“มาชดเชยแคลเซียมด้วยการเดินกันเถอะ”
นายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโมะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมตกแต่ง
และรักษาโรคมะเร็ง
คุณหมอเล่าว่านักบินอวกาศที่ใช้ชีวิตอยู่ในยานอวกาศเป็นเวลานาน ทั้งที่กินแคลเซียมเป็นปริมาณมากกว่าคนทั่วไปหลายเท่า แต่พอกลับถึงโลกก็ยังเป็นโรคกระดูกพรุนเพราะไม่ได้ออกกำลังกาย
เนื่องจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก เมื่อเป็นเช่นนั้น กระดูกจึงค่อยๆ อ่อนแอลง
คุณหมอจึงแนะนำว่า ถ้าอยากทำให้กระดูกแข็งแรง ต้องเดินให้มาก เป็นสองเท่าของคนทั่วไป เพราะแรงโน้มถ่วงจะทำให้กระดูกรับภาระหนัก แล้วปริมาณแคลเซียมในกระดูกก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ
การเดินอย่างสง่างาม(=คือหลวงปู่ เดินทุกคืน)
ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงมีการพูดกันโดยทั่วไปว่า แคลเซียมจะลดน้อยลงตามอายุล่ะ?? คุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า
แต่เดิมกระดูกเป็นเหมือนธนาคารซึ่งเก็บสะสมแคลเซียมเอาไว้ เมื่อแคลเซียมในเลือดลดลงก็จะนำแคลเซียมจากกระดูกมาใช้แทน และเมื่อผู้สูงวัยมีการเดินที่ไม่เพียงพอ กระดูกก็จะค่อยๆเปราะบางลง
ถึงแม้จะกินแคลเซียมมากเพียงใดก็จะไม่มีผลช่วยอะไรมากนัก เพราะปัจจัยหลักที่สำคัญคือ "ปริมาณการออกกำลังกาย" ที่ผู้สูงวัยมีลดน้อยลงถึงขนาดผู้สูงวัยบางรายในแต่ละวัน แทบไม่ได้มีการขยับตัวเลยนั่นเอง
นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับปริมาณฮอร์โมนที่ลดลงอีกด้วย เพราะเดิมทีฮอร์โมนเพศไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเพศชายต่างก็มี “ฤทธิ์เสริมสร้าง” ทำให้กระดูกแข็งแรงและกล้ามเนื้อบึกบึน
สำหรับผู้ชายนั้น ถึงแม้จะใกล้วัย 80 ปี แต่ปริมาณฮอร์โมนเพศชายที่ผลิตออกมาก็ไม่น้อยไปกว่าช่วงวัยรุ่น ในขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิงจะเริ่มลดลงตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปี และจะหยุดผลิตเมื่อหมดประจำเดือนตอนอายุประมาณ 50 ปี
แน่นอนว่า...หากไม่มีฮอร์โมนเพศก็จะไม่สามารถหล่อเลี้ยงร่างกายได้ ธรรมชาติจึงจำเป็นต้องผลิตฮอร์โมนทดแทนขึ้นมา ชื่อว่า “แอนโดรเจน (Androgen)” ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตเพื่อชดเชยฮอร์โมนเพศหญิงในส่วนที่ขาด แต่แอนโดรเจนก็ไม่ได้มีปริมาณมากเพียงพอ กระดูกจึงไม่สามารถรักษาแคลเซียมเอาไว้ได้
นอกจากนั้นผู้สูงวัยยังมีแนวโน้มที่จะเดินน้อยลงเรื่อยๆ
ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงยิ่งทำให้ขาดแคลเซียมมากขึ้นไปอีก ส่งผลทำให้มีอาการปวดหัวเข่าและสะโพกพอปวดแล้วก็จะยิ่งเดินน้อยลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นต้องนั่งรถเข็น ซึ่งจะยิ่งเข้าสู่วงจรแย่ๆ ยิ่งมีกระดูกอ่อนแอลงไปเรื่อยๆจนเกินแก้ไข
ในทางกลับกัน ต่อให้เป็นวัยหนุ่มสาว หากนั่งทำงานอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ วันๆแทบไม่มีการขยับตัว แล้วจู่ๆวันหนึ่งก็ลุกขึ้นมาปีนเขาใช้ขาอย่าง หักโหมทันที ก็จะมีอาการปวดข้อปวดเข่า เพราะร่างกายไม่เคยชิน จึงควรฝึกนิสัยรักการเดินให้เป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ
คุณหมอโยะชิโนะริ นะงุโมะ มีอายุถึง 60 ปีแล้ว แต่อายุกระดูกที่ตรวจวัดได้ยังมีอายุเพียงแค่ 28 ปี ซึ่งอ่อนกว่าอายุจริงกว่า 30 ปี นั่นเป็นเพราะคุณหมอรักการเดินเป็นชีวิตจิตใจมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคุณหมอบอกว่าการเดินมากหรือน้อยในวัยเด็กสะสมมาจะมีผลอย่างยิ่งต่อระดับความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้นด้วย
ดังนั้นพ่อแม่ที่โอ๋ลูกมาก ไม่ยอมให้ลูกได้เดินบ้าง เพราะกลัวเหนื่อยหรือลำบาก ควรจะรีบเปลี่ยนความคิดใหม เพราะพ่อแม่ชาวญี่ปุ่นจะฝึกให้ลูกเดินเยอะๆ ถ้าบ้านและโรงเรียนไม่ไกลจากกันมากนัก ก็จะใช้วิธีเดินไปกลับแทน การนั่งรถไฟฟ้า
หรือขึ้นรถไฟฟ้า ก็จะพยายามให้เด็กๆได้ยืนเพื่อฝึกกำลังขาและสะโพก เพราะการฝึกขาและสะโพกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นตัวกำหนดความแข็งแรงของกระดูกเค้าไปตลอดชีวิตเลย
*******
ลดเวลานั่ง เพิ่มเวลายืน ยืดเวลาเดิน
การศึกษาวิจัยที่ผ่านมา แสดงให้เราเห็นว่า การนั่งนานเกินไป เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและการตายจากทุกสาเหตุ ประชากร 1 แสนคน ทุกๆ 2 ชั่วโมงต่อวันที่นั่งดูทีวีเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 1 ปี เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 176 คน ตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด 38 คน ตายจากทุกสาเหตุ 108 คน
ดังนั้น เราควรจะลุกยืนให้บ่อยขึ้น เพื่อลดเวลาที่นั่งให้น้อยลง คำถาม คือ คนเราควรจะลุกยืนอย่างน้อยวันละกี่ครั้ง และคนที่ป่วย ควรจะลุกยืนกี่ครั้ง พบว่าโดยเฉลี่ย คนที่แข็งแรงดีจะลุกยืนเฉลี่ย 33-71 ครั้งต่อวัน คนเราควรจะลุกยืนมากกว่า 45 ครั้งต่อวัน ยกเว้นผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล และผู้สูงอายุบางคน ในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เราอาจต้องมากำหนดตัวเองคร่าวๆ ว่า ควรจะลุกยืนอย่างน้อยชั่วโมงละ 3-4 ครั้ง หรือทุกๆ 15-20 นาที ควรจะลุกยืน การนั่งทำงานนานๆ วันละ 8-10 ชั่วโมง ติดต่อกัน ไม่เกิดผลดีต่อสุขภาพแน่ๆ ดังนั้น ควรสลับการยืน หรือเดินทำงาน จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156125507052028&id=172425057027
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น