วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

น้ำมันมะพร้าว น้ำมันหมู กะทิ น้ำมะพร้าว ไขมันทรานส์



น้ำมันมะพร้าว

รักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคที่ส่งผลให้ผิวหนังคัน แดง แห้ง ตกสะเก็ด และเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ผิวหนังตามมา ซึ่งผู้ป่วยมักต้องใช้มอยซ์เจอไรเซอร์คอยบำรุงผิวหนัง น้ำมันมะพร้าวเป็นตัวเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองของผิว และยังอาจช่วยลดจำนวนแบคทีเรียสแตฟิโลค็อกคัสบนผิวหนัง หนึ่งในตัวการที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังตามมา

สำหรับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันคุณสมบัตินี้ มีการทดสอบโดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์และน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ต่อการเพิ่มความชุ่มชื้นและลดแบคทีเรียบนผิวหนังของผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผลพบว่าการทาน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันมะกอกวันละ 2 ครั้ง บริเวณผื่นที่ไม่ติดเชื้อ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลลดน้อยลง แต่น้ำมันมะพร้าวนั้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

สอดคล้องกับงานวิจัยที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่ง ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันมิเนอรัลในเด็กที่ป่วยด้วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังระดับไม่รุนแรงไปจนถึงระดับปานกลาง จำนวน 117 คน ผลลัพธ์ชี้ว่าการทาน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำ นาน 8 สัปดาห์ ช่วยให้ความรุนแรงของผื่นลดลงถึง 68 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่น้ำมันมิเนอรัลช่วยได้ประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์ โดยมีสรรพคุณป้องกันการสูญเสียน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับชั้นผิวหนัง ทั้งนี้สรรพคุณของน้ำมันมะพร้าวต่อการบรรเทาอาการและป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังของผู้ป่วยโรคนี้ยังถือว่าอาจเป็นไปได้สูงกว่าการรักษาโรคอื่น ๆ เพราะมีหลักฐานค่อนข้างมากและน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพการรักษาอยู่ในระดับที่อาจเป็นไปได้ (Possibly Effective)

รักษาโรคสะเก็ดเงิน การทาน้ำมันมะพร้าวบนหนังศีรษะหลังจากอาบน้ำประมาณครึ่งชั่วโมง ค่อย ๆ นวดแล้วล้างออก เป็นวิธีทางธรรมชาติที่เชื่อว่าอาจช่วยขจัดสะเก็ดบนหนังศีรษะจากโรคสะเก็ดเงินได้ ทว่าการใช้น้ำมันมะพร้าวบรรเทาอาการด้วยการทาผิวหนังหรือหนังศีรษะนั้นยังไม่มีผลการศึกษาที่พอจะช่วยบ่งบอกได้ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด สำหรับผู้ที่ต้องการลอง ควรระมัดระวังในการใช้อย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัย

ทั้งนี้ในงานวิจัยทางวิทยาศาตร์ที่พิสูจน์คุณสมบัติข้อนี้ของน้ำมันมะพร้าวด้วยการให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินเรื้อรังจำนวน 29 คน แบ่งกลุ่มทาหรือไม่ทาน้ำมันมะพร้าวก่อนรับการบำบัดด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต ปรากฏว่าไม่เห็นผลความแตกต่างของผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม จึงอาจเป็นไปได้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะไม่ได้ช่วยให้ผลการรักษาด้วยวิธีนี้ดีขึ้นได้

พบแพทย์.น้ำมันมะพร้าวกับประโยชน์ทางสุขภาพ



หมอปุ้ม.น้ำมันมะพร้าว


คำแนะนำเพื่อผลลัพธ์ที่ดี :ในการใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหาร
เมื่อทำการปรุงอาหารแล้ว ไม่ควรใช้น้ำมันซ้ำจนน้ำมันมีสีดำ เนื่องจากการใช้น้ำมันซ้ำหรือค้างคืน จะส่งผลต่อแบคทีเรียในลำไส้ และการย่อยของสารอาหารผ่านกะเพาะจนถึงลำไส้ ทำให้การย่อยและดูดซึมไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลสะสมในระยะยาวจะทำให้เกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น
http://www.greenworld-market.com/15703630/7009-น้ำมันมะพร้าว-สำหรับทำอาหาร-1000-มล-ไทยเพียว


ขณะนี้นักวิชาการโภชนาการทั่วโลกรับรองว่าไขมันจากกะทิ ถือเป็นไขมันที่ร่างกายสามารถดึงมาใช้ได้ทันที ไม่สะสมในร่างกาย ถือว่ามีประโยชน์มากกว่า

กะทิไม่มีคอเลสเตอรอล

โดยธรรมชาติคอเลสเตอรอลจะอยู่ในผนังเซลล์
สัตว์ทุกชนิดมีผนังเซลล์ จึงมีคอเลสเตอรอล แต่ในพืชทุกชนิดโดยธรรมชาติ ไม่มีคอเลสเตอรอล เพราะมีวิวัฒนาการน้อยกว่า ในวงการอุตสาหกรรมอาหารใช้ว่าอาหารนั้นดี ีไม่มีคอเลสเตอรอล แต่เขาใช้น้ำตาลหรือวัตถุแฝงลงไปในอาหารและเครื่องดื่ม นั่นต่างหากที่ทำให้เป็นอันตราย...

จากการวิจัยย้อนหลัง10-20ปีพบว่า คอเลสเตอรอลในอาหารส่งผลต่อเลือดน้อยมาก ปัญหาสุขภาพของแต่ละคน
มาจากการกินไขมันอิ่มตัว กินอาหารดึก...

การกินในปัจจุบันให้พิจารณารูปแบบการกิน ที่หลากหลาย โน่นนิดนั่นหน่อย
กินแบบกระจาย ปริมาณไม่มากหรือน้อยเกินไป...
ถ้าเป็นอาหารไทยคือการกินผักลวกจิ้ม กินปลา
(เรา:หลวงปู่จะตักอาหารทุกอย่าง อย่างละนิด โดยสอนว่าให้กินเพื่ออยู่ แต่ที่นั่งอยู่นี่ อยู่เพื่อกิน)
https://youtu.be/3F8XK6BCQfE

***************************





อาหารใช้ความร้อนสูงเช่นทอด ผัด ควรใช้ น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว
เพราะไม่เกิดอนุมูลอิสระ ที่ก่อโรคมะเร็ง

https://youtu.be/BiFQs4FHeYU

***************************

มะพร้าวไท105บาทเจ้าของเดียวกับไทยเพียว ที่แม็คโครศก.

น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารของแมเนเจอร์ แต่ไม่พบ“ไม่ผ่านกรรมวิธี“
มีขายที่ฟูดแลนด์,ท็อปขวดละ189บาท
https://www.pordeehealthshop.com ของผู้จัดการ





     การสกัดร้อน คือการนำหัวกะทิไปเคี่ยวในกะทะที่ตั้งไฟ แล้วทำการเคี่ยวไปเรื่อยๆจนกระทั่งน้ำมันลอยขึ้นมาแล้วจึงตักออกไป
ในการทำวิธีนี้ น้ำมันที่ได้จะมีคุณสมบัติบางอย่างนั้นหายไปเพราะ
ความร้อน และสี จะไม่ใสมาก เเต่มีกลิ่นที่ไม่หอม (ใช้คำว่าไม่มีกลิ่นมะพร้าวจะดีกับเรามากกว่า) เหมือนวิธีการสกัดเย็น

     
การสกัดน้ำมันมะพร้าว ด้วยวิธีการสกัดร้อน จะใช้เนื้อมะพร้าวแห้ง ที่ทำเป็นชิ้นเล็กๆ หรือเป็นเส้นๆ โดยวิธีการขูด แล้วนำไป บีบอัด(Expression) หรือ อาจจะใช้ตัวทำละลาย(Solvent Extraction)

     ดังนั้น น้ำมันมะพร้าว ที่ได้ จึงเป็นน้ำมันดิบ (crude oil) ใช้บริโภคไม่ได้ จนกว่าจะผ่านกระบวนการทำให้กลายเป็น "น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์" 
( Refined, Bleached, Deodorized - RBD) ซะก่อน...!!!

ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการ 
ทั้งความร้อน และสารเคมี จึงเรียกน้ำมันมะพร้าวที่ได้จากการ สกัดร้อนนี้ว่า "น้ำมันมะพร้าวผ่านกระบวนการ"หรือ "RBD Coconut oil"

http://www.letterplanet.com/preview.php?id=763

********************************************************
น้ำมันมะพร้าวเป็นยาพิษจริงหรือแอบแฝงผลประโยชน์
โดยสุทธิชัยกับปานเทพ 3ก.ย61https://youtu.be/2r6x84NcQVU
เรา:ในรายการพูดถึงอันตรายจากเนื้อแดงน่าสนใจ เราค้นเน็ตพบคำอธิบาย
“เนื้อแดง คือ เนื้อที่เมื่อยังไม่ได้ปรุง (เนื้อสด) จะมีสีออกแดง และเมื่อปรุงสุกแล้ว ก็จะไม่ซีดเป็นสีขาวแต่จะออกสีคล้ำ โดยทั่วไปเป็นเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม“


เนื้อขาว หรือเนื้อจำพวกเนื้อไก่ เนื้อปลา ที่จัดเป็นสีขาว เป็นเนื้อที่มีไขมันน้อย เส้นใยในเนื้อ ค่อนข้างละเอียด มีข้อดีคือ เป็นเนื้อที่ดีต่อสุขภาพ มีแคลอรีต่ำ ย่อยง่าย มีกลิ่นคาวน้อย .


*******************************************************************



ต้องแกงกะทิใหม่ ต้มทุกอย่างให้เสร็จ ใส่กะทิสุดท้ายปิดไฟเลย ไม่ต้องเคี่ยวให้แตกมัน
น้ำมันหีบเย็นเป็นน้ำมันสุขภาพ(=ไม่ผ่านความร้อน)
https://youtu.be/9_f3fahjIX4

*******************************************************************
ครีมเทียม  ไอสครีมอันตรายจากสารปรุงแต่งอาหาร
สารอิมัลซิไฟเออร์เป็นสารปรุงแต่ง




มีสัมภาษณ์ดร.แสงสุขแทรก เรื่องออยพูลิ่ง
23:23 น้ำมันแทรกซึมได้ดีกว่าน้ำ น้ำมันก็เอาแบคทีเรียออกมาจากปาก ได้เยอะมากกว่าการแปรงฟัน...ออยพูลลิ่งช่วยเรื่องแบคทีเรียและเชื้อโรคในช่องปากได้

31:25 แบคทีเรียเป็นพันๆล้านตัวอยู่ในช่องปาก บริเวณไหนที่มีแบคทีเรีย ภูมิคุ้มกันหรืออีมูนซึ่งเปรียบเหมือนทหาร จะคอยเฝ้าช่องปาก อีมูนตัวนี้จะคอยไปเฝ้า ไปคุม ให้ระวังไม่ให้เชื้อโรคที่เป็น












ข่าวไขมันทรานส์ต้องหยุดใช้ในอีก6เดือน เพราะพบสารก่อมะเร็ง
https://youtu.be/lmk6t90wcSc เผยแพร่่ 15ก.ค61









*************************************************

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถานบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลในวันแถลงข่าวเรื่อง “น้ำมันดี น้ำมันเลว มีจริงไหม” ว่า

“แม้ว่าน้ำมันมะพร้าวจะมีกรดไขมันอิ่มตัวมาก แต่ต่างจากน้ำมันชนิดอื่นตรงที่ส่วนประกอบของน้ำมันมะพร้าวประมาณครึ่งหนึ่ง มีความยาวโมเลกุลปานกลาง เมื่อร่างกายได้รับจะย่อยง่ายและดูดซึมได้ง่าย ทำให้มีการสะสมในร่างกายน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเช่นเดียวกัน
***************************************************
น้ำมันมะพร้าว

น้ำมันมะพร้าวแข็งเมื่ออากาศหนาว ให้เอาขวดแช่น้ำอุ่น


น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 1 by Laurich



มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว โดย ดร ณรงค์ โฉมเฉลา บรรยาย ณ รายการ สุขภาพดี 8 อ.มี3 ตอน


น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 2
 
https://youtu.be/XlViHF53LbU




น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ 3 
https://youtu.be/e_rUIxBBZi8





สุขภาพดีด้วย8อ.ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา 1/2 ควรดู2/2ตอนใกล้จบมีคำตอบน่าสนใจ
https://m.youtube.com/watch?v=H9VwMxnnXHo

1/2 26:37 น้ำมันมะพร้าวกินเข้าไป เกิดความร้อนที่ต่อมไทรอยด์ ได้ใช้อาหารที่สะสมไว้ ให้เป็นพลังงาน เปลี่ยนพลังงานในตับ ให้เรามีความกระชุ่มกระชวย แข็งแรง ทำงานได้  น้ำมันมะพร้าว ไม่เกิดการสะสมในร่างกาย
30:10 น้ำมันมะพร้าวชำระล้างไขมันอุดตันในหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลได้...
กลั้วน้ำมันมะพร้าว ออยพูลลิ่ง จะดึงจุลินทรีย์ออกจากปาก








น้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธีคือใส่สารเคมี






นำ้มันมะพร้าวไม่ผ่านกรรมวิธี คือไม่เติมสารเคมีใดใด



****************

ที่มาของบทความhttp://www.vcharkarn.com/blog/32607/1892

ประสบการณ์ของข้าพเจ้ากับน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี

เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็ก จะเห็นแม่สาละวนกับการเจียวน้ำมันหมูทุกๆ ๗ วัน เพื่อใช้ผัดกับข้าว ให้พวกเรารับประทาน น้ำมันหมูนี้มันเก็บได้ไม่นานเพราะไม่มีตู้เย็นเหมือนปัจจุบัน อีกทั้งการใช้ก็ตักทีละน้อย เพราะน้ำมันที่ผัดหรือทอดแล้วจะดำ และเหม็นหืนง่าย แต่พอข้าพเจ้าเป็นวัยรุ่น บรรดานักวิชาการสุขภาพก็เริ่มประกาศความมีพิษภัย ของน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว โดยโฆษณาชุดแรกๆ ก็เน้นที่ความไม่เป็นไข (แข็งตัว) เมื่ออุณหภูมิเย็นตัวลง ของน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เมื่อเทียบกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว โดยโฆษณาเน้นเรื่อง คอเลสเตอรอล ให้คนดูตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพเรื่อง โรคหลอดเลือดและหัวใจ ด้วยความใสซื่อและอ่อนต่อโลก จึงคิดไม่ถึงว่า งานวิจัยเรื่องน้ำมันพืชนั้นมีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะทั้งน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว จะไม่มีวันจับตัวเป็นไขในร่างกายคนได้ เพราะอุณหภูมิสูงภายในมนุษย์สูงกว่า ๒๕ องศาเซลเซียส ไม่ว่าอากาศภายนอกจะหนาวเย็นเพียงใด (ที่ขั้วโลกเหนือและใต้ อุณหภูมิร่างกายคนก็อยู่ที่ ๓๕-๓๗ องศาเซลเซียส

ครอบครัวของข้าพเจ้าเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี และแล้วหลายสิบปีผ่านไป การตรวจเลือดหาปริมาณคอเลสเตอรอล ยังคงได้ตัวเลขสูงๆ กว่าค่าปกติทุกปี ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าก็ไม่อ้วน หรือ น้ำหนักเกินดัชนีมวลกายและได้เลิกใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าว ไปนานแล้ว อีกทั้งร้านอาหารทุกแห่ง ไม่ว่าริมถนนหรือภัตตาคารก็ไม่มีใครทำน้ำมันใช้เองอีกแล้ว

แม่ของข้าพเจ้าป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มหัวใจเมื่ออายุ ๘๑ ปี หลังจากต้องกินยาคุมความดันโลหิตสูง ยาละลายลิ่มเลือด มากว่า ๓๐ ปี แต่ข้าพเจ้ากลับป่วยก็ด้วยอาการของโรคต่อมลูกหมากโต โรคไตและแผลเบาหวานทั้งๆ ที่ น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ๘ ชั่วโมงเพียง ๙๐ หน่วย ข้าพเจ้าโชคดีที่พบผู้รู้และยาแก้ ข้าพเจ้าก็อดทนกินยาสมุนไพรตำรับต่างๆ จนเกือบหายสนิท

ข้าพเจ้าได้วิจัยถึงสาเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นโรคต่างๆ ดังกล่าวจนพบความจริงว่า น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีนี้แหละเป็นต้นเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้าป่วย เพราะกินน้ำมันนี้วันละ ๓ มื้อ มากกว่ายาชนิดใดใด และน้ำมันพืชฯนี้มันถูกเติมไฮโดรเจน (Hydrogenated) เมื่อผ่านกรรมวิธี กลั่น(refined) ฟอกสี(bleached) แต่งกลิ่น(deodozied) ทำให้ทอดอาหารได้กรอบอร่อย ใช้ได้หลายครั้งไม่เหม็นหืนง่าย แต่ก็มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ชนิดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเคมี ซึ่งไม่เหมือนอย่างน้ำมันมะพร้าวที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง โดยธรรมชาติ ไม่มีอันตรายเพราะ ละลายน้ำได้ (การคั้นน้ำกะทิแล้วเคี่ยวจนเป็นน้ำมัน) ท่านอาจจะยังไม่เชื่อข้าพเจ้า จึงอยากให้ทดลองเองที่บ้าน นำน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธียี่ห้อไหนก็ได้ ลองใส่ภาชนะแล้วตากแดดให้อุณภูมิใกล้เคียงกับภายในของมนุษย์ แล้วตรวจดูความเหนียวหนึบ ของมัน ทดลองกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวเอง แล้วเปรียบเทียบกัน ความเหนียวหนึบยึดติดนี้จะเกิดในลำไส้เล็ก และหน่วยไตของคนและสัตว์ ในรายที่บริโภคน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เมื่อน้ำไม่สามารถซึมผ่านคราบน้ำมันในลำไส้เล็ก สารละลายน้ำเช่นวิตามินบี ซี กรดอมิโน ก็จะกลายเป็นภาระของไตต้องกรอง ไตทำงานหนักมากขึ้นเรื่อยๆ (ดูกรณีไขมันรวมตัวเป็นก้อนที่กระดูกสันหลังบริเวณเอวที่ www.thaiherbclinic.com/?q=node/35#comment) เพราะร่างกายขาดสารอาหาร สมองสั่งให้เรากินมากขึ้น แต่อนิจจา ยิ่งกินมากน้ำมันก็ยิ่งอุดตัน ไตก็ทำงานหนักขึ้นอีก แนวโน้มคนป่วยโรคไตวายเรื้อรังมีมากถึง ๑๒ ล้านคน ในอีก ๑๐ ปีข้างหน้า

ในราวต้นปี ๒๕๕๐ บริษัทฟ้าสฟู้ด KFC ในต่างประเทศ ได้ประกาศเลิกใช้น้ำมันพืชที่เติม ไฮโดรเจน โดยไม่บอกเหตุผล จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่า เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนสูตร การปรุงอาหาร เพิ่มต้นทุนการผลิตของตนเอง ซึ่งหมายถึงความเสี่ยงทางการตลาดและกำไร ที่ลดน้อยลง ในขณะเดียวกันรัฐนิวยอร์คก็มีกฎหมายห้ามร้านอาหารและภัตตาคาร ใช้น้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจนในการปรุงอาหาร (น้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจนจะเรียกว่า Trans fat)

ดร.ณรงค์ โฉมเฉลาได้เขียนบทความ ''น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตรายหรือประโยชน์ต่อ สุขภาพ' ในวารสาร "เกษตรกรรมธรรมชาติ" ใจความว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว มีตัวเลขการตายจากโรคหัวใจและมะเร็ง ต่ำกว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันพืชอื่น แล้วทำไม จึงมีงานวิจัยในอดีตที่กล่าวว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดและหัวใจ เพราะน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวสูง ดร.ณรงค์กล่าวว่า American Soybean Association ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในอเมริกา วิจัยผลเสียของน้ำมันมะพร้าวเพื่อที่ถั่วเหลือง จะมีโอกาสเกิดในตลาดโลก ข้าพเจ้าอยากเตือนคนไทยทั้งหลาย โปรดสำรวจตนเองว่าท่านกินน้ำมันวันละซีซี มันระบายออกมาได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าท่านไม่หยุดกิน โรคเรื้อรังต่างๆ (ดู www.cdri.multiply.com) อาจจะมาเยือนท่านไม่ช้าก็เร็ว

น้ำมันพืชชนิดใดเหมาะกับการปรุงอาหาร


นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ ก.ค.๒๕๔๖ ลงบทความ "น้ำมันพืช ใช้อย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย" แนะนำว่า การผัดอาหารควรใช้ น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว

แต่หากจะทอดอาหารแล้วควรใช้ น้ำมันพืช หรือสัตว์ ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะการทอดใช้ความร้อนสูง และจุดเดือดน้ำมันพืชประมาณ 180 องศาC จะเกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่า โพลาร์คอมเพาวด์ (Polar Compound) สารเคมีชนิดนี้ข้าพเจ้าเคยพบด้วยกลิ่นที่ทำให้แสบจมูก มีพ่อค้าทอดขนมกู๋ไช่คนหนึ่ง มีอาการตาพร่ามัว จึงไปพบจักษุแพทย์ และได้รับคำแนะนำให้เลิกอาชีพขาย อาหารทอด อาหารผัดอย่างถาวร มิฉะนั้นจะตาบอดได้

ทำไมน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าว จึงเหมาะแก่การทอด? คำตอบก็คือ น้ำมันทั้งสองชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู 40% น้ำมันมะพร้าว 88%) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่จับกับธาตุคาร์บอน (C) ในลักษณะแขนเดี่ยว (single bond) เมื่อโดนความร้อนสูงก็ทำให้อาหารกรอบ อร่อย ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ และน้ำมันที่ใช้ทอดแล้วก็เก็บไว้ทอดซ้ำเกิน ๒ ครั้งไม่ได้เพราะจะดำและเหม็นหืน ซึ่งผิดกับน้ำมันพืชอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีโครงสร้างเคมีเป็น แขนคู่ (double bond) ในการจับกับธาตุคาร์บอน จึงสามารถจับกับธาตุไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก ๒ อะตอม จึงเหมาะกับการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) ซึ่งเรียกว่า Trans Fatty Acid (TFA) 'Trans' นี้เป็นผลลัพท์ของความพยายามที่จะทำให้น้ำมันพืช มีลักษณะเหมือน น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ที่ทำให้อาหารทอด กรอบอร่อย

แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม เพราะน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีเหล่านี้ไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้ง่ายๆ เหมือนน้ำมันมะพร้าวที่ละลายน้ำได้ บางคนที่เป็นปู่ย่าตายายในขณะนี้ (อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป) จะบอกกล่าวว่า พ่อแม่ของท่านใช้น้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าวทำอาหาร และท่านก็มีอายุถึง ๙๐ ปีกว่า ก่อนเสียชีวิต ไม่ได้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเลย แต่ก็มีอายุยืนยาวได้

ในทางกลับกัน คนไทยในสมัยนี้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมานานกว่า ๓๐ ปี กลายเป็นโรคเบาหวานกันทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน เด็กๆ ก็กลายเป็นโรคอ้วน เบาหวานในเด็กก็ลุกลามใหญ่โต จนในปีนี้องค์การเบาหวานโลก ได้เน้นการรณรงค์เบาหวานในวัยรุ่น ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นในโลกไม่น้อยกว่า ๕ ล้านคน สารเคมีที่กินเข้าไปคือ polar compound ยังไม่มีใครประกาศออกมาเลยว่ามีผลร้ายอย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือ มันหนืดเมื่อโดนความร้อนสูง และติดหนึบหนับในลำไส้เล็กของเรา จนทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารที่ละลายน้ำ เช่น กรดอมิโน วิตามินบี ซี หายไปมาก เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยากต่อการสังเกตเห็น

บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมเชียร์แต่น้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอง น้ำมันปาล์มก็มีระดับกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึง 48% ไม่เหมาะกับการทอดหรืออย่างไร? จริงๆ แล้วก็เหมาะสมแต่น้ำมันปาล์มที่ขายอยู่นั้นผ่านกรรมวิธี จึงมี polar compound เมื่อทอด น้ำมันพืชที่ได้จากการสกัดแบบธรรมชาติ คือ หีบเย็น (Cold press) หรือ การบีบคั้นโดยไม่ใช้ความร้อนส่วนใหญ่แล้วดี มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่เมื่อเอาไปดัดแปลงทางเคมี เติมไฮโดรเจนเข้าไปก็เลยเป็นโทษ น้ำมันพืชที่หีบเย็นถ้านำมากินโดยไม่ผ่านการผัด การทอดก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สปาหลายแห่งจึงนำไปใช้เสริมสวย บำรุงผิวให้ลูกค้า

นิตยสาร'เกษตรกรรมธรรมชาติ' ฉบับ ๒/๒๕๔๘ บทความพิเศษ "น้ำมันมะพร้าวและกะทิ- เป็นอันตรายหรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ"โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวไว้ว่า "น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันพืชที่ประเทศต่างๆ ในเอเซียและแปซิฟิคใช้เป็นแหล่งพลังงานและการหุงหาอาหารมาช้านาน โดยไม่ปรากฎอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2521 ประเทศศรีลังกาเป็นเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าวมากที่สุดประเทศหนึ่ง มีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพียง ๑ในแสนคน เปรียบเทียบกับ ๑๘๗ ในแสนคนในประเทศที่ไม่ได้ใช้น้ำมันมะพร้าว" ดร.ณรงค์ยังกล่าวด้วยว่า "น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เนื้อมะพร้าวกับน้ำมะพร้าวลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ น้ำมันมะพร้าวเพิ่มปริมาณของ High density lipoprotein (HDL) ได้มากกว่าน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะพร้าวไม่เพิ่มอัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของไตรกลีเซอไรด์" (โปรดดู เอกสารการสัมนาที่http://www.dtam.moph.go.th/aternative/viewstory.php?id=360) ข้าพเจ้าคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเชื่อมั่นในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย แม้ว่าท่านทั้งหลายจะไม่ได้บันทึกการทดลองทางเคมี ชีวะ ไว้ให้เราศึกษา แต่อย่าลืมว่าท่านได้ใช้ร่างกายของท่านทดลองเพื่อพวกเรามานานแสนนานแล้ว

บทความเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา


ข้าพเจ้าได้คัดลอกความเห็นตอบกระทู้ของ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา มาเพื่อท่านจะได้อ่านสะดวกดังนี้ : "คนไทยใช้กะทิประกอบอาหารหวานคาวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยไม่ปรากฎว่ามีใครเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน จนกระทั่งเราเปลี่ยนมาบรโภคนำมันไม่อิ่มตัว กะทิกับน้ำมันมะพร้าว เป็นสารตัวเดียวกัน แต่อยู่ในรูปต่างกัน มีข้อดีคือ
๑. มีความอิ่มตัว ทำให้ออกซิเจน และไฮโดรเจนเข้าแทรกไม่ได้ จึงไม่เกิด trans fat และไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งและทำอันตรายต่อเซลในร่างกาย
๒. เป็นโมเลกุลขนาดกลาง จึงเคลื่อนย้ายในร่างกายได้รวดเร็ว จากกระเพาะไปลำไส้ และเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในตับ จึงไม่สะสมเป็นไขมัน ดังเช่นน้ำมันไม่อิ่มตัว
๓. มีภูมิคุ้มกันเกิดจากกรดลอริก ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกันกับนมแม่ที่ช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันโรค อีกทั้งยังทำลายเชื้อโรคแทบทุกชนิดได้
๔. มีวิตามินอี ที่มีอานุภาพช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้ามาทำลายเซล ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและโรคแห่งความเสื่อมอีกหลายโรค มีประจักษพยานมากมายจากชนชาติที่บริโภคกะทิและน้ำมันมะพร้าวมาเป็นเวลานับพันปี โดยไม่มีผู้ใดเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ
จนกระทั่งเปลี่ยนไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวภูมิปัญญาของคนไทยคือการใช้กะทิในอาหารไทย ช่วยให้ปลอดโรค ร่างกายแข็งแรง และไม่อ้วน เกือบ ๓๐ ปีมาแล้วที่เราถูกเขาหลอกให้บริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว เพราะผลประโยชน์อันมหาศาล แต่ได้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวและกะทิของเรา รวมทั้งรายได้ของชาวสวนมะพร้าว ตลอดจนต้องเสียเงินอีกมากในการสั่งซื้อน้ำมันไม่อิ่มตัวเข้ามาบริโภค และในการรักษาโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำมัน ไม่อิ่มตัวถึงเวลาแล้วที่เราจำต้องตอบโต้กับการปรักปรำกะทิ และน้ำมันมะพร้าว และรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาบริโภคกะทิ ดังที่บรรพบุรุษของเราปฏิบัติมาเป็นแล้วช้านาน"


น้ำมันหมู

“น้ำมันหมู” เป็นน้ำมันที่ได้จากธรรมชาติแท้ๆ ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) และเพิ่มระดับคลอเลสเตอรอลดี (HDL) แถมทนต่อความร้อน จึงไม่เปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นตัวร้ายก่อมะเร็งและโรคหัวใจ
แม้แต่สื่อต่างประเทศอย่าง”เดอะวอชิงตัน โพสต์”  ตีพิมพ์บทความ ระบุว่า น้ำมันหมูเป็นไขมันดี  และอย่างน้อยก็ไม่เลวร้ายเท่าไขมันทรานซ์ในมาการีนหรือน้ำมันพืช ซึ่งไขมันทรานซ์นี่แหละที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ  และ มะเร็ง  ซึ่งล่าสุดสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ ( เอฟดีเอ) ได้ประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์ เป็นส่วนผสมการผลิตอาหารเพื่อมนุษย์รับประทานแล้ว
ขณะที่ “Linda Prout” นักโภชนาการชาวสหรัฐอเมริกา เจ้าของเว็บไซต์ด้านสุขภาพ เขียนบทความ   ระบุว่า“น้ำมันหมู นอกจากจะไม่ใช่สิ่งเลวร้ายแล้ว  ยังถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่จะมาใช้ปรุงอาหารแทนน้ำมันพืชและเนย เนื่องจากน้ำมันหมูมีstearic acid ซี่งเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว ที่ช่วยลดการดูดซึมคลอเลสเตอรอล และลดระดับคลอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) ที่ทำให้เลือดไม่เหนียวข้น

น้ำมันหมู”ทำจากสัตว์จะดีกว่าน้ำมันที่ทำจากพืชได้อย่างไร
สามารถอธิบายเหตุผลง่ายๆได้ว่าเพราะ”น้ำมันหมู”  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง โดยใช้กระบวนการเจียวด้วยความร้อนเท่านั้น จึงปราศจากกระบวนการผลิตทางเคมี     ทั้งให้ความหอมสำหรับการปรุงอาหารได้ดีกว่า แตกต่างจากน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีทั้งกลั่น   ฟอกสี   และแต่งกลิ่น   และเมื่อนำมาปรุงอาหารจะเกิดการแตกตัวเป็นสารอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
                          https://roongee.com/2017/09/27/pig-oil-good/         

น้ำมันที่ใช้ทำกับข้าว

295                                   150

น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารมีขายที่ท็อปโรบินสันสุรินทร์

สุดยอดอาหารต้านโรค

 http://youtu.be/MrMosDjWSf0 ดูที่33.19

                             *********

วิธีเจียวน้ำมันหมู

ลองไปซื้อมันหมูแข็งมาสักกิโลสองกิโล พอได้มาเอาล้างน้ำให้สะอาดผึ่งให้สะเด็ดไม่งั้นมีกระเด็น นำเคล้าเกลือแต่น้อยให้ทั่วกัน เอาใบเตยหอมมาหั่นเป็นชิ้นเตรียมไว้ หาหม้อมาใบใส่มันหมูลงไปเติมน้ำสะอาดไปสักครึ่งอย่าให้ท่วมตามด้วยใบเตยที่หั่นไว้เปิดไฟกลางปิดฝาหม้อ ชั้นต้นน้ำจะค่อยๆทำให้มันหมูสุกก่อนและน้ำจะระเหยออกไปจนหมด จากนั้นน้ำมันจะเริ่มออกให้เร่งไฟขึ้นนิดแต่อย่าถึงกับแรงมากเจียวเลยไปให้สังเกตุว่าจนใบเตยกรอบนั่นแหละเป็นใช้ได้ 

วิธีเก็บน้ำมันหมู

ส่วนที่เหลือคือกากหมูสีเหลืองอร่ามสวยน่ากินเป็นที่สุด น้ำมันจะใสมีกลิ่นหอมหวลชวนกิน ทิ้งไว้ในหม้อจนเย็นเสียก่อนกรองเอาแต่น้ำมันใสใส่หม้ออีกใบเก็บเข้าตู้เย็นได้เป็นเดือนแบบจะไม่หืน เวลาใช้นำออกมาจะเป็นไขไม่ต้องห่วงกังวลพอลงกะทะก็กลับเป็นน้ำมันเหมือนเดิม

วิธีผัดข้าวผัด
          เวลาทำให้เหลือน้ำมันกับกากหมูไว้บ้างเทลงกะทะเหล็กพอร้อนใส่กระเทียมตามเจียวจนหอมตามด้วยข้าวสวยค้างคืนปรุงรสด้วยซีอิ๋วขาวกับน้ำตาลทรายแค่นั้นแหละผัดให้นัวตักใส่จานแนมด้วยต้นหอมกับแตงกวา น้ำปลาพริกขี้หนูบีบมะนาวอีกสักถ้วย ตักเข้าปากเห็นสวรรค์รำไร 

วิธีผัดกากหมูกับน้ำพริกแกงแดง

กากหมูที่เหลือเอาไปผัดกับพริกแกงแดง วิธีก็เอาน้ำมันหมูลงกะทะพอร้อนตามด้วยเครื่องแกงผัดจนหอมใส่น้ำตาลปี๊ปพอละลายหมดใส่น้ำปลาตามชิมดูให้ออกเผ็ดเค็มหวานถ้าใครชอบแนะให้ใส่ส้มมะขามเปียกไปนิดจากนั้นเอากากหมูลงคลุกให้เข้ากันปิดไฟเอาใบมะกรูดซอยละเอียดใส่ไปคลุกอีกทีเป็นเสร็จสรรพพอเย็นเอาเก็บลงกล่องเข้าตู้เย็นเก็บไว้กินยามอยาก 

วิธีผัดผัก

ถ้าจะผัดผักเอาน้ำมันหมูใหม่ๆลง กะทะเปิดไฟให้แรงๆพอร้อนตามด้วยกระเทียมสับรวมกับพริกขี้หนูสวน ใส่ผักลงไปผัดแบบเร็วๆเติมน้ำไปนิดเดาะซีอิ๋วขาวกับน้ำตาลไปอีกหน่อย รีบดับไฟผักจะกรอบอร่อย 

วิธีเจียวไข่

หากเป็นไข่เจียวให้ใช้ไข่เป็ดซอยหอมหัวแดงใส่ไปต้นหอมใส่ไปเติมน้ำไปนิดบีบน้ำมะนาวไปหน่อยตามด้วยน้ำปลาพอเค็ม น้ำมันหมูลงกะทะพอร้อนโยนกระเทียมไปเจียวตามด้วยไข่ที่ผสมแล้วทอดสองด้านให้สุกจะได้ไข่เจียวที่หอมอร่อยเหาะ

          วันนี้พักเรื่องการแพทย์แผนไทยไว้ก่อน ขอชวนคุยกันเรื่องของน้ำมันหมู ทำไมฤาก็เพราะอยากให้หันมาทำมาใช้มากินน้ำมันหมูแทนน้ำมันพืชกัน เมื่อสมัยยังเด็กเล็กจำได้ว่ามีโฆษณาทางโทรทัศน์อยู่ชิ้นหนึ่ง สำแดงขวดใส่น้ำมันหมูกับน้ำมันพืชผู้สำแดงนำเข้าตู้เย็นพอเปิดออกมามันหมูจับไขแต่มันพืชกลับใสสะอาด เท่านั้นแหละคนทั้งประเทศทิ้งน้ำมันหมูมากินน้ำมันพืช แถมไม่ต้องมาเจียวมันหมูให้กระเด็นใส่มืออีก ตามติดด้วยผลการวิจัยว่าน้ำมันหมูไม่ดีเท่าน้ำมันพืชเสมือนตอกตะปูปิดฝาโลงซ้ำ นับแต่นั้นสามสิบกว่าปีทั้งประเทศหันไปกินน้ำมันพืชกันหมดประเทศ ใครว่าจะดีจะชั่วถี่ห่างเช่นใดแนะให้ไปหาข้อมูลทางอินเตอร์เนทกันเอง ใครใคร่จะกินแบบใดก็เชิญตามสบายตามสะดวกอย่ามาว่ากัน
          แต่ที่บ้านไม่ใส่ใจโฆษณาชิ้นนั้นยังคงกินน้ำมันหมูมาจนวันนี้ไม่เปลี่ยนไปตามกระแสและทุกคนในบ้านก็ยังคงมีสุขภาพที่ดีตามอายุอันควร แถมอาหารอร่อยทำไปให้คนอื่นกินเขาว่ากันเช่นนั้นแม้ไข่เจียวธรรมดาๆคนยังชมว่าทำไมมันหอมมันอร่อยเช่นนี้ เคล็ดลับข้อหนึ่งของการทำอาหารผัดและทอด"น้ำมันหมู"เจียวเองคือคำตอบนั่นเอง ยิ่งผัดผักแม้ลืมใส่กระเทียมเจียวก็ยังหอมอร่อยเลยน้ำมันหมูเอามาทำอะไรก็อร่อยจริงแม้คนทำอาหารไม่อร่อยยังอร่อย
       
         มาเจียวน้ำมันหมูกินกันดีกว่าอร่อยกว่าน้ำมันพืชแถมยังปลอดภัยกว่าไม่มีสารโน้นนี่นั่นเพราะทำเองกับมือไม่ได้มาจากโรงงาน ทำอาหารได้อร่อยกว่าแถมยังประหยัดเงินได้อีกเพราะถูกกว่าน้ำมันพืชเป็นแน่เทียว เทน้ำมันพืชทิ้งหันมาเจียวน้ำมันหมูกินกันดีกว่า ใครใคร่ว่าน้ำมันพืชดีกว่าจริงก็ขอเชิญบริโภคตามสะดวกอย่าตำหนิกันเลย ของแบบนี้ลางเนื้อชอบลางยา จริงไหม?

"น้ำมันหมู ทำอาหารอะไรก็อร่อย" โดย แพทย์แผนไทยชื่อ คมสัน นามสกุล ทินกร ณ อยุธยา                 เป็นหมอไทยประจำที่คลินิกการแพทย์แผนไทยหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร


น้ำมะพร้าว


ถ้าร่างกายเราเหนื่อย อ่อนเพลีย ร้อนกระหาย มากินน้ำมะพร้าว ภาวะร้อนในร่างกาย มาเจอภาวะเย็น ทำให้สมดุลย ์                                         ถ้าร่างกายเราเครียดร่างกายเป็นกรด เจอน้ำมะพร้าวมีฤทธิ์ด่างทำให้สมดุลย์                          น้ำมะพร้าวมีเกลือแร่เท่ากับเกลือแร่ในร่างกาย เราออกกำลังกายเหนื่อยๆ ไม่ต้องหาซื้อน้ำเกลือแร่                                                                                           น้ำมะพร้าวมีน้ำตาล ทำให้ได้พลังงานอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกลัวน้ำตาลสูงเกินไป เพราะเป็นน้ำตาลธรรมชาติ มีผลต่อการป้องกันเบาหวาน                                                           เนื้อมะพร้าวเป็นกากใยที่ละลายน้ำได้ ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล ชลอความแก่ ช่วยลดโปรตีนเกาะสมองที่ทำให้เกิดอัลไซเมอร์ ช่วยวัยทองให้เข้าที่ดีขึ้น ช่วยลดภาวะกระดูกพรุน มีไขมันตัวดีซึ่งช่วยดูดแคลเซี่ยมได้ดี
ควรกินวันละ1ลูกทั้งเนือและน้ำ
หันมากินน้ำและเนื้อมะพร้าวกัน:หมอปุ้ม

ญาดา.น้ำมะพร้าว
https://youtu.be/G3PmbXMzoXw


น้ำมะพร้าว เคล็ดลับผิวสวย หน้าใส ด้วยคุณค่าจากธรรมชาติ 
น้ำมะพร้าว นอกจากรสชาติหวานหอมที่ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นเวลาดื่มแล้ว ยังอุดมด้วยไปแร่ธาตุจากธรรมชาติ เช่น โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ และวิตามินบี นอกจากนี้ น้ำมะพร้าวยังมีน้ำตาลกลูโคสที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษออกจากร่างกาย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาตัวช่วย เพื่อบำรุงให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ชะลอการเกิดริ้วรอยบนใบหน้าด้วยวิธีธรรมชาติ การดื่มน้ำมะพร้าว เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ 

สรรพคุณของน้ำมะพร้าว
1. ชะลออาการอัลไซเมอร์ ในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนสูง ซึ่งจะช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือความจำเสื่อมในสตรีวัยทอง นอกจากนั้นการดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำทุกวันยังช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น โดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น รวมทั้งยังช่วยให้หน้าใสขึ้นได้อีกด้วย
2. ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและขาวนวลจากภายในสู่ภายนอก เพราะในน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ที่จะทำให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย นอกจากนี้ น้ำมะพร้าวยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย คล้ายกับการทำดีท็อกซ์ จึงช่วยทำให้ผิวพรรณผ่องใส 
3. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย เนื่องจากมีปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นสูง รวมทั้งมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาความอ่อนเพลียจากอาการท้องเสียหรือท้องร่วงได้ ดังนั้นน้ำมะพร้าวจึงจัดเป็นสปอร์ตดริงก์ (Sport Drink) สามารถดื่มหลังการสูญเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้เช่นกัน

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156145002177028&id=172425057027

ถ้าคุณดื่มน้ำมะพร้าว ติดต่อกันครบ 7 วัน..สิ่งที่เกิดขึ้นมันช่างดีมากๆ

http://www.rak-sukapap.com/2016/07/7_81.html

 คุณอาจไม่รู้ว่าน้ำมะพร้าวมีโครงสร้างที่เข้ากันได้ดีกับพลาสม่าที่อยู่ในกระแสเลือดของมนุษย์เรา ยิ่งไปกว่านั้นน้ำมะพร้าวยังเคยถูกนำมาใช้ในยามสงครามเพื่อชดเชยเลือดที่สูญเสียไปและสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้อีกมากมาย

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าเราดื่มน้ำมะพร้าว?

ระบบภูมิคุ้มกันของเราก็จะแข็งแกร่งขึ้น นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคหนองใน โรคเหงือก และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด โรคติดเชื้อต่างๆ และโรคไข้รากสาดใหญ่ได้อีกด้วย นอกจากจะเสริมสร้างพลังงานแล้วน้ำมะพร้าวยังช่วยเพิ่มการผลิตฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ แถมยังดีต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตเนื่องจากมันมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะโดยธรรมชาติ


ทั้งทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะจะได้รับการชำระล้างจากนั้นร่างกายจะขับสารพิษออกมา ที่น่าทึ่งคือมันสามารถสลายก้อนนิ่วได้ด้วย และเนื่องด้วยมีปริมาณเส้นใยอาหารสูงจึงดีต่อระบบย่อยอาหาร หากคุณดื่มน้ำมะพร้าวเป็นประจำมันจะไปกำจัดกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ต้องห่วงเรื่องอ้วนด้วยเพราะน้ำมะพร้าวมีระดับไขมันที่ต่ำมากและช่วยลดความอยากอาหารของเรา

หากคุณมีสิวและผิวแห้งหรือผิวมัน เพียงใช้ผ้าชุบน้ำมะพร้าวและทาลงไปบนผิวหนัง น้ำมะพร้าวจะชำระล้างสิ่งสกปรกและทำให้ผิวหนังสดชื่น ที่สำคัญมันจะช่วยเปิดรูขุมขน หากดื่มน้ำมะพร้าวผสมกับน้ำมันมะกอกก็สามารถฆ่าเชื้อโรคและกำจัดปรสิตในลำไส้ได้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการดื่มน้ำมะพร้าวขณะตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง หากดื่มวันละหนึ่งแก้วทุกเช้าจะช่วยรักษาระดับความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์และไม่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

 ขณะเดียวกันถ้าคุณต้องการให้ผิวชุ่มชื่นและเปล่งปลั่งตลอดทั้งวัน การดื่มน้ำมะพร้าววันละแก้วก็เพียงพอแล้ว

นอกจากนี้หลังจากที่ออกกำลังกายมาอย่างเหน็ดเหนื่อยคุณสามารถดื่มน้ำมะพร้าวเพื่อให้ร่างกายของคุณกลับมามีพลังอีกครั้ง ทั้งช่วยเพิ่มพลังงาน เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันแบคทีเรียและอาการติดเชื้อต่างๆ ตามด้วยน้ำหนักลด คุณยังต้องการอะไรอีกไหม?

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : issue247.com


มหัศจรรย์! 11 สรรพคุณน้ำมะพร้าวอ่อน ประโยชน์สุขภาพเยอะเหลือเชื่อ!


sukapap.com/2016/07/11_21.html




มหัศจรรย์! 11 สรรพคุณน้ำมะพร้าวอ่อน ประโยชน์สุขภาพเยอะเหลือเชื่อ...

สรรพคุณน้ำมะพร้าวอ่อน

1.ลดไข้ วุ้นเนื้อมะพร้าวอ่อนกับน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นยาเย็น ช่วยให้อาการไข้ตัวร้อนทุเลาลง

2. แก้ร้อนใน ดื่มน้ำมะพร้าวในตอนเช้าให้หมดลุกและตอนบ่ายอีกหนึ่งลูกจนหมด กินเนื้อด้วยก็ได้

3. รักษาดีซ่าน ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนครั้งละ 3 ผล เช้า กลางวัน เย็น ทุกวันเพียง 2 วันก็หายได้

4. แก้ตาอักเสบ เอาน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ถ้วยผสมน้ำตาลทรายแดงให้หวานจัดๆเอาไว้ดื่ม วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น อาการอักเสบที่ตาจะค่อยๆหายไปเองในที่สุด

5. แก้โรคบิด ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนครั้งละ 1 ผล เช้า กลางวัน เย็น แก้โรคบิดได้ดีมาก

6. บำรุงผิวพรรรณ ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนสัปดาห์ละ 4 -5 ผล ช่วยบำรุงผิวพรรณ แก้ผดผื่นคัน บำรุงร่างกายให้สดชื่น

7. แก้ปัสสาวะขัด ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน ครั้งละ 1 ผล เช้า กลางวัน เย็น

8. แก้ปวดศีรษะ ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน ไม่ช้าไม่นานก็หายปวดหัว

9. แก้พิษเบื่อเมา ได่ดี ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ลูกไม่กินเนื้อ อีก 2 -3 ชั่วโมง ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนเย็นเข้าไปอีก แก้วิงเวียน เมา ปวดท้อง ปวดไส้ ล้างพิษที่เกิดขึ้นได้ดี

10 แก้เมาเหล้า เอาน้ำมะพร้าวอ่อน ไม่ต้องแช่เย็น ดื่อมแก้เมา แก้อาเจียน จากเหล้าได้ดี

11. แก้คลื่นไส้อาเจียน เอาน้ำมะนาว 1 ซีกบีบผสมน้ำมะพร้าวอ่อน ดื่มแก้อาเจียนได้ดี


ที่มา :https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=525365654299912&id=100004794466976
เครดิต : (ขอบคุณสรรพคุณน้ำมะพร้าวอ่อนจากหนังสือ บทบาทต่อสุขภาพและความงาม โดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา)

580913 8อ อ.นิดดา หงษ์วิวัฒน์2 


เริ่มดูที่ 43.52 นิดดา: ล้างพิษที่ป้านิดเจอด้วยตัวเองคือ ใช้น้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าวเป็นสารอีเล็คโทรไลท์เหมือนกัน สะอาดมาก ยังมีกลูโคส ซูโตส กับสารอาหารหลายอย่าง
44.06 เช้าป้านิดดื่ม 1 ลูก เที่ยง 1 ลูก เย็น 1 ลูก โดยไม่กินเนื้อมะพร้าว ระหว่างวันดื่มน้ำเปล่าด้วย ทำ 7 วัน ฟังตัวเราถ้า 3 วันพอก็พอ ป้านิดทำแล้วขับถ่ายพิษออกมาหมดเลย เช้าและเย็น(?)ใช้ดีท็อกซ์ช่วย เพราะไม่มีกากอาหาร

46.38 ป้านิด: ใช้น้ำดีท็อกซ์ 500 ซีซีเพราะกระตุ้นแค่ส่วนปลายลำไส้ให้บีบตัว
เมื่อถ่ายออกมาเป็นอุจจาระเหม็นมาก มีขาวและปลอกของเสียออกมา

หมอฟ้ารักษ์: หมอเจค็อปให้ทำ 300-400 ไม่เกิน 500 ซีซี (จากเว็บของminie

ที่ฟังบรรยายของหมอเจค็อปให้ใช้น้ำเปล่าทำ 300 ซีซี )


หมอฟ้ารักษ์: เรื่องกินน้ำมะพร้าวอีกนิด ไม่แน่ใจว่าอดได้ 7 วัน

ป้านิด: ลูกป้านิดไม่สบาย ให้อดมื้อเย็น แล้วกลางคืนนอนพัก ไม่ต้องทำงาน
รุ่งเช้าดีท็อกซ์ เขาก็หาย

55:11 เพื่อนรูมเมดของลูกป้านิดไม่สบาย ขั้นแรกเลยให้หยุดกิน ถ้าอยากกินให้กินน้ำผักผลไม้ พอ ดีท็อกซ์เช้าและเย็น  เขาไม่รู้กลัวว่าดีท็อกซ์เป็นยังไง แต่พอทำแล้วเขาสัมผัสได้ว่าสบาย ติดใจ บอกว่าเธอช่วยส่งที่สวนให้เขาได้ไหมทุกปี


ป้านิด: ลำไส้ใหญ่เรามีหลายท่อน ถ้าเรากินกากอาหารไม่เพียงพอ มันจะเกิดการไหลในลำไส้ไม่เพียงพอ ถ้ากินเนื้อสัตว์เยอะ มันจะหนืดเหมือนยางมะตอยเกาะติดลำไส้ใหญ่ได้ ภาวะการขับถ่ายไม่ได้เป็น 10 วัน ถึงจะดีท็อกซ์ก็ไม่ช่วย เพราะอุจจาระมันอยู่ข้างบน

 47:15 แต่ดีท็อกซ์มันอยู่ข้างล่าง มันไม่ออก น้ำมันละหุ่งจะช่วยได้ โดยกระแทกจากข้างบนไหลลงไป แต่เดี๋ยวนี้คนไม่กินแล้ว เขาใช้น้ำมันมะพร้าว  กินวันนี้ออกพรุ่งนี้ สบาย บางคนไวมาก กินเช้าออกเที่ยง กินเที่ยงออกเย็น

47:59 ป้านิด: พอเรากินน้ำมันเข้าไปปุ๊บ ถ้าน้ำมันเข้าไปเกิน ตับเขาจะส่งออกเลย ทางระบบเดียวคือระบบลำไส้ นั่นแหละเป็นสาเหตุว่ากินน้ำมันอะไรก็ตาม มันจะกระทุ้งออกลำไส้ใหญ่ แต่ต้องผ่านถุงน้ำดีขับออกทางลำไส้  เพราะตับส่งเข้ามาไม่ได้

หมอฟ้ารักษ์:



ปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ "น้ำมะพร้าว" ให้ฤทธิ์เย็นและลดการทำงานของไทยรอยด์ให้น้อยลง แต่"เนื้อมะพร้าว" ให้ฤทธิ์ร้อนและเพิ่มการทำงานของไทรอยด์ให้สูงขึ้น
     
        โดยทั่วไปคนตัวเย็นเกิน หรือ "หยินเกิน" พลังชีวิตน้อย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัยหรือมีภาวะเอสโตรเจนสูงเกิน ท้องผูก ปวดประจำเดือนมาก ควรหลีกเลี่ยงน้ำมะพร้าวแล้วมากินเนื้อมะพร้าวหรือกะทิแทน ส่วนที่มีภาวะร้อนเกิน ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มมีเทสโตสเตอโรนสูงเกิน หรือเป็นหญิงแต่โปเจสเตอโรนสูงเกิน หรือภาวะวัยทองขาดเอสโตรเจน ก็ควรจะดื่มมะพร้าวเป็นหลัก
     
        ส่วนคนที่สมดุลดีก็ควรกินทั้งผลทั้งน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าว ให้ทั้งความร้อนและความเย็นอย่างสมดุลกัน


*******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น