ใครอยากรักษาตามแนวดุลยภาพบำบัด
กรุณาโทรนัดหมายเวลา เบอร์ 02-865-8114-6 จ-ส. เวลา 10.00 -17.00น.
ดูเพิ่มเติมที่https://www.facebook.com/Dunyapab?ref=profile
บ้านสวนคลีนิคเวชกรรม โทร.028658114-6 บ้านสวนสหคลีนิค
***********************
ท่านอนท่าที่1 ท่านอนหงาย
ท่านั่งที่1 แก้หลังค่อม
บ้านหมุน (25:30)ทำท่าบริหารอย่าเกร็ง ท่านอนให้สูดลมหายใจ
กับการทำท่าเคลื่อนไหวช้าๆ ถ้าถูกจะรู้สึกร้อนวูบไปทั่วตัว
https://youtu.be/6VsdBLrFWQA
ท่าบริหารท่านอนท่าที่2
ท่าบริหารท่านอน
เรา:ทำ16พ.ย61ก่อน21น. สะโพกข้างซ้ายที่เจ็บ และโคนขาซ้ายที่เจ็บดีขึ้นทันทีหลังทำ
https://youtu.be/aE0-eQpye5k 12มค60
แม่กำลังปวดสะโพก จะทำแหละ พ่อทำก่อนขับรถดีไหม
https://m.youtube.com/watch?v=xzAbO-MRFc8
ประสบการณ์ครั้งแรก!!กับการรักษาโดยการฝังเข็มแบบดุลยภาพบำบัด
แม่กำลังปวดสะโพก จะทำแหละ พ่อทำก่อนขับรถดีไหม
https://m.youtube.com/watch?v=xzAbO-MRFc8
ประสบการณ์ครั้งแรก!!กับการรักษาโดยการฝังเข็มแบบดุลยภาพบำบัด
คลิปภัยที่มองไม่เห็น 1_1 วัน 27 ก.พ.54 ภัยที่มองไม่เห็น 1_2 วัน 27 ก.พ.54 ภัยที่มองไม่เห็น 1_3 วัน 27 ก.พ.54 ภัยที่มองไม่เห็น 1_4 วัน 27 ก.พ.54
คลิปภัยเงียบในโรงเรียนที่มองไม่เห็น 2_1 วัน 6 มี.ค.54
คลิป ภัยที่มองไม่เห็น 2_2 วัน 6 มี.ค.54 (06.00) เล่นไอ้เข้ไอ้โขง กระโดดตกเก้าอี้นิดเดียว ไม่มีแผลอะไรเลย คุณป้าก็นวดไปในที่สุดแขนยกไม่ขึ้น ต้องส่งโรงพยาบาล ทำMRI มีเงาในสมองหมอบอกต้องผ่าตัด ในที่สุดพิการ
1.48 เวียนศีรษะมาก..เพียงแค่มะละกอตกใส่หัวเป็นอย่างนี้ได้เชียวหรือ
3.02 หมอ/การรักษาบอกว่าน้ำในหูไม่เท่ากัน กระดูกในหูมีหินปูนเกาะ เขาใช้การแว่งตัวโดยการปรับ แล้วบอกว่ามันหลุดออกมา แล้วหายเวียนหัว..มันไม่ใช่ วิธีการที่แพทย์เอามาปรับปมุนมันไม่ใช่ มันไม่ปกติ บางท่านไปโดนหมุนมาอย่างนี้ยิ่งหนักกว่าเดิม มันก็เหมือนกับคุณจารึกที่ตกเปลญวน
15.45 แม่เป็นมะเร็งระยะ3 เกือบระยะ4 ไปผ่าตัดแล้วกลับมารักษาที่บ้านสวนต่อ โดยไม่รับคีย์โม
หมอ/แรกๆคุณแม่ไม่ยอมผ่า ต้องผ่า ตัวต้นตอเราทราบ เราเสริมทุกอย่างไปให้ดี ระยะ3 อันตรายนะคะ เราเสริมเช่นอาหาร
17.35 หลานตอนเด็กลื่นล้มบ่อยหัวมักกระแทกพื้นและตกบันได เป็นเนื้องอกในสมอง ผ่ามาเท่าขนาดลูกเทนนิส หลังผ่าตัดจิตใจไม่ค่อยปกติ แต่ตอนนี้ไปเรียนต่างประเทศ ยังมารักษา
15.42 อาการเจ็บแล้วไปนวด
หมอลดาวัลย์/แรกๆสบาย โล่ง หลังจากนั้นเอ็นต่างๆค่อยๆเคลื่อนไป สารที่ลดอาการเจ็บปวดจะเกิดชั่วคราว แต่มันกลับไปกระตุ้นสุดท้ายให้กล้ามเนื้อมันตีกลับ
คนไข้/ตอนนั้นนวดไม่ถึงเดือนกลับเป็นมากกว่าเก่า ปวดเสียจนข้างหลังแข็ง
16.48 หมอลดาวัลย์/ดุลยภาพบำบัดรณรงค์ให้เรามาดูแลตัวเอง การยืดการดัด เราทำตัวเราเองเราจะเข้าใจไหม เราสามารถที่จะยืดจะคลาย จะดัด ให้แข็งแรง เราจะเข้าใจตัวเราเอง เราสามารถเคลื่อนไหวตัวเราเองได้ เพราะฉะนั้นตัวนี้เป็นหลัก
การพึ่งตนเองกับดุลยภาพบำบัด 18 ธค 54 2.flv
อาการวูบเกิดจากกระดูกต้นคอไปทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดซึ่งเราไม่ทราบ ทั่วไปไม่ค่อยคิด คิดว่าเป็นหวัดแดด หวัดลม นอนลงเดี๋ยวก็หาย แต่จริงๆแล้วไม่ใช่มันเป็นอาการเตือนเราเลย ถ้าหลอดเลือดตีบตันไปหรือนานไปจะเป็นปัญหาได้ คนหนุ่มหรือเด็กเป็นได้ คนไข้ไปหาหมอแผนปัจจุบัน หมอบอกว่าหายใจออกซิเจนไม่พอ บางทีให้ออกซิเจน หรือบอกว่าหายใจไม่อิ่ม มันเป็นเรื่องเดียวกันเพราะหลอดเลือดจะไปเลี้ยงสมอง สมองส่วนนั้นเป็นส่วนของการสั่งหัวใจและการหายใจ....ตรวจไม่พบทางหลอดเลือดและระบบประสาทด้วยเครื่องมือไฮเทคที่มีอยู่
หมอลดาวัลย์- จะตรวจพบได้อย่างไรเพราะหลอดเลือดร้อยอยู่ในรูกระดูก ...อัลตราซาวด์ไม่พบ เวลาเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่บิดตัวก็ต่างกัน
หมอดังใจ- การหันตำแหน่งคอที่ต่างไป กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆตัวหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดตีบในบางท่า ทำให้เวลาตรวจไม่พบ
เอวอร- ปวดไหล่ หมอเตือนว่าไม่ใช่ที่ไหล่อย่างเดียว ครั้งแรกอย่างดิฉันนอนควำ่อ่านหนังสือ ไม่รู้อะไรมันตก ตึ๊บทำให้เป็นเลย ถ้าเป็นที่คอมันจะตามลงมาที่ส่วนอื่นๆ
หมอลดาวัลย์- เพราะฉะนั้นถ้าขึ้นไปที่คอระวังนะจะเวียนหัวตามมา และถ้าทิ้งไว้จะวูบไปวูบมา
ดุลยภาพ 22-09-2556 อาการและโรคที่หลากหลาย( ที่เกิดจากโครงสร้างและหน้าที่ที่เสียสมดุล) 5
รักษาสิวเม็ดโป้งๆหายได้
เลือดกำเดาออกเป็นตั้งแต่เด็ก ผู้ป่วยเป็นทันตแพทย์ บ้านหมุน เป็นโรคหัวใจกินยา 2 ปี ปวดหัวแต่วัดความดันปกติ หมอให้กินวิตามินซีก็ไม่หาย เลือดกำเดาไหลไม่หยุด 20 นาที มาจากอุบัติเหตุคอสะบัด (18.01) บ้านหมุนเป็นครั้งที่2 แก้โดยให้นอนเพื่อไม่ให้หัวฟาดพื้นหรือหกล้มในห้องน้ำ จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หมอรักษาจะมุ่งไปที่น้ำในหูไม่เท่ากัน จริงๆแล้วมาจากหลอดเลือดกระดูกคอ ถ้าคอสะบัดหลอดเลือดกระดูกคอก็ต้องสะบัด การนอนช่วยให้เปลี่ยนท่า เลือดจะขึ้นสมอง นั่นเป็นวิธีเบื้องต้น สมองจะสั่งมาว่าไม่เวียนหัว (24.20) ต่อไปจะเป็นภูมิแพ้ โรคมะเร็งโพรงจมูก (ที่มา คลิปดุลยภาพ29072555-กลุ่มอาการที่ซ่อนเร้น (2)
เด็กพัฒนาการช้า สมาธิสั้น เดินไปทั่ว กับคนไข้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุตกบันไดตอน 46 ปี หกล้มบ่อย เจ็บสะบัก นอนไม่หลับ ตาพล่า ไม่เคยกินของหวานก็จะอยากกินเพราะร่างกายอ่อนเพลีย ซึมเศร้า ท้อแท้ ร่างกายตึงตลอดเวลา เดินขากระเผกลากขา (36.40)นักร้องไมเคิลแจ็กสัน พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักเต้นแอโรบิค นักมวยส่วนใหญ่เป็นพาร์กินสัน นักกีฬาตาย (ที่มา คลิปดุลยภาพ29072555-กลุ่มอาการที่ซ่อนเร้น (1)
เด็กเป็นโรคกล้ามเนื้อฝ่อหกล้มบ่อย ตั้งแต่อายุ 17 วันอาเจียน หมอบอกลำไส้ตีบ 10 ขวบหยุดเดิน
กล้ามเนื้อซีกขวากระตุก ปวดศีรษะ ไซนัสอักเสบ เก๊าท์ ไมเกรนปวดจนอาเจียน บ้านหมุน ลมชัก กลืนข้าวไม่ลง ฯลฯ ไปหาหมอหลายคน ทำไมตรวจไม่พบว่าเป็นโรคอะไร จนสุดท้ายมารักษาแบบดุลยภาพบำบัด สามารถรักษาได้ทุกโรคที่เป็น เพราะอะไร? ดู"ดุลยภาพบำบัด" ตอนนี้แล้วท่านจะรู้ และรักษาสุขภาพได้ด้วยตัวเอง
(4.42) เป็นไทรอยด์มาประมาณ 7 ปี ตอนแรกเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ก่อน ทานยาไม่หาย ทานน้ำแร่ทำลายต่อม ตอนนี้เป็นไฮโปไทยรอยด์ มีอาการเมารถที่ไม่ทราบสาเหตุที่เมื่อก่อนไม่เคยเป็น แต่เพิ่งมาเป็น 7 ปีหลังนี่แหละคะ
วิ่งเวียนศีรษะ เป็นลมบ่อย
(7.59) กล้ามเนื้อช่วงคอและบ่าผิดปกติ หันเฉพาะคอไม่ได้ ต้องหันทั้งตัว
ออกอากาศ ช่อง TNN2 วันที่ 22 ตุลาคม 2556
(29.55) คลองตรงไหนคด ตะกอนมันก็ไปอยู่ตรงนั้น หินปูนมันไม่ได้งอกมาจากไหน หินปูนมีอยู่ในร่างกายอยู่แล้ว แคลเชี่ยมหรือในสารคัดหลั่งต่างๆ ตรงไหนมันเอื่อยมันก็ตกตะกอน ...เราหกล้มมันก็เบี้ยวไปหมด
รักษาโรคสะเก็ดเงินด้วยการกินสเตียรอยด์ โรคไม่หาย แต่ขากระปรกกระเปี้ย จึงหยุดยาเอง
สเตียรอยด์กดภูมิต้านทาน เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ได้แผลยิ่งเน่าเฟะ
ดุลยภาพบำบัดสู่ศูนย์กลาง_1 วัน 20 ก.พ.54
Mr.Hans Joachim Karwat ผู้ตรวจสอบบัญชี สายการบินลุฟฮันซาชาวเยอรมันรักษาโรคไหล่ติด ใส่เสื้อปวดไหล่ นั่งรถเข็น เคยนวดหาย กลับมาเป็นอีก
07.55 หมอ/ทุกอย่างทั้งระบบเสียหายหมด มันไม่ใช่วันเดียว เป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นก็ต้องสอนว่าสาเหตุทั้งระบบคืออะไร ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่หมด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุด คือโครงสร้างร่างกายมนุษย์นี่ตัวเราต้องอยู่กับตัวเราเอง แต่ถ้าให้คนอื่นมานั่งทำให้ตลอดเวลามันเป็นไปไม่ได้ แต่ในระยะเริ่มต้นแน่นอน กล้ามเนื้อกระดูกมันบิดเบี้ยว เราจะไปผลักเราจะไปฉีดยา ฝังเข็ม นวดอย่างเดียวไม่ได้ ต้องทำไปทั้งระบบเพื่อให้มันฟื้นตัวทั้งระบบ เพราะฉะนั้นตรงนี้ต้องมีวินัย ใหม่ๆก็หงุดหงิดแต่ก็มีวินัย
12.54 Mr.Hans Joachim Karwat ได้แนะนำเพื่อนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันที่ประเทศเยอรมัน ได้รับประทานยามากมาย เสียค่าใช้จ่ายในการรักษามามากพอควร มารักษากับหมอลดาวัลย์ประมาณ 3 ปีก่อน มารักษาได้ประมาณ 1 เดือน พอกลับไปที่เยอรมันอีกครั้งตอนนั้น หมอเปลี่ยนคำวินิจฉัยว่าไม่มีแล้วพาร์กินสัน
13.24 หมอดังใจ คนส่วนใหญ่ว่าเป็นพาร์กินสันแล้วรักษาไม่หาย อันดับแรกก่อน
12.54 Mr.Hans Joachim Karwat ได้แนะนำเพื่อนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันที่ประเทศเยอรมัน ได้รับประทานยามากมาย เสียค่าใช้จ่ายในการรักษามามากพอควร มารักษากับหมอลดาวัลย์ประมาณ 3 ปีก่อน มารักษาได้ประมาณ 1 เดือน พอกลับไปที่เยอรมันอีกครั้งตอนนั้น หมอเปลี่ยนคำวินิจฉัยว่าไม่มีแล้วพาร์กินสัน
13.24 หมอดังใจ คนส่วนใหญ่ว่าเป็นพาร์กินสันแล้วรักษาไม่หาย อันดับแรกก่อน
13.33 หมอ/โรคพาร์กินสัน หมอทั่วๆไปจะพูดถึงเซลในสมองกับสารในสมองผิดปกติไป ต้องให้ยาทดแทนเหมือนกับเป็นสารนั้น แต่ถ้ามามองในดุลยภาพบำบัดเรามองคนทั้งระบบ คือการสั่น ถ้าสารในสมองผิดปกติ แน่นอนที่สุดมันต้องไปทั่วตัว นั่นระดับหนึ่งละ แต่บางคนสั่นที่มือขวา บางคนสั่นมือซ้าย บางคนสั่นที่คอ บางคนสั่นที่หน้า บางคนสั่นที่ขาขวา บางคนสั่นที่ขาซ้าย ถ้าเราไม่มองคนทั้งระบบ เราก็คิดว่าสารนั้นอย่างเดียว ก็ทดแทนไป แตตัวสาเหตุหลักนั่นมันไม่ใช่ เอาง่ายๆถ้ามือขวาหรือมือซ้าย ถ้าเส้นเส้นประสาทเลี้ยงไม่ดี หลอดเลือดเลี้ยงไม่ดี การเดินทางเลี้ยงน้ำเหลืองไม่ดี กล้ามเนื้อก็จะพัฒนาไม่ดี
ดุลยภาพบำบัดสู่ศูนย์กลาง_2 วัน 20 ก.พ.54
เพราะฉะนั้นส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหาย ส่วนนั้นมันก็จะเครียด เกร็ง พอเกร็งเล็กๆน้อยๆมันก็มามากขึ้นมากขึ้น เวลาเราให้ยา หลอดเลือดจะไปที่ไหน เส้นประสาทก็ไม่ไป หลอดเลือดก็ไม่ไป ไปที่มันอ่อนแรง เพราะฉะนั้นตัวที่มันอ่อนแรงก็ยิ่งอ่อนแรงมากกว่าเดิม ตัวที่เกร็งก็ยิ่งเกร็งมากกว่าเดิม การให้ยามันจะคลายทั้งระบบ เสร็จแล้วมันก็เกร็งมากกว่าเดิม เพราะฉะนั้นยิ่งให้ยิ่งทรุด คนไข้ที่มาโดนยา การเกร็งการคลายยิ่งเลวลง ตัวต้นเหตุไม่ได้แก้ แก้ตัวปลายเหตุก่อน ไปหกล้มขาสั้นข้างยาวข้าง ลองนึกภาพ คนขาสั้นข้างยาวข้าง กล้ามเนื้อมันจะเกร็งไหม มันก็ต้องเกร็งถูกไหม ยิ่งเกร็งมากขึ้นเหมือนมือมันก็ต้องสั่น พอสั่นก็บอกว่าพาร์กินสัน รักษาตามอาการอย่างอย่างคุณคาร์วัตพูด
2.09 การแก้ไขต้องแก้ไขทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะนวด ฝังเข็ม การฝังเข็มก็ต้องไม่ใช่เฉพาะจุดด้วย กล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การบริหารร่างกายก็ต้องใช้ การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อนต้องไปด้วยกันทั้งระบบ
4.28 หมอดังใจ/ อย่างน้อยคนไข้ต้องรู้จักตัวเอง คล้ายๆกับกายภาพพื้นฐาน อย่างน้อยให้รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน กล้ามเนื้อตรงไหนเป็นลักษณะอย่างไร เพื่อจะได้นำไปยืดได้อย่างถูกต้อง เราอยู่กับตัวเราเอง 24 ชม. พบคุณหมอก็2-3 ชม. ถ้านำตรงนี้มาช่วยดูแลตัวเองง่ายๆ ก็จะเป็นประโยชน์มาก
ฟังเสียงร่างกาย... โรคร้ายก็ถอยห่าง จรัญ ยั่งยืน 04 ธ.ค. 2552 เวลา 16:23:07 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จะมีใครคิดกันบ้างว่า การขาดความสมดุลของร่างกายก่อโรคภัยต่าง ๆ มากมาย หากเผลอคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก มันอาจจะนำพาอันตรายใหญ่หลวงมาสู่ตัวเรา ไม่เชื่อก็ลองฟังทางนี้ !
รศ.พ.ญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเวชกรรมฝังเข็ม แนวทางดุลยภาพบำบัด ชี้ว่า ′หลักดุลยภาพศาสตร์นั้นไม่เพียงแค่เราควรเรียนรู้ แต่ทุกคนจำเป็นต้องรู้′
เราต้องรู้ว่าโครงสร้างของมนุษย์สมดุลอย่างไร แล้วจะเสียสมดุลเมื่อไร เพราะว่าโครงสร้างของร่างกายอาจเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่อยู่ในท้อง คลอด สิ่งแวดล้อม และการประกอบอาชีพ หลายคนคิดว่าต้องประสบอุบัติเหตุเท่านั้น โครงสร้างถึงจะเสียสมดุล แต่ว่ามันอาจไม่ใช่
"ใครที่เคยข้อเท้าแพลง หากสังเกตให้ดี ว่าเคยแพลงเท้าไหนก็จะเป็น ซ้ำ ๆ ที่เท้านั้น แสดงว่าตรงนั้นคือจุดอ่อนของเรา บางคนไม่สนใจปล่อยให้หายไปเอง จากแพลงที่ข้อเท้า ก็จะไปปวดที่หัวเข่า สะโพก ลามไปถึงหลัง หัวไหล่โดยไม่รู้ตัว"หากอาการลามมาที่สะโพก ผู้หญิงเวลามีลูก จะคลอดลำบากส่วนคนที่ต้องสะพายกล้อง สะพายกระเป๋าจนปวดคอ มันจะตามมาด้วยอาการปวดหัว หูอื้อ ตาพร่า ตาลาย หรือบางคนไม่รู้ว่าตัวเองหน้าเบี้ยว คางเบี้ยว โครงสร้างผิดรูป นี่คือสาเหตุหนึ่งของโรคภูมิแพ้ ทำให้ระบบทางเดินหายใจติดขัด เป็นที่หมักหมม ของเชื้อโรคในโพรงจมูก หากรอให้ถึงตอนที่อาการกำเริบแล้วถึงค่อยไปหาหมอ แบบนี้มีเงินเท่าไรก็ไม่พอ ! แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ? ในเมื่อมนุษย์ต้องใช้ชีวิต แล้วไม่สามารถอยู่เฉย ๆ ได้
ถึงแม้ว่าคนเราต้องทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่นจะห้ามไม่ให้เด็กคลอดออกมาก็ไม่ได้ ไม่ให้หัดเดินก็ไม่ได้ จะไม่ให้เล่นกีฬาก็ไม่ได้อีกเช่นกัน แต่ว่าสิ่งที่ต้องรู้คือ เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บตรงนี้ ปวดตรงนั้น เราจะรักษาอาการเหล่านั้นด้วยตัวเองได้อย่างไร "ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิต สอนให้รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ป่วย แล้วถ้าป่วยจะทำอย่างไรให้อาการดีขึ้นด้วยตัวเอง หรืออาศัยการดูแลจากคนในครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์"
ศาสตร์แขนงนี้ไม่ได้ปฏิเสธหรือต่อต้านการแพทย์แผนปัจจุบัน แต่จับสิ่งที่การแพทย์ตะวันตกทิ้งไปมาใส่ไว้ทุกวันนี้การแพทย์ทั่วไปแก้ไขที่ปลายเหตุ และแยกส่วนอวัยวะ แขน ขา กล้ามเนื้อ ระบบภายในออกจากกัน เช่น ระบบขับถ่ายตรวจแค่ปัสสาวะออกมาเป็นอย่างไร ตรวจไทรอยด์ก็ดูแค่ฮอร์โมน แล้วก็รักษาไปตามอาการนั้น ทั้งที่สาเหตุอาจมาจากส่วนอื่น
แต่การรักษาต้องเข้าใจทั้งระบบโครงสร้าง ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่ผิดปกติ ถ้ารักษาแบบนี้หายแล้วก็เป็นใหม่อีก ต้องไปหาหมอรับยามาเพิ่ม ไม่หายขาดสักที แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนวทางดุลยภาพบำบัด แนะนำว่าผู้ป่วยคนใดที่จับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะเริ่มดูแลตัวเองอย่างไรดี ขอให้มั่นใจว่า ไม่มีคำว่าสายเกินไป เพียงเริ่มฟังเสียงร่างกายตนเอง
เริ่มจากสนใจเรียนรู้ ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ออกกำลังกายโดยดูว่าโครงสร้างร่างกายของเราเหมาะกับกีฬาประเภทไหน เลือกรับประทานอาหาร สังเกต การขับถ่าย ควบคุมอารมณ์ และดูแลสิ่งรอบตัว ตั้งแต่ความสะอาดของร่างกายตัวเอง เสื้อผ้า ห้องนอน และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน การรู้ทันเริ่มเมื่อไร ดีกว่าไม่เริ่มทำอะไรเลย
"หัวใจของดุลยภาพศาสตร์ คือ การดูแลรักษาตนเอง แบบค่อย ๆ ใช้เวลา แน่นอนว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตายต้องมีทุกคน แต่ถ้าเรารู้ทัน และเข้าใจจะเป็นประโยชน์กับ ตัวเองมาก เพราะจะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข" ดุลยภาพบำบัดทำได้เองง่าย ๆ ที่บ้าน ด้วยท่าบริหารร่างกายเบื้องต้น 4 ท่า รวมถึงการฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างถูกวิธี ′ถ้าขยันบริหาร ฝึกสังเกต ทำความเข้าใจร่างกาย ตัวเองก็เห็นผลได้ไม่ยาก′เมื่อชีวิตสมดุล โรคภัยย่อมถามหาน้อยลงอย่างแน่นอน
7 E ดูแลสุขภาพแบบดุลยภาพบำบัด
นอกจากคุณหมอจะรักษาด้วยเวชกรรมฝังเข็ม แนวใหม่ รศ.พ.ญ.ลดาวัลย์ ยังให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลวิถีชีวิต โดยใช้หลัก 7 E เพื่อให้คนไข้ได้กลับไปปรับร่างกายของตนเอง
E - Education กระบวนการเรียนรู้ของเราต้องเกิดจากภาคปฏิบัติ ถ้าใครสนใจที่จะรักษาตัวเอง กระบวนการเรียนรู้ต้องเกิด เพราะหมอที่ดีที่สุดคือตัวคุณสิ่งที่ต้องเรียนรู้ก็คือหน้าที่และโครงสร้างของร่างกายที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
E - Equilibrium ความสมดุล สาเหตุของการเกิดโรคก็เกิดจากความไม่สมดุลในทุกระบบ พฤติกรรม การใช้ชีวิตจะสำคัญที่สุด
E - Exercise การออกกำลังกายจำเป็น ต้องเข้าใจเรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
ต้องดูว่าโครงสร้างของเราเหมาะกับกีฬา ประเภทไหน เพราะคนเราไม่ได้มีมาตรฐานเดียวกันหมดทุกคน
E - Eating การรับประทานอาหารและสมุนไพร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิต ต้องเรียนรู้ว่าจะทำให้อาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นยาสำหรับร่างกายของเราได้อย่างไร
E - Excretion การขับถ่าย ทั้งการหายใจ น้ำตา น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ เมื่อความสมดุลไม่เกิดกับหน้าที่และโครงสร้างร่างกายแล้ว ผลก็จะเกิดต่อการขับของเสียด้วย
E- Emotion อารมณ์ขึ้นกับศีล สมาธิ ปัญญา คือ อารมณ์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัญญา ต้องมีศีลก่อนสมาธิ รู้จักการผ่อนคลาย หรือ Relaxation
E - Environment สิ่งแวดล้อม ดูตั้งแต่ในบ้าน นอนหมอนยังไง ผม เหงื่อไคล เราสระทุกวันไหม เหงื่อเราออกมา นุ่นก็สกปรก คนโบราณเขายังมีการเอานุ่นไปตากแดด แต่เรามีแค่ปลอกหมอนชั้นเดียว พวกนี้มันมีเชื้อจากความสกปรก เชื้อรามีไหม แล้วเราก็ไปบอกว่าเราเป็นภูมิแพ้ อาหารที่เรากิน ทุกวัน เราปลูกเองได้ไหม หรือซื้อแต่ผักที่มียาฆ่าแมลงมีสารพิษ สิ่งแวดล้อมสำคัญมาก
ท่าผ่อนคลาย
พ.ญ.ลดาวัลย์: นี่ไงคะ สังคมการแพทย์ตะวันตกที่เป็นกระแสหลักในเมืองไทยจะเน้นแพทย์เฉพาะทางมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราหลงทาง เพราะฉะนั้นเราน่าจะเริ่มต้นกันใหม่ เปิดตำรากันใหม่ เพื่อมาตรวจร่างกายทั้งระบบ ดูจากอวัยวะภายนอก → ภายใน และภายใน → ภายนอก ดูว่าแกนมันบิดไปตรงไหน กล้ามเนื้อมันก็ต้องตามไปตรงนั้น หลอดเลือดเส้นประสาทก็บิดไปด้วยกัน ระบบอัตโนมัติที่ไปเลี้ยงอวัยวะก็ต้องบิดตรงนั้นด้วย ซี่โครงหลังก็บิดตามไปหมด ซี่โครงบิดปอดที่อยู่ทั้งสองข้างก็บิดด้วย ขาแขนบิด คราวนี้ศีรษะก็บิดเอียงตาม อาการเจ็บป่วยก็เกิดขึ้น ทีนี้เมื่อหมอรักษาเฉพาะส่วนเฉพาะอวัยวะ ก็ได้เฉพาะส่วนไป แต่แกนทั้งระบบไม่ถูกปรับไม่ถูกรักษา อาการก็กลับมาที่เดินอยู่ดี ได้แต่ระงับหรือประคับประคองอาการที่เป็นเท่านั้น
ครัว: หนึ่งในวิธีดุลยภาพบำบัดก็คือ อาหารและดุลยภาพ อาหารกับผลไม้ล่ะคะเป็นตัวช่วยได้อย่างไร
พ.ญ.ลดาวัลย์: ผลไม้มีบทบาทที่สำคัญทำให้เกิดดุลยภาพในร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะในผลไม้มีวิตามินแร่ธาตุสารพันชนิด มีเกลือแร่ด้วย ยังมีโปรตีนในผลไม้บางชนิดอีกด้วย ที่สำคัญผลไม้มีเส้นใยสูง ซึ่งวงการสุขภาพกำลังกล่าวขวัญถึงเส้นใยในผักผลไม้ว่า มีประสิทธิภาพในการขจัดพิษออกจากร่างกาย ขจัดสิ่งปฏิกูลออกจากลำไส้ บำรุงร่างกายในทุกส่วนได้เป็นอย่างดี แถมยังรักษาโรคได้อีกด้วย ดังนั้นผลไม้จึงเป็นอาหารที่สำคัญที่ก่อให้เกิดดุลยภาพในร่างกาย
ครัว: คุณหมอช่วยเล่าวิถีชีวิตคุณหมอกับผลไม้ให้ฟังหน่อยสิคะ
พ.ญ.ลดาวัลย์: ดิฉันเป็นคนง่ายๆ กินผลไม้ง่ายๆ พื้นๆ นี่แหละค่ะ เช่นกล้วยน้ำว้าล่ะไม่เคยขาดบ้านเลยค่ะ ฝรั่ง มะละกอ ส้ม เป็นต้น ดิฉันจะกินหมุนเวียนกันไปแล้วแต่ว่าอย่างไหนมีให้กิน
ตีพิมพ์ในนิตยสาร ครัว: นิตยสารอาหารและการครัว ปีที่ 3 ฉบับที่ 27 (กันยายน 2539) หน้า 100-105
รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ ผู้บุกเบิกการดูแลสุขภาพและบำบัดแบบดุลยภาพบำบัด กล่าวถึง ปัญหาสุขภาพจากการประกอบการงานอาชีพต่างๆ ของคนที่ทำงานส่วนใหญ่กำลังเผชิญอยู่ว่า มีสาเหตุมาจากสองส่วนหลัก คือ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน และสอง ความเครียด
ทั้งนี้เพราะ อาชีพการงาน และพฤติกรรมประจำวัน ทั้งสองส่วน จะบ่งบอกว่า โครงสร้างร่างกายของเราเสียสมดุลจากสาเหตุอะไร กล่าวได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นคำตอบถึงสาเหตุของทุกข์จากสุขภาพไม่ดีในตัวเอง
เนื่องจากดุลยภาพบำบัด จะมองร่างกายมนุษย์แบบองค์รวม ดังนั้น โครงสร้างจึงไม่ใช่แค่ กล้ามเนื้อ กระดูก แขนขาเท่านั้น แต่รวมถึงเส้นประสาท หลอดเลือดนับล้านเส้น ที่ร้อยเรียงอยู่ในร่างกายมนุษย์ทุกคน กายภาพเหล่านี้มีกระดูกสันหลังและกระดูกต้นคอต่อกับก้านสมองเชื่อมต่อกับสมองซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการ และจะสัมพันธ์กับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่จะทำงานได้ตามหน้าที่ปกติ หากโครงสร้างร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลหรือผิดปกติหากเสียสมดุล
พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
พฤติกรรมการทำงานในชีวิตประจำวันซ้ำๆ เป็นเวลานานหลายปี เช่น พฤติกรรมการนั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน การนั่งประชุม ในแต่ละวันนานๆ แถมบางคนก็นั่งตัวเอียง นั่งตัวพับนานๆ พฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ การวางมือ เกร็งมือ ระยะเวลาของการใช้คอมพิวเตอร์นานๆ
อาชีพการงานกับพฤติกรรมและโครงสร้างร่างกายสัมพันธ์กันอย่างไรนั้น พญ.ลดาวัลย์อธิบายว่า
“จากมุมมองของดุลยภาพบำบัดที่มองโครงสร้างร่างกาย ไม่ใช่แค่กล้ามเนื้อ กระดูก แต่รวมถึงหลอดเลือด เส้นประสาท อวัยวะภายใน เชื่อมโยงกับศีรษะ แขนขา อย่างเช่น เวลาที่เรานั่งโต๊ะ และคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ ลองนึกถึงว่าเขาจะนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือผู้บริหารที่ต้องเดินทางไปประชุมเป็นประจำ ผู้บริหารบางคนต้องนอนบนเครื่องบิน ในช่องสี่เหลี่ยมแคบ หรือผู้ที่อยู่บนรถนั่งตลอดเวลา ทำให้เราไม่สามารถพลิกตัว หรือเดินได้ตลอดเวลา
พฤติกรรมที่นั่งอยู่กับที่นานจนชิน จะส่งผลต่อบุคคลแต่ละคนในอาการและระดับต่างๆ กันไป ตามแต่ เงื่อนไข เวลา -อายุ-จุดอ่อนของโครงสร้างร่างกายแต่ละคน สภาวะอารมณ์ของคนแต่ละคน
กล้ามเนื้อที่เกร็งต่อเนื่อง ในระยะสั้นจะทำให้การไหลเวียนทั้งระบบไม่ดี ทั้งเลือด เส้นประสาท ระบบน้ำเหลือง ส่งผลคือ การปวดเมื่อยเล็กๆ น้อยๆ ที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือน ไปจนถึงการปวดเมื่อยที่หนักขึ้น หรือถึงขั้นเกิดอาการชาแขน ขา ปวดหลังไหล่บ่า จนถึงต้นคอ ปวดหัว จากการปวดเมื่อยในระดับที่ทนได้ เพราะการปล่อยให้สภาวะเช่นนี้คงอยู่ในระยะยาวจะส่งผลต่อโครงสร้างหลังของร่างกาย คือ กระดูกสันหลังบิดเบี้ยว กล้ามเนื้อที่ใกล้กันจะถูกดึง หรือรั้งตามไปมากขึ้นกว่าเดิม หากยังไม่สังเกตตัวเอง ปรับพฤติกรรม และหาทางบำบัดให้ร่างกายคลายตัว อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ ก็จะนำไปสู่การเจ็บป่วยที่คิดไม่ถึงและไม่เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของสุขภาพที่เสื่อมลง
ขณะที่การรักษาของการแพทย์กระแสหลักแบบตะวันตกจะวินิจฉัยและรักษาแบบแยกส่วนแต่ละอวัยวะ และให้ยาเป็นหลักในการรักษา การใช้ยาเป็นเพียงการบำบัดอาการเท่านั้นไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุคือการเสียสมดุลของโครงสร้างร่างกายทั้งระบบ ส่งผลให้คนไข้เกิดสภาพเจ็บป่วยเรื้อรัง และไม่สามารถทราบสาเหตุต้นตอที่ชัดเจน ปัจจุบันจึงมีโรคใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปวดหัวเรื้อรัง ภูมิแพ้
ความจริงแล้ว ภูมิแพ้ -ปวดศีรษะ และโรคเครียด เป็นเรื่องเดียวกันหมด
เริ่มต้นจากร่างกายที่สั่งสมปัญหา สภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลให้ร่างกายของคนเราเกิดสภาวะหายใจตื้น ร่างกายได้ออกซิเจนน้อย การถ่ายเท ขับสิ่งสกปรกต่างๆ ขับของเสียจากร่างกายก็จะไม่ดี ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เมื่อเกิดน้ำมูก ร่างกายก็จะพยายามจาม ไอ เพื่อช่วยขับของเสียเหล่านี้ออกจากร่างกาย
เมื่อยังไม่ปรับร่างกาย ยังมีพฤติกรรมที่เป็นที่มาของความเครียด อาการเหล่านี้ก็จะไม่หายและเรื้อรัง นานเข้าต่อมาเกิดเป็นโรคภูมิแพ้ จากนั้นการขับของเสียที่ไม่ดีในระบบหายใจ ก็อาจจะลามไปเป็นการติดเชื้อในโพรงไซนัส กลายเป็นไซนัสอักเสบ และหลอดลมอักเสบ ลงไปบรอนคัส หรือกระทั่งลงไปที่ปอด กลายเป็นภาวะหอบหืดเรื้อรัง”
พญ.ลดาวัลย์ยกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นการป่วยของผู้ที่คนทั่วไปเชื่อว่าน่าดูแลสุขภาพตัวเองได้ดีกว่าประชาชนทั่วไป “หมอคนหนึ่งป่วยเป็นปอดอักเสบ กินยามาแล้ว 1 ชุด แต่ไม่หาย ถ้าตามขั้นตอนตามการรักษาแผนหลัก ก็ต้องเพิ่มยา หรือเปลี่ยนยาเป็นยาปฏิชีวนะตัวใหม่ แต่ตัวคนเป็นหมอที่ป่วยก็รู้ว่าจะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา พอดีเขามาปรึกษาหมอลดาวัลย์ เลยบอกว่า หมอลองคิดดูว่า ถ้าเป็นปอดอักเสบเพราะสาเหตุจากการติดเชื้อที่ชอบอธิบายกัน กินยาแล้วก็น่าจะหาย แล้วอีกข้อคือ ไม่สงสัยหรือว่าทำไมปอดไม่อักเสบทั้งสองข้างแต่กลับอักเสบข้างเดียว ลองดูว่า ร่างกายเราบิดเบี้ยวอะไรไหม เช็กดูจะพบว่าบรอนคัส (bron-chus) หรือ หลอดลม (ซี่งมีสองข้างซ้าย ขวา) เอียงไปข้างหนึ่ง” นี่อาจชี้ให้เห็นถึงผลต่อเนื่องจากการบิดของโครงสร้างร่างกายที่จะส่งผลต่ออวัยวะในช่องอก
ในกรณีโครงสร้างร่างกายเสียสมดุลมาก และถูกละทิ้งมานานจนเกิดอาการรุนแรง เจ็บปวดเรื้อรังหรือไม่สามารถควบคุมร่างกายได้ตามปกติ เช่น เกิดอาการชา อาการอัมพฤกษ์ ปวดเมื่อยอย่างรุนแรง ดุลยภาพบำบัดจะมุ่งที่การคลายตัวของกล้ามเนื้อทั้งระดับตื้นและลึก ให้มีการไหลเวียนของระบบโลหิต น้ำเหลือง ของเหลวต่างๆ ในร่างกายและระบบประสาท ต่างๆ คลายการแข็งตึงของกล้ามเนื้อชุดต่างๆ ที่เป็นปัญหาเพื่อปรับโครงสร้างร่างกายทั้งระบบ คืนสู่สภาพสมดุลหรือใกล้เคียงสมดุลให้ได้มากที่สุด และเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา
วิธีการและขั้นตอนที่แพทย์ดุลยภาพบำบัดจะใช้การนวดเพื่อคลายกล้ามเนื้อระดับตื้น การฝังเข็มใช้กับกล้ามเนื้อระดับลึกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าอ่อนๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการไหลเวียนของกระแสโลหิต น้ำเหลือง ของเหลวต่างๆ ในระบบชีวเคมีของมนุษย์ ไปตามหลอดเลือด และเส้นประสาทต่างๆ ทั้งระบบ
ถ้าต้องสรุปแบบรวบรัดสักหน่อย พูดง่ายๆ แบบภาษาชาวบ้านเพื่อสร้างความเข้าใจ คือ “การให้เลือดลมเดินดี” เกิดการหมุนเวียนได้ทั่วร่าง ทั่วตัว ทุกระบบ อวัยวะ นั่นเอง อาจจะเป็นอุปมาอุปไมยที่เหมาะสม
สำหรับหน้าที่ของคนไข้แบบดุลยภาพบำบัด หากคนไข้ช่วยเหลือตัวเองด้วยการบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ตามคำแนะนำควบคู่ไปด้วยจะทำให้การบำบัดรักษาได้ผลดี เร็วขึ้นซึ่งความใส่ใจของคนไข้เป็นอย่างไร จะเห็นความแตกต่างชัดเจนจากส่วนนี้ จะเห็นผลดีกว่าคนไข้ที่รอคอยการรักษาจากแพทย์เพียงฝ่ายเดียว
การนวด การฝังเข็ม และสมาธิ จึงเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการบำบัดเพื่อปรับโครงสร้างร่างกาย ที่เสียสมดุลและลำพังการบริหารร่างกายของคนไข้ อาจไม่เพียงพอ หมอดุลยภาพบำบัดจะใช้การนวดควบคู่กับการฝังเข็มให้กล้ามเนื้อที่แข็ง ตึง เกร็ง คลายตัวคืนสภาพและการฝังเข็มจะกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อที่มีปัญหาเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถฟื้นตัวได้เร็วและดีขึ้น
หลังร่างกายของคนไข้รับการบำบัดตามนัดหมาย อาจจะเป็นสัปดาห์ละครั้ง หรือ สองครั้ง ตามแต่กรณีและความรุนแรงของแต่ละคน ท้ายสุดเมื่อร่างกายปรับสมดุลได้ดีขึ้น จนอาการเจ็บปวด หรืออาการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวันหายไปแล้ว คนไข้จะมีส่วนสำคัญที่จะดูแล บำรุงรักษาร่างกายตัวเองไม่ให้สะสมปัญหาจนเกิดอาการรุนแรง เหมือนกับการบำรุงรักษารถยนต์ที่หากเจ้าของดูแลอย่างดี เป็นประจำ สม่ำเสมอ คอยจับสังเกต ความผิดปกติต่างๆ ก็จะมีสภาพดีเสมอ ใช้งานได้ยาวนาน
หมอลดาวัลย์ กับดุลยภาพบำบัด
พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ ผู้บุกเบิกการดูแลสุขภาพตามแนวทางดุลยภาพบำบัด จบการศึกษาด้านแพทย์จากประเทศเยอรมนี และเรียนต่อเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญี จากนั้นทำวิจัย เทียบเท่ากับงานวิจัยระดับปริญญาเอก กลับมาทำงานที่เมืองไทย และเป็นอาจารย์แพทย์ที่ศิริราชและต่อมาไปเรียนการฝังเข็มจากประเทศจีน
จุดเปลี่ยนและกำเนิดของดุลยภาพบำบัด เริ่มต้นจากประสบการณ์หมอลดาวัลย์ที่พบเห็น ข้อจำกัดในการวินิจฉัยโรคของการแพทย์แผนปัจจุบัน ตลอดจนเมื่อไปเรียนและฝึกงานที่ประเทศจีน ก็มีข้อสงสัย และตั้งคำถามกับการฝังเข็มตามแบบแผน ตามจุดฝังเข็มที่กำหนดเหมือนกันทุกคน ขณะที่เธอคิดสงสัยในใจว่าโครงสร้างร่างกายของคนแต่ละคน มีความแตกต่างกัน
ภายหลังที่ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ทั้งการรักษาและการสอน หมอลดาวัลย์จึงปรับการฝังเข็ม ดัดแปลงเป็นเวชกรรมฝังเข็มแบบใหม่โดยใช้หลักกายวิภาคและสรีระมนุษย์แต่ละคนเป็นพื้นฐาน ร่วมกับหลัก 7E เพื่อให้คนอื่นๆ เรียนรู้เพื่อดูแลตัวเองได้ด้วย
แนวทางการรักษาแบบดุลยภาพบำบัด โดยอาศัยความรู้ด้านกายวิภาคและสรีระวิทยา ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการแพทย์สมัยใหม่ของตะวันตก ที่เรียกกันว่า การแพทย์กระแสหลักนั่นเอง เป็นพื้นฐานในการมอง วิเคราะห์ อาการต่างๆ และการเจ็บไข้ได้ป่วย คู่กับการซักประวัติคนไข้ ตลอดจนอาชีพการงาน เพราะข้อมูลเหล่านี้หมอลดาวัลย์เห็นว่ามีความสำคัญอย่างมาก
ท่ามกลางข้อจำกัดของการแพทย์กระแสหลักที่ รักษาเฉพาะส่วนและกระบวนการรักษาที่ส่งต่อแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลเฉพาะด้านของตน ขาดการประมวลเป็นภาพรวมของการรักษาแต่ละบุคคล ละเลยสุขภาพองค์รวมของมนุษย์ ดุลยภาพบำบัดจึงเป็นการบำบัดและแนวทางการดูแลสุขภาพทางเลือกที่ช่วยเสริมในจุดที่การแพทย์กระแสหลักขาดไป หรือให้ความสำคัญน้อยหรือละเลย
ดุลยภาพวิถี ที่หมอลดาวัลย์ผลักดันจึงครอบคลุมทุกมิติสุขภาพ ประกอบด้วย
1. การป้องกัน (Prevention) 2. การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) 3. การบำบัดรักษา (Healing) 4. การฟื้นฟู (Reha-bitation)
หลักใหญ่ คือ ดุลยภาพบำบัดเป็นการผสานมุมมองสุขภาพของประชาชนกับมุมมองของแพทย์ และแพทย์และประชาชนร่วมกันรักษาดูแลสุขภาพ โดยเป็นวิถีทางที่ไม่ต้องใช้จ่ายเงินมาก
พญ.ลดาวัลย์เชื่อว่าการดูแลสุขภาพแนวทางใด ไม่ว่าจะเป็น “การแพทย์ทางเลือกใดๆ ต้องเป็นทางเลือกของประชาชน สอนให้เขารู้จักโครงสร้างร่างกาย ให้คนส่วนใหญ่สามารถเป็นหมอของตัวเองและของครอบครัว ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง”
เพราะผลการวิจัยขององค์การอนามัยโลก พบว่า การเจ็บไข้ได้ป่วยทั้งหมดนั้น 20% หายจากการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันที่ใช้ยาและการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษา ขณะที่อีก 80% ของการเจ็บป่วยนั้น คนทั่วไปสามารถบำบัดดูแลตัวเองได้
ข้อสรุปจากงานวิจัยชิ้นนี้ ความหมายในแง่มุมในกรณีประเทศไทยและคนไทย คือ การเจ็บไข้ได้ป่วยหลักๆ ส่วนใหญ่ เป็นโรคและอาการเจ็บป่วยทั่วไป (เช่น โรคหวัด การปวดเมื่อย ปวดหัว) ที่คนทั่วไปสามารถดูแล ทั้งการป้องกันและบำบัดรักษาด้วยตัวเองได้ ขอให้มีการเผยแพร่ความรู้และแนวทางปฏิบัติให้แพร่หลาย จะลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชน และของประเทศลงได้หลายแสนล้านบาทต่อปี
ที่มา
ถอดรหัสสุขภาพผู้บริหาร โดย ยุทธนา วรุณปิติกุล (ตอนจบ)
สัมภาษณ์การเรียนหมอที่เยอรมันและการรักษาด้วยการฝังเข็ม
(คัดจาก นิตยสารดิฉัน ปีที่ 21 ฉบับที่ 504 28 กุมภาพันธ์ 2541)
เมื่อไปถึงเยอรมันแล้ว คุณหมอกเรียนแพทย์เลยไม่ได้ เพราะระบบการศึกษาที่โน่นต่างไปจากบ้านเรามาก “การแพทย์ที่เยอรมันสมัยนั้นต้องจบ ม.9 แต่บ้านเราจบ ม.8 บ้านเราเรียนน้อยกว่าเขา 1 ปี พอดียุคนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงระบบการแพทย์ของเขาว่า ถ้าจะเข้าแล้วต้องไปสอบเข้า ม.9 ใหม่
...ทีนี้มหาวิทยาลัยทั้งประเทศเขาเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่ที่ทูบิงเง่นยังไม่เปลี่ยนโชคดีนะคะ เพราะบางทีเก่งก็ไม่สำคัญ เฮงก็สำคัญด้วย เพราะเพื่อนไปเรียนที่ไฮเดลแบร์ก เขาเปลี่ยนระบบแล้ว ก็จะต้องไปเรียน ม.9 ก่อน
...แต่หมอไปทูบิงเง่น เขากำลังเปลี่ยนระบบ ยังไม่เต็มที่ เขาบอกว่ายูสามารถที่จะเอาผลการเรียน ม.8 มาได้ ถ้าผลการเรียนเข้าขั้นเขาจะให้ไปสอบเทียบ หมอถึงว่าเก่งกับเฮงนี่ คนเราไม่จำเป็นต้องเก่งเสมอไป
...เขาเลยให้ไปสอบเทียบ พอสอบเทียบได้เขาก็คิดให้ครึ่งต่อครึ่ง เราเลยไม่ต้องไปเรียน ม.9 ซึ่งยากมากเลย
...แล้วภาษาก็ยากมาก แล้วจะเรียนแพทย์ก็ต้องเรียนภาษาละติน เพราะศัพท์แพทย์เป็นภาษาละติน เขาถือตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ก็ต้องไปเรียนภาษาละตินก่อน
...อีกอย่างที่สำคัญมากก็คือระบบแพทย์ ซึ่งเราจบ ๆ ๆๆเร็ว ๆ แล้วเด็กยังไม่ mature ยังไม่รู้ว่าตัวจะรักอะไร แล้วตัวจะมีความอดทนได้ไหม ที่เยอรมันเขาจะมีระบบของเขาเลย ไม่ใช่การแพทย์อย่างเดียว จะเรียนบัญชี จะเรียนวิศวะ เขาจะต้องไปฝึกงานก่อน ต้องฝึกอย่างอดทนมากเลย 3 เดือน หมอเองเกือบจะล้มเหลวเหมือนกันถ้าไม่มีความตั้งมั่นจริง ๆ
...ตอนอยู่บ้านเรา ไปไหนมาไหนขึ้นรถเมล์ยังไม่เป็น ไปไหนมาไหนคุณแม่ก็ให้คนรถไปส่ง แล้วคุณแม่ก็ไม่อนุญาตให้ไปไหนด้วย แต่เมื่อไปอยู่โน่นต้องไปฝึกงาน แต่เช้า มันหนาว แล้วมืด
...ก็ไปฝึกงาน เราไม่เคยรู้เรื่องเลยว่าการแพทย์คืออะไร เพราะเราคิดอย่างเดียวว่าใส่เสื้อกาวน์ ไปรักษาคนไข้ ไปฉีด ยาคนไข้ รู้สึกว่าภูมิใจ โก้หรู
...ปรากฏว่าต้องไปเป็นลูกน้องเขาก่อน แล้วไม่ใช่เป็นผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยหมอนะคะ ยิ่งเสียกว่าอีกค่ะ ทำงานเป็นคนงานคนหนึ่ง เช่นถ้าเขาบอกให้เช็ดตัวคนไข้เราก็ต้องทำ ปัสสาวะอุจจาระเทกระโถนต้องทำหมด
...เขาสั่งอะไรต้องทำหมดทุกอย่างเลย เขาบอกทุกอันยูต้องรู้ เช่นตรวจคนไข้ปัสสาวะเป็นอย่างไร อุจจาระเป็นอย่างไร สีเป็นอย่างไร แข็งหรือเหลว คุณก็ต้องไปหาคนไข้ ป้อนข้าวให้คนไข้ นี่สำคัญมาก
...เรื่องนี้เป็นการแพทย์ที่เยอรมัน เขาสอน ซึ่งไม่เหมือนคนอื่น และหมอว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมากที่หมอได้มา ซึ่งตอนนั้นหมอไม่ทราบเลยว่าทำไมมีประโยชน์จนถึงบัดนี้ เพราะเราจะได้สัมผัสกับคนไข้โดยตรง รู้ความทุกข์ยากของเขา
...ที่สำคัญที่สุดคือไม่เพ้อเจ้อ ไม่งั้นเวลาไปเรียนแพทย์เราจะดูแต่หนังสือ ไม่ได้แอพโพรชคนไข้จริง ๆ เวลาไปฝึกงานเราจะผิวเผิน เราไม่เคยไปไถ่ถามความเป็นจริงเขาคืออะไร บางทีเขาอ้าปากาจะบอกหมอไม่ทันไรเลยหมอไปแล้ว แต่นี่เราจะอยู่กับคนไข้ เราจะรู้ความทุกข์เขาว่าคนไข้พูดกับหมออย่างไร นี่คือฝึกงาน 3 เดือน
...แล้วระบบเขาที่ดีอย่างคือ เขาไม่ให้ฝึกที่เดียวกันด้วย เพราะถ้าที่เดียวกันเราอาจจะไปขอเซ็นกับใครมาได้ เขาให้ 3 ที่จะไปทางเหนือทางใต้ก็ได้ หมอก็ไปฝึกงานที่นั่นแล้วไปฝึกที่ภาคกลาง และอีกที่หนึ่งเป็น 3 แห่ง หมอเกือบตาย ฝึกงานตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าถึงทุ่มครึ่ง
...แล้วเวลาทานเข้าเที่ยง กาแฟ เราก็ทานไม่เป็น ไม่เคยทาน เขาเบรคปุ๊บก็มี กาแฟ น้ำชา เขามีแซนด์วิชเขาก็เคี้ยว ๆ สองคำ แอปเปิ้ลหนึ่งลูก เขาก็สบาย เราก็ต้องคอยทานข้าว ต้องกลับไปบ้าน(หัวเราะ ) ตอนนั้นไม่คุ้น
...ไป 3 เดือนแรกไปเรียนภาษาที่แฟมิลี่เขาพาไป เขาบอกสงสัยต้องส่งกลับแล้ว เพราะทานอะไรไม่ได้เลย หน้างี้บูด (หัวเราะ) อยู่ 3 เดือนเท่านั้นเองปรับตัวเองได้มันก็สนุก มีรสมีชาติ”
หลังจากฝึกงานจนแน่ใจว่าอยากเป็นหมอจริง ๆ แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการเรียนรู้ในโรงเรียนแพทย์
“หลังจากนั้นก็ไปเรียนเป็นพรีคลินิก แล้วก็คลินิก...วิธีการเรียนพรี-คลินิกของเขาก็ต่างกันอีก เขาจะสอบตั้งแต่ต้นจนจบเลย เป็นทั้งระบบเลย แต่ที่เมืองไทยสอบปีต่อปีเทอมต่อเทอมแล้วทิ้ง ซึ่งอาจารย์จรัส สุวรรณเวลา บอกว่าแพทย์ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ มันถึงเวลาแล้ว แล้วหลักสูตรการแพทย์ก็น่าจะมีการปรับใหม่ เพราะว่าเรียน 3 ปีตอนต้น กับ 3 ปีตอนท้าย วิชาการไม่ต่อเนื่องกันเลยซึ่งมันก็จริง ...สิ่งนี้ที่หมอว่ามันดีที่หมอมีโอกาสได้เรียน ซึ่งตอนนั้นทุกตนบอกว่ามันสากรรจ์จริง ๆเลย ใครจะไปจำได้ ปีหนึ่งถึงปี 5 สอบหมดเลย หรือปีหนึ่งถึงปีสาม สอบหมดเลย สอบปากเปล่าด้วย ไม่สอบข้อเขียนนะคะ ถ้าตกก็ตกไปหมดเลย
...แต่คนไทยดีอย่าง หมอเองตั้งแต่เล็ก ๆ อยู่ในวัดมา เพราะคุณยายศรัทธาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญมาก พอลูกๆ โตหมดแล้ว คุณยายก็ไปถือศีล แล้วก็ได้ธรรมกาย คุณแม่ก็ไปหาคุณแม่ทุกอาทิตย์ แล้วพาลูกไปหาคุณยายด้วย...ที่บ้านคุณยากจะเป็นเรือนไม้สัก ก็เริ่มเปิดการสอนนั่นสมาธิ หมอก็ถูกคุณยายจับนั่นสมาธิ หมอก็นั่งพิงเสาหลับ ก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่ทำให้เราได้สัมผัสกับพุทธศาสนาที่แท้จริงได้อะไรที่เราไม่รู้อีกเยอะเลย มันเข้าไปข้างในถึงกระดูก ไม่ใช่ผิวเผินแบบคนสมัยนี้ที่มีความทุกข์ถึงไปหาวัด
...แต่เราไม่ได้มีความทุกข์ เรามีความสนุกอยู่ และเราก็ได้อะไรมาก ซึ่งเป็นประโยชน์กับการเรียนมาก ทำให้เราไปสัมผัสกับคนได้ง่าย เราก็ไปเจ๊าะแจ๊ะ ๆ กับเขา ช่วยเขาในสิ่งที่เราทำได้ อะไรที่เราทำไม่ได้เราก็ไปขอเขา อ่อนน้อมถ่อมตนกับเขา เขาก็เวทนาเรา ตัวเราเล็ก
...พวกฝรั่งตัวโต ๆ เวลาเรียนเขาก็ไปนั่งข้างหน้า เราจะไปนั่งที่ไหนล่ะ เราขาก็สั้น เดินช้ากว่าเขา เราก็ต้องไปตีสติ๊ก เอาความขยันเข้าว่า ก็แลกกัน โอ.เค. ฉันทำอันนี้ให้ อันนี้เธอทำนะ แล้วเธอวิ่งไปเธอจองให้ฉันนะ แล้ววิชานี้ฉันมาเช้าก่อน ฉันจองให้เธอ เธอมาสายได้ (หัวเราะ) ใช้ระบบอุปถัมภ์
...วิธีการเรียนสมัยก่อนทำให้เรามีความอดทนมาก และต้องเข้ากับคนอื่นให้ได้ ซึ่งตรงนี้กว่าจะได้มามันไม่ใช่ของง่าย “
ชีวิตนักเรียนแพทย์ นอกจากต้องศึกษาค้นคว้าจากตำรับตำราแล้ว วิชาสำคัญอย่างอนาโตมีหรือกายวิภาค นักเรียนแพทย์ต้องเรียนรู้จากศพ “อย่างเราเรียนเรื่องเส้นประสาท เขาจะแยกเป็นระบบประสาท ระบบหลอดเลือด ระบบกล้ามเนื้อ ระบบกระดูก อวัยวะภายใน โปรเฟสเซอร์เฟียไนท์ ซึ่งเป็นโปรเฟสเซอร์เกี่ยวกับนิวโรอนาโตมี กายวิภาคทางเส้นประสาททั้งระบบ เป็นคนสอน...วันที่สอบอวัยวะภายใน เราจะต้องหาเพื่อนมา 4 คน มีคนหนึ่งเป็นลูกโปรเฟสเซอร์ เขาไปฟังมา เขาก็มาบอกว่าโปรเฟสเซอร์จะถามเรื่องอวัยวะภายใน เขาจะถามเรื่องเส้นประสาท ยูต้องดูนะ...เวลาสอบกายวิภาคก็มีศพอยู่ข้างหน้า โปรเฟสเซอร์ก็เขี่ยชิ้นนั้นขึ้นมา ชิ้นนี้ขึ้นมาถาม แก่ก็บอกว่าวันนี้จะสอบอวัยวะภายใน ทุกคนก็ดูอวัยวะภายในหมด ตั้งแต่ปอด หัวใจ ลำไส้ ฯลฯ ท่องกันหมดเลยว่าอะไรอยู่ตรงไหน เลี้ยงกันยังไง เส้นประสาทมาจากไหน อู๊ย ท่องกันสนุกสนาน
...ปรากฏว่าเวลาถาม แกไม่ได้ถามตรงไปตรงมา ซึ่งเพื่อนบอกไว้ก่อนแล้ว แต่คนเยอรมันด้วยกันไม่มีใครเชื่อ แต่เราเป็นคนไทย เหมือนจิ้งจกทักเราต้องทำ ก็คิดว่าถ้าดูเพิ่มก็ไม่เสียหายอะไร ...คืนสอนคืนนั้นก็ไปตีสนิทกับคนผ่าศพ ไปกลางคืน อู๊ย ดูแล้วกลัวมากเลย หมอเป็นคนที่กลัวศพที่สุด กลัวผีที่สุด (หัวเราะ) คุณแม่บอกก่อนไปให้ไหว้ครูแล้วอธิษฐาน เราจะได้วิชาจากนั้น...ก็ขอเขาไปดูผ่าศพ ไปคนเดียวเขาก็ดี๊ดี เปิดให้ดู คงสงสาร ก็ท่องหมดเลย เพราะเพื่อนบอก ยูไปดูที่ศพน่ะง่ายที่สุด แล้วเปิดหนังสือ เขี่ยมาให้ทุกอันเลยนะ มันได้จริง ๆ สอบได้ ดร.เฟียไนท์บอกว่านึกไม่ถึงเลย ...ตอนนั้นมีอาจารย์อีกท่านหนึ่ง อาจารย์รัศมี จบแพทย์ไปจากเมืองไทยแล้วไปทำปริญญาเอกที่นั่น โปรเฟสเซอร์เฟียไนท์ก็ถาม ก็บอกเอ๊ะ นี่คนไทยมาอีกแล้ว ทำไมเก่งอนาโตมี แต่ความจริงเราไม่ได้เก่งเลย เป็นเพราะเพื่อนมาบอกเราก็ไปท่องก็ได้”
การเรียนแพทย์ที่เยอรมันแบ่งเป็น 2 ช่วง เพราะที่เยอรมันจะไม่ให้ใบประกอบโรคศิลป์กับแพทย์ต่างชาติ “การศึกษาที่เยอรมันเป็นสองตอนก็เนื่องจากว่า ตอนแรกเมื่อเราจบเราจะไม่สามารถได้ใบประกอบโรคศิลป์ เราต้องมาสอบใบประกอบโรคศิลป์ที่เมืองไทย เพราะฉะนั้นพอเราเรียนจบส่วนหนึ่งแล้วเราต้องมาฝึกงานที่เมืองไทย เพราะต้องสอบใบประกอบโรคศิลป์ คือที่เยอรมันเขาจะกันคนต่างชาติไม่ให้ใบประกอบโรคศิลป์
...ก็กลับมาฝึกงานที่ศิริราช ก็เป็นโอกาสอีกเหมือนกันที่ได้เข้าไปฝึกงานที่ศิริราช ศิริราชเป็นโรงพยาบาลที่มีคนไข้หลากหลาย แล้วตอนนั้นไม่ได้อยู่เฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง คือได้ฝึกไปหมด ก็ได้เห็นข้อเปรียบเทียบจากเมืองนอกกับทางนี้
...พอถึงจุดหนึ่ง พอมาประจำอยู่ภาควิสัญญีที่หมอเขาไปสมัครเป็นสต๊าฟ ก็กลับไปทำผู้เชี่ยวชาญสาขาวิสัญญีต่อที่เยอรมันอีก ...ปรกติผู้เชี่ยวชาญสาขาเขาจะทำ 5 ปีที่เมืองนอก แต่ของเมืองไทยเรา 3 ปี เผอิญตอนนั้นเริ่มต้นทำที่เมืองไทย แล้วไปต่อที่โน่น”
น่าสนใจว่าทำไมคุณหมอถึงเลือกเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางยาสลบ หรือเป็นหมอดมยา“มันเป็นจังหวะนะคะ มันเป็นโอกาส ...หมอเป็นคนรักเด็ก จริง ๆ แล้ว อยากอยู่ภาควิชากุมาร แต่เผอิ๊ญอาจารย์ภาควิชากุมารยุคนั้นหมอไม่ประทับใจ การที่เราจะอยู่ที่ไหน เหมือนคบที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก หรือเป็นวิชาการอะไร ถึงใจเรารักก็จริง ถ้าตรงไหนที่เขาต้องการเราหรือตรงนั้นมันขาดก็คิดว่าตรงนั้นคงจะดี ...ทีนี้ภาควิชากุมารยุคนั้นหมออาจจะอยากเรียนกันเยอะ
ส่วนวิสัญญีตอนนั้นเพิ่งเริ่มต้น ก็ไม่ค่อยมีใครเรียน ที่สำคัญที่สุดคือหมอมีความประทับใจมาก ๆ กับอาจารย์ผู้ใหญ่ แล้วช่วงนั้นก็มีอาจารย์สองท่านคือ คุณหญิงสลาด กับอาจารย์หมอจิรพรรณ ท่านก็ให้ลองทำ ลองให้คนไข้ดมยาสลบ ...หมอก็ให้คนไข้ใส่ทิวป์เพื่อแทนการหายใจเวลาดมยาสลบ ก่อนใส่เข้าไปหมอก็ถอนฟันคนไข้เอง ก็คิดว่าคงจะต้องโดนดุ ปรากฏว่าอาจารย์ผู้ใหญ่บอกว่า หนูจริง ๆ แล้วฟันโยกขนาดนี้หนูต้องถอนก่อนดีแล้วที่หนูถอนออกไป เพราะเขากลัวฟันหลุดเข้าไปในคอไงคะ
...นี่คือวิธีการสอนของท่าน คือ ท่านดุ ท่านว่า แต่ท่านมีเหตุผล ท่านพูดดี ให้กำลังใจเรา ถ้าวันนั้นเราโดนอีกอย่าง เราคงตกใจ คงไม่เอาแล้ว (หัวเราะ) ก็ประทับใจอาจารย์ผู้ใหญ่ เลยรู้สึกว่าวิชานี้น่าสนใจ ...แล้วเขาก็ขาดหมอดมยาด้วย เพราะตอนนั้นเพิ่งเปิดใหม่ เราก็คิดว่าดีเหมือนกันนะ แล้วเราก็สนใจในห้องผ่าตัด กระฉับกระเฉง เราไม่ชอบนั่งเฉย ๆ ก็เลย เปลี่ยนมาเป็นวิสัญญีแพทย์”
จบจากทำผู้เชี่ยวชาญสาขาจากเยอรมันแล้ว คุณหมอก็กลับมาเป็นวิสัญญีแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช และต่อมาก็สนใจเรื่องการฝังเข็มเพื่อนำมาใช้ร่วมกับการผ่าตัด
“หมอสนใจเรื่องฝังเข็มตั้งแต่อยู่เยอรมัน มันเป็นศาสตร์ ๆ หนึ่งที่คนทั่วโลกสนใจ เพราะตอนไปทำวิสัญญีที่นั่น นิกสันไปเที่ยวเมืองจีน เมืองไทยตอนนั้นยังไม่มีสัมพันธไมตรีด้วย เมื่อไม่มี เราก็ไม่มีโอกาสดูเรื่องฝังเข็ม แต่อยู่เยอรมันเรามีโอกาสถ่ายทอดไปหมดเลย ก็คิดว่ามันแปลก
...แล้วตอนนั้นมีหมอจีนมาสอนที่สวิตเซอร์แลนด์ เราก็สนใจ แล้วฝรั่งก็ไม่เรียนกัน หมอก็ไปเรียนกัน หมอก็ไปจากเยอรมัน ไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อไปเรียน อุตส่าห์ยอมเสียเงินไปเองก็แพงนะคะ แต่ความอยากรู้อยากเห็นน่ะ เพราะเราไม่มีโอกาส...ตอนนั้นเราเรียนดมยา แหม เราต้องใส่ยามีเครื่องเยอะแยะ นี่เขาบอกปักเข็มได้ มันก็ท้าทาย เราก็อยากรู้อยากเห็นแต่ทีแรกพูดตรง ๆ ไม่เชื่อ และยังมีข้อกังขาอีกเยอะมาก
...อย่างมันมีปัญหาในห้องผ่าตัด ความดันจะลงต่ำ ที่หมอจะคอนโทรลไม่ค่อยอยู่ ...สอง ความดันโลหิตจะสูง ตรงนั้นที่เราจะวัดความดันอยู่ได้ ความดันกับ Pulse คือหัวใจเต้น ในขณะดมยาสลบเราจะไม่มีความรู้สึก เพราะฉะนั้นผลที่จะออกมาเร็วหรือช้า หรือความดันจะสูงหรือต่ำ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น
...ก็ถามเขาว่าถ้าความดันโลหิตสูงคุณจะทำอย่างไร คือสนใจในแง่มุมของหมอดมยา ตอนนั้นยังไม่ได้สนใจเรื่องอื่นเลย เพราะเรายังเหมือนกับคนตาบอด ไม่รู้เรื่องอะไรเลย เหมือนเพิ่งเริ่ม ก.ไก่ ข.ไข่
...ก็ถามเขาว่าถ้าความดันโลหิตสูงจะทำอย่างไร เขาบอกว่ามีจุดหนึ่งถ้าความดันโลหิตต่ำเกินไปล่ะจะทำยังไง คือนึกว่าจะเอาไปใช้ในวิชาการวิสัญญีถ้ามีปัญหานอกเหนือการใช้ยา เขาก็บอกมีอีกจุดหนึ่ง
...เราฟังแล้วก็เหมือนเว่อร์ อะไรเอาเข็มอย่างเดียวกันปัก แต่เขาบอกจุดคนละจุด แต่กระตุ้นแล้วมีการหมุนขวาหมุนซ้ายทวนเข็มนาฬิกา ตามเข็มนาฬิกา เอ๊ มันอะไรกันนะ...คือการแพทย์เราเรียนมาคนละอย่างกัน เราไม่เข้าใจเขาเลย ไม่น่าเชื่อถือ มันแปลก แต่ก็คิดว่าทำไมเขารักษาคนไข้หายได้ เลยบอกเขาว่าขอเรียนหน่อยเถอะ ก็เรียนกับเขาที่สวิส นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่เรียนฝังเข็มเรียนระยะสั้นมากค่ะ เป็นอาทิตย์เท่านั้นเอง
...ตอนนั้นก็จำเป็นจุด เขาจะมีจุดเฉพาะ เช่นจุดปวดหลัง จุดปวดศรีษะ จุดปวดไหล่ จุดความดันโลหิตสูง จุดโรคไต ปัสสาวะ อุจจาระ คือท้องเสียกับท้องผูก ซึ่งเขาก็อธิบายให้เราฟังไม่ได้ เราก็ไม่เข้าใจเขา เราเพียงแต่คิดว่ามันก็แปลกดีเนาะ แต่คุณแม่สอนให้ยอมรับทุกอย่างมาตั้งแต่เล็กเราก็เลยไม่ปฏิเสธ เราก็ฟังแบบรู้ไว้ใช้ว่าใส่บ่าแบกหาม
...พอกลับมาเมืองไทย คุณหญิงสลาดท่านเป็นหัวหน้าภาค ท่านสนใจ คือนักบริหารรุ่นเดอะ จะเป็นคนมองกว้างมองลึกคือมีวิชั่น ท่านก็มองว่าก็ไม่เห็นเป็นไรนี่ ถ้าวันนึงวิกฤติขึ้นมา ไม่มียา สงครามขึ้นมา แล้วจะเอายาตรงไหน แล้วจะทำได้อย่างไร ท่านบอกให้ศึกษา ถ้าดีเราก็เอามาทำ ไม่ดีเราก็ทิ้งมันไป
...ท่านก็เริ่มต้นเลย เอามาศึกษา หมอก็เหมือนกับเป็นหนุมานอาสา พอกลับมา เออ เอาอันนี้ดีกว่า ...ท่านอาจารย์ก็บอกว่าถ้าใครจะจับเรื่องนี้ ต้องทิ้งดมยาสลบ ถ้าไปจับวิสัญญีเหมือนกระโดดไปกระโดดมา ท่านทราบว่าคนเราจับปลาสองมือไม่ได้ นี่ผ่านมาแล้วหมอเพิ่งมองเห็น สมัยก่อนหมอไม่เข้าใจ ก็มีข้อกังขา อยู่ในภาควิชาเดียวกันทำไมต้องทิ้งอีกอย่างนึง ทั้ง ๆ ที่เป็นหมอดมยา ...ท่านก็เริ่มเปิดวิสัญญีแพทย์ คือไม่ใช่ห้องดมยาสลบอย่างเดียว พอดมยาสลบมีปัญหา หมอก็ต้องมาดูต่อว่าเราให้ยาอะไรไป ท่านก็ต้องมีอินเทนซีฟแคร์ที่ต้องร่วมกับหมอศัลย์ ท่านมีวิชั่น ท่านบอกต้องดู แล้วต่อมาถ้าฝังเข็มดี ระงับปวดได้ ก็น่าจะเป็นหน่วยระงับปวดขึ้นมาได้ ท่านก็มองเห็นอนาคต ท่านก็จับตรงนี้ขึ้นมา
...แต่ท่านแปลก ท่านบอกว่าไอซียูกับดมยาโอ.เค. ยังไปด้วยกัน แต่ถ้าฝังเข็มแล้วต้องแยกออกมาเป็นเอกเทศ ต้องมาทำจริง ๆ ซึ่งก็เป็นจริงของท่าน ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่ทราบเรื่องฝังเข็มอีกเยอะมากเลย เพียงแต่ว่าเป็นสาขาหนึ่งสามารถระงับปวดได้ เพราะตอนนั้นเราเพิ่งฮือฮากัน ...แล้วตอนหลังมีงานวิจัย โปรเฟสเซอร์เมลแส็ค แอนน์ วอลล์ ค้นพบ gate theory คือพบว่ามีประตูปิดประตูเปิดในตัวเราเอง ปักเข็มไปแล้วศูนย์ประสาทจะถูกปิดแล้วมันจะไม่ส่งไปที่สมอง ...และโปรเฟสเซอร์ฮันส์พบว่าปักเข็มแล้วทำให้เอ็นดอฟีนหลั่ง และรีพอร์ทว่าระงับปวดได้แทนมอร์ฟีน เขาคิดเพียงแก้ปวดในระหว่างดมยาสลบถึงผ่าตัดได้
...ตอนนั้นเราสนใจแค่นั้น แต่ปรากฏว่าฝังเข็มมันช่วยอะไรได้อีกมาก มันไม่ใช่ระงับปวด คนโบราณเขาใช้รักษาโรคและใช้ฟื้นฟูป้องกันรักษาโรค ป้องกันและฟื้นฟู ...ตอนนั้นเราสนใจแค่นั้น แต่ปรากฏว่าฝังเข็มมันช่วยอะไรได้อีกมาก มันไม่ใช่ระงับปวด คนโบราณเขาใช้รักษาโรคและใช้ฟื้นฟูป้องกันรักษาโรค ป้องกันและฟื้นฟู ...ตอนหลังหมอก็เริ่มสนใจ หมอก็เป็นหนุมานอาสาอีก เพราะตอนเย็น ๆ หมอไม่ได้ทำคลินิก พอแต่งงานสามีจะให้ออกจากราชการด้วยซ้ำ อยากให้อยู่บ้าน ...หมอก็ขอ เขาก็บอกว่าได้ แต่ตอนเย็น ๆ ต้องไม่ไปดมยาสลบ ถึงใครเรียกก็ไม่ต้องไป พูดง่าย ๆ สี่โมงเย็นก็คือจบ กลับบ้าน ถ้าจะเอาก็โอ.เค. ก็ตกลงกันอย่างนั้น แต่ถ้าให้ออก คุณแม่บอกไม่ให้แต่งงาน ก็เป็นข้อแม้กัน
...พอท่านอาจารย์เปิดโอกาส หมอก็อาสาเลย หมอทิ้งหมด หมอไม่ทำดมยาเพราะยังไงตอนเย็นสามีก็ไม่ให้ทำอยู่แล้ว ก็มาจับตรงนี้
...ตอนหลังก็มีทุน อาจารย์ก็ให้ไปเมืองจีน นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ” 3 เดือนในเมืองจีน คุณหมอขวนขวายหาความรู้เรื่องฝังเข็มใส่ตัวให้มากที่สุด
“ตอนอยู่เมืองจีน เราไม่ได้ไปดูฝังเข็มเฉพาะที่โรงเรียนที่เขาสอนเรา หมอของเขาไปดูที่อื่น...แรกเริ่มหมอขอไปอย่างเดียวว่า หมอเป็นหมอดมยา ปักเข็มเพื่อผ่าตัด หมอก็ขอไปเข้าห้องผ่าตัด พอผ่าแล้วหมอก็แปลกใจว่ามันมีอะไรที่มากว่านั้น หมอก็ขอเขาไปดูการฝังเข็มเพื่อรักษาโรค ...เขาบอกว่าคุณขอมาดูในห้องผ่าตัด คุณขอไปดูรักษาโรคไม่ได้ หมอก็ชักกระวนกระวายแล้ว เราไป 3 เดือน เวลา สามเดือนนั้นมีค่า เราจะมาอยู่นิ่งดูเฉพาะผ่าตัด 3 เดือนไม่ได้
...หมอก็ซื้อจักรยานคันหนึ่ง พอวันหยุดก็ขี่ไป ไปดูที่ฝังเข็มที่ไม่ได้อยู่ในสกูลที่เขาให้เราเรียน
...หมอก็ไปถามเขาว่าทำไมฝังเข็มอย่างนี้ ทำไมปวดหลังถึงฝังตรงนี้ เขาอธิบายไม่ได้ แต่หมอถามคนไข้ เขาบอกว่าหาย แล้วรู้ได้อย่างไร เขาบอกว่าเขาเรียนต่อเนื่องกันมาอย่างนี้ ปู่ย่าตายายสอนกันมา...พอหมอไปถามกับหมอคนไหน เขาบอกฝังเข็มถึงบอกว่ามาผ่าตัดบ้านเมืองเขาเงินทองไม่มี เขาถึงได้พยายามเอาฝังเข็มมาช่วย ก็ปรากฏฝังเข็มช่วยระงับปวดในการผ่าตัดได้
...ยิ่งกว่านั้นคนแก่ที่หมอไปคุยด้วย ตอนนั้นเป็นฤดูใบไม้ผลิ เขาบอกว่าพอย่างเข้าหน้าร้อนเขาเอาหมอฝังเข็มไปออกหน่วย หมอถามว่าทำไม เขาบอกว่าเวลาฤดูใบไม้ผลิเข้าฤดูร้อนที่มีการเปลี่ยนอากาศเขาจะมีการฝังเข็ม คนที่อายุเจ็ดแปดสิบปี เขาจะกระตุ้นของเขาเอง นั่นทำให้หมอฉุกคิด ทำไมเขาทำอันนั้น แต่เราไม่รู้เรื่องเลย แล้วหมอจีนก็บอกว่าเขาไม่รู้ว่าเพราะอะไรแต่เขารู้ว่าคนแก่เขาแข็งแรง
...เพราะฉะนั้นคนจีนเขาไม่ค่อยให้วิจัย เขาบอกว่าเมื่อคนโบราณเขาทำมานานว่าดี แล้วเขาจน เขาไม่มีเงิน เขารุกไปเลยมันไม่เห็นเสียหายตรงไหน ปักเลย ไม่ว่าคนนั้นจะท้องเสีย คนนี้เป็นถูมิแพ้ คนนี้มีหวัดเป็นประจำ เขาลุยเลย ออกหน่วยกันเลย เขาเรียกหมอเท้าเปล่า ...แล้วหมอได้ไปเซี่ยงไฮ้ด้วย ไปดูงานวิจัย เขาเอากระต่ายมาผ่าคอ แล้วฝังเข็มกระต่ายตัวที่ 2 ไม่ได้ฝังเข็ม พอนาบความร้อน ปรากฏว่าตัวแรกสามารถทนความเจ็บปวดได้ แสดงว่ามันต้องมีสารอะไรหลั่งออกมาหลังจากที่ปักเข็ม ก็เจอเอ็นดอฟีนซึ่งมีฤทธิ์สูงกว่ามอร์ฟีน 10 เท่าตัว คนถึงได้ฮือฮากันทั่วโลกว่าทำไมฝังเข็มแล้วถึงระดับปวดได้”
เมื่อกลับมาเมืองไทย คุณหมอนำการฝังเข็มเพื่อระงับปวดมาใช้กับคนไข้ผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช และยังพบว่าการฝังเข็มสามารถใช้รักษาโรคอื่น ๆ ได้อีก เช่น ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน และทราบสาเหตุด้วยว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่คุณหมอก็ต้องผิดหวัง เพราะทางโรงพยาบาลไม่ให้การสนับสนุนศาสตร์แขนงนี้เท่าไรนัก จนต้องปิดแผนกฝังเข็มไป
“พอหมอเริ่มจับนอกจากระงับปวดคนไข้บางคนรักษาไประงับปวดไป ความดันโลหิตกลับดีขึ้น เบาหวานกลับดีขึ้น ก็เกิดเป็นคดีใหญ่ หาว่าหมอลดาวัลย์รักษาโรคความดันโลหิตสูง ไม่ใช่หน้าที่หมอลดาวัลย์...ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่แท้ มันน่าตื่นเต้นไหมที่เราค้นพบสิ่งใหม่ ทำไมมันมีเอฟเฟ็คท์อย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่เข็มเขาไม่ได้บอกเลยว่าลดเบาหวาน ลดความดัน แต่ตอนที่หมอไปเรียนที่สวิตเซอร์แลนด์ เขาบอกว่า จุดหนึ่งลดความดัน อีกจุดหนึ่งเพิ่มความดัน แสดงว่าร่างกายเราต้องมีอะไรที่แปลก
...หมอก็เริ่มเปิดตำราใหม่ เผอิญตำราเก่าของหมอที่ ดร.เฟียไนท์สอน และตำราของเยอรมัน หมอเก็บเอาไว้หมดเลย และเอาตำรานักศึกษาแพทย์ที่เรียนที่นี่มาดูใหม่ ก็จริงอย่างอาจารย์จรัสพูด และหมอลดาวัลย์เห็น มันเป็นสิ่งที่เราเรียนปีหนึ่ง ปีสอง ปีสาม พอปีสี่ห้า ปีหกเราทิ้งหมด
...ถ้าปีหนึ่งเราเรียนฟิสิกส์ เมื่อความต้านทางสูง ความดันจะสูงไหมคะ น้ำจะไหลน้อยไหมคะ เหมือนก๊อกน้ำ 10 ก๊อก คุณไปเหยียบท่อน้ำสักสายสิ จะเกิดแรงดันเพิ่มขึ้น ปลายสายของท่อที่ 10 จะน้อยลง...เมื่ออวัยวะที่ปลายสายที่ 10 น้อยลง แต่ต้นสายคุณจะพองขึ้น ถ้าคุณจับสายที่ปลายทางคุณจะต่ำ ความต้านทานคุณจะสูง อันไหนที่สูงคุณก็ลดความดันลง ปลายทางก็ยิ่งลดมากกว่าเดิม เพราะฉะนั้นอวัยวะอยู่ตรงนั้นมันจะตายมากขึ้นไหม ตรงนี้อะไรเป็นต้นเหตุ อยู่ที่ถูกกดทับใช่หรือไม่ แล้วอะไรที่ถูกกดทับล่ะ ร่างกายเราสัมพันธ์กันหมดมั้ย จุดหนึ่งถูกกดทับ ที่เหลือก็เบี้ยวไปหมด
...ร่างกายมันเป็นองค์รวมทั้งระบบ แต่ในการแพทย์ปัจจุบันเราต้องเป็นหนึ่งเดียวฉันรักษาขาก็ต้องขา เชี่ยวชาญเฉพาะโรค แถมเชี่ยวชาญเฉพาะอวัยวะ...ไม่เถียงค่ะ เราจำเป็น ถ้าแขนขาดขาขาดเราต้องรีบต่อแขน กะโหลกแบะเราต้องรีบผ่ากะโหลก ไม่งั้นตาย แต่ในเวลาเดียวกันมันเอฟเฟ็คท์ไปทั้งตัว ตอนหลังเราก็ต้องทำเรื่องอื่นด้วย นี่ไงคะที่เราขาดตอนหมอก็เสริมตรงนี้เข้าไปร่วมกับแผนปัจจุบัน มันก็จะทำให้ครบวงจร เกิดไม่เอาอีกแล้ว
...หมอบอกถ้าไม่เอาประชาชนทุกข์นะ หมอไม่ทุกข์หรอก หมอสบาย หมอก็อยู่ไปเรื่อย ๆ ทำไปวัน ๆ นึง หมอก็ได้ ขั้นไปเรื่อย ๆ สุดท้ายอาจจะค้นพบศาสตร์ใหม่ ก็อาจจะเป็นศาสตราจารย์ได้รับการยกย่อง หรือต่อไปอาจจะได้ยศถาบรรดาศักดิ์ได้รางวัลอะไรก็ได้ แต่หมอคิดว่าตรงนี้ประชาชนเขาทุกข์ หมอคิดว่าตรงนี้สำคัญกว่า
...แล้วการวิจัยแต่ละเรื่องต้องใช้เงิน ถ้าคนไม่เห็นด้วยเราจะทำได้ไหม ถ้าเราอยู่ในระบบ แต่เงินทำวิจัยหมอก็หามาเอง
...แต่ก่อนจะทำงานวิจัย สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือเรายังไม่เข้าใจว่างานวิจัยกับวิทยาศาสตร์นั้นคืออะไร วิทยาศาสตร์ที่แท้จริงไม่ใช่เทคนิเชียนหรือเทคนิค แต่วิทยาศาสตร์คือการพิสูจน์ให้ความเป็นจริง ระงับปวดได้อย่างไรในการใช้เข็ม แต่เราต้องมาหาสาเหตุให้ได้ นั่นเป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์มาค้น แต่ถ้าทางคลินิกใช้ได้เราก็จงทำไปทันที
...ที่ผ่านมาเราหลงผิดคิดว่าความดั้งเดิมเป็นความโบราณ ในหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เราเร่งไปอีกทางจนเราลืมดูอีกทางหนึ่ง เร่งไปอีกทางจนเราลืมดูอีกทางหนึ่ง เร่งไปอีกทางหนึ่งนั้นดี แต่การลืมอีกทางเรากำลังจะตกเหว ซึ่งเมืองนอกเองเขาตกเหวกันมาแล้ว เขาถึงได้ฟื้นฟูทั้งระบบขึ้นใหม่
...ที่อเมริกาเขาเริ่มต้นรณรงค์เรื่องฝังเข็ม เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากเลย หมอ ถึงเศร้าใจมาก
...เขาเชิญหมอไปอเมริกา เขาบอกว่ายูรู้ไหม ทำไมอเมริกาเวลานี้ถึงได้บูมขนาดนี้...เขาบอกว่าเขาอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เขามาเอาเทปที่หมอลดาวัลย์ฝังเข็มผ่าตัดสมองไปศึกษา เขาบอกเขาไม่เคยเชื่อ เขาบอกคนจีนทำ คนจีนสามารถบังคับได้ ผ่าตัดสมองไม่มีอะไรคุณก็ผ่าได้เลย คุณเชื่อตรงนั้น ผ่าตัดหัวใจคุณก็ว่าเขาทนความเจ็บปวดได้...พอเขามาเจอหมอดาวัลย์เข้าเขาบอกหมอดาวัลย์Ph.D Dr.Med. จากเยอรมัน แล้วอยู่ศิริราชคือมหาวิทยาลัยแพทย์ คงไม่ได้โกหก...เขาก็ขอเทปนั้นไปศึกษา และไป convince ในกระทรวงสาธารณสุขที่อเมริกาตอนนั้นเขาเริ่มต้นงานวิจัย เขาก็ให้ทุน ทุกคนก็ขอทุนมาเพื่อทำงานวิจัยตรงนี้ เขาก็ขอทุนทำตรงนั้น...พอทำออกมาแล้ว ในหู ปรากฏว่าเรื่อง addiction เรื่องแอลกอฮอล์สามารถช่วยได้ด้วยการฝังเข็มแล้วมันก็เพิ่มมาเรื่อยๆ จนเวลานี้มีโรงเรียนสอนฝังเข็มในอเมริกาเต็มไปหมดเลย แล้วเรียน ๔ ปีจบ สามารถรักษาคนไข้ได้ มีประกาศนียบัตรให้ด้วยเป็นแพทย์ ยุโรปก็เหมือนกัน
...โปรเฟสเซอร์เมลแส็ค แอนด์วอลล์ ซึ่งเป็นคนค้นพบ gate theory ท่านพูดว่าก่อนที่เราจะวิ่งได้ เราต้องเดินได้ก่อนเรายังไม่รู้เรื่องฝังเข็มอีกมาก เพราะฉะนั้นมันจะมีประโยชน์มากกว่าที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ฉะนั้นงานวิจัยมันต้องนับหนึ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
...งานวิจัยที่เขามารายงาน ณ วันนั้น เชื่อไหมคะคนที่ไม่มีลูก ปักเข็มแล้วฮอร์โมนเพิ่ม แล้วเขาวัดด้วย เขาทำอะไรเป็นศาสตร์จริงๆ แต่เรากลับปฏิเสธ เป็นเรื่องที่น่าเศร้า
...แล้วเขารุกไปยิ่งกว่านั้น คนที่เป็นอัมพฤกษ์ คนที่เป็นซีพีหรือเด็กที่ขาบิดเป็นเกลียวตั้งแต่เกิด เขาบอกเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ที่เกร็งทั้งหมด เขาทำฝังเข็มแล้วดีขึ้น คนที่เป็นอัมพาตเขาทำฝังเข็มเปรียบเทียบกับทานยาเลย ใช้งบประมาณมากเป็นล้านยูเอสดอลล่าร์เลย แต่เขาบอกว่ายังต้องทำวิจัยต่อไป ถ้ามันประหยัดได้แล้วมันดีมันก็ควรจะทำให้มากกว่านั้น
...หมอกลับมานะ บอกไดัเลยว่าพกความเศร้ามา (หัวเราะ) แต่พอหมอมาทำตรงนี้ หมอบอกว่าไม่เป็นไร เศร้านั้นเป็นความอดทนให้หมอบอกว่าชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง...หมอเลยคิดว่าในจุดนี้ชีวิตหมอยังมีความหวัง ช่วงสั้นๆที่ยังมีชีวิตอยู่นี่หมอจะรุก แต่รุกทางประชาชน หมอจะไม่รุกให้แพทย์มารักษาอีกต่อไปแล้ว ถ้าแพทย์ยังไม่เชื่อเขาก็รักษาการแพทย์ปัจจุบันไปช่วยไปในส่วนนั้นก็ดี ...แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขายังทุกข์อยู่ ที่เขาไปไม่ได้ หรือเขาไม่อยากไป หรือเขามาถึงทางตันแล้ว ให้เขามีทางเลือก ตรงนี้หมอก็จะช่วยให้”
คุณหมอนำการรักษาแบบดุลยภาพบำบัดมาเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชนโดยเปิดเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กชื่อ โรงพยาบาลบ้านสวน
“ครั้งแรกหมอเอาบ้านตัวเองมาเป็นโรงพยาบาล คุณจะไปเอาเงินที่ไหน คุณเป็นมหาเศรษฐีมาจากไหนถ้าคุณไม่ทดลองอย่างนี้ ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ...ตอนหลังหมอต้องไปอยู่ทาวน์เฮ้าส์ ลูกๆเคยอยู่บ้านในที่สามสี่ไร่ แล้วต้องไปอยู่ทาวน์เฮ้าส์เล็กๆ หมอเสียสละขนาดไหน หลังจากนั้นพอเลี้ยงตัวได้หมอก็ย้าย ...ใหม่ๆที่ทำ เงินเดือนไม่มีนนะหมอต้องไปขอยืมเงินเดือนสามีมาจ่ายเด็กๆเขาก็ให้ เพราะเขาก็รู้ว่าหมอไม่รู้จะไปเอาเงินที่ไหน แล้วคนที่ศรัทธาก็มาสร้างมูลนิธิให้ ผู้ใหญ่ก็มาชื้อเข็มให้ เพราะเข็มชื้อยากและแพงที่จะไปชื้อ เราอยู่ได้ก็เพราะศรัทธาของแต่ละคน”
ดุลยภาพบำบัดเป็นศาสตร์ใหม่ของวงการแพทย์ในเมืองไทย เป็นการนำเอาการนวดแผนโบราณ การฝังเข็ม และการบริหารร่างกายมาใช้ในการปรับโครงสร้างของร่างกาย
“มันไม่ใช่อยู่ที่เข็มอย่างเดียว มันอยู่ที่หลักการดุลยภาพ หลักการความสมดุลของทั้งระบบ จิต กาย และสังคม สังคมไม่ดี อาหารไม่ดี สังคมไม่ดี พฤติกรรมไม่ดี เราต้องนั่งเบี่ยงเบนไปข้าง โครงสร้างเราเปลี่ยนไปแล้วค่ะ...ตั้งแต่เกิดในครรภ์มารดาเด็กก็บิดมาแต่กำเนิดแล้ว แล้วมีใครรักษาปรับโครงสร้างตั้งแต่เด็กไหมค่ะ เราดูอาการอย่างเดียว หอบหืดก็เร่งอย่างเดียวจนกระทั่งกระดูกกร่อนกระดูกผุไปหมดเลย เพราะมันเป็นทางออกทางเดียวที่เราทำกันมาพอยาไม่หายก็ต้องผ่าตัด
...อย่างมีเคสคนเยอรมันที่มารักษาที่นี่ ผ่ามะเร็งในท้องมันก็ยังเป็น ตอนนี้เป็นโรคอื่นต่อ ก็มาถึงทางตัน ไปหาหมอที่ไหนเขาก็บอกไม่ถูก บอกไม่เป็นอะไร แต่หลังจากที่ได้คีโมแล้วเป็นหนักกว่าเดิมเวลานี้จะเดินไม่ได้ แขนจะยกไม่ขึ้น แล้วเพลียมากคือไม่เข้าใจไงคะ
...ความเชื่อมโยงตรงนี้ไงคะที่หมอนึกขึ้นมาได้ว่าโปรเฟสเซอร์เขาย้ำแล้วย้ำอีกเขาเก่งกว่านิวโรอนาโตมีในสสมอง เขาบอกว่าทุกส่วนในร่างกายมันสัมพันธ์กับนิวโรอนาโตมีทั้งนั้น มันศูนย์สมอง มันสั่ง มันมาทั้งระบบอวัยวะภายใน นี่เป็นจุดที่ทำให้หมอฉุกคิดเมื่อมาถึงทางตันของการแพทย์
...แล้วเราไปเรียนฝังเข็มพอเราไปเรียนมาแล้วเราก็กลับมาตรงนี้ เพราะมันมาถึงทางตันเหมือนกัน ฝังเข็มก็ไม่ได้หายทุกคนตรงนี้เราก็ต้องก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง คือเรามองเป็นองค์รวมทั้งระบบสังคม พฤติกรรมมนุษย์และอวัยวะภายในของเราทั้งระบบมันประสานกันหมด มันเป็นเรื่องของดุลยภาพ ...ดุลยภาพนี่แนวคิดใหม่ แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้วในร่างกายมนุษย์ แต่เรามองข้ามไป เหมือนเส้นผมบังภูเขานิดเดียว ที่เราไม่เชื่อ เหมือนรถตกหล่ม เราต้องไปปรับศูนย์ แล้วคนเราพฤติกรรมบิดเบี้ยวทุกวัน
...อย่างเด็กนักเรียนหิ้วกระเป๋าข้างเดียว วันดีคืนดีให้เขาไปแบกเป้ข้างหลังแบบฝรั่งหรือญี่ปุ่น แต่กระเป๋าเราหนักกระดูกสันหลังก็คด และยิ่งแบนเข้าไป เด็กพวกนี้ตอนหลังมาจะยิ่งเป็นโรคทั้งสิ้นยิ่งกว่าหิ้วกระเป๋าข้างเดียวอีก
...หรือถ้าเราขาสั้นข้างยาวข้างสะโพกมันจะตามไปไหมคะ หรือเราหกล้มไป กระดูกสันหลังบิดไปสักข้อ กล้ามเนื้อสักมัดเกร็งไป ทุกอย่างมันจะตามไปไหม
...หรือเรานั่งเอียงบิดทุกวัน กระดูกสันหลังจะบิดไหม คอจะบิดไหมแล้วถ้าคอบิด หลอดเลือดที่ร้อยอยู่ในรูกระดูกจะบิดตามไหม
...แล้วเราบอกว่ากระดูกสันหลังบิดแล้วไปยืดหลังเฉยๆ กระดูกมันบิดสองข้าง กล้ามเนื้อแต่ละมัดไม่เท่ากัน คุณไปดึงเฉย ๆ มันจะยืดยังไง กล้ามเนื้อด้านนอกมันยืดเป็นหนังสะติ๊ก มันก็หดไปเป็นหนังสะติ๊กใหม่ ข้างล่างก็บิดต่อไป กล้ามเนื้อมีตั้งอีก 650 มันในร่างกาย
...แม้แต่การนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซด์ ไปดูสิคะว่ามันบิดเท่าไหร่ หรือคุณหกล้มไปมีใครปรับศูนย์ไหมคะ เราไม่เคยนึกถึงเรื่องนี้เลย
...อย่างหมอไปขาแพลงมาอย่างแรงดังเป๊าะเลย เคลื่อนหมดเลย บวม กระดุกกระดิกไม่ได้เลย ถ้าไปเข้าเฝือกก็ต้องอย่างน้อย 3 อาทิตย์ กระดูกถึงจะติด เอ็นถึงจะยืด แต่นี่หมอปักเข็มข้างถนนทันทีเลย เผอิญมีเข็มอยู่ ค่อยเคลื่อน ค่อย ๆ ยืด ถ้าตราบใด เอ็นเราเคลื่อน หัวเข่าเราจะไปด้วย สะโพกจะไปด้วย ...ขนาดทำ หลังจากนั้นหนึ่งอาทิตย์หลังเคลื่อนไหวไม่ได้เลย เกลียวข้างในลึกเลย ต้องนอนปักเข็มตัวเอง พอกล้ามเนื้อคลายแล้วค่อย ๆ ยืด มันถึงเข้าที่”
วิธีการรักษากล้ามเนื้อและกระดูกของคุณหมอ จะแตกต่างไปจากการแพทย์แผนปัจจุบัน“ปรกติถ้าเอ็นมันยึด กล้ามเนื้อมันยืด เราก็มีหลักสูตรว่ากระดูกแตกกระดูกหักให้อยู่เฉย ๆ ถ้าอยู่เฉยๆ เลือดก็ไม่เดิน...แต่คนโบราณรักษากระดูกแตกหักมาหลายพันปีด้วยเฝือกไม้ไผ่แล้วนวดเอายืดเอา เลือดก็เดิน...แต่เราทนเจ็บเอา ถ้ากระดูกแตกแล้วเอาเหล็กดามเข้าไปให้หยุดนิ่ง แต่กล้ามเนื้อบิดขณะที่เราหกล้ม มีใครไหมที่จะดูเรื่องกล้ามเนื้อ...แล้วเลาปวดบวม หมอถามว่าคุณไปนวดได้ไหม แตะยังไม่ได้เลย เข็มตัวน้อย ๆ นี่ไงคะที่จะปักไปตรงนั้น ช่วยได้เร็วมากเลย พอปักปั๊บมันเป็น gate theory ที่ระงับปวด แล้วมีเอ็นดอฟีนหลั่ง มันสิบเท่าตัวของมอร์ฟีนเลย พอคลายปวดได้ชั่วคราว
...แต่ถ้าคุณทานยา ยาต้องเข้าไปในกระเพาะ ถ้าคุณไม่ได้ทานข้าวก่อน ทานยาเข้าไปกระเพาะคุณก็พัง หมอถึงบอกว่า โรคภัยไข้เจ็บมาจากโครงสร้างที่เคลื่อนไหว ถ้าเราไม่จับเรื่องโครงสร้างตั้งแต่ต้น เราจะมีโรคภัยไข้เจ็บอีกเยอะ...แล้วกินยากันเป็นแสนล้านบาท เงินถึงหมดประเทศไง แล้วเรามาพูดเรื่องสมุนไพร มีใครปลูกสมุนไพรบ้างปัจจุบันคุณต้องไปซื้อต่างประเทศมาอีก แล้วต้องซื้อเครื่องมือมาอีก พวกซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ ทราบไหมในกรุงเทพฯแห่งเดียวมีมากกว่าเกาะอังกฤษทั้งเกาะอีก แล้วเงินไปอยู่ที่ไหนกัน เพราะฉะนั้นนักบริหารน่าจะมากขึ้นคิดถึงเรื่องนี้
...ถ้าสมมติว่าเราเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ตอนสุดท้ายคุณจะเอาอะไรก็ได้ แต่ถ้าพื้นฐานทุกคนว่าเกิดจากโครงสร้าง เมื่อทุกคนเกิดอุบัติเหตุคุณเริ่มทำจุดนี้ โครงสร้างก็จะปรับตัวเข้าที่...อวัยวะภายใน ถ้าร่างกายบิดเบี้ยวข้างในก็บิดเบี้ยวไปหมด แล้วถ้าข้างในคุณไม่แก้ไข มันจะบิดไปเรื่อย ๆ หัวใจ ปอด ตับ ลำไส้มันไปหมด แม้กระทั่งกระดูกสมองก็ไปด้วย...เส้นเลือดฉีดขาดนาน ๆ มันขังลิ่มเลือดไม่ละลาย ตอนหลังมนจะเป็นก้อนเนื้องอก แต่คนโบราณบอกว่ากระแทกที่ไหนให้กดที่นั่นทันที ให้ลิ่มเลือดละลาย น้ำใบบัวบกทานเข้าไป ดินสอพองหรือว่านหางจระเข้โปะแผลเข้าไปเพื่อไม่ให้แผลยึด เมื่อแผลไม่ยึด ความเจ็บปวดน้อยลง ให้ดึงกล้ามเนื้อให้เข้าที่ มันก็จะฟื้นฟูทั้งระบบ...ถ้ามันอุดตันที่ใดที่หนึ่ง แล้วจะให้ทานยาละลายลิ่มเลือดอย่างเดียว ถามนิดว่าในหลอดเลือดอุดตัน ละลายลิ่มเลือดไปได้ไหม เลือดนี่กว่าจะขึ้นสมอง ด้านหลังมันหักเป็น 90 องศา (คุณหมอชี้โครงกระดูกส่วนก้านสมองให้ดู) มันลอดรูขึ้นไปที่กะโหลกแล้วคุณนั่งบิด นอนบิดทุกวันเลือดคุณจะไปไหน
...น้ำมันตกตะกอนทุกวัน ๆ แล้วคุณยังทานอาหารที่เป็นพิษทุกวัน ๆ ถุงพลาสติก ก๋วยเตี๋ยวที่ใส่น้ำมันหล่อลื่น พวกนี้ก็อยู่ในหลอดเลือดเรา...แล้วสังคมที่เปลี่ยนแปลง กล้วยน้ำว้าเราก็ไม่ปลูกในบ้าน มะละกอซึ่งเป็นผลไม้ที่ดีเราก็ไม่เคยคิด ชมพู่แหรกก็ไม่มีใครรู้ว่าธาตุเหล็กเยอะ เราทิ้งหมดเลย แล้วไปเร่งปุ๋ย เร่งยาฆ่าแมลง แทนที่จะพัฒนาใช้ยาฆ่าแมลงให้น้อยลง “
พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ และการเสียสมดุลในร่ายกาย แต่ตามแนวคิดของคุณหมอสามารถรักษาและแก้ไขได้ด้วยการปรับโครงสร้างและดุลยภาพบำบัด
ดุลยภาพบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งโรคแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น อาการปวดตามจุดต่าง ๆหูหนวกฉับพลัน อาการวิงเวียนบ้านหมุน แผลเบาหวาน ความดัน เบาหวาน อัมพาต โรคเก๊าท์ ภูมิแพ้ ฯลฯ กระทั่งโรคที่ฮือฮากันอย่าง SLE หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง
“โรค SLE รักษาด้วยการฝังเข็มได้ คนไข้หายวันหายคืนเลยค่ะ เวลานี้ตั้งเป็นชมรมใหญ่เลย ...คนไข้ที่มา บางคนทานยาเพรดนิโซโลนจนกระดูกหัก กระดูกแตก กระดูกผุ กล้ามเนื้อหย่อนยาน ผมร่วง ตากำลังจะบอด มองไม่เห็น ปรากฏว่าหลังฝังเข็มแล้วดีขึ้น ไปเจาะเลือดแล้วดีขึ้นจริง ๆ หมอใช้ศาสตร์นะคะ ใช้วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่หมอพูดถึงอาการคนไข้แล้วดีขึ้นอย่างเดียว
...หมอถึงบอกว่ามีอีกหลากหลายที่เราไม่รู้ ตรงนี้มันจะเป็นระบบอีกทางไม่ใช่มาแก้สุดท้าย
...อย่างออธีสติก เด็กสมาธิสั้นก็เหมือนกัน เขาดีวันดีคืนที่นี่ จนกระทั่งฝรั่งแปลกใจ ...เด็กคนนี้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขที่อเมริกาส่งมา อายุหกเจ็ดขวบ ทรมานมากเลย เขาพูดไม่ได้ พ่อแม่ซัฟเฟอร์มาก เด็กร้องกรี๊ด ๆ เพราะพูดไม่ได้ แล้วหงุดหงิดมากเลย ทุ่มทุกอย่างเลย เขาก็มารักษาที่นี่
...ทีแรกเขาจะมาอยู่ หมอบอกว่าขออีกอาทิตย์นะอย่างน้อย ๆ แล้วหมอจะแนะนำให้ว่านวดอย่างไร แล้วคุณเอาเข็มจิ๋วไป ถ้าแม่กล้าทำ ...เดี๋ยวนี้เด็กคนนี้แจ๋วเลย ลูกเขาเพิ่งมาพูดได้ที่นี่ และตอนนี้เขาบอกว่าเด็กเข้าเรียนโรงเรียนร่วมกับเด็กปรกติได้แล้ว
...ที่นี่เรามีเด็กที่รุนแรงมาก มาตอนแรกต้องใช้ 7 คนจับฝังเข็มกัน แต่พ่อแม่ยอม เขารู้ว่าเป็นทางออกที่ดีได้ หมออธิบายว่าต้องอดทนนะ เด็กคนนี้ซึ่งเมื่อก่อนไม่ยอมรับรู้อะไรเลย พูดก็ไม่รู้เรื่องเดี๋ยวนี้เขาพูดดีขึ้นเยอะ ฟังรู้เรื่อง เวลานี้ไปออกค่ายกับครู พ่อแม่ไม่ต้องไปด้วย ...ฝรั่งเขามาที่ ร.ร.สำหรับเด็กสมาธิสั้น ร.ร.นี้ เขาสนใจเคสนี้มาก เขามาสอนวิธีการให้ว่าสอนให้เด็กกินอยู่อย่างไร ให้หัดจับ แต่ตรงนี้เขาไม่ได้ทำให้ เขาก็สงสัยว่าทำไมเด็กตนนี้ดีขึ้นกว่าเดิม ผิดปรกติว่าเด็กคนอื่น ทาง ร.ร.บอกว่าเด็กมารักษาที่นี่ เขาเลยตามมาที่นี่ “
ยังมีโรคอีกหลายชนิดที่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการฝังเข็ม
“อย่างโรคเรื้อนกวาง โรคนี้น่ากลัวมาก ๆ รักษาไม่หาย แต่ฝังเข็มหาย เพราะทำให้ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น
...แล้วหมอเพิ่งกลับมาจากอเมริกาเขาทำวิจัยเรื่องฝังเข็มรักษาโรคเอดส์ เมื่อเจาะดูภูมิต้านทานแล้วเพิ่มขึ้น...แต่หมอไม่ได้รักษาโรคเอดส์ เพราะหมอคิดว่าเรายังไม่มีคลินิกที่ดี เรายังไม่มีเครื่องมือที่ดีที่จะแยกเฉพาะคนไข้ ถ้าหมอพร้อมเมื่อไหร่ หมอจะแยกโรคเลย แต่ถ้าไม่พร้อม ต้องคละกันไป เราไม่สามารถจะรับได้ แต่โรคที่ไม่ติดเชื้อเราทำได้”
อุบัติเหตุเป็นต้นเหตุของความไม่สบายหลากหลายที่น่ากลัวมากเลย และเรายังคิดกันไม่ถึง และของชาติเรายังไม่มีระดับนี้ ซึ่งหมอพยายามจะสร้างตรงนี้ขึ้นมาให้ได้ ...อย่างเด็กหกล้มเยอะมาก เล่นยิมนาสติกในโรงเรียน ทราบไหมคะเกิดอะไรขึ้น เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ สุดท้ายเด็กพวกนี้ฆ่าตัวตายเพราะเรียนหนังสือตกต่ำลงมา พ่อแม่ก็ push ลูกขึ้นไป ในโรงเรียนนี่ทุกข์มากนะคะ
...แล้วก็เล่นกีฬากัน เต้นแอโรบิกกัน กระดูกยิ่งคดยิ่งโกง กระดูกคอบิดเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ ตาพร่า หูอื้อตาลาย เป็นโรคเวียนหัวกัน ...บ้านเราเกิดอุบัติเหตุวันละ 200 กว่าราย ฟังจาก จ.ส.100 แล้วยังหกล้มกันอีกเท่าไหร่ นั่นโครงสร้างเสียสมดุลหมดเลย แล้วตรงนี้มันไม่เกิดทันที มันจะเซ...อย่างคุณแม่หมอรถคว่ำ แล้วไม่ได้แก้ตั้งแต่ต้นเลย ความดันโลหิตสูงมาปวดต้นคอมา จนจิตนี่เครียดมาก เลือดไปเลี้ยงไม่ได้ หัวเข่านี่ปวด สุดท้ายโรคหัวใจ ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ไปหมดเป็นพรวนเลย...คุณแม่ไปรักษาที่ศิริราช หมอบอกพรุ่งนี้วันจันทร์ออกมาได้ ปรากฏออกมาเป็นศพแล้วหมอลดาวัลย์เพิ่งเข้าใจ ทั้งระบบมันเป็นเรื่องน่าเสียดายที่หมอไม่เข้าใจตั้งแต่ตอนนั้น ไม่งั้นคุณแม่ก็รอดได้ หมอถึงบอกว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องใหญ่มากเลย ...ตอนนั้นหมอที่ศิริราชหาอะไรไม่เจอ เขาบอกคุณแม่เครียด ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นคุณแม่ทิ้งงานบริหารทุกอย่างให้น้องทำหมดเลย หมอถึงบอกไม่ใช่ กายไม่ดีปุ๊บโทษจิต จิตเครียดหมด แต่ไม่ใช่
...จิตเครียดคืออะไร ถ้าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ สมองจะคิดออกไหม เมื่อสมองคิดไม่ออกเราจะเครียดไหม แล้วเราก็โทษาขยะความเครียด เราก็ให้นั่งสมาธิ นั่งไปนั่งมาคนไข้เบลอเลย หมอถึงได้บอกว่า จิต กาย สังคมเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ได้
...เราทำอะไรก็ตาม จิตดี คิดดี ทำดีนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสไว้ว่ามัชฌิมา ปฏิปทา การเดินสายกลางเป็นสิ่งที่เยี่ยมที่สุด...สิ่งที่หมอรักษาเป็นหลักในพุทธศาสนาทั้งสิ้น เพียงแต่เอาสิ่งนี้เป็นวิทยาศาสตร์ที่เรารู้ เราเอามาซัพพอร์ท มามอง มันเป็นจริงหมดเลย ธรรมะจัดสรรมาให้เราหมดแล้ว อยู่ในตัวเราหมดเลย แต่เราไม่เคยใช้มันให้เป็นประโยชน์”
การรักษาคนไข้ด้วยดุลยภาพบำบัด คุณหมอจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน
“แรกเลยจะให้เขาดูชาร์ทว่าโครงสร้างร่างกายมันเป็นทั้งระบบ แล้วคุณจะเป็นโรคนนั้นเกิดจากโครงสร้างเสียสมดุล หมอถึงต้องมีกระจกในห้องตรวจให้คนไข้ดูตัวเอง แต่เดี๋ยวนี้หมอมีเครื่อง CTI ที่ทำให้เห็นร่างกายได้ทั้งระบบ ก็จะให้ดูทั้งระบบแล้วคนไข้จะจำได้ว่าข้างหน้าข้างหลังตัวเองเป็นยังไง
...สอง จะตรวจโครงสร้าง ให้รู้ว่าโครงสร้างเสียสมดุลที่ไหน พอเข้าใจหมอก็จะสอนอันดับที่ 3 ให้รู้จักบริหารร่างกายตนเอง แล้วเขาจะค่อยเรียนรู้ว่าจุดไหนของร่างกายที่บกพร่อง แล้วเขาจะช่วยตัวเองอย่างไร ท่าพื้นฐานจะมีโบรชัวร์แจก พอท่ายาก ๆ ขึ้นก็จะค่อย ๆ เรียนไปเรื่อย ๆ ถ้าทุกคนทำตรงนี้ได้ จะช่วยได้มากเลย
...ต่อมาจะมีเจ้าหน้าที่ค่อยกดจุด คลายเส้น ค่อยนวดค่อยคลาย เพราะบางที มันปวด ยืดไม่ได้ อย่างขา แขน ข้างหลังเรานวดตัวเองไม่ได้ ก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่หมอสอนไว้ จะมาช่วย
...สุดท้ายหมอถึงจะเข้ามาฝังเข็ม
...มันเป็นตามขั้นตอน มันเสียเวลาเยอะมาก แต่หมอว่ามันคุ้ม
...คนที่มาที่นี่เคยไปฝังเข็มที่อื่นมา แล้วทั้งนั้น ปวดเข่านอนหักปวดเข่า แต่เราไม่หาสาเหตุทำไมถึงปวดเข่า พอมาตรวจร่างกายปั๊บหมอบอกคุณกำลังเป็นอัมพฤกษ์ คุณทราบไหม ไม่ทราบ คุณร่างกายอ่อนแรงข้างซ้าย เมื่อร่างกายอ่อนแรง คุณก็ต้องเดินกะเผลก ๆ ก็ปวดเข่า เขาก็รักษาปวดเข่าพอปักเข็มแล้วช็อคเลย เพราะเลือดไปเลี้ยงไม่ได้
...อัมพฤกษ์คือเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ คุณยิ่งไปขยายข้างล่าง ก็เหมือนน้ำประปา 10 สายที่หมอบอก สายที่ 10 คุณเหยียบไว้ คุณไปขยาย 9 สาย สายที่ 10 ปลายทางก็ยิ่งกดใหญ่ เลือดก็ไปเลี้ยงไม่ได้ ก็เลยช็อค ขนาดนอนบนเตียงนะ หัวใจสั่นมากเลย เกือบตาย
...คนไข้หลายคนปวดเข่า เป็นอัมพาตก็ปักข้างเดียว คือไม่เข้าใจไงคะ เมื่อก่อนหมอลดาวัลย์ก็โง่มาก่อนเหมือนกัน แต่เมื่อเราเห็น นั่นคือพัฒนาไปอีกหนึ่งขั้น เอาวิชาการปัจจุบันกับของโบราณมาใช้ด้วยกัน มันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ดีมาก
...หมอไปดูนวดแผนโบราณนะคะ ทุกแห่งเลย แล้วเวลานี้หมอช่วยสอนการแพทย์แผนไทยเขา คือเรารุกให้ประชาชนเริ่มช่วยตัวเอง สอนให้นวด แล้วนวดอย่างไรถึงถูกต้อง บริหารอย่างไรถึงถูกต้อง...การนวดแบบวัดโพธิ์นำมาประยุกต์กับแพทย์สมัยใหม่ได้ทุกอย่างเลยค่ะ แต่ต้องเรียนรู้กันใหม่ เพราะว่าการไปดัดแขนดัดขามันอันตรายมาก ๆ เลย ทำให้โครงสร้างเราบิดเบี้ยว คนนวดสมัยนี้ไม่เคยตรวจโครงสร้าง...ถ้าไปดูนวดที่วัดโพธิ์ คนไหนโครงสร้างบิดเบี้ยว หลอดเลือดแตกเลยค่ะ เพราะไปหักตรงนี้เลือดมันพุ่งจู๊ดเข้าไป พอพุ่งเข้าไปตรงนี้มันถูกกดก็ไปเลย คนไข้คนหนึ่งไปนวด กลับมาหลอดเลือดแตกเลย
...อีกคนพอปักเข็มแล้วเบาหวานดีขึ้น หมอไปเจาะเลือดหลังทานข้าวพลาดยังไงไม่ทราบ ขึ้นมานิดเดียวไปเพิ่มยา คนไข้ช็อคไปเลย
...ตรงนี้มันเป็นศาสตร์และศิลป์ทุกอย่างต้องดูตามขั้นตอน แต่เราไม่มีความร่วมมือกัน ทุกอย่างมีดีและมีเสีย ถ้าเราพยายามจะเอาสิ่งที่ดีงามของแต่ละจุด ๆ มาใช้ เราก็จะได้สิ่งที่ดีงามเพิ่มเป็น 10 เท่าตัวเลย...แต่ถ้าเราเอาสิ่งที่ดีงามมาแยกกันคนละส่วน แล้วเดินกันคนละทาง เราก็ลดกำลังสิบลง”
เมื่อแพทย์ปัจจุบันไม่รับความคิดของคุณหมอ คุณหมอจึงหันมาสอนความรู้ด้านนี้ให้กับประชาชนแทน “หมอจะสร้างหมอประชาชน หมอครอบครัวตัวเอง ให้รักษาดูแลตัวเองและดูแลพื้นฐานก่อนที่จะไปทำเรื่องอื่น
...หมอจะสอนให้ทุกคนรู้จักโครงสร้างตัวเอง แล้วบริหารด้วยหลักดุลยภาพบำบัดก่อน เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมาเราจะช่วยตัวเองอย่างไร แล้วทานอาหารอย่างไร ตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น และ 70 % จะช่วยประชาชนได้เยอะมาก มันไม่ต้องเปลืองงบประมาณเลย
...ถ้าศรัทธาแล้วจะเรียนวิชานี้หมอสอนให้ฟรี ตำราต้องซื้อเอง หมอจะเปิดสอน 30 ชั่วโมง ถ้าสอบผ่านหมอจะสอนให้อีก 20 ชั่วโมง และถ้าเรียนเพิ่มอีก 20 ชั่วโมงก็จะเป็นผู้ช่วยหมอได้
...การมองโครงสร้าง คุณจะไปที่ไหน ไปเห็นคนหกล้มคุณจะช่วยเขาได้ทันทีเลย คุณจะแนะนำเพื่อที่เขาจะได้ไม่ปวดหัว ปวดท้องในอนาคต ในขณะที่แผนปัจจุบันเราถึงจุดหนึ่งที่รักษาเฉพาะจุด แผล กระดูก แตก กระดูกหัก รักษาเสร็จจบ แต่จุดอื่นต่อไปเราไม่ทำแล้ว ซึ่งของหมอเป็นระบบฟื้นฟูระบบป้องกันขึ้นมาใหม่ ซึ่งตรงนี้จะต้องทำงานวิจัยอีกเยอะมาก
...สิ่งนี้จะเป็นศาสตร์และศิลป์อันใหม่ในการแพทย์ในอนาคต แล้วศตวรรษหน้าเราจะเดินตามนี้เราจะเริ่มเข้าสู่ระบบธรรมชาติที่ผ่านมาเราฝืนธรรมชาติหมดเลย
...หมออยากจะทำสิ่งนี้ฝากไว้ในแผ่นดิน”
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว 20 มกราคม 2553 ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนมกราคม พ.ศ. 2553
ผมรับรู้มาจากผู้คนร่วมสมัยกับคุณหมอว่า หลังจากกลับมาจากเมืองจีน คุณหมอได้ทดลองความคิดใหม่ๆ หลายอย่าง ซึ่งน่าจะเป็นยุคที่เกิด Fusion ทางความคิด โดยหยิบเอาจุดเด่นของความรู้แต่ละสายมาสานกันเข้าจนสามารถไปพ้นความคับแคบและมองเห็นป่าทั้งป่าได้แบบ “องค์รวม”
อันที่จริง ความคิดหลักของคุณหมอที่ว่าร่างกายเป็นหนึ่งเดียว แต่ละส่วนล้วนพึ่งพาอาศัยกัน สัมพันธ์กัน เนื่องกัน และส่งผลกระทบต่อกันกลับไปกลับมา นั้นเป็นเพียง “Common Sense” ที่ถูกละเลยในสมัยนั้น ซึ่งเป็นสมัยของผู้เชี่ยวชาญ
การรับราชการในมหาวิทยาลัยแพทย์และโรงพยาบาลชั้นนำอย่างศิริราช ประกอบกับการเป็นคนช่างสังเกตของคุณหมอ ย่อมทำให้เห็นความเลวร้ายของอุตสาหกรรมยาและการรักษาแบบแยกส่วน และแม้ในระบบราชการจะมีแพทย์อาวุโสที่น่ารัก เห็นอกเห็นใจ และหัวก้าวหน้า ทว่า สิ่งเหล่านี้คงหยุดยั้งคนกล้าและมุ่งมั่นอย่างคุณหมอไว้ไม่ได้
การหันหลังให้กับระบบราชการย่อมเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในกระบวนคิดของคุณหมอเอง โดยเฉพาะในเชิงนโยบายสาธารณสุขภาพรวม และการสามารถทดลองเชิงความคิดและปฏิบัติต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ความรู้เชิงวิชาการแน่นแฟ้นขึ้น สิ่งเหล่านี้ ย่อมช่วยให้ฐานคิดของกระบวนทัศน์ใหม่เป็นระบบและสมเหตุสมผลยิ่งขึ้น
แม้ความมุ่งมั่นและความหวังของคุณหมอที่อยากเห็นประชาชนมีสิทธิรักษาตัวเองได้จริงๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จะยังไม่บรรลุผล ผมก็ว่าความไม่สำเร็จอันนั้น จะยิ่งทำให้ “พลังสร้างสรรค์” ของคุณหมอถูกหล่อเลี้ยงอย่างลุกโพลงได้ต่อไป
ผมประสบกับตัวเอง ทั้งคนใกล้ชิดและเพื่อนฝูงรอบข้าง มาหลายครั้งแล้วว่าความเจ็บป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการจู่โจมของเชื้อโรค ตรงข้าม คือเกิดจาก Bad Habits หรือ Lifestyle ที่ผิดเพี้ยนของตัวเอง (คือตัวเองทำตัวเอง) เหล่านี้ ผมไม่สามารถพึ่งพาการแพทย์ตะวันตกที่อ้างตัวว่าสมัยใหม่ได้เลย
ทว่า การแพทย์ของคุณหมอ (Equilibropathy) สามารถให้คำตอบและรักษาให้ทุเลาลงได้ ความเป็นเลิศทางวิชาการของคุณหมอ เมื่อประกอบกับความศรัทธาในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ตัวเองทำ อย่างแรงกล้า ทำให้คนไข้มีความมั่นใจและมีกำลังใจ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขาดแคลนมากในตัวแพทย์กระแสหลักรุ่นใหม่
ผมมั่นใจมาก ว่าความคิดและงานของท่าน จะต้องกลายเป็นประเด็นสำคัญ และจะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในอนาคต เพราะมันจะสามารถชี้ทางแก้ปัญหาและผ่าทางตันให้กับวงการแพทย์ปัจจุบันได้อย่างสร้างสรรค์ และจะเป็นคุณูปการสำคัญต่อผู้คนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานกับ Organic Disease อันเนื่องมาแต่การใช้ชีวิตในโลกสมัยใหม่ที่นับวันจะถอยห่างจาก “ความสมดุล” ยิ่งขึ้นทุกทีๆ
การดูแลผู้ป่วยปวด หลัง ปวดเอว ด้วยดุลยภาพบำบัดโดย : รศ.พญ.ลดาวัลย์ สุวรรณกิตติ ดุลยภาพศาสตร์กับการปฏิรูประบบสาธารณสุข “สูงสุดสู่สามัญ”
สาเหตุของการเกิดโรคด้วยการมองคนทั้งคน องค์ประกอบของคนนั้นแยก จิต กาย สังคม
ออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด โดยเฉพาะกายต้องทุกระบบ
ผลงานของศูนย์วิจัยระบบสาธารณสุขของอเมริกาพบว่า โรคภัยไข้เจ็บนั้น 80% หายได้จากตัวเราเอง
20% นั้นหายจากวิธีการรักษาที่มีอยู่ในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐ ถ้าเราเริ่มเอาใจใส่สุขภาพเมื่อใดก็ถือว่า ได้เริ่มต้นส่งเสริมป้องกันรักษา และฟื้นฟูตัวเราเองได้แล้ว 50%
มื่อมีภาวะเสียสมดุลจุดใดจุดหนึ่ง กลไกธรรมชาติมนุษย์จะพยายามปรับสมดุลให้ได้ เมื่อใดกลไกเสีย หรือความไม่สมดุลมากเกินไป จนร่างกายปรับสมดุลไม่ได้หรือไม่ทันกับความเสียสมดุล ก็จะบ่งชี้อาการหลากหลาย ซึ่งมนุษย์เราจะรู้สึกได้หรือไม่ได้ก็ขึ้นกับการสังเกตการณ์ของแต่ละบุคคล คือการมีสติปัญญา หรือการเอาใจใส่หาความรู้และทำความเข้าใจกับตัวเราเอง
ถ้าเราทำความเข้าใจอย่างเป็นระบบก็จะสามารถส่งเสริม ป้องกัน รักษา
และฟื้นฟูสุขภาพด้วยตนเองได้ถึง 80%
สาเหตุของการเกิดอาการและโรค เป็นองค์รวม การส่งเสริมป้องกัน การบำบัดรักษา ฟื้นฟูก็ต้องบูรณาการเป็นหนึ่งเดียวด้วยการปรับสมดุล องค์ประกอบของมนุษย์เริ่มจากควบคุมอารมณ์ด้วยสติ (Emotion) การเคลื่อนไหวทุกระบบเคลื่อนไหวอย่างสมดุล การหายใจ (Exercise) การรับประทานอาหาร (Eating) การขับถ่าย (Excretion) ดูแลสิ่งแวดล้อม (Environment) เริ่มตั้งแต่เซลล์เล็ก ๆ
ในตัวเราจนนอกร่างกายด้วยการใช้ความสมดุลของแต่ละบุคคล ตามกาลเวลา สถานที่เป็นเกณฑ์ ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม ไม่มีการบ่งชี้ที่ตายตัว ดังนั้นทั้งหมดต้องขึ้นกับการเรียนรู้ให้เข้าใจ
ไปสู่การปฏิบัติการ (Education) ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติของดุลยภาพบำบัด (7E)
งานวิจัยให้ ส.ก.ว.พิจารณาให้ทุนจะเน้นไปว่า ต้องให้มีกำไรและต้องคุ้มทุน เมื่อเริ่มคิดกำไรขาดทุนกับชีวิตมนุษย์เป็นเงิน สมควรแล้วหรือโดยทั่วไปเมื่อเห็นชอบในโครงการนั้นๆผู้บริหารจัดการก็จะให้งบประมาณ มหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆในการทำวิจัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพทั้ง ๆ ที่การส่งเสริมสุขภาพที่แท้จริงต้องมองที่ประชาชนว่าเขาทำกันอย่างไร มิใช่การวิจัยนั้นต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ ตามหลักวิทยาศาสตร์เสมอไป เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างแท้จริง เครื่องมือการตรวจค้นก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ทุกอย่างได้ตามความเป็นจริง แต่แพทย์ผู้ที่มาบริหารจัดการก็พยายามนำมาตรฐานการวิจัยของต่างประเทศ มาเป็นเกณฑ์วัด ตัวอย่างในการแพทย์ตะวันตกที่พบว่าเป็นปัญหา เช่น เรื่องยา ได้มีการวิจัยแล้วว่าสามารถใช้ได้ในคนอย่างปลอดภัย แต่ก็ยังสร้างปัญหาไปทั่วโลกได้เช่นกัน
ผมเห็นด้วยกับการดูแล และรักษาสุขภาพด้วยตนเอง แบบดุลภาพบำบัด ได้ทดลองบริหารแบบดุลยภาพบำบัดเบื้องต้น แล้วรู้สึกได้ผลพอใจ ครับ
ตอบลบ