วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ยาหอม
ยาหอมไทยแต่ดั้งเดิมมา
บทความโดย แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
คลินิกการแพทย์แผนไทยหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร ในเครือบริษัทภูลประสิทธิ์ จำกัด
โทร 086-378-8859
ยา-หอม แสดงว่ายานั้นต้องหอม โบราณตรงไปตรงมาแบบนี้เสมอ แล้วยานั้นหอมได้อย่างไร หอมแบบไหนทำอย่างไร และใช้อย่างไร ตำรับยาต้องประกอบด้วยสมุนไพรสองชนิดขึ้นไปเสมอ ยาหอมจึงเป็นยาไทยที่ปรุงจากเครื่องหอมหลากหลาย บางชนิดมาจากพืชบ้างสัตว์บ้างและแร่ธาตุต่างๆบ้าง มาทั้งจากต่างประเทศเรียก เครื่องหอมเทศ และมาจากถิ่นที่ของตนในที่นี้ขอเรียก เครื่องหอมไทย นำมาผสมผสานกัน ได้เครื่องหอมเป็นยา ซึ่งความหอมที่ได้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของสรรพคุณรักษาด้วย หมอไทยจึงทำยานั้นให้หอมได้เป็นการรักษาทางกลิ่นสัมผัส ในแผนไทยเรากำหนดสรรพคุณของสมุนไพรด้วยรสของสมุนไพรนั้น โดยแบ่งเป็น ๙ รส จะขอกล่าวเพียง ๒ รส คือ รสหอมร้อน และ รสหอมเย็นเมื่อนำมาทำเป็นยาหอมจะได้ยาหอม ๒ รส คือ ยาหอม ออกทางร้อน และยาหอมที่ไม่ร้อนไม่เย็น เรียก ยาหอม ออกทางสุขุม ใช้รักษาอาการทางลมที่แตกต่างกันเป็น ๒ กอง คือกองลมในไส้,นอกไส้ ใช้ยาหอม ออกทางร้อน และกองลมตีขึ้นเบื้องบน ใช้ยาหอม ออกทางสุขุม แต่ถ้าจะกล่าวโดยละเอียด ยาหอมสุขุม ยังแบ่งออกเป็น ยาหอมสุขุมร้อน และยาหอมสุขุมเย็นอีก ที่หมอไทยแบ่งออกโดยละเอียดด้วยเหตุที่ลมร้อนนั้นร้อนต่างกัน ลมจึงไปก่ออาการได้หลายตำแหน่งในร่างกาย ตามธรรมชาติของความร้อนไอร้อนที่ลอยขึ้นบนเสมอ
ยาหอม รสร้อนทำจากสมุนไพรรสหอมร้อนเป็นหลักเพื่อเข้าไปสร้างลมเพื่อกระจายลมในช่องท้องให้ออกมา อาการท้องอืดเฟ้อเรอ จุกเสียดแน่นในท้องจะลดลง ส่วนใหญ่ที่วางขายในท้องตลาดจะเป็นยาหอมรสนี้เป็นส่วนมาก
ยาหอม รสสุขุมร้อนทำจากสมุนไพรรสหอมร้อนมากกว่ารสหอมเย็น โดยสมุนไพรรสหอมเย็นต้องผ่านกรรมวิธีอบกระแจะหอมเสียก่อน แล้วนำมาผสมเข้ากัน ปรุงด้วยเครื่องหอมอีกครั้ง ไม่ใช่แค่นำมาบดแล้วผสม ใช้แก้กองลมที่ตีเข้าอกเรียก "ลมแน่นเข้าอก" ทำให้แน่นเสียดในอก ขึ้นถึงคอเรียก"ลมจุกคอ" กลืนไม่เข้า คายไม่ออก
ยาหอม รสสุขุมเย็นทำโดยนำกระแจะหอมมาผสมกับน้ำกระสายยาที่มีรสหอมเย็นเพื่อให้หอมเย็นมากยิ่งขึ้นถึงจะนำไปผสมกับสมุนไพรรสหอมร้อน ใช้แก้กองลมร้อนตีขึ้นเบื้องสูง มึนหัว เวียนหัว หน้ามืดตาลาย คล้ายจะเป็นลม คลื่นไส้ผะผืดผะอม ทรงตัวไม่อยู่โคลงเคลงไปมา ปวดลมปะกัง ลมปะกังออกตา(ปวดเบ้าตา ตาร้อนผ่าว ตาแดง ตาแห้ง ความดันออกตา)
ยาหอมรสร้อนทำเพียงบดผสมเข้ากัน แล้วปรุงพิมเสนเพิ่มเท่านั้น แต่ยาหอมรสสุขุมออกร้อน และรสสุขุมออกเย็นต้องผ่านกรรมวิธีปรุงอบกระแจะหอมเสียก่อน แล้วถึงจะนำไปผสมกับเครื่องหอม อันประกอบไปด้วย ชมดเช็ด/ชมดเชียง/อำพันทอง/อำพันขี้ปลา/พิมเสนในปล้องไม้ไผ่/หญ้าฝรั่น เป็นต้น ยาหอมรสร้อนจึงใช้เพียงแก้ลมในไส้,นอกไส้ ควรใช้ยาหอมแก้ให้ถูกกับกองลมที่เกิดอาการจึงได้ผลดีกว่า
ขอแยกอาการตามกองลมที่เกิด และการใช้ยาหอมตามรสของยาดังนี้
๑ กองลมในไส้-นอกไส้ ท้องอืดเฟ้อเรอแน่นจุกเสียดในท้อง ยาหอมรสร้อน
๒ กองลมตีขึ้นบนแค่อกคอ แน่นหน้าอก จุกคอกลืนไม่เข้าไม่ออก ยาหอมสุขุมร้อน
๓ กองลมตีขึ้นถึงศีรษะ เวียน/มึน/หนักๆในหัว,ปวดหัว,เป็นลม ยาหอมสุขุมเย็น
ยาหอมเป็นยาสามัญประจำบ้านมาแต่โบราณ ใช้บรรเทามิได้รักษา และเมื่อบรรเทาแล้วต้องพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป ขอยกตัวอย่างยาหอมในบัญชียาหลักแห่งชาติและวิธีการวางยาให้ถูกต้องดังนี้
ยาหอมรสร้อน-สุขุม (ยาหอมนวโกฏ)
สรรพคุณ แก้ลมอันเกิดแต่กำเดา(ไอแห่งความร้อน) ที่ทำให้ท้องเต็มไปด้วยลม อืด/เฟ้อ/เรอบ่อย ลดอาการผะอืดผะอม เพิ่มลมเบ่งอุจจาระสำหรับอาการท้องผูกจากลมเบ่งหย่อน
ยาหอมรสสุขุม-ร้อน (ยาหอมทิพโอสถ)
สรรพคุณ แก้กองลมแน่นเข้าอก จุกเสียดในอก แก้กองลมจุกเข้าคอ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ยาหอมรสสุขุม-เย็น (ยาหอมเทพจิตร)
สรรพคุณ แก้กองลมเสียดราวข้าง แก้กองลมที่ตีขึ้นเบื้องบนทำให้ หน้ามืดตาลาย วิงเวียน ตามัวตาพร่าตาฝ้าลมออกตา ลมปะกัง หนักๆมึนๆในศีรษะ
ใช้ยาหอม ภูมิปัญญาแห่งบรรพชนไทยให้ถูกต้องไม่ใช่เป็นลมหน้ามืดแต่ไปใช้ยาหอมรสร้อน สุขุมร้อนหรือท้องอืดเฟ้อ แต่ไปใช้ยาหอมสุขุม แล้วบอกว่าไม่ดีไม่เห็นหาย ก็ใช้ผิดจะไปหายได้อย่างไร แต่เมื่อรู้แล้วใช้ให้ถูกต้องแล้วบอกผู้อื่นเป็นความรู้ต่อไป มีข้อเพิ่มเติมอีกนิดว่า ถ้ามีอาการลมขึ้นบนบ่อยๆให้ทานยาเขียว/ยาขม ร่วมด้วยจะทุเลาหายเร็วขึ้น เพราะยาเขียว/ยาขมเป็นยาเย็น ผ่อนร้อนภายใน ไฟหายลมสงบ
แต่หากจะรักษากองลมไม่ให้มากไป-น้อยไป โบราณใช้น้ำกระสายยาช่วยลดบรรเทาดังนี้
น้ำกระสายยาลดความร้อนภายใน(เย็น)
- ส่วนประกอบ ดอกไม้หอม(แล้วแต่หาได้)เช่น มะลิ,กระดังงา,กุหลาบ เป็นต้น คำฝอย,คำไทยมีขายในรูปแบบชาชง ชาเขียว,ใบบัวบก ผลไม้เย็นเช่น สตอเบอรี่,มังคุด,เงาะ เป็นต้น
- วิธีทำ นำทั้งหมดลงต้ม ยกเว้นดอกไม้ใส่ภายหลัง แล้วกรองปล่อยให้เย็น เติมน้ำใบเตยคั้น ปรุงรสเปรี้ยวหวาน
- วิธีใช้ กินอุณหภูมิปกติ ดื่มแทนน้ำได้ ช่วยผ่อนร้อนให้เย็นแบบสุขุมนุ่มนวล
น้ำกระสายยาลดลมภายใน(ร้อน)
- ส่วนประกอบ ขิง/ใบสะระแหน่/ตะไคร้แกง/ลำไยแห้ง/
- วิธีทำ นำทั้งหมดลงต้ม แล้วกรอง ปรุงรสหวานนิดเปรี้ยวหน่อยพออร่อย
- วิธีใช้ กินอุณหภูมิปกติ ดื่มแทนน้ำ หลังอาหารยิ่งดี ช่วยย่อยขับลม ลดอืดเฟ้อแต่ไม่เรอ
ลมมากินอาหารรสร้อนพร้อมน้ำกระสายยาร้อนต่างน้ำ ร้อนมากินอาหารรสเย็นพร้อมน้ำกระสายยารสเย็นต่างน้ำ โบราณใช้รักษาลมไม่ให้เป็นลม ไม่เกิดลมสวิงสวายทำให้กระสับกระส่าย นี่แหละภูมิปัญญาจากคนโบราณสำหรับคนเดี๋ยวนี้ ทำเองทำได้ไม่ป่วย
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10210973547929001&id=1663058808
นอน
หมอแอมป์
ท่านอนผู้ที่มีอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูก
**************
นอนไม่พอ
หลวงปู่สอนเรื่องนอนเป็นเวลา(~สร้างภูมิต้านทานโรค) หลวงปู่5ทุ่มต้องนอน ตี3ตื่น เลย5ทุ่ม ไม่นอน หมดเวลานอนแล้ว ยังไม่ถึง5ทุ่มก็ย่างไป ยาง(~เหงื่อ)ออก
จ.2เม.ย61
************************พระพุทธเจ้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี
ด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลา กลางวัน
พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม(18-22น.) ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วย การเดิน การนั่ง
ในตอนมัชฌิมยามแห่งราตรี (22-02น.)ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา
ซ้อน เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา(ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น)
พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี(02-06น). ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง
ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่า ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้น อาสวะทั้งหลาย ฯ
http://oknation.nationtv.tv/blog/watlayan/2016/04/03/entry-1
ท่านอนตะแคงขวาของพระพุทธเจ้าเรียกว่า “ท่าสีหไสยาสน์” โดยจะบรรทมอยู่ในท่าตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนยแล้วมีพระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ด้านข้าง ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางทาบไปตามพระวรกาย และพระบาททั้งสองตั้งเรียงซ้อนกัน เชื่อกันว่าท่านอนเช่นนี้เป็นท่านอนของราชสีห์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและความสง่างามอยู่ในท่วงท่า นอนด้วยกิริยาอันสำรวมในท่าตะแคงตัวด้านขวา เก็บเท้าทั้งสี่เข้าหาตัว กำหนดลมหายใจเข้าออกให้หลับและตื่นอย่างมีสติอยู่เสมอ
นอกจากจะเป็นท่านอนที่ทำให้ร่างกายอยู่ในอิริยาบถสำรวมและมีสติสัมปชัญญะแล้ว ยังเชื่อว่าท่านอนตะแคงขวาเป็นท่าที่ได้ยินเสียงหัวใจเต้นในจังหวะที่เบาที่สุด ทำให้มีสมาธิในการนอนมากที่สุด แต่เป็นการนอนหลับที่รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา สามารถตื่นได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ หากนอนตะแคงซ้าย หูจะตรงกับตำแหน่งหัวใจ ทำให้ได้ยินเสียงหัวใจเต้นอย่างแจ่มชัด รวมถึงท่านอนหงายก็ได้ยินเสียงหัวใจเต้นดังไม่ต่างกัน
ด้วยเหตุนี้ การใช้ท่าสีหไสยาสน์เป็นท่าปรินิพพานนั้น จึงมีความหมายแฝงถึงการหลุดพ้นจากความทุกข์ ไม่ต้องทนฟังเสียหัวใจเต้นดังจนนอนไม่หลับ และเป็นท่าที่สะท้อนการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง ไม่สุดโต่งเกินไปเมื่อเปรียบกับท่านอนตะแคงซ้ายหรือท่านอนหงาย ส่งผลให้หลับสบายตามที่ปรารถนา และพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังสอนภิกษุให้นอนท่านี้เช่นกันหลังจากบำเพ็ญเพียรมาอย่างยาวนาน
https://www.ch3thailand.com/news/scoop/13711
การนอนแบบคนทั่วไปนั้น มักจะหลับๆตื่นๆ บ้าง ฝันบ้าง ทำให้ตื่นมา มักจะรู้สึกเพลียๆ มึนงง เบลอๆ นอนไม่เต็มอิ่ม นั่นเป็นเพราะว่าขณะเรานอนหลับนั้นจิตของเรายังปรุงแต่ง เกิดเป็นความฝันเรื่องราวต่างๆมากมายทำให้สมองพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ การจัดระเบียบในสมองก็ทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
การนอน(พักผ่อนสมอง)ที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือรูปแบบการนอน พักผ่อนด้วยการเจริญสติ มีสติรู้ตัวทุกขณะ คลื่นสมองจะมีระเบียบมากที่สุด ได้แก่ การพักผ่อนของพระพุทธเจ้าที่ ทรงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา ที่เรียกว่า พุทธไสยาสน์ หรือ คถาคตไสยาสน์ ไสยา(นอน)
(อัง.7มค.63ได้นอนตะแคงขวา หลับสนิทดี)
นอนแบบ“สีหไสยาสน์”
นอนด้วยท่าทางสงบ นอนตะแคงขวาเพื่อไม่ให้บีบทับหัวใจมากเกินไป มือขวาวางหงายไว้บนหมอนข้างแก้มขวา มือซ้ายวางราบไปตามลำตัว ขาขวาวางเหยียดไปแบบธรรมชาติไม่ต้องเกร็งให้ตรงเกินไป โคนขาซ้ายทับขาขวาอย่างพอเหมาะ เข่าซ้ายพับงอเล็กน้อย ปลายเท้าซ้ายวางลาดตํ่าไว้หลังเท้าขวา เป็นการช่วยพยุงร่างให้ทรงตัวในท่านอนได้นาน
ที่มา ; http://www.watpitchvipassana.com/purity-dhamma-34-sleeping.html
กุศโลบายการวางเท้าเหลื่อมเท้า
เหตุที่วางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก
มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา
สีหไสยาสน์ สอดคล้องกับการแพทย์ปัจจุบัน
แพทย์ศิริราช แนะท่านอนที่ทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาสดชื่น “นอนตะแคงขวา” ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก บรรเทาอาการปวดหลัง ส่วนผู้ถนัดนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดที่ลิ้นปี่ แนะกอดหมอนข้างพร้อมพาดขา ป้องกันขาชาจากการนอนทับเป็นเวลานาน
นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1 ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน
การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย
สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่นๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร
ท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ
เห็นได้ว่าการนอนในท่าสีหไสยาสน์นี้ จะมีคุณอเนกประการแก่ผู้ที่ตรากตรำทำงานอย่างเคร่งเครียด เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องดูหนังสือสอบ รวมทั้งนักบริหารทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายลองสำเร็จการนอนแบบสีหไสยาสน์แล้วจะพบว่าเมื่อตื่นขึ้นมาท่านจะทำงานต่อไปได้อย่างสดชื่น และจะรู้ว่าจิตนี้อัศจรรย์จริง
แต่ที่แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะนอนท่าไหน หากสบายและทำให้พักผ่อนได้สนิท และยิ่งหากผู้นอนมีสติกำกับ ก็ถือว่าเป็นกุศลแด่ผู้ที่สามารถดำรงสติในทุกอิริยาบถนั่นเอง
**********************
2:28 อย่านอนดึก ความจำผูกพันกับการนอน เมื่อไหร่ที่เรานอนไม่ดี หรืออดนอน ความจำเราจะหายทันที
กินโกโก้2ชต.ไม่ใส่น้ำตาลจะขม ให้ใส่นมสดพร่องมันเนย จะทำให้ดื่มง่ายขึ้น
หมอนิพนธ์ พวงวรินทร์.หมอสมองร.พศิริราช
https://youtu.be/eyuoW0RfHFc
วิธีการชงโกโก้งกับน้ำอุ่นไม่ใส่นม ไม่ค่อยอร่อย
https://youtu.be/KlBElZ4QAgo
4:53 ไม่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก
เพราะเป็นทิศคนตาย
ความจริงทิศตะวันตก เป็นทิศที่แดดส่องตอนบ่าย
มันก็ดูดซึมดูดซับความร้อนของดวงอาทิตย์เอาไว้ อยู่ในอิฐหินดินทราย
แล้วก็คายออกมายามค่ำคืน เพราะฉะนั้นคนที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตก
มันก็จะร้อนรุ่มกลุ้มกายา
โอปป้า
โอปป้า
**********************
**********************
ออกกำลังค่อนข้างเยอะ...พักผ่อนน้อย
ถามถึงเรื่องพี่อ๊อฟ พงษ์พัฒน์? ใช่ค่ะ อยู่ในกองถ่ายแต่ไม่ได้ในเหตุการณ์ตอนที่พี่อ๊อฟล้มค่ะ เบลถ่ายตั้งแต่ฉากแรก พี่อ๊อฟก็มาบรีฟตามปกติ ก็บ่นว่าปวดคออะไรนิดหน่อย เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว ก็คิดว่าไม่สบาย ก็นั่งง่อมกัน 2 คนเพราะเบลก็ไม่สบายเหมือนกัน
...พี่อ๊อฟเป็นคนแข็งแรงมาก และออกกำลังค่อนข้างเยอะ แต่เท่าที่คุยว่าน่าจะเป็นเพราะว่าพักผ่อนน้อย
อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1359113#cxrecs_s
คนที่นอนไม่เกิน5ทุ่ม จะได้รับโกรธฮอร์โมน คือสารที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน จะรู้สึกสดชื่น ดีกว่าคนที่นอน2ยาม เพราะวงหลังๆ ร่างกายจะผลิตโกรธฮอร์โมนออกมาน้อย ก็จะได้นอน แต่ร่างกายไม่ได้ซ่อมแซม
นอนกลางวันสักครึ่งชม.ช่วง13-16:00 จะเท่ากับนอนกลางคืน4ชม.
(หลวงปู่นอน5ทุ่ม ตื่นตี3)
หมอแอมป์ https://youtu.be/TAOQq5DxHIg
**********************
ท่านอนผู้ที่มีอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูก
ผู้ที่มีอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกแตกหรือปลิ้นใหม่ๆ
นอกจากการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์แล้ว
ควรนอนคว่ำหรือนอนตะแคงเอาข้างที่ปวดขึ้น
เชื่อกันว่าหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาอาจกลับเข้าสู่ที่เดิมได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก
http://www.pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=192
**********************
นอนกรนhttps://youtu.be/WDmLpGl6ewE
***********
นอนอย่างไร นอนท่าไหนดี
โรคนอนเร็วตื่นเร็วแล้วตาค้าง (ASPS)
เรียนคุณหมอสันต์
ปัจุบันดิฉันอายุ 70 ปี ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ดิฉันมีอาการนอนไม่ค่อยหลับมาตลอด แต่ละคืนจะนอนได้ประมาณ 2-3 ชม. คือตอนหัวค่ำจะง่วงนอนเร็ว ราวๆ 2 ทุ่มก็จะเริ่มง่วง ดิฉันเช้านอนเวลา 3 ทุ่ม ราวๆเที่ยงคืนก็ตื่น แล้วก็ไม่ยอมหลับอีกเลยจนเช้า ช่วงกลางวันก็ไม่หลับ ตอนนี้สุขภาพอ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ใจจริงแล้วดิฉันไม่อยากพึ่งยานอนหลับเลย เพราะมีแต่คนบอกว่าเริ่มใช้แล้วก็มักต้องเพิ่มขนาดยาขึ้นเรื่อยๆ
หมอสันต์ตอบวิธีรักษามาตรฐานคือให้ออกไปเดินกลางแดดจัดๆตอนบ่ายแก่ๆเย็นๆทุกวัน เดินนานๆจนทนร้อนไม่ไหวหรือหมดแรงโน่นแหละ เพราะแดดจะเป็นตัวจัดรอบกลางวันกลางคือให้นาฬิกาในสมองให้เดินตรงกับตะวัน
เข้านอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา จัดชีวิตทั้งวันให้เป็นเวลา เมื่อไรทานอาหาร เมื่อไรทานยา เมื่อไรออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายคุ้นเคย
ตื่นแล้วตื่นเลยอย่านอนอ้อยอิ่งอยู่บนเตียง
หลีกเลี่ยงการงีบตอนกลางวัน ตกบ่ายถ้าถ่านอ่อนมากไปต่อไม่ไหวให้งีบแป๊บเดียวและอย่างีบหลัง 15.00 น.
ปรับสภาพห้องนอนให้น่านอน ก่อนนอนจัดแสงให้นุ่ม นอนแล้วปิดไฟให้มืดสนิท ห้องนอนต้องเงียบ ต้องเย็น ต้องระบายอากาศดี และใช้เป็นที่นอนอย่างเดียว ห้ามใช้ห้องนอนทำอย่างอื่นเช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ กินของว่าง เล่นไพ่ คิดโน่นคิดนี่
ก่อนนอนสัก 30 นาที ให้ทำอะไรให้ช้าลงแบบโสลว์ดาวน์ พักผ่อนอิริยาบถ ทั้งร่างกาย จิตใจ สวมชุดนอน ฟังเพลงเบาๆ หรืออ่านหนังสืออ่านเล่าเบาๆ
อย่าดูทีวีโปรแกรมหนักๆหรือตื่นเต้นก่อนนอน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นจิตใจ อารมณ์ หรือร่างกายก่อนนอน ไม่คุยเรื่องเครียด ไม่ออกกำลังกายหนักๆก่อนนอน ไม่ทานอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน แต่ก็อย่าถึงกับเข้านอนทั้งๆที่รู้สึกหิว ถ้าหิวให้ดื่มหรือทานอะไรเบาๆ
หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหลังเที่ยงวัน หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ก่อนนอน 6 ชั่วโมง ไม่สูบบุหรี่ก่อนนอน
ออกกำลังกายทุกวัน ถ้าเลือกเวลาได้ ออกกำลังกายตอนบ่ายหรือเย็นดีที่สุด แต่ไม่ควรให้ค่ำเกิน 19.00 น.
หากนอนไม่หลับอย่าบังคับตัวเองให้หลับ ถ้าหลับไม่ได้ใน 15-30 นาทีให้ลุกขึ้นมาทำอะไรที่ผ่อนคลายเช่นอ่านหนังสือในห้องที่แสงไม่จ้ามาก หรือดูทีวีที่รายการที่ผ่อนคลาย จนกว่าจะรู้สึกง่วงใหม่ อย่าเฝ้าแต่มองนาฬิกาแล้วกังวลว่าพรุ่งนี้จะแย่ขนาดไหนถ้าคืนนี้นอนไม่หลับ
การใช้ยานอนหลับให้ปลอดภัย คืือ
1. ไม่ใช้ดีที่สุด2. ถ้าต้องใช้ให้เริ่มขนาดต่ำที่สุดที่พอให้ผล3. ทานยาแบบทานๆหยุดๆ ไม่ทานทุกวัน4. เวลาจะเลิกยาต้องค่อยๆเลิก ไม่ใช่หยุดปึ๊ด5. ไม่ใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 4 สัปดาห์
นี่เป็นหลักการที่วงการแพทย์แนะนำไว้นะครับ เป็นเรื่องตามทฤษฏี แต่ตามปฏิบัติแพทย์อาจจะให้ยาแล้วลืมหยุด คุณต้องเตือนท่านว่าได้ยานอนหลับมานานเท่าไหร่แล้ว ท่านจะได้ไม่เผลอให้เพลิน
ลองคำแนะนำของหมอสันต์ดูบ้างไหม คือผมแนะนำให้นั่งสมาธิทุกวัน นั่งสมาธิแบบไหนก็ได้ แบบตามดูลมหายใจทำได้ง่ายที่สุด นั่งสมาธิไปจนความคิดหมดเกลี้ยง แล้วจึงค่อยเข้านอน
ถ้าตื่นมาแล้วตาค้างคิดโน่นคิดนี่ก็อย่านอนใจลอย ให้ลุกขึ้นนั่งขัดสมาธิตามดูลมหายใจให้เป็นเรื่องเป็นราว จนความคิดหมดแล้วจึงล้มตัวลงนอน
พอนอนแล้วยังมีความคิดก็ลุกขึ้นมานั่งสมาธิจนความคิดหมดอีก
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
http://visitdrsant.blogspot.com/2017/12/asps.html
การนอน(พักผ่อนสมอง)ที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือรูปแบบการนอน พักผ่อนด้วยการเจริญสติ มีสติรู้ตัวทุกขณะ คลื่นสมองจะมีระเบียบมากที่สุด ได้แก่ การพักผ่อนของพระพุทธเจ้าที่ ทรงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา ที่เรียกว่า พุทธไสยาสน์ หรือ คถาคตไสยาสน์
ดังมีปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 21 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ว่าด้วยไสยา(การนอน) 4 อย่างว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตไสยาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่าตถาคตไสยา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้แล ฯ
ปัจุบันดิฉันอายุ 70 ปี ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ดิฉันมีอาการนอนไม่ค่อยหลับมาตลอด แต่ละคืนจะนอนได้ประมาณ 2-3 ชม. คือตอนหัวค่ำจะง่วงนอนเร็ว ราวๆ 2 ทุ่มก็จะเริ่มง่วง ดิฉันเช้านอนเวลา 3 ทุ่ม ราวๆเที่ยงคืนก็ตื่น แล้วก็ไม่ยอมหลับอีกเลยจนเช้า ช่วงกลางวันก็ไม่หลับ ตอนนี้สุขภาพอ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ใจจริงแล้วดิฉันไม่อยากพึ่งยานอนหลับเลย เพราะมีแต่คนบอกว่าเริ่มใช้แล้วก็มักต้องเพิ่มขนาดยาขึ้นเรื่อยๆ
หมอสันต์ตอบ
ไสยาสน์การนอน ๔
๑. กามโภคีไสยาสน์ การนอนของบุคคลผู้บริโภคกามคุณ (คือนอนตะแคงข้างซ้าย)
ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
๒. เปตไสยาสน์ การนอนของเปรต (คือนอนหงาย)
สัตว์ที่เกิดในปิตติวิสัย ชื่อว่าเปรต. เปรตเหล่านั้น เพราะมีเนื้อและเลือดน้อย มีกระดูกขึ้นระเกะ
ระกะ ไม่สามารถจะนอนตะแคงได้ จึงได้แต่นอนหงายท่าเดียว
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2009/12/Y8612861/Y8612861.html
ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
๓. สีหไสยาสน์ การนอนของราชสีห์ (คือนอนตะแคงข้างขวา)
สีหมิคราช เพราะเป็นสัตว์มีอำนาจมาก วางสองเท้าหน้าไว้ที่เท้าหลังแห่งหนึ่ง สอดหางไว้ในระหว่าง
ขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้า เท้าหลังและหางวางอยู่ ทอดศีรษะลงบนเท้าหน้าทั้งสองแล้วนอนตลอด
วัน เมื่อนอนหลับตื่นขึ้นก็ไม่สะดุ้งตื่น แต่ผงกศีรษะขึ้นสังเกตโอกาสที่เท้าหน้าเป็นต้นวางอยู่ หาก
เคลื่อนที่ไรๆ ไป (ไม่อยู่อย่างเดิม) ก็ไม่พอใจว่า นี้ไม่สมควรแก่ชาติตระกูลของเจ้าไม่สมควรแก่
ความเป็นผู้กล้าหาญดังนี้ จึงนอนในที่นั้นต่อไม่ออกไปแสวงหาอาหาร.
แต่เมื่ออะไรๆ ไม่เคลื่อนที่ไป สีหมิคราชจึงยินดีว่า นี้สมควรแก่ชาติตระกูลของเจ้าและ
สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญของเจ้า แล้วลุกจากที่นั้นบิดกายสลัดสร้อยคอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง
แล้วจึงออกหาอาหาร
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2009/12/Y8612861/Y8612861.html
ครูบาพรหมจักรนอนสีหไสยาสน์
๔. ตถาคตไสยาสน์ การบรรทมของพระตถาคตเจ้า (ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา)
ภาพ : พระพุทธรูปปางไสยาสน์
http://www.sarapee.ac.th/www/index.php/2011-02-25-06-11-42/662-2011-03-01-04-43-14
พุทธไสยาสน์ หรือ คถาคตไสยาสน์ พระตถาคต ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีพระสติสัมปชัญญะในการบรรทม บางท่านเรียกว่า "จตุตถไสยาสน์"
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2009/12/Y8612861/Y8612861.html
http://www.sarapee.ac.th/www/index.php/2011-02-25-06-11-42/662-2011-03-01-04-43-14
วิธีการนอนแบบพระพุทธเจ้าที่ทรงแนะนำพระภิกษุ
-- โดยพระพุทธเจ้าทรงพักผ่อนพระวรกายในส่วนสมอง ขณะสำเร็จสีหไสยาเพียงวันละ 4 ชั่วโมง -- พระองค์ทรงแนะนำให้ ภิกษุนอนวันละ 4 ชั่วโมง และนอนด้วยการสำเร็จสีหไสยาสน์ มีสติสัมปชัญญะและทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี -- กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยาม (อีก 4 ชั่วโมง) แห่งราตรี -- นั่นคือก่อนจะนอนภิกษุต้องตั้งสติ คือตั้งใจไว้ก่อนว่า นอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
-- โดยพระพุทธเจ้าทรงพักผ่อนพระวรกายในส่วนสมอง ขณะสำเร็จสีหไสยาเพียงวันละ 4 ชั่วโมง
นอนแบบ“สีหไสยาสน์”
นอนด้วยท่าทางสงบ นอนตะแคงขวาเพื่อไม่ให้บีบทับหัวใจมากเกินไป มือขวาวางหงายไว้บนหมอนข้างแก้มขวา มือซ้ายวางราบไปตามลำตัว ขาขวาวางเหยียดไปแบบธรรมชาติไม่ต้องเกร็งให้ตรงเกินไป โคนขาซ้ายทับขาขวาอย่างพอเหมาะ เข่าซ้ายพับงอเล็กน้อย ปลายเท้าซ้ายวางลาดตํ่าไว้หลังเท้าขวา เป็นการช่วยพยุงร่างให้ทรงตัวในท่านอนได้นาน
https://www.google.co.th/search?q=สีหไสยา+&client=tablet-android-asus&sourceid=chrome-mobile&ie=UTF-8#imgrc=8Y51hB87UvDIwM:&xxri=5
ที่มา ; http://www.watpitchvipassana.com/purity-dhamma-34-sleeping.html
กุศโลบายการวางเท้าเหลื่อมเท้า เหตุที่วางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา
https://www.google.co.th/search?q=สีหไสยา+&client=tablet-android-asus&sourceid=chrome-mobile&ie=UTF-8#imgrc=8Y51hB87UvDIwM:&xxri=5
กุศโลบายการวางเท้าเหลื่อมเท้า
สีหไสยาสน์ สอดคล้องกับการแพทย์ปัจจุบัน
แพทย์ศิริราช แนะท่านอนที่ทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาสดชื่น “นอนตะแคงขวา” ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก บรรเทาอาการปวดหลัง ส่วนผู้ถนัดนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดที่ลิ้นปี่ แนะกอดหมอนข้างพร้อมพาดขา ป้องกันขาชาจากการนอนทับเป็นเวลานาน
นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1 ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน
การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย
สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่นๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร
ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock ท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ
เห็นได้ว่าการนอนในท่าสีหไสยาสน์นี้ จะมีคุณอเนกประการแก่ผู้ที่ตรากตรำทำงานอย่างเคร่งเครียด เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องดูหนังสือสอบ รวมทั้งนักบริหารทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายลองสำเร็จการนอนแบบสีหไสยาสน์แล้วจะพบว่าเมื่อตื่นขึ้นมาท่านจะทำงานต่อไปได้อย่างสดชื่น และจะรู้ว่าจิตนี้อัศจรรย์จริง
ต้นฉบับ
นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่นๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ต้นฉบับ
**************
อย่าย้ายห้องนอนหนีบันได
คุณหมอสันต์ที่นับถือ 09 พฤษภาคม 2560
...................................
ตอบครับ
1. ความเชื่อที่ว่าการให้ผู้สูงอายุใช้บันไดจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการตกบันไดแข้งขาหักมากขึ้นกว่าเมื่ออยู่บนพื้นราบ เป็นความเชื่อที่ผิดความเป็นจริงอย่างแน่นอน ความเป็นจริงนั้นเป็นไปในทางตรงกันข้าม การทบทวนงานวิจัยเปรียบเทียบรูปแบบของกิจกรรมและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่ส่งผลลดความเสี่ยงของการลื่นตกหกล้มรวมทั้งสิ้นห้างานวิจัย ครอบคลุมผู้สูงอายุที่เข้าร่วมวิจัย 660 คน พบว่ากิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่ลดการลื่นตกหกล้มได้มากถึงครึ่งหนึ่งคือการควบการออกกำลังกายแบบใช้บันได และการออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารเวชศาสตร์การกีฬาอังกฤษ ถือเป็นหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้อย่างแรงว่าผู้สูงอายุอย่าหนีบันได แต่ให้เข้าหาบันไดและใช้บันไดแยะๆ เพียงแต่ว่าให้ใช้ให้เป็น
ผมเคยพูดถึงการออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว ไปหลายครั้งแล้ว (https://www.youtube.com/watch?v=VYgkhDxonu8) และเคยพูดถึงการใช้บันไดฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพื่อรักษาปวดเข่า (https://www.youtube.com/watch?v=hr8PsRcrDwE&t=14s) ไปบ้าง
แต่วันนี้จะขอพูดถึงการใช้บันไดเป็นที่ฝึกร่างกายทุกรูปแบบ กล่าวคือสำหรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ดีที่สุดไม่มีอะไรเกินบันไดบ้านของตัวเอง เมื่อปีก่อนมีนายทุนคนหนึ่งมาปรึกษาผมว่าอยากจะทำโรงยิมสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ผมบอกเขาว่าผู้สูงอายุทุกคนมียิมชั้นดีอยู่ในบ้านเขาเองแล้วนะ คุณจะสู้ยิมชั้นดีของเขาเองได้หรือ คือบันไดบ้านของเขาไง เพราะบันไดมันใช้ฝึกร่างกายของผู้สูงอายุได้แยะมาก ไม่ต้องไปยิมที่ไหนอีกเลย ฝึกได้ทั้งท่อนล่างท่อนบน สำหรับผู้สูงอายุท่อนล่างสำคัญกว่าท่อนบน แบบที่คำพังเพยจีนว่า "มือสาม ขาเจ็ด" หมายความว่าแขนหรือมือมีความสำคัญสามส่วน แต่ขามีความสำคัญถึงเจ็ดส่วน การเป็นผู้สูงอายุนี้หากมีท่อนล่างของร่างกายแข็งแรงเสียอย่าง แหม มันยิ่งกว่าเป็นพยัคฆ์เสียบปีกเสียอีก เมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อนเขาพาฝรั่งคนหนึ่งมาเยี่ยมผม ฝรั่งคนนี้เขาอายุ 68 ปีแต่ท้องยังเปรี๊ยะเป็นมัดข้าวต้มแบบซิกซ์แพค ผมถามเขาว่าเขาออกกำลังกายอย่างไร เขาตอบว่าเขาทำอย่างเดียว คือวิ่งขึ้นวิ่งลงบันไดทุกวัน ผมถามเขาว่าวิ่งวันละกี่ชั้น เขาตอบว่าขึ้นลงๆนับได้วันละ 60 ชั้น ผมฟังคำตอบแล้วถึงกับอึ้งกิมกี่เลย ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมเขายังมีซิกซ์แพคทั้งๆที่อายุจะเจ็ดสิบอยู่แล้ว
ในโอกาสนี้ผมได้รวบรวมท่าออกกำลังกายด้วยบันไดมาให้ ซึ่งอย่างน้อยท่านควรทำท่าต่างๆต่อไปนี้
1.1 เดินลงบันได เน้นการยืนขาหลังขาเดียวแล้วค่อยๆย่อขาหลังลงจนขาหน้าแตะลูกนอนของบันไดขั้นล่าง แล้วจึงค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปขาหน้า เป็นท่าจำเป็นที่ต้องทำให้คล่องและทำทุกวัน
1.2 เดินขึ้นบันได เน้นการค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปขาหน้าช้าๆให้ขาหน้ารับน้ำหนักขาเดียวอยู่นานๆ
1.3 วิ่งขึ้นบันได วิ่งนิ่มๆ เน้นใช้ปลายเท้า
1.4 วิ่งลงบันได้ วิ่งนิ่มๆ ช้าๆ เน้นปลายเท้าเช่นกัน ไม่มีเสียง ไม่ให้ดังกั๊กๆๆ ไม่ใช่อย่างนั้น
1.5 เดินหรือวิ่งข้างขึ้นบันได เหมือนเราเดินสลับเท้าออกข้างบนพื้นราบ แต่นี่เป็นขึ้นบันได
1.6 เดินหรือวิ่งข้างลงบันได
1.5 กระโดดกบขึ้นบันได เอามือสองมือประสานกัน หลังตรง กระดกก้น นั่งยอง แล้วกระโดดแผล็วขึ้นไปอยู่บนบันไดชั้นถัดไป
1.6 กระโดดกบลงบันได เน้นปลายเท้า ใครที่เจ็บเข่ามากก็รอให้กล้ามเนื้อขาแข็งๆก่อนค่อยลองทำท่านี้
1.7 ซิกะแด๊ะ คำนี้เป็นภาษาเหนือนะ หมายถึงการกระโดดแบบที่เด็กชั้นประถมเล่นกันที่สนามโรงเรียนเวลาพัก คือเด็กๆจะขีดเป็นรูปคล้ายซี่บันไดบนพื้นทราย แล้วโดดจากขั้นนี้แล้วกางขาลงขั้นถัดไป แล้วโดดแล้วไปยืนขาเดียวในขั้นถัดขึ้นไปอีกแล้วยืนขาเดียวเก็บลูกเก็บ ดังนั้นท่านี้ให้ โดดขึ้นบันไดชั้นถัดขึ้นไปแล้วกางขาร่อนลงเอาปลายเท้าลงแตะพื้น แล้วโดดขึ้นบันไดชั้นถัดขึ้นไปอีกแต่ร่อนลงยืนขาเดียว ทำสลับกันไป กางขา โดดแล้วลงขาเดียว โดดแล้วกางขา โดดแล้วลงขาเดียว สลับกันไป สลับขาซ้ายบ้าง ขาขวาบ้าง
1.8 คลานสี่ขาขึ้นบันไดนั่นแหละ
1.9 คลานหงายขึ้นลงสี่ขา คราวนี้นั่งบนบันไดก่อน หันหลังให้บันได กางแขนกางขาออก เอาสองมือยันลูกนอนของบันไดขั้นสูงถัดขึ้นไป แล้วเยื้องย่างเท้าคลานสี่ตีนพาตัวเองขึ้นบันได้ไป ท่านี้สนุกมาก ไม่เชื่อลองดู
1.10 วิดพื้น บันไดเป็นที่ที่เหมาะที่สุดสำหรับการวิดพื้นของผู้สูงอายุ เพราะส่วนใหญ่จะวิดพื้นบนพื้นราบไม่ไหว แต่อยู่ที่บันได้สามารถเลือกเอาตามแรงที่มีได้ ถ้าแรงดีก็วางมือที่บันไดขั้นที่หนึ่งขณะที่เท้าอยู่บนพื้นราบ ถ้าแรงไม่ดีก็ไปวางมือที่ขั้นที่ 2 หรือขั้นที่ 3 เช่นเดียวกัน ท่าไม้กระดานตะแคง ซึ่งทำบนพื้นราบยาก ก็สามารถทำที่บันไดได้โดยง่าย
1.11 วิ่งสลับขาอยู่กับที่ ก็คือยืนอยู่พื้นราบหน้าบันไดขั้นที่หนึ่ง เท้าซ้ายอยู่บนพื้น เท้าขวาอยู่บนบันไดขั้นที่หนึ่ง แล้วก็กระโดดขึ้นแล้วร่อนลงโดยสลับเอาเท้าขวาลงมาอยู่บนพื้น เอาเท้าซ้ายขึ้นไปอยู่บนบันไดขั้นที่หนึ่งแทน ทำเช่นนี้สลับกันไป
ผมมีความคิดอยู่เหมือนกันว่าถ้ามีเวลาจะอัดวิดิโอแสดงวิธีฝึกออกกำลังกายด้วยบันได หรือ ในรูปแบบต่างๆสำหรับผู้สูงอายุ ตอนนี้ยังไม่มีเวลาทำ ท่านก็เอาแค่อ่านจากบล็อกนี้ และเอาไปลองทำดูเองตามมีตามเกิดก่อนก็แล้วกัน
สรุปว่าบันไดเป็นสมบัติสุดประเสริฐสำหรับผู้สูงอายุ โปรดอย่าย้ายห้องนอนหนีบันได แต่จงเข้าหาบันได ใช้บันไดทุกวันๆ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ http://visitdrsant.blogspot.com/2017/05/step-training.html
"นอนไม่หลับ ในวิชาหมอไทย"
บทความโดย นายแพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา คลินิกการแพทย์แผนไทย หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร 086-378-8859
กินได้ นอนหลับ ถ่ายดี กุญแจของอายุยืนยาวนานร่างกายจะแข็งแรง มีแรงดีไม่ถอยลง
งัวเงีย หงุดหงิง เบลอๆ ตาจะปิด หาววอดๆ เพลียกาย หน่ายใจ อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงคุณภาพการนอนของผู้นั้นในคืนที่ผ่านมาหรืออาจจะหลายคืนมาแล้วก็เป็นได้ คุณหมอฉันนอนไม่หลับ คุณหมอผมไม่อยากกินยานอนหลับฝรั่ง คุณหมอทำอย่างไรถึงจะหลับได้ หลากหลายคำถามที่พ่วงมากับอาการอื่นๆเมื่อมาพบหมอไทย ที่คนเรานอนไม่หลับเพราะใจมันฟุ้งมันคิดไปเรื่อยเปื่อยมันไม่อยู่กับตัวมันทะลุออกจากเตียงไปไกลมากมันหยุดความคิดไม่ได้มันเป็นเรื่องทางใจมิใช่ทางกาย นามก่อทุกข์ให้รูป ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว
คนเรายิ่งยากยิ่งไม่ ยิ่งห้ามความคิดยิ่งจะคิด ความคิดดั่งเอาลิงมาผูกหลักแล้วบอกให้ลิงนั่งนิ่งๆอย่ากระดุกกระดิก มีคำกล่าวอยู่บทหนึ่งว่าไว้ "คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก ต่อเมื่อหยุดคิดจึงได้คิด" แล้วทำเช่นไรเราจึ่งจะหยุดคิดได้ความลับคือปล่อยให้คิดอย่าไปหยุดความคิดแต่ให้คิดเป็นเรื่องๆไปหากใจเฉไฉไปเรื่องอื่นมีสัมปชัญญะระลึกได้ให้เอาความคิดกลับมาที่เรื่องเดิม จิตจะเริ่มนิ่งผูกไว้ที่เรื่องเดียวซ้ำไปซ้ำมาเกิดเป็นความสงบทางจิตจักค่อยๆหลับได้เองในที่สุด เมื่อหยุดคิดไปเรื่อยเปื่อยจึ่งได้คิดที่เรื่องเดียว ต่อเมื่อหยุดคิดจึ่งได้คิดคล้ายๆการสะกดจิตตัวเอง
ในวิชาหมอไทยเราให้ผู้ไข้นอนไม่หลับกินยาขมยาเขียวกินน้ำกระสายยารสขมนำเพื่อให้กำเดาระส่ำระส่ายสงบลงร้อนใจจะร้อนกาย เมื่อกายเย็นใจเย็นใจสบาย สำรับตระกูลยาเขียวมีคุณนักเรื่องการนอนไม่หลับยาหอมก็เช่นกันแต่ต้องเป็นยาหอมมีกลิ่นหอมละมุนมิใช่ยาหอมออกร้อนนั่นยิ่งจะร้อนไปกันใหญ่ ยาหอมที่เข้าเกสรดอกไม้เช่นพิกุล,บุนนาค,สารภี,กระดังงา,การเวก,เกสรบัวหลวงเป็นอาทินี้ละยาหอมกลิ่นละมุนรสสุขุม ยาหอมเทพจิตรารมย์,ยาหอมมหาสีสว่าง,ยาหอมกล่อมอารมณ์ ยาหอมมหาสว่างอารมณ์ใหญ่ ยาหอมมหานิทรา,ยาหอมชื่นอารมณ์,ยาหอมอารมณ์สำราญ เป็นสำรับยาหอมที่เข้าทางใจทั้งสิ้น ใจดีใจงามกายดีกายงาม ใจสบายกายสบาย นอนหลับได้ดี
ใบขี้เหล็ก,ใบสะเดา,มะระขี้นก,ใบหญ้านาง,ใบบัวบก,ดอกไม้หอมนานาพรรณ เหล่านี้ให้เอามาต้มดื่มเป็นกระสายก่อนนอนทำให้กายเย็นใจเย็นหลับสบายแม้อุตุจะร้อนก็ตามแต่ภายในกลับเย็นสบาย
หัตถการนอนหลับสบายในการแพทย์แผนไทย การพอกโคลนยาเย็น,การสระยา,หัตถการนวดสบาย เหล่านี้ก็ช่วยให้มีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนการอยู่นั้นลองปรับที่นอนหมอนมุ้งใหม่หมดทุกอย่างต้องสีขาวเท่านั้นผ้านวมผ้าห่มผ้าปูเตียงปลอกหมอนขาวล้วน กลับเข้าไปนอนในมุ้งหามุ้งสายสีขาวเข้าสักหลังแล้วมุดเข้าไปนอนในมุ้งเสมือนได้กลับเข้าไปในท้องแม่เราให้รู้สึกอบอุ่นปลอดภัย ไม่นอนเวิ้งว้างในห้องนอนกว้างๆอีกต่อไปแลต้องล้างเท้าก่อนนอน ด้วยผ้าปูเตียงสีขาวเท้าเย็นกายเย็นราศีเข้าค่ำไปอยู่ที่เท้า หายาเขียวยาหอมมากินตามแจ้ง ให้ชื่นอกเย็นกายสบายใจนอนหลับฝันดีกันไป แลขอแจงตำรับเครื่องดื่มเป็นกระสายก่อนจะนอนสักขนานเผื่อไว้
ใบขี้เหล็กยิ่งถ้าได้ดอกอ่อนด้วยยิ่งดี,กลีบบัวหลวง,ผลมะเฟืองแก่ๆ,ผลมะละกอดิบหั่นแว่น,เมล็ดชุมเห็ดไทย,รากและเถาของต้นพวงชมพูดอกขาว,ใบชาจีน,ใบเตยหอม ทั้งหมดแล้วแต่หาได้ไม่ครบไม่เป็นไรแต่เครื่องยาจะอ่อนไปตามหาได้นั้น จำนวนมากน้อยกะเอาเองนำทั้งสิ้นลงต้มไม่เคี่ยวแล้วกรองเติมแต่งรสด้วยน้ำตาลกรวดและน้ำมะนาวให้เปรี้ยวนำหวานตามมา จิบอุ่นๆก่อนจะนอนให้หลับสบายคลายวิตกกังวลไปพร้อม
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10211102051061499&id=1663058808
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)