************************


วิธีรับประทานกะปิเจ
1. ปั่นหรือใส่แบบพิมพ์ เป็นแผ่นๆ ตากแดดให้แห้ง ไว้ย่าง, ทอด รับประทานได้
2. ห่อใบตอง เหมือนหมกปลาแดก หมกหรือนึ่ง เอาข้าวเหนียว จิ้มรับประทานได้
3. ใส่กระทะตั้งไฟ คั่วไฟอ่อนๆ จนเป็นกะปิแห้ง เก็บใส่ขวดโหลไว้ ใส่น้ำพริก หรือใส่แกงได้

https://www.asoke.info/veget/V003.html 

 ******************************************************************************




ลาบเจ อาหารเจสุดแซบจากโปรตีนเกษตร




          1. ใส่น้ำลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟต้มจนเดือด ใส่โปรตีนเกษตรที่แช่น้ำไว้ลงต้มจนสุก ตักขึ้นสะเด็ดน้ำ เตรียมไว้

          2. ปรุงรสซีอิ๊วขาว น้ำมะนาว น้ำตาลมะพร้าวและพริกป่นลงในอ่างผสม คนผสมให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย จากนั้นใส่โปรตีนเกษตรต้มสุก ลงเคล้าผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ ใส่ข้าวคั่ว ผักชีฝรั่งซอย และใบสะระแหน่ เคล้าผสมให้เข้ากันอีกครั้ง


*********************************************************************************

อาหารเจ ความสุขในวันวานครั้งเทศกาลกินเจ

          1.  แช่โปรตีนเกษตรแช่น้ำจนเย็น โดยใช้โปรตีนเกษตร 1 ส่วนต่อน้ำ 2 ส่วน ใช้เวลาประมาณ 5 นาที จะดูดน้ำจนพองนิ่ม หรือแช่ในน้ำเดือดใช้เวลา 2 นาที ล้างหลาย ๆ ครั้งจนหมดกลิ่นอับ บีบให้แห้ง

          2.  หมักโปรตีนเกษตรด้วยขิงสับ  ซีอิ๊วขาว  น้ำตาลมะพร้าว แป้งข้าวโพด คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ 20 นาที

          3.  ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช พอร้อนใส่โปรตีนเกษตรที่หมักไว้ ผัดพอทั่ว เติมน้ำเปล่า ใส่ถั่วขาว เบาไฟ เคี่ยวไฟอ่อนจนรสชาติกลมกล่อม 

*********************************************************************************
เมนูเจ

น้ำพริกโปรตีนเกษตร(เราดัดแปลงจากน้ำพริกเห็ด)
1.  แช่

2.ใส่น้ำมันลงกระทะ ยกขึ้นตั้งบนไฟกลาง พอน้ำมันร้อนใส่โปรตีนเกษตรลงผัด

3.ปรุงรสด้วยพริกขี้หนูแห้งคั่ว น้ำมะขามเปียก เกลือป่น น้ำตาลทราย และน้ำ ผัดให้เข้ากัน 

4.พอน้ำพริกเริ่มแห้ง และเหนียวจับตัวกันก็ปิดไฟได้เลย

(=ทำแล้วโปรตีนเกษตรไม่นิ่ม)

ส้มปลาน้อย

1.นำถั่วดำแช่น้ำ1คืน ต้มจนนิ่ม 

2.เอาถั่วดำใส่ครก ตำให้ละเอียด ใส่เกลือหรือซีอิ๊วขาว กระเทียมป่น โขลกไปเรื่อยๆ เติมตะไคร้หั่น  มะเขือขื่นหั่น และ ข้าวคั่วหลังสุด ถ้าบีบมะนาวใส่ ก็จะมีรสเปรี้ยว รับประทานได้เลย หรือทิ้งไว้ข้ามคืน ก็จะมีรสเปรี้ยว กินกับข้าว จนหมด


******************************************************************************


เมนูเจ

แกงจืด(เราดัดแปลงจากแกงจืดฟองเต้าหู้ยัดไส้เจ)

1. หมักโปรตีนเกษตรโดยผสม วุ้นเส้น ซีอิ๊วขาวหรือเกลือ และแป้งสาลีอเนกประสงค์ คลุกให้เข้ากัน

2.ตั้งน้ำเดือดใส่รากผักชีกระเทียมตำจนน้ำเดือด ใส่โปรตีนเกษตรรอจนน้ำเดือดอีกครั้ง ใส่ผักต่างๆและขึ้นฉ่ายหั่นท่อนลงไป พอผักสุกดีแล้ว ปิดไฟ



******************************************************************************

เปาะเปี๊ยะทอด https://www.asoke.info/veget/V001.html

1. ซอยกะหล่ำปลี -แครอท -มันแกว
2. ผัดกะหล่ำปลีพอสลบ (พักไว้) ผัดแครอทให้สุก ใส่เกลือ พริกไทย ปิดไฟก่อน ใส่มันแกว กะหล่ำปลี ที่พักไว้
3. ห่อใส่ใบปอเปี๊ยะ (นำแป้งข้าวจ้าว ละลายน้ำข้นๆ) ห่อแล้ว เอาแป้งปะ ปลายห่อ แล้วม้วนห่อให้สวย นำลงทอด

วิธีทำน้ำจิ้ม
น้ำตาลทราย 1/2 กก น้ำส้มสายชู ครึ่งขวด เกลือพอประมาณ คอยชิม พอเริ่มเหนียว ใส่พริกตำลงไป หัวไชเท้าซอย ใส่เล็กน้อย ตักเสิร์ฟคู่กับ ปอเปี๊ยะทอด

อาหารเจ ความสุขในวันวานครั้งเทศกาลกินเจ

          

******************************************************************************

ไก่ผัดขิง

เอาน้ำมัน ตั้งไฟแรงปานกลาง ทุบกระเทียมเจียว ให้เหลือง ใส่ขิง โปรตีน เห็ดหูหนู เห็ดฟาง น้ำตาล ซีอิ้ว ชิมรสตามชอบ ใส่หอมใหญ่ พริกแดง พอสุกยกลง

******************************************************************************
9 สูตรอาหารเจเมนูผัด

     1. เอาวุ้นเส้นไปแช่น้ำให้เส้นนิ่มก่อน  

   2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้ร้อน ใส่วุ้นเส้นลงไปผัดจนเริ่มใส ใส่ผักกาดขาว ผักบุ้ง ถั่วงอก ถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อนลงไป ตามด้วยเส้นมะละกอ ปรุงรสตามชอบ ผัดให้เข้ากัน 

******************************************************************************



9 สูตรอาหารเจเมนูผัด


  
1. หั่นกะหล่ำปลีเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วดึงแยกออกจากกัน นำไปล้างให้สะอาด เตรียมไว้

2. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟแรง พอน้ำมันร้อนใส่กระเทียมลงไปเจียวจนหอม

3. ใส่กะหล่ำปลีลงไปในกระทะ (ยังไม่ต้องผัด) ให้ทิ้งไว้ 10 วินาทีก่อน จากนั้นค่อย ๆ ผัดให้กะหล่ำปลีโดนความร้อนทั่ว ๆ แต่ยังไม่ต้องสุกมาก  นำมารวมตรงกลางกระทะ
4. ราด
******************************************************************************






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น