วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ประสบการณ์จากผู้ป่วยเป็นมะเร็ง(2)/แอ้มสโรชา/นิกกี้




คุณหลี มะเร็งปอดระยะสุดท้าย
 ด็อกเตอร์เฟรดเป็นมะเร็งในกระดูก
แอ้ม สโรชา พรอุดมศักดิ์
นิกกี้

******************




 https://youtu.be/3NEzlKd0jac

มะเร็ง การจัดการที่ทุกคนทำได้
https://youtu.be/8HQQQAV4gMg

(50:25) ด็อกเตอร์เฟรดเป็นมะเร็งในกระดูก แพร่กระจายไปหลายที่ เขาไปพบหมอด้านสมอง3คน
หมอบอกเเขาจะมีชีวิตไม่เกิน3ปี




******************
แอ้ม สโรชา พรอุดมศักดิ์
https://youtu.be/SIbJa3od8sc
เหตุของโรคจากบางช่วงของการสัมภาษณ์  เป็นประโยชน์กับคนดู
ที่น้อมเข้ามาดูตัวเอง
(05:34) ช่วงเวลาก่อนเจอเหตุการณ์ กำลังเดินทาง ใช้ชีวิตกับคุณพ่อคุณแม่ อ้วน
ถาม:คุณเป็นคนออกกำลังกายไหม
ตอบ:ไม่
ถาม:ดูแลอาหารการกินไหม
ตอบ:ไม่ค่ะ
ถาม:เป็นคนนอนหัวค่ำ แล้วตื่นเช้าหรืออย่างไร
ตอบ:นอนดึกมาก ตื่นสายมาก เพราะโดยอาชีพ เริ่มเป็นพิธีกรทำภาคค่ำมาตลอด เพิ่งมาทำภาคเช้าได้สั้นๆช่วงหนึ่ง
ถาม:ก็คือการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ถูกต้องไหมครับ
ตอบ:ถูกต้องค่ะ ...เป็นคนบ้าเครื่องสำอาง เป็นคนเมกหน้า ชอบมาก ได้ค้นเว็บ ค้นวัตถุดิบเครื่องสำอาง ก็เลยมีการซื้อมาทดลองใช้ เจอครีมตัวหนึ่ง ...ก็เลยลองทาที่หน้าอก จึงคลำเจอก้อนเนื้อที่หน้าอก...
(26:48) ไปรอฟังผลเลือดที่ร.พจุฬา ก็ไปถ่ายรูปดอกไม้ ถ้าเป็นสโรชาสมัยก่อน “ทำไมมันนานจัง แค่ตรวจเลือดแค่นี้2ชม. จะให้ชั้นรอทำไม...เร่งหน่อยไม่ได้เหรอ...

******************



เรา:ปฏิบัติภาวนามาช่วยตอนจะตายอย่างนี้เอง




https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=500992616902121&substory_index=0&id=494050964262953


https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1221271534685287&id=138023463010105


แนวทางการใช้ชีวิตกับโรคมะเร็ง นิกกี้
https://www.youtube.com/watch?v=UHrxrMvGt3I

******************

ผู้ป่วยรักษามะเร็งด้วยคีย์โมและฉายแสงกว่า60ครั้ง ผ่านเวลายากลำบากของชีวิต2ปี ปัจจุบันจากภพนี้ไปแล้ว

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10160142302715085&id=330743535084

******************

หมอสันต์

ตรงนี้ ตอนนี้ ในฐานะผู้ป่วย คุณต้องย่างก้าวให้ดีนะ หากก้าวผิด นึกว่ารีบวินิจฉัยรีบรักษาจะดีกลับกลายเป็นว่าทำให้ตายเร็วขึ้น สัจจะธรรมข้อหนึ่งที่หมอไม่ค่อยได้พูดให้คนไข้ฟังคือเซลมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบ CLL นี้มันก็มีลอยละล่องอยู่ในกระแสเลือดของชาวบ้านทั่วไปกันอยู่จำนวนไม่น้อยนะ แล้วชาวบ้านเหล่านั้นก็ไม่เห็นมีใครเป็นมะเร็ง เกณฑ์วินิจฉัยเขาถึงมาตั้งนับเอาที่มีเซลมะเร็งเกิน 5000 ตัวขึ้นไปไง เพราะคนอื่นเขาก็มีเซลมะเร็งแบบนี้แต่มีน้อยกว่านี้จึงไม่ถูกจั๊มตราว่าเป็นมะเร็ง แปลไทยให้เป็นไทยก็คือว่าคุณแตกต่างจากชาวบ้านเขาตรงที่คุณมีเซลแบบนี้มากกว่าชาวบ้านเขาจนเกินค่าที่หมอประทับตราว่าผิดปกติเท่านั้นเอง คอนเซพท์แบบนี้อนุโลมใช้กับการวินิจฉัยมะเร็งอื่นก็ได้ด้วยนะครับ คือคนเป็นมะเร็งกับคนไม่เป็น ต่างกันตรงที่ว่าคนเป็นมะเร็งมีเซลมะเร็งมากจนหมอตรวจพบและตีตราให้ แต่คนไม่เป็นก็ไม่ใช่ว่าไม่มีเซลมะเร็งนะ มีเหมือนกันเพียงแต่มีไม่มากพอที่หมอเขาจะตีตราให้ว่าเป็นมะเร็งเท่านั้นเอง
http://visitdrsant.blogspot.com/2017/10/cll.html
                                                                *******

»  ชีวิตสอนอะไรเราบ้าง เมื่อแพทย์บอกว่า “คุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง”
»  โดย ขวัญชาย ดำรงค์ขวัญ


เราต่างรู้ดีว่าเป็นเรื่อง “ธรรมดา” ทั้งคนสูงวัย ผู้ใหญ่วัยทำงาน คนหนุ่มคนสาว

หรือแม้แต่เด็กน้อยวัยซุกซน ล้วนสามารถเจอกับความป่วยไข้แบบหนักหนาได้ทั้งนั้น

ขนาดว่ารู้ทั้งรู้ เมื่อเสียงวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า “คุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง”

คนส่วนใหญ่ย่อมตกใจ และไม่น้อยถึงขั้นกังวลจนไม่เป็นอันกินอันนอน

จันทิมา รักษาเสรี หรือ “อาจารย์แต๋ม” - อดีตข้าราชการครู

...ตรวจพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านมก่อนเกษียณไม่กี่ปี

ก้อนเนื้อของเธออยู่ในระดับ 4B (ถ้าระดับ ๕ เท่ากับว่าเป็นมะเร็ง)

ซึ่งคำวินิจฉัยบอกว่า มีโอกาสเป็นมะเร็งค่อนข้างสูง

คำแนะนำจากหมอและพยาบาลบอกว่า...เธอควรผ่าตัด!

“พบความผิดปกตินะ ไม่น่ากังวลมาก แต่ก็วางใจไม่ได้เลย ขอแนะนำว่าต้องมาผ่าตัด”

เป็นคำแนะนำของพยาบาลที่เธอจำได้ดี


เท่าที่เธอได้ยินมา การผ่าตัดเต้านมอาจมีผลข้างเคียงที่กินเวลาทั้งชีวิต

เธอไม่อยากแบกรับความเสี่ยงนั้น

จึงตัดสินใจรักษาด้วยการดูแลตัวเองในแบบต่าง ๆ โดยนึกย้อนถึงการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องตลอดมา

ทั้งอาหารการกินที่ตามใจปาก ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ

และพักผ่อนน้อยจากการโหมงานหนักในอาชีพที่รักมาหลายสิบปี

ตั้งแต่เริ่มรับราชการครู (กรมสามัญศึกษา) พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม ๑ ปี

ก่อนจะย้ายไปยังโรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐

จนกระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อกันยายน ๒๕๕๗

เธอจึงเลือกกลับมาใส่ใจในชีวิตประจำวันที่เหลืออยู่


อาจารย์แต๋มเริ่มต้นด้วยการปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

และศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ก่อนจะลงเอยด้วยการรับประทานสมุนไพรหลากหลาย

อาทิ หญ้าปักกิ่ง ขมิ้นชัน ใบย่านาง เธองดเนื้อสัตว์และใช้ผักปลอดสาร(เคมี)มาปรุงอาหาร

และเนื่องจากภาระหน้าที่ยังไม่เอื้อให้ออกกำลังกายได้สะดวกนัก

เธอจึงใช้วิธีขี่จักรยานจากบ้านไปทำงานที่โรงเรียนสตรีวิทยา ๒

...เป็นระยะทางไปกลับกว่า ๒๐ กิโลเมตร


หลังจากกลับมาดูแลตัวเองมากขึ้น ผ่านไป ๖ เดือน เธอกลับไปตรวจและได้พบข่าวดีว่า

ชิ้นเนื้อที่ตัดออกมาตรวจไม่มีเซลล์มะเร็ง แต่เธอก็ยังไม่สามารถวางใจได้เต็มที่

ในทางทฤษฎีแล้ว การตัดชิ้นเนื้อบางส่วนมาตรวจไม่สามารถรับประกันได้ว่าปลอดภัย

เพราะส่วนที่เหลือยังมีโอกาสเป็นเนื้อร้ายได้ เธอจึงต้องกลับไปตรวจทุก ๆ ๖ เดือน เป็นระยะเวลา ๒ ปี

...หลังจากนั้นจึงลดเหลือปีละหนึ่งครั้ง



เมื่อชีวิตยังอยู่กับความสุ่มเสี่ยง หมอและพยาบาลจึงแนะนำว่า...

เธอควรผ่าตัดเอาก้อนเนื้อนั้นออกไปเลย

แต่ในเมื่อระยะเวลา ๖ เดือนกับการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันปรากฏผลน่าพอใจ

อาจารย์แต๋มจึงเลือกที่จะดูแลตัวเองด้วยวิธีเดิมด้วยความเชื่อว่า

...ร่างกายมนุษย์มีกลไกที่สามารถเยียวยาตัวเองได้

แม้ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าปลอดภัย แต่อาจารย์แต๋มมองว่านั่นเป็นเรื่องปกติของทุกคน

ต่อให้หมอยืนยันว่าก้อนเนื้อนั้นไม่มีเซลล์มะเร็งเลย เธอก็ยังมีสิทธิเจอกับเรื่องไม่คาดคิด

ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่ทุก ๆ คนต้องเจอ

ดังนั้น หนทางที่ควรเป็นก็คือ การเบิกบานกับแต่ละวันที่เหลืออยู่ให้เต็มที่

*******



http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=minieii&date=08-01-2005&group=2&gblog=9 

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1272287982857696&id=483593508393818



https://youtu.be/JUxFC8EXj5c

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น