ความปลอดภัยในการบริโภคน้ำเต้าหู้และถั่วเหลือง
https://www.pobpad.com/น้ำเต้าหู้-มีประโยชน์จร
https://www.pobpad.com/น้ำเต้าหู้-มีประโยชน์จร
ผู้บริโภคทั่วไป
- การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองหรือมีโปรตีนจากถั่วเหลืองรวมถึงน้ำเต้าหู้ในปริมาณที่เหมาะสม จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค
- การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองในรูปของอาหารเสริมที่สกัดมาจากถั่วเหลืองจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย หากบริโภคติดต่อกันเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ไม่เกิน 6 เดือน แต่หากบริโภคติดต่อกันในระยะยาว อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้
- การดื่มน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวเป็นประจำเพื่อทดแทนอาหารชนิดอื่น อาจนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้รับสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายในปริมาณเพียงพอ
- การดื่มน้ำเต้าหู้และรับประทานถั่วเหลืองอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ในบางกรณี เช่น ท้องผูก ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ หรือมีอาการแพ้ อย่างมีผดผื่นคัน ใบหน้าบวมแดง เป็นต้น ซึ่งผู้ที่พบผลข้างเคียงหลังการบริโภค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
ผู้ที่ควรระมัดระวังในการบริโภคเป็นพิเศษ
- เด็ก การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี ในบางรายที่แพ้นมผงที่ทำจากนมวัว แพทย์อาจแนะนำให้บริโภคนมผงที่ทำจากถั่วเหลืองแทน แต่ต้องไม่ให้นมที่ทำจากถั่วเหลืองในเด็กทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เด็กแพ้ถั่วเหลือง
- สตรีมีครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร การบริโภคถั่วเหลืองจะปลอดภัยหากรับประทานเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารในปริมาณที่พอดี แต่อาจเป็นอันตรายได้หากบริโภคในรูปแบบอื่นเพื่อหวังผลทางการรักษา ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำเต้าหู้หรือถั่วเหลืองในปริมาณที่มากจนเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายต่อเด็กทารก
- ผู้ป่วย เนื่องจากปัจจัยทางสุขภาพ ผู้ที่กำลังป่วยหรือมีโรคประจำตัวควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการบริโภคอาหารประเภทใดก็ตาม รวมทั้งการบริโภคน้ำเต้าหู้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น หากมีข้อสงสัยว่าการดื่มน้ำเต้าหู้หรืออาหารอื่น ๆ ที่ทำมาจากถั่วเหลืองจะส่งผลต่ออาการป่วยของตนหรือไม่ ผู้ป่วยควรสอบถามและปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
มะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจากสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลืองมีลักษณะคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน จึงอาจมีผลกระทบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยมะเร็งเต้านม และการบริโภคถั่วเหลืองในรูปอาหารเสริมอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในโพรงมดลูกในภาวะก่อนมะเร็งได้ ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารจากถั่วเหลือง เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการลุกลามของมะเร็ง
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ อาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองเพิ่มความเสี่ยงในการก่อเซลล์มะเร็งทั้งในผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ไตวาย หากมีระดับสารไฟโตรเอสโตรเจนในเลือดมากจนเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะพิษ เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยภาวะไตวาย
นิ่วในไต การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในไตจากการสะสมของสารออกซาเลต (Oxalates) มากจนเกินไป ผู้ที่มีประวัติป่วยด้วยนิ่วในไตควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองในปริมาณมากเกินไป
โรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอาจมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานลดต่ำลงมากจนเกินไป ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้
โรคทางพันธุกรรมซิสติก ไฟโบรซิส ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ควรบริโภคน้ำเต้าหู้ เพราะสารในน้ำเต้าหู้อาจส่งผลต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้
หอบหืด ผู้ป่วยหอบหืดอาจมีอาการแพ้เปลือกถั่วเหลืองได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง
ไข้ละอองฟางหรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ก็มีโอกาสเกิดอาการแพ้อาหารที่ทำมาจากถั่วเหลืองและเปลือกถั่วเหลืองได้
แพ้นมวัว ผู้ที่แพ้นมวัวมีโอกาสที่จะแพ้น้ำเต้าหู้หรือนมจากถั่วเหลืองนี้ได้เช่นกัน จึงควรระมัดระวังในการบริโภคเสมอ
การบริโภคน้ำเต้าหู้ในปริมาณที่เหมาะสม
แม้การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองหรือมีโปรตีนจากถั่วเหลืองรวมถึงน้ำเต้าหู้ในปริมาณที่เหมาะสมจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ผู้บริโภคควรศึกษาปัจจัยทางสุขภาพของตนให้ดีก่อนว่าควรดื่มน้ำเต้าหู้หรือไม่ และควรดื่มในปริมาณมากน้อยเพียงใด อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองแต่ละชนิดล้วนมีโปรตีนและสารอาหารจากถั่วเหลืองในปริมาณที่แตกต่างกันไป เช่น ในน้ำเต้าหู้ 1 แก้ว อาจมีสารไอโซฟลาโวนประมาณ 30 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคควรเลือกรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างหลากหลาย เพื่อให้รับสารอาหารที่จะส่งเสริมสุขภาพได้อย่างครบถ้วน
********************************************************************https://youtu.be/PI5471uuMq4
คนไข้มะเร็ง ไม่ควรกินน้ำเต้าหู้. นพ.สมยศ กิตติมั่นคง
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
หน้า 76 วารสารกรมการแพทย์.ฉบับประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม 2558 หน้า77
ตอนที่ผมออกมาบอกว่า คนไข้มะเร็งไม ่ควรกิน
น้ำเต้าหู้เพราะจะทำให้มะเร็งลามได้ไว และคนไข้จะตาย
เร็วขึ้น ทำให้เกิดคำถามย้อนกลับมาหาผมมากมายว่า
มันเป็นไปได้ยังไง คนไข้ที่เจ็บป่วย ไม่ว่าโรคอะไรก็แล้วแต่
ทั้งญาติและโรงพยาบาล จะพยายามให้หาธาตุอาหารมา
ให้คนไข้กิน ให้ครบ 5 หมู่ให้จงได้ และน้ำเต้าหู้หรืออีกชื่อ
หนึ่งก็คือ น้ำนมถั่วเหลือง ก็เป็นอาหารยอดนิยม ที่คนไข้
มักจะได้กินกัน แถมยังใส่น้ำตาลผสมเพิ่มลงไปเพื่อเป็น
อาหารให้กับเซลล์มะเร็งอีกด้วย
ผมเคยไปบรรยายเรื่องการดูแลสุขภาพให้กับเจ้า หน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งหนึ่ง ระหว่างการ
บรรยายผมก็พูดถึงเรื่องน้ำเต้าหู้ว่า จะทำให้มะเร็งลุกลามไวขึ้น นอกจากนี้คนไข้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีการอักเสบตาม
ร่างกายเช่น รูมาตอยด์ เอสแอลอีเป็นต้น ไม่ควรจะกินน้ำเต้าหู้เช่นกัน
เพราะมันจะทำให้อาการทรุดลง พอได้จังหวะ
ช่วงพักเที่ยง ก็มีเจ้าหน้าที่ท่านหนึ่งมาคุยด้วย แล้วก็เล่าให้ผมฟังว่า
ตรงกันกับที่ผมพูดเลย เพราะแกได้ฟังผมบรรยาย
ก็ลองทบทวนดูก็จำได้ว่า ร่างกายแกจะทรุดหนักลงตั้งแต่ไปบำรุงร่างกายด้วยน้ำเต้าหู้เป็นประจำ
บางท่านถามผมว่า เป็นเพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อยู่ในถั่วเหลืองเหรอ
ที่เป็นสาเหตุทำให้มะเร็งลุกลามได้เร็ว มากยิ่งขึ้น ไม่ใช่หรอกครับ
บางท่านที่ได้ติดตามเรื่องของพื้นฐานของการงอกของเซลล์มะเร็ง ก็จะทราบนะครับว่า เซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่กระหายพลังงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะตัวมัน
มีความผิดปรกติในการใช้กลูโคสเป็นพลังงาน การที่มันจะได้
พลังงานที่เพียงพอต่อการลุกลามและการเพิ่มจำนวนเซลล์นั้น
มันต้องได้รับพลังงานจากท่อเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงพวกมัน
ถ้าเส้นเลือดงอกใหม่ไม่ทัน เซลล์มะเร็งมันก็เพิ่มจำนวนได้ยาก
เพราะเสบียงไม่เพียงพอ
นักวิทยาศาสตร์ไปพบครับว ่า การที่จะเกิดเส้นเลือดงอกใหม ่หรือที่เรียกว ่า neo-vascularize ได้นั้น
มันต้องได้รับแร่ธาตุชนิดหนึ่งให้เพียงพอ เดาได้ไหมครับว่า
แร่ธาตุตัวนั้นคืออะไรส่วนใหญ่จะเดากันไม่ถูกครับ
แร่ธาตุ ตัวนั้นคือ ทองแดง หรือ copper นั่นเอง มีการวิจัยพบว่า
ถ้าเราทำ chelation ดึงเอาทองแดงให้ออกจากร่างกาย ให้ต่ำลงจนถึงระดับหนึ่ง เซลล์มะเร็งก็จะหยุดนิ่ง ไปต่อไม่เป็น
ยาที่ใช้ในการดึงทองแดงออกจากร ่างกาย ก็เป็นยาตัวเดียวกับที่เราใช้รักษาโรค Wilson diseaseครับ
นอกจากยา หรือการทำ chelation เพื่อหยุดการแพร่กระจายของมะเร็งแล้ว
อาหารก็เป็นส่วนสำคัญในการหยุด การแพร ่กระจายของมะเร็งเช่นกัน
เป็นที่น่าสงสารคนไข้มาก เพราะว่า แพทย์มักจะไม่สนใจเรื่อง อาหารเป็นยา
แต่มักจะสนใจทำยาให้เป็นอาหาร คือ คนไข้ต้องกินยา
แล้วก็ไปกินอาหารให้ครบ 5 หมู่
ผมขอย้ำอีกครั้งครับว ่า อาหารมีส่วนสำคัญ ในการรักษาโรค
ไม่ใช่แต่เฉพาะโรคมะเร็ง แต่อีกสารพัดโรค เช่นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
ขอสรุปง่ายๆ ครับว่า เราต้องพยายามอย่าให้อาหารที่มีส่วนประกอบของทองแดงให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพราะมันจะทำให้โรคมะเร็งลุกลามหนักขึ้น
ผมแบ่งอาหารเป็น 6 กลุ่ม หรือ 6 ประเภท
เพื่อที่คนไข้และญาติจะได้จำง่ายๆว่า อะไรที่ไม่ควรกิน
กุ้ง
หอย
ปู
ปลาหมึก
เครื่องใน
น้ำเต้าหู้
อาหารทั้ง 6 ประเภท ข้างต้นนี้มีทองแดงสูงครับ เป็นลำดับต้นๆเลย ดังนั้น จะยืดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต้องหยุดอาหารพวกนี้ด้วย
นพ.สมยศ กิตติมั่นคง
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
หน้า 76-77 วารสารกรมการแพทย์.ฉบับประจำเดือนกันยายน-ตุลาคม 2558.
นมถั่วเหลืองและเต้าหู้ http://visitdrsant.blogspot.com/2011/09/blog-post_30.html
30 กันยายน 2554
เรียน คุณหมอสันต์ ที่เคารพ
ผมได้อ่านบทความของคุณหมอท่านหนึ่ง ซึ่งแนะนำว่าไม่ให้ดื่มนมถั่วเหลืองและกินเต้าหู้ ผมตัดมาให้ดูบางตอนดังนี้นะครับ
“..อย่างคนที่น้ำย่อยเสียทั้งหลาย ถามไปเถอะ ดื่มนมถั่วเหลืองทุกคน เพราะถั่วเหลืองมีสารต้านน้ำย่อย ทำให้ท้องอืด น้ำย่อยเสีย คือน้ำย่อยน้อยลง เอ็นไซม์ที่จะย่อยอาหารจึงน้อยลง ถ้ากินนมถั่วเหลืองแล้วยังกินเต้าหู้อีก อันตรายแล้ว เพราะจะไปหยุดการสร้างน้ำย่อย แล้วมีฮอร์โมนผู้หญิง เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ แล้วยังเป็นตัวการทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง..”
ผมจึงอยากถามคุณหมอว่าน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองมีข้อดี-เสียอย่างไร ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มและอายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า คนที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ ธัยรอยด์ ควรดื่ม ไหมครับ
.............................................................
ตอบครับ
1. ถั่วเหลืองย่อยไม่ได้ ทำให้ท้องอืด จริงหรือไม่ ตอบว่า “จริงบางส่วน” คือเรื่องเป็นอย่างนี้ครับ การย่อยโปรตีนไม่มีปัญหา แต่การย่อยคาร์โบไฮเดรตมีปัญหาบ้าง คือถั่วทุกชนิด รวมทั้งถั่วเหลืองด้วย มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งชื่อว่าโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งโมเลกุลของมันเป็นแบบสายโซ่ของน้ำตาลซึ่งภาษาเคมีเรียกว่า polysaccharide ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 2-10 โมเลกุลมาต่อกัน ตัวโอลิโกแซคคาไรด์นี้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารของคนย่อยมันไม่ได้เลย ต้องรอให้แบคทีเรียเช่น Bifidobacteria และ lactobacilli ซึ่งมีอยู่เป็นปกติในลำไส้อยู่แล้วมาช่วยย่อยแทน วิธีการย่อยของบักเตรีก็คือวิธีหมัก (fermentation) ซึ่งทำเกิดแก้สขึ้นในลำไส้ ทำให้ท้องอืดและมีลมปุ๋งปั๋งได้ง่าย นั่นเป็นที่มาของคำพูดของเด็กนักเรียนสมัยก่อนที่ว่า
“ถั่วทุกเม็ดมีสิทธิ์ออกเสียงได้”
ลำไส้ของแต่ละคนก็มีบักเตรีที่ช่วยหมักมากน้อยต่างกัน ทำให้บางคนกินถั่วแล้วสบายมาก แต่บางคนกินแล้วท้องอืด ข้อดีของการหมักโดยบักเตรีในลำไส้ก็คือ (1) ทำให้ร่างกายได้วิตามินบี1 บี2 บี6 บี12 และกรดโฟลิก ซึ่งเรามีโอกาสได้รับตรงจากอาหารน้อย (2) นอกจากนี้การเลี้ยงบักเตรีพวกจอมหมักไว้ในลำไส้มันยังช่วยย่อยสลายโคเลสเตอรอลและป้องกันการดูดซึมโคเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นการช่วยลดไขมันในเลือดได้ (3) ทำให้ท้องไม่ผูก เพราะการหมักมีการดึงน้ำไว้ในลำไส้ คนญี่ปุ่นซึ่งนิยมกินถั่วเป็นอาหารหลักมีบักเตรีช่วยหมักทั้งสองตระกูลนี้ขายเป็นแคปซูลชื่อ Inforan เมืองไทยก็มีคนเอามาขาย
2. ถั่วเหลืองมีฮอร์โมนผู้หญิงทำให้เป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เป็นเพียงการเอาข้อมูลวิทยาศาสตร์สองท่อนมาต่อกันแล้วตีบาลีเป็นบรรทัดเดียวแบบศรีธนญชัย ซึ่งไม่ใช่วิธีการใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
ข้อมูลท่อนที่ 1. คือ “ถั่วเหลืองมีสาร phytoestrogen ซึ่งออกฤทธิ์แบบฮอร์โมนเพศหญิงจริง”
ข้อมูลท่อนที่ 2. คือ “เอสโตรเจนในรูปของฮอร์โมนเป็นยาเม็ดที่กินเสริมทุกวัน (เช่นในการคุมกำเนิดหรือในการให้ทดแทนหลังหมดประจำเดือน) หากกินนานเกิน 20 ปีขึ้นไปจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมากขึ้น”
ข้อมูลทั้งสองท่อนนี้เป็นคนละเรื่องซึ่งในทางวิทยาศาสตร์จะเอามาต่อกันเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้
ถ้าจะตั้งคำถามว่า “กินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นหรือไม่” คำตอบก็คือ “ไม่” เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งบอกว่ากินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ทั้งๆที่มีข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของคนกินถั่วเหลืองมากมายทั้งในจีนและญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
3. ถั่วเหลืองทำให้เป็นไฮโปไทรอยด์จริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เรื่องนี้มีอยู่แง่มุมเดียว คือคนเป็นไฮโปไทรอยด์มักได้รับการรักษาโดยการให้กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด หากกินยานี้พร้อมกับถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากถั่วเหลืองแล้วยังมีอาหารอื่นเช่น อาหารที่มีกาก หรือมีธาตุเหล็ก หรือมีแคลเซียมสูง ก็ขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน จึงควรกินยานี้ตอนท้องว่างจะดีที่สุด ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์ที่กินยาตอนท้องว่าง จะได้รับผลเสียอื่นใดจากการกินถั่วเหลือง แปลไทยให้เป็นไทยว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์กินถั่วเหลืองได้http://visitdrsant.blogspot.com/2011/09/blog-post_30.html
4. ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มนมถั่วเหลือง ตอบว่าดื่มได้ทั้งคู่แหละครับ ไม่มีเหตุให้ดื่มได้เฉพาะเพศใดเพศหนึ่ง
5. อายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า ตอบว่าอาจมีผลบ้าง กล่าวคือในคนอายุมาก ปริมาณบักเตรีที่ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ด้วยวิธีหมักจะลดจำนวนลง ทำให้วิตามินบี 12 ที่ได้จากอาหารพวกถั่วลดลง จนอาจจะไม่พอหากเป็นผู้ทานอาหารแบบมังสวิรัติ ซึ่งคนเป็นมังสะวิรัติอาจแก้ได้ด้วยการทานวิตามินบี.12 เสริมเมื่ออายุมากขึ้น
6. คนเป็นเบาหวานทานนมถั่วเหลืองได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ พวกนักโภชนบำบัดเอาถั่วเหลืองเป็นอาหารรักษาเบาหวานด้วยซ้ำไป เพราะงานวิจัยให้คนกินน้ำตาลพร้อมกับถั่วเหลืองพบว่าร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลงกว่าเมื่อกินพร้อมกับอาหารอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับน้ำตาลส่วนเกินจากอาหารน้อยลง
7. คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทานน้ำเต้าหู้ได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ ถั่วเหลืองดีต่อคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในสองประเด็นคือ
7.1 ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งงานวิจัยในกลุ่มคนจำนวนมากของฮาร์วาร์ดที่ได้ติดตามนานถึง 12 ปีพบว่าคนที่ทานไขมันไม่อิ่มตัวมีอัตราเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าคนที่ทานไขมันอิ่มตัว
7.2 ถั่วเหลืองมีกรดอามิโนชนิดไกลซีนและอาร์จินีนสูง ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระดับอินสุลินในเลือดต่ำลง อันส่งผลต่อไปให้การผลิตโคเลสเตอรอลในร่างกายลดลงด้วย ต่างจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีกรดอามิโนชนิดไลซีนสูงซึ่งมีผลเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเอื้อต่อการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
โดยสรุป หมอคนอื่นเขาจะแนะนำว่าอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ แต่ผมแนะนำตามหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่มีถึงวันนี้ว่าถั่วเหลืองเป็นของดี คำแนะนำโภชนาการล่าสุดของรัฐบาลอเมริกัน (USDA 2010) จัดให้ถั่วเหลืองอยู่ในกลุ่มของอาหารอุดมคุณค่าทีทุกคนควรบริโภคมากขึ้น เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก มีสารโพลี่แซคคาไรด์ที่ลดการดูดซึมน้ำตาล อีกทั้งการย่อยถั่วเหลืองโดยบักเตรีในลำไส้มีผลให้โคเลสเตอรอลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยลง ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ตัวโปรตีนจากถั่วเหลืองเมื่อเข้าไปในกระแสเลือดแล้วยังมีผลลดการผลิตโคเลสเตอรอลทำให้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนดีหรือคนป่วย จึงควรดื่มนมถั่วเหลืองและทานเต้าหู้ ข้อเสียของถั่วเหลืองคืออาจทำให้เกิดแก้สในท้องและต้องผายลมบ่อย ซึ่งเป็นข้อเสียที่จิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Tsai AC, Vinik AI, Lasichak A, Lo GS. Effects of soy polysaccharide on postprandial plasma glucose, insulin, pancreatic polypeptide, somatostatin, and triglyceride in obese diabetic patients. Am J Cin Nutr 1978;45:596.
2. Sanchez A, Hubbard RW. Plasma amino acid and the insulin/glucagon ratio as an explanation for the dietary protein modulation of atherosclerosis. Med Hypoth.1991;35:324-329.
ผมได้อ่านบทความของคุณหมอท่านหนึ่ง ซึ่งแนะนำว่าไม่ให้ดื่มนมถั่วเหลืองและกินเต้าหู้ ผมตัดมาให้ดูบางตอนดังนี้นะครับ
“..อย่างคนที่น้ำย่อยเสียทั้งหลาย ถามไปเถอะ ดื่มนมถั่วเหลืองทุกคน เพราะถั่วเหลืองมีสารต้านน้ำย่อย ทำให้ท้องอืด น้ำย่อยเสีย คือน้ำย่อยน้อยลง เอ็นไซม์ที่จะย่อยอาหารจึงน้อยลง ถ้ากินนมถั่วเหลืองแล้วยังกินเต้าหู้อีก อันตรายแล้ว เพราะจะไปหยุดการสร้างน้ำย่อย แล้วมีฮอร์โมนผู้หญิง เป็นเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ แล้วยังเป็นตัวการทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง..”
ผมจึงอยากถามคุณหมอว่าน้ำเต้าหู้หรือนมถั่วเหลืองมีข้อดี-เสียอย่างไร ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มและอายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า คนที่มีค่าน้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ ธัยรอยด์ ควรดื่ม ไหมครับ
.............................................................
ตอบครับ
1. ถั่วเหลืองย่อยไม่ได้ ทำให้ท้องอืด จริงหรือไม่ ตอบว่า “จริงบางส่วน” คือเรื่องเป็นอย่างนี้ครับ การย่อยโปรตีนไม่มีปัญหา แต่การย่อยคาร์โบไฮเดรตมีปัญหาบ้าง คือถั่วทุกชนิด รวมทั้งถั่วเหลืองด้วย มีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งชื่อว่าโอลิโกแซคคาไรด์ (oligosaccharide) ซึ่งโมเลกุลของมันเป็นแบบสายโซ่ของน้ำตาลซึ่งภาษาเคมีเรียกว่า polysaccharide ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยน้ำตาลประมาณ 2-10 โมเลกุลมาต่อกัน ตัวโอลิโกแซคคาไรด์นี้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารของคนย่อยมันไม่ได้เลย ต้องรอให้แบคทีเรียเช่น Bifidobacteria และ lactobacilli ซึ่งมีอยู่เป็นปกติในลำไส้อยู่แล้วมาช่วยย่อยแทน วิธีการย่อยของบักเตรีก็คือวิธีหมัก (fermentation) ซึ่งทำเกิดแก้สขึ้นในลำไส้ ทำให้ท้องอืดและมีลมปุ๋งปั๋งได้ง่าย นั่นเป็นที่มาของคำพูดของเด็กนักเรียนสมัยก่อนที่ว่า
“ถั่วทุกเม็ดมีสิทธิ์ออกเสียงได้”
ลำไส้ของแต่ละคนก็มีบักเตรีที่ช่วยหมักมากน้อยต่างกัน ทำให้บางคนกินถั่วแล้วสบายมาก แต่บางคนกินแล้วท้องอืด ข้อดีของการหมักโดยบักเตรีในลำไส้ก็คือ (1) ทำให้ร่างกายได้วิตามินบี1 บี2 บี6 บี12 และกรดโฟลิก ซึ่งเรามีโอกาสได้รับตรงจากอาหารน้อย (2) นอกจากนี้การเลี้ยงบักเตรีพวกจอมหมักไว้ในลำไส้มันยังช่วยย่อยสลายโคเลสเตอรอลและป้องกันการดูดซึมโคเลสเตอรอลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นการช่วยลดไขมันในเลือดได้ (3) ทำให้ท้องไม่ผูก เพราะการหมักมีการดึงน้ำไว้ในลำไส้ คนญี่ปุ่นซึ่งนิยมกินถั่วเป็นอาหารหลักมีบักเตรีช่วยหมักทั้งสองตระกูลนี้ขายเป็นแคปซูลชื่อ Inforan เมืองไทยก็มีคนเอามาขาย
2. ถั่วเหลืองมีฮอร์โมนผู้หญิงทำให้เป็นมะเร็งเต้านมจริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เป็นเพียงการเอาข้อมูลวิทยาศาสตร์สองท่อนมาต่อกันแล้วตีบาลีเป็นบรรทัดเดียวแบบศรีธนญชัย ซึ่งไม่ใช่วิธีการใช้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง
ข้อมูลท่อนที่ 1. คือ “ถั่วเหลืองมีสาร phytoestrogen ซึ่งออกฤทธิ์แบบฮอร์โมนเพศหญิงจริง”
ข้อมูลท่อนที่ 2. คือ “เอสโตรเจนในรูปของฮอร์โมนเป็นยาเม็ดที่กินเสริมทุกวัน (เช่นในการคุมกำเนิดหรือในการให้ทดแทนหลังหมดประจำเดือน) หากกินนานเกิน 20 ปีขึ้นไปจะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมากขึ้น”
ข้อมูลทั้งสองท่อนนี้เป็นคนละเรื่องซึ่งในทางวิทยาศาสตร์จะเอามาต่อกันเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้
ถ้าจะตั้งคำถามว่า “กินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้นหรือไม่” คำตอบก็คือ “ไม่” เพราะจนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งบอกว่ากินถั่วเหลืองแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ทั้งๆที่มีข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของคนกินถั่วเหลืองมากมายทั้งในจีนและญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าทำให้เป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
3. ถั่วเหลืองทำให้เป็นไฮโปไทรอยด์จริงหรือไม่ ตอบว่า “ไม่จริง” เรื่องนี้มีอยู่แง่มุมเดียว คือคนเป็นไฮโปไทรอยด์มักได้รับการรักษาโดยการให้กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด หากกินยานี้พร้อมกับถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากถั่วเหลืองแล้วยังมีอาหารอื่นเช่น อาหารที่มีกาก หรือมีธาตุเหล็ก หรือมีแคลเซียมสูง ก็ขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน จึงควรกินยานี้ตอนท้องว่างจะดีที่สุด ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์ที่กินยาตอนท้องว่าง จะได้รับผลเสียอื่นใดจากการกินถั่วเหลือง แปลไทยให้เป็นไทยว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์กินถั่วเหลืองได้http://visitdrsant.blogspot.com/2011/09/blog-post_30.html
4. ระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครควรหรือไม่ควรดื่มนมถั่วเหลือง ตอบว่าดื่มได้ทั้งคู่แหละครับ ไม่มีเหตุให้ดื่มได้เฉพาะเพศใดเพศหนึ่ง
5. อายุตัวมากน้อยเป็นปัจจัยเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า ตอบว่าอาจมีผลบ้าง กล่าวคือในคนอายุมาก ปริมาณบักเตรีที่ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ด้วยวิธีหมักจะลดจำนวนลง ทำให้วิตามินบี 12 ที่ได้จากอาหารพวกถั่วลดลง จนอาจจะไม่พอหากเป็นผู้ทานอาหารแบบมังสวิรัติ ซึ่งคนเป็นมังสะวิรัติอาจแก้ได้ด้วยการทานวิตามินบี.12 เสริมเมื่ออายุมากขึ้น
6. คนเป็นเบาหวานทานนมถั่วเหลืองได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ พวกนักโภชนบำบัดเอาถั่วเหลืองเป็นอาหารรักษาเบาหวานด้วยซ้ำไป เพราะงานวิจัยให้คนกินน้ำตาลพร้อมกับถั่วเหลืองพบว่าร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลงกว่าเมื่อกินพร้อมกับอาหารอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับน้ำตาลส่วนเกินจากอาหารน้อยลง
7. คนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทานน้ำเต้าหู้ได้ไหม ตอบว่าได้สิครับ ถั่วเหลืองดีต่อคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือดในสองประเด็นคือ
7.1 ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งงานวิจัยในกลุ่มคนจำนวนมากของฮาร์วาร์ดที่ได้ติดตามนานถึง 12 ปีพบว่าคนที่ทานไขมันไม่อิ่มตัวมีอัตราเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าคนที่ทานไขมันอิ่มตัว
7.2 ถั่วเหลืองมีกรดอามิโนชนิดไกลซีนและอาร์จินีนสูง ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระดับอินสุลินในเลือดต่ำลง อันส่งผลต่อไปให้การผลิตโคเลสเตอรอลในร่างกายลดลงด้วย ต่างจากเนื้อสัตว์ซึ่งมีกรดอามิโนชนิดไลซีนสูงซึ่งมีผลเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเอื้อต่อการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
โดยสรุป หมอคนอื่นเขาจะแนะนำว่าอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ แต่ผมแนะนำตามหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่มีถึงวันนี้ว่าถั่วเหลืองเป็นของดี คำแนะนำโภชนาการล่าสุดของรัฐบาลอเมริกัน (USDA 2010) จัดให้ถั่วเหลืองอยู่ในกลุ่มของอาหารอุดมคุณค่าทีทุกคนควรบริโภคมากขึ้น เป็นแหล่งโปรตีนราคาถูก มีสารโพลี่แซคคาไรด์ที่ลดการดูดซึมน้ำตาล อีกทั้งการย่อยถั่วเหลืองโดยบักเตรีในลำไส้มีผลให้โคเลสเตอรอลถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยลง ไขมันในถั่วเหลืองเป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งลดการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ตัวโปรตีนจากถั่วเหลืองเมื่อเข้าไปในกระแสเลือดแล้วยังมีผลลดการผลิตโคเลสเตอรอลทำให้ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ คนดีหรือคนป่วย จึงควรดื่มนมถั่วเหลืองและทานเต้าหู้ ข้อเสียของถั่วเหลืองคืออาจทำให้เกิดแก้สในท้องและต้องผายลมบ่อย ซึ่งเป็นข้อเสียที่จิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Tsai AC, Vinik AI, Lasichak A, Lo GS. Effects of soy polysaccharide on postprandial plasma glucose, insulin, pancreatic polypeptide, somatostatin, and triglyceride in obese diabetic patients. Am J Cin Nutr 1978;45:596.
2. Sanchez A, Hubbard RW. Plasma amino acid and the insulin/glucagon ratio as an explanation for the dietary protein modulation of atherosclerosis. Med Hypoth.1991;35:324-329.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น