ไม้ร่ม.
(7:00)มะเร็งรักษาง่ายด้วยการกินอาหาร นุ่นเป็นมะเร็งไทรอ
ยด์ผ่านการผ่าตัด กลืนแร่ ผลข้างเคียงคือระบบร่างกายรวนไปหมด
https://youtu.be/Wv0HnXPHjLE
******************************************
กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด
คนเป็นไฮโปไทรอยด์มักได้รับการรักษาโดยการให้กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด หากกินยานี้พร้อมกับถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากถั่วเหลืองแล้วยังมีอาหารอื่นเช่น อาหารที่มีกาก หรือมีธาตุเหล็ก หรือมีแคลเซียมสูง ก็ขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน จึงควรกินยานี้ตอนท้องว่างจะดีที่สุด
บำบัดไทรอยด์เป็นพิษในแนวธรรมชาติกับนิดดา หงษ์วิวัฒน์
คนมีปัญหาต่อมไทรอยด์ซึ่งเผาผลาญได้ต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว เมื่อกินกระหล่ำปลีดิบ ดอกกระหล่ำปลีดิบ บร็อคโคลี่ดิบ จะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้ต่ำกว่าปกติลงไปอีก
พึ่งตนเอง หมอตายด้วยโรคนี้เหมือนกัน
“ในยุคที่ผู้คนเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งวิชาแพทย์ไม่มีปัญญารักษาให้หายนี้ อย่างดีที่สุดที่แพทย์จะช่วยคนไข้ได้ก็คือชี้แนะให้คนไข้เห็นว่าพวกเขาควรจะต้องใช้ชีวิตอย่างไรเท่านั้น“
หมอสันต์ ใจยอดศิลป์
*****
สาเหตุหนึ่งที่คนยุคนี้มีน้ำหนักตัวมากไม่ใช่เพียงเพราะกินอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ และเครียดเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่โรคไทรอยด์ มีด้วยกันหลายประเภท เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์เกินหรือไฮเปอร์ไทรอยด์ ฮอร์โมนไทรอยด์ขาดหรือไฮโปไทรอยด์ รวมไปถึงโรคร้ายอย่างมะเร็งไทรอยด์
มีการายงานว่า ประชากรโลกประมาณ 200 ล้านคน เคยมีอาการของโรคไทรอยด์ โรคนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอนาคต
สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม ไวรัส ความเครียด ภาวะขาดไอโอดีน และกินอาหารที่ขัดขวางการทำงานของไทรอยด์ เช่น บรอกโคลี ผักโขม และถั่วบางชนิดในปริมาณมากเกินไป
นอกจากนี้การกินไขมันตัวร้ายก็ส่งผลเสียต่อต่อมไทรอยด์เช่นกัน ผู้ร้ายหมายเลขหนึ่ง ได้แก่ ไขมันทรานส์ หรือ (trans fat) ซึ่งพบในอาหารบางประเภท เช่น มาร์การีน เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม ตลอดจนกลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดและเบเกอรี่
ไขมันทรานส์มีผลเสียกับร่างกายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับต่อมไทรอยด์ เพราะจะเข้าไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ผู้ป่วยโรคไทรอยด์จึงมีระดับคอเลสเตอรอลที่สูงกว่าคนปกติ นอกจากนี้ไขมันทรานส์ซึ่งมีกรดไขมันโมเลกุลยาว ยังไปเพิ่มไขมันในร่างกาย ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นด้วย
• Coconut Oil Therapy น้ำมันมะพร้าวถือกุญแจสำคัญ คือ กรดไขมันโมเลกุลปานกลางที่สามารถช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญในร่างกาย และช่วยให้อุณหภูมิของร่างกายอุ่นขึ้น นอกจากนี้กรดไขมันโมเลกุลปานกลางยังทำปฏิกิริยากับออกซิเจนน้อยกว่ากรดไขมันโมเลกุลสายยาว จึงไม่ทำให้เกิดฟรีแรดิคัล ซึ่งเป็นตัวการทำลายเซลล์ในร่างกายและต่อมไทรอยด์ให้เสื่อมลง
ยิ่งไปกว่านั้น วิตามินและแร่ธาตุในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ยังช่วยเยียวยาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพในผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ เพราะในน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสี วิตามินบี 2 บี 3 บี 6 บี 12 และวิตามินที่เป็นสารแอนตออกซิแดนต์อย่างวิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
• How To มีการศึกษาว่า การกินน้ำมันมะพร้าวอาจช่วยเยียวยาภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ขาดหรือไฮโปไทรอยด์ได้ โดยเป็นตัวช่วยให้เกิดกระบวนการเผาผลาญอย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มพลังงานในร่างกาย
จากประสบการณ์ของผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์พบว่า เมื่อกินน้ำมันมะพร้าวร่วมกับการควบคุมอาหารที่เหมาะสม งดอาหารจำพวกที่ผ่านกระบวนการ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถลดการใช้ยาลงได้
ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ควรเลือกกินไขมันดี เพื่อส่งเสริมให้ฮอร์โมนทำงานอย่างสมดุล ป้องกันปัญหาคอเลสเตอรอลสูง และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวด้วย
อาการของไฮโปไทรอยด์
อาการโรคไฮโปไทรอยด์ที่พบบ่อยและเป็นอุปสรรค์ของคนทำงาน คือ กินน้อย แต่น้ำหนักเพิ่ม ความคิดเฉื่อยชา ความจำเสื่อม ง่วงนอน อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ขี้หนาว นอกจากนี้อาจมีอาการตัวบวม หน้าบวม รอบตาบวม ผิวแห้ง ผมร่วง ท้องผูก มีบุตรยาก เป็นตะคริวบ่อยร่วมด้วย
http://health.haijai.com/2873/
~~~~~~~~
อาการที่จะบอกว่าเป็นไฮโปไทรอยด์ หรือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เกินไป คือ รับประทานอาหารตามปกติ ไม่ได้หิวหรือกินมาก แต่น้ำหนักกลับเพิ่ม ตัวบวม หน้าบวม เฉื่อยชาเหมือนคนขี้เกียจ อ่อนเพลีย ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้ง
ร่างกายขาดน้ำ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์ เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ อวัยวะทั้งภายในและภายนอกก็จะพากันร้อนไปหมดโดยเฉพาะตับ เมื่อร้อนจะมีผลกระทบกับต่อมไทรอยด์นี้มาก เพราะเส้นลมปราณตับที่เดินผ่านจากตับขึ้นมาที่ลำคอ เดินเรียบขนานกับลำคอไปที่คอหอยซึ่งเป็นที่ตั้งของต่อมไทรอยด์ ขึ้นไปสู่ศีรษะ เมื่อตับร้อน ก็ส่งผลกระทบต่อต่อมไทรอยด์นี้แน่นอน เหมือนถูกเผา
พลังตับ หรือลมตับจะขึ้นสู่เบื้องบน อวัยวะส่วนไหนที่อยู่ใกล้ตับ หรืออยู่เหนือตับขึ้นไป ก็จะถูกเผาให้ร้อนไปตามๆ กัน ตามที่เราจะเห็นได้ว่า “ตาเป็นประตูของตับ” ตาแดง และเมื่อศีรษะร้อน หรือปวดหัวด้านบน ก็เพราะตับร้อนนี่แหละ
หลายท่านอาจจะเถียงคอเป็นเอ็นได้ว่าดื่มน้ำเยอะ ดื่มน้ำมาก วันละ 2-3 ลิตร หรือบางท่านบอกว่าดื่มตั้ง 5 ลิตร แล้วจะมาบอกว่าขาดน้ำได้อย่างไร
ผมไม่ได้ว่าท่านดื่มน้ำน้อย แต่บอกว่า “ขาดน้ำ” ดื่มน้ำมากจริง แต่ดื่มแล้วร่างกายดูดซึมไว้ไม่ได้ เพราะเล่นดื่มครั้งละ 1-2 แก้ว หรือบางท่านดื่มทีละเป็นขวด ลำไส้เราดูดซึมรับไว้ไม่ทัน ปัสสาวะทิ้งหมด ดังที่ผมว่าเมื่อเราให้น้ำกับต้นไม้ น้ำหยดทีละหยด รากต้นไม้ดูดซึมทัน ต้นไม้ก็อยู่ได้ ไม่ขาดน้ำ แต่ถ้าเทรดลงไปเป็นถังๆ น้ำก็ไหลลงดินไปหมด ต้นไม้ดูดซึมซับไว้ไม่ทัน เปลืองน้ำ และต้นไม้ก็ขาดน้ำได้ เช่นเดียวกับคนเราถ้าดื่มน้ำมากๆ น้ำก็ไหลออกไปหมดเช่นกัน นี่คือการขาดน้ำตามที่ผมหมายความถึง
กระเพาะอาหารไม่ย่อย เมื่ออาหารที่เราทานเข้าไปไม่ย่อยแล้ว อาหารที่ว่าดีๆ นั้นก็พากันหมักเน่าเหม็น กลายเป็นถังหมักแก๊ส ที่ผลิตแก๊สพิษที่ร้อนทั้งวันทั้งคืนไม่มีเวลาพัก ธรรมชาติของความร้อนก็จะพุ่งขึ้นเบื้องบน ซึ่งก็ผ่านลำคอที่มีต่อมไทรอยด์ตั้งอยู่ ต่อมนี้ก็เลยต้องถูกไอร้อนพุ่งขึ้นจากกระเพาะอาหารและลำไส้เผาอยู่ตลอดเวลา ทุกวินาที
จาก 2 กรณีตามที่ผมว่ามา ลองหลับตานึกวาดภาพปลาที่เขานำมาย่างรมควันบนเตาถ่านอยู่ ลักษณะจะเป็นอย่างไร มันจะแห้งจนกรอบเลยใช่ไหม แล้วต่อมไทรอยด์ของเราล่ะ มันจะอึดอดทนตั้งหน้าตั้งตาทำงานอยู่ได้อย่างไร เมื่อเขาถูกย่างไฟอยู่ตลอด มันก็ต้องเพี้ยนไปหมดแหละ ว่าไหมครับ
แล้วเราจะไปมัวแต่จะใช้ยาไปบีบบังคับเขาให้ทำงานอยู่อีกได้ไหม? เขาทำไม่ไหวหรอก เขาจะทำได้หรือในเมื่อตัวเขาเองยังถูกปิ้งย่างอยู่อย่างนั้น ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด แล้วจะไปช่วยใครได้อีกเล่า ผู้ที่มีปัญหากับไทรอยด์ ลองจับคอ หลัง ไหล่ จับศีรษะท่านดูเถอะ ว่ามันร้อนขนาดไหน คอก็จะแดง ตาก็จะแดง บางท่านตาโปนออกมา ก็เพราะไอความร้อนที่ดันพุ่งขึ้นดันลูกนัยน์ตาจนโปนออก ที่ทางการแพทย์เขาว่า ความดันลูกตาสูงนั่นแหละ อะไรมันจะดันได้ล่ะถ้าไม่ใช่ลมหรือแก๊ส
วิธีการที่จะบำบัดโรคไทรอยด์ ก็ต้องลดความร้อนในร่างกาย และทำให้ระบบย่อยอาหาร ย่อยได้ดีขึ้น
1 ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเสียใหม่ รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ไม่ใช่ตื่นเช้าขึ้นมาก็ดื่มกาแฟแก้วเดียว เพื่อปลุกชีวิตให้คืนชีพ จะได้สดชื่น แล้วก็ไปรับประทานอาหารมื้อแรกเอาตอนเที่ยงวัน ร่างกายจะมีสารอาหารมาบำรุงซ่อมแซมร่างกายได้อย่างไร ควรนอนไม่เกิน 5 ทุ่ม เพื่อให้ถุงน้ำดีได้พัก และตับได้ทำงานที่ควรจะทำตามนาฬิกาชีวิต จะได้มีเรี่ยวแรงทำงานต่อไปได้
2 ต้องดื่มน้ำให้ถูกต้อง ถูกวิธี และดื่มน้ำให้พอเพียง
การดื่ม น้ำที่ถูกวิธี
- ตื่นนอนดื่ม 2-3 แก้ว ช่วยให้เลือดไม่ข้น ห่างไกลโรคหัวใจ และไล่ของเสียออกจากร่างกาย
- ระหว่างวัน แบ่งดื่มให้ได้ วันละ 1.5-2 ลิตร โดยวิธีการแบ่งดื่มครั้งละ ครึ่งแก้ว
- ก่อนและหลังอาหาร 20 นาที ไม่ควรดื่มน้ำเกินครึ่งแก้ว เพื่อรักษาความเข้มข้นของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
3 ใช้สมุนไพรช่วยย่อยอาหาร เช่น ขมิ้น หรือ ขิง รับประทานก่อนอาหารทุกมื้อ จะเป็น แบบแคปซูล เป็นลูกกลอน หรือสดๆก็ได้ แนะนำยาโรคกระเพาะ(ขมิ้นชันแคปซูล)
วิธีทาน : 2 แคปซูล ก่อนอาหารทุกมื้อ
4 ใช้สมุนไพรเพื่อลดความร้อน และช่วยสงบตับ ดับพิษร้อน โดยมากจะเป็นอาหารรสขม หรือจืด
- ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด มะระขี้นก ต้นลูกใต้ใบ ใบย่านาง รางจืด นำมาต้มกิน จะผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือใส่แคปซูลก็ได้ตามใจชอบ ต้มกินทีละอย่างเท่าที่หาได้ (ไม่ต้องหาให้ครบทุกอย่างก็ได้นะครับ)(บอระเพ็ดข้าพเจ้าผู้คัดลอกข้อความนี้กินแล้วแพ้ ท่านที่อ่านข่อความที่คัดลอกนี้ ระวังด้วย)
- ต้นซาคาโฮ้ว (เสือสามขา) นำมาต้มกินต่างน้ำก็ได้
- ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อน (ทั้งน้ำทั้งเนื้อ) ซักวันละลูก น้ำผักปั่นวันละ 2-3 แก้ว ช่วงท้องว่าง ขอให้รับประทานก่อนทานอาหารครึ่งชั่วโมง หรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง เพื่อดับพิษร้อน หรือทานเป็นมื้ออาหารเย็นโดยไม่ทานอาหารอื่นๆก็ได้ http://thai-hhc.blogspot.com/2014/01/blog-post_6.html
ไธร็อกซิน” เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมไทรอยด์ สามารถเพิ่มปริมาณความร้อนในร่างกาย ซึ่งตรงกับหน้าที่ของหยางในไต ต่อมนี้มีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตอย่างปกติสุข หากต่อมไทรอยด์นี้ทำงานผิดปกติมากหรือน้อยเกินไป จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ
http://thai-hhc.blogspot.com/2014/01/blog-post_6.html
ฮอร์โมนเป็นเสมือนสารเคมีที่สื่อสารส่งไปยังเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานอย่างปกติและสมดุล สัญญาณเตือนว่าคุณมีฮอร์โมนไม่สมดุลมีดังนี้
1. ความผิดปกติของรอบเดือน โดยปกติแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีรอบเดือนในทุกๆ 21 ถึง 35 วัน แต่หากประจำเดือนมาบ้างไม่มาบ้าง นั่นอาจหมายความว่า เรามีฮอร์โมนที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสโตรโรนเป็นตัวควบคุมเรื่องเหล่านี้ หากเราอยู่ในช่วงอายุ 40 - 50 ปีต้นๆ สาเหตุอาจเป็นเพราะเรากำลังอยู่ในช่วงหมดประจำเดือน เราควรสังเกตอาการผิดปกติของการมีประจำเดือน เช่น PCOS เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิงทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติมาบ้างไม่มาบ้าง และมีลักษณะของฮอร์โมนเพศชายสูง ทำให้มีขนดก หรือมีสิวมากกว่าผู้หญิงโดยทั่วไป ซึ่งควรรีบปรึกษาแพทย์
2. มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หากเรามีปัญหาเรื่องการนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพราะโปรเจสโตรโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากรังไข่ ซึ่งจะช่วยให้เรานอนหลับสบาย แต่หากฮอร์โมนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ จะส่งผลต่อการนอนหลับ การมีเอสโตรเจนที่ต่ำสามารถทำให้มีอาการรู้สึกวูบวาบ หนาวๆ ร้อนๆ หรือมีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน ส่งผลให้ยากต่อการนอนหลับพักผ่อน
3. เป็นสิว ปกติการมีสิวในช่วงก่อนมีประจำเดือนนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเป็นสิวอยู่เป็นประจำ และไม่หายอาจเป็นปัญหาของเรื่องฮอร์โมนแอนโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ส่งผลให้ต่อมไร้ท่อมีการทำงานผิดปกติและต่อมไขมันมีผลต่อเซลล์ของผิวหนังและรูขุมขนทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้
4. หลงๆ ลืมๆ ฮอร์โมนสามารถจะเปลี่ยนเอสโตรเจนและโปรเจสโตรโรน ทำให้มีความจำที่หลงๆ ลืมๆ ได้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่าเอสโตรเจนจะทำให้การควบคุมในสมองและสารด้านสื่อประสาทซึ่งมีผลกระทบต่อสมาธิและความจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงใกล้หมดประจำเดือนจะมีอาการหลายอย่างที่เชื่อมโยงกับระดับฮอร์โมนและต่อมไทรอยด์ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากมีปัญหาเรื่องความจำที่หลงๆ ลืมๆ
5. ปวดท้อง หากเรามีฮอร์โมนที่สูงและต่ำเกินกว่าปกติ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบการย่อยอาหารบางครั้งท้องเสีย มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือบวม และมีอาการที่รุนแรงก่อน หรืออยู่ในช่วงมีประจำเดือน ทำให้มีอาการเครียดและมีสิวด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าระดับฮอร์โมนไม่สมดุล
6. เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา หากเรามีความรู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย นั่นเป็นอาการที่เห็นได้ชัดของการมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ที่มีทำงานน้อยลงจะทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อนและพลังงานลดลง การตรวจเลือดเพื่อค้นหาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะช่วยให้เราทราบสาเหตุเพื่อรับการรักษาได้ทันเวลา
7. มีความเครียดและอารมณ์แปรปรวน นักวิจัยเชื่อว่าการลดลงของการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนจะเป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อด้านอารมณ์ ทำให้มีอาการหงุดหงิดเครียดง่าย เพราะเอสโตรเจนเป็นกุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อสมองและต่ออารมณ์ด้วย
8. มีน้ำหนักเพิ่ม เมื่อสารเอสโตรเจนมีระดับน้อยลง ทำให้มีความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ดังนั้นการมีฮอร์โมนในระดับไม่สมดุล จะส่งผลต่อระดับความหิวที่ทำให้กินมากขึ้นจนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้
9. ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะอาจมีสาเหตุมาจากหลายประการ แต่หากคุณผู้หญิงมี ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงสามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดศีรษะได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนมีประจำเดือน อาการปวดศีรษะที่เป็นประจำและเกิดขึ้นเป็นประจำในแต่ละเดือนสามารถเป็นตัวที่ระบุได้ว่าร่างกายมีฮอร์โมนในระดับที่ไม่สมดุล
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/620724
เรามักกินน้ำตาลมากเกินไป ทำให้เราสูญเสียธาตุที่สำคัญไป
การกินของหวานและน้ำอัดลมเพื่อแก้ความอ่อนเปลี้ย จะทำให้ร่างกายสูญเสียธาตุอาหารบางอย่างไป เช่น แมกนีเซี่ยมเพื่อช่วยเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน
http://www.dailymotion.com/video/xp7ibs_ดร-ออซ-เหต-ผล-5-ข-อทำให-ค-ณอ-อนเปล-ย-4mar12_shortfilms
พบหมอจิราวัชรายการพบหมอรามาเรื่องโรคธัยรอยด์
https://m.youtube.com/watch?v=OEDgyEh3iWU
หมอเขียววิเคราะห์โรคธัยรอยด์เป็นพิษและตาต้อ
คลิกดูที่นี่
https://youtu.be/vTK1PPgxw24
ข้อความที่คัดลอกมานี้เป็นประโยชน์มากจึงขออนุญาตเจ้าของเว็บเผยแพร่ให่ผู้ที่กำลังอยู่ในความทุกข์ได้รับทราบจะได้คลายความทุกข์ลงบ้าง เพราะการหาหมอจะไม่มีเวลามาอธิบายอย่างละเอียดได้ เนื่องจากคนไข้มากเหลือเกิน
การตรวจการทำงานของต่อมธัยรอยด์
การตรวจการทำงานของต่อมธัยรอยด์ หมายถึงการตรวจระดับฮอร์โมนในกระแสเลือด ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของต่อมธัยรอยด์ ฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด ์จะทำหน้าที่เผาพลาญพลังงานของร่างกาย ก่อนอื่นต้องเข้าใจการทำงานของต่อมธัยรอยด์และต่อมที่เกี่ยวข้อง
ต่อมใต้สมอง pituitary gland จะสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Thyroid stimulating hormone TSH ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ Thyroid gland สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) and T4 (thyroxine) เพื่อให้ร่างกายเผาผลาญอาหาร
หากต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปเรียก Hyperthyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 สูงแต่ TSH ต่ำ
หากต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไปเรียก Hypothyroidism ตรวจเลือดจะพบว่า T3 หรือ T4 ต่ำแต่ TSH สูง
เมื่อไรจะเจาะเลือดตรวจต่อมธัยรอยด์
เมื่อสงสัยว่าจะมีโรคของต่อมธัยรอยด์เช่นคอพอกเป็นพิษ Hyperthyroid หรือธัยรอยด์ทำงานน้อย Hypothyroidism
เพื่อประเมินการทำงานของต่อมธัยรอยด์นรายที่ได้รับการผ่าตัดหรือได้รับไอโอดีนกัมมันตรังสี
เพื่อติดตามผลการรักษา
วิธีการตรวจ
ไม่ต้องอดอาหาร
เจาะเลือดดำเพื่อนำไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์
ข้อควรระวังในการตรวจ
หากจะเจาะเลือดตรวจ thyroxine (T 4 )ต้องหยุดยาหรือการรักษาต่อมธัยรอยด์
หากจะตรวจ triiodothyronine (T 3 )ต้องหยุดยา Steroids, propranolol (Inderal), cholestyramine (Questran)
หากจะตรวจ thyroxine-binding globulin (TBG) testต้องหยุดยา Estrogens, anabolic steroids, phenytoin, และยา thyroid
หากจะตรวจ triiodothyronine resin uptake (T 3 RU) test.ต้องหยุด estrogens, androgens, phenytoin (Dilantin), salicylates, และ thyroid ฮอร์โมน
แพทย์จะตรวจอะไรบ้าง
1Thyroid stimulating hormone TSH
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง pituitary gland ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ Thyroid gland สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ค่า TSH จะขึ้นกับระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนหากต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนด้วยตัวเองค่า TSH จะต่ำ แต่หากธัยรอยด์ฮอร์โมนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนค่า TSH จะสูง
ค่า TSH ต่ำแสดงว่าต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมน T3,T4 ออกมามาก
ค่า TSH สูงแสดงว่าต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมน T3,T4 ออกมาน้อย
ค่าปกติ 0.5-5.0 mU/L.
หากค่ามากกว่า 20 mU/L แสดงว่าต่อมธัยรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างเพียงพอ
ค่าอยู่ระหว่า 15-20 mU/Lจะต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
ค่า TSH น้อยกว่า 0.3 mU/Lโดยที่มีT3 T4 สูงบ่งว่าคอพอกเป็นพิษ
2การเจาะหาระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน Total T4 (T4)
thyroxine (T 4 ) เป็นการหาธัยรอยด์ออร์โมนทั้งส่วนที่จับกับโปรตีน และส่วนที่เป็นอิสระ(ประมาณ 0.05% ของ T4 และเป็นส่วนที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย) ค่านี้จะผันแปรตามโปรตีนในร่างกาย ภาวะโรคอื่น เช่นตับแข็งหรือการใช้ยาคุม
http://www.siamhealth.net/public_html/Health/Lab_interprete/thyroid_test.htm
กินยาไทรอยด์แล้วผมร่วง
ผลข้างเคียงของยาไทรอยด์จะเป็นอย่างไรบ้างค่ะตอนนี้ผมร่วงค่ะบางทีเหมือนมีก้อนอะไรมาติดที่คอ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ตอบ
ผมร่วงไม่ใช่ผลข้างเคียงของยาฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroxin) แต่เป็นผลจากการที่ร่างกายไม่มีฮอร์โมนไทรอยด์เลี้ยงร่างกายมากพอ พูดง่ายๆว่าเป็นอาการของไฮโปไทรอยด์ (hypothyroidism) ดังนั้นเมื่อรักษาโรคของต่อมไทรอยด์แล้วมีผมร่วง ต้องรู้ว่ากำลังรักษาโรคอะไร โรคไฮโปหรือไฮเปอร์ ถ้ารักษาโรคไฮโป ก็แสดงว่าฮอร์โมนไทรอยด์ที่ให้ทดแทนนั้นขนาดยังไม่พอ ถ้ารักษาไฮเปอร์ก็แสดงว่ายาต้านไทรอยด์ที่ได้นั้นมากเกินไปจนกลายเป็นไฮโป ควรกลับไปหาหมอให้เขาตรวจประเมิน TSH และ FT4 ดูใหม่ว่าเป็นไฮโปจริงหรือไม่ จะได้แก้ไขให้ถูกจุด
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ http://visitdrsant.blogspot.com/2011/08/blog-post_08.html
บ้านหมุนมา 13 ปี
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์แนะนำทำเป็นลำดับดังนี้
4.1 กลับไปหาหมอที่รักษาไทรอยด์ให้คุณก่อน ตรวจประเมินให้แน่ใจว่าฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาปกติแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ว่าได้ลดระดับมาปกติหรือยัง ถ้ายังก็ต้องรักษาให้เข้มข้นให้ปกติก่อน เพราะตราบใดที่ฮอร์โมนไทรอยด์ไม่ปกติ จะประเมินอาการเวียนหัวว่าเกิดจากอะไรอย่างอื่นไม่ได้เลย
4.2 เมื่อไทรอยด์ (TSH, FT4) ปกติแล้ว ค่อยไปหาหมอหูคอจมูก เพื่อตรวจวินิจฉัย
ในระหว่างนี้ให้คุณดูแลตัวเองดังนี้
5.1 ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอถึงระดับหนักพอควรทุกวัน
5.2 ระวังอย่าพาตัวเองไปอยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งความสามารถในการทรงตัวเป็นอย่างสูง เช่นปีนเขา เพราะไม่รู้ว่าอาการบ้านหมุนมันจะมาเมื่อไร
5.3 หลีกเลี่ยงอาหารหรือสิ่งที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเช่น เกลือ กาแฟ บุหรี่ ชอกโกแลต แอลกอฮอล์ บริเวณที่มีเสียงดัง หรือสถานะการณ์ที่เครียด
5.4 ลดอาหารไขมันและคาร์โบไฮเดรตโดยเฉพาะของหวาน ซึ่งจะเป็นต้นเหตุให้ไขมันในเลือดสูง
5.5 ฝึกหัดการสนองตอบต่อสิ่งเร้าแบบผ่อนคลาย
5.6 กรณีที่ใช้ยากดอาการเวียนหัว (vestibulosuppressants) ควรใช้เฉพาะเมื่อมีอาการและใช้เป็นช่วงสั้นๆ ไม่แนะนำให้ใช้ติดต่อกันนานๆ เพราะจะทำให้ร่างกายเสียทักษะที่จะชดเชยความบกพร่องของหูชั้นใน เช่น ยาdiazepam [Valium], lorazepam [Ativan], alprazolam [Xanax], Betahistine (Serc)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ http://visitdrsant.blogspot.com/2011/10/13.html
ถั่วเหลืองทำให้เป็นไฮโปไทรอยด์จริงหรือไม่
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ตอบว่า “ไม่จริง” เรื่องนี้มีอยู่แง่มุมเดียว คือคนเป็นไฮโปไทรอยด์มักได้รับการรักษาโดยการให้กินฮอร์โมนไทรอยด์เป็นเม็ด หากกินยานี้พร้อมกับถั่วเหลือง ถั่วเหลืองจะขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์ นอกจากถั่วเหลืองแล้วยังมีอาหารอื่นเช่น อาหารที่มีกาก หรือมีธาตุเหล็ก หรือมีแคลเซียมสูง ก็ขัดขวางการดูดซึมฮอร์โมนไทรอยด์เช่นกัน จึงควรกินยานี้ตอนท้องว่างจะดีที่สุด ไม่มีหลักฐานใดๆบ่งชี้ว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์ที่กินยาตอนท้องว่าง จะได้รับผลเสียอื่นใดจากการกินถั่วเหลือง แปลไทยให้เป็นไทยว่าคนเป็นไฮโปไทรอยด์กินถั่วเหลืองได้ครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ http://visitdrsant.blogspot.com/2011/09/blog-post_30.html
กะหล่ำกับเต้าหู้
คนเป็น Hyper กินกะหล่ำปลีกับเต้าหู้ได้ แต่คนเป็น Hypo ห้ามกิน อาไรเงี้ย .. ..ก็เพราะกะหล่ำกับเต้าหู้เป็นอาหารประเภท goitrogens ที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เฉื่อยลง คนเป็น Hypo ไทรอยด์ก็ทำงานน้อยมากไปอยู่แล้ว ก็ไม่ควรกินพวก goitrogens เสริมเข้าไปอีก
http://thyroidstory.blogspot.com/2010/03/hyper-vs-hypo-yummies.html
โรคไฮเปอร์ไทรอยด์
งดพวกอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นสิ่งเร้าอย่างกาแฟ ชา โดยเฉพาะชาเขียว เครื่องดื่ม ชูกำลัง และแอลกอฮอล์ พริกชนิดเผ็ด เพราะพวกนี้ช่วยเพิ่มเมตาโบลิซึ่ม อาจทำให้มีอาการใจสั่นมากขึ้น หายใจติดขัด รู้สึกแน่นเหมือนมีอะไรติดคอ งดพวกหน่อไม้ฝรั่งและสาหร่าย เพราะจะมีสารขับน้ำและของเสียออกจากร่างกาย ทำให้เมตาโบลิซึ่มของร่างกายต้องเพิ่มการทำงาน
อาหารที่แนะนำให้ทาน
ควรทานอาหารที่ผ่านการปรุงแต่งน้อย เพราะอาหารจากธรรมชาติจะยังคงคุณค่าสารอาหารไว้ได้มากที่สุด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ แป้งไม่ขัดขาว พืชผักผลไม้ในท้องถิ่นตามฤดูกาล (รสไม่หวาน) โดยเฉพาะกล้วยมีสารที่ช่วยลดแล็คติด เอชิด (Lactic Acid) ช่วยลดอาการเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไทรอยด์ เนื้อปลา ตลอดจนธัญพืชนานาชนิด ทั้งนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้อาหารเป็นยา และใช้ยาเป็นอาหาร อาหารที่มีโปรตีนสูง (โดยเฉพาะจากธัญพืช) วิตามินและเกลือแร่ จากธรรมชาติเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
บทเรียนจากผู้ป่วย
สาเหตุจากไทรอยด์ก็มาจาก การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด
ครูต้อยรู้ตัวว่าบ้างานมามาก ใช้ร่างกายกับงานมาก มากเกินไป
จนเขาต้องออกอาการ เตือน แต่บางครั้งเมื่อขาดการพิจารณา แม้เตือนแล้วก็ไม่รู้ตัว อันนี้สำคัญ