วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบกล้ามเนื้อของเรา รู้เพื่อพึ่งตนเอง






นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์
 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/470190 

กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะสำคัญในการดึงไขมัน-น้ำตาลจากกระแสเลือดไปใช้วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ขึ้นลงบันได 


*********

ข้อมือ








































มาแต่เหตุ
ไม่นั่งหลังงอ ไม่ห่อไหล่ ไม่ไขว่ห้าง เพื่อสมดุลโครงสร้างร่างกาย ตามหลักดุลยภาพบำบัด





















































































วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

โรคเบาหวาน




ข่าวดี!!!..แพทย์ไทยรักษา 6 โรคร้าย...หายได้ โดยไม่ต้องใช้ยา...ใช้เวลาเพียง 4 เดือน!!!!


https://youtu.be/YMIfzKy5dp0

เริ่มดูที่ 3.24 "ไม่รู้หรอกว่าเป็นเบาหวาน ก็ไปเที่ยวญี่ปุ่น ระหว่่างไปเที่ยวก็ปัสสาวะตลอด กลับมาเมืองไทยก็เลยตรวจ ตรวจปุ๊บก็เจอเลย 294  นี่คือรู้ครั้งแรก จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยน พอรู้ปุ๊บรู้สึกช็อค ไม่ได้กลัวโรคพราะมันไม่ได้เจ็บปวด กลัวความพิการ ไม่ตาบอดก็ไตวาย อันนี้น่ากลัวมาก การรักษาโรคเบาหวานในปัจจุบัน เรารักษาด้วยยา ตัวเบาหวานเองก็ทำให้ไตเสื่อม ยาก็ทำให้ไตเสื่อม หนีเสือปะจรเข้



เวลานี้ผมรักษาเบาหวานโดยไม่ใช้ยาคือใช้อาหารที่เรารับประทานเนี่ยะไปรักษามัน

05.11 เราเห็นทางเดินของโรค 4 ปีมานี่ต้องกินยาวันละ 15 เม็ด 4ปีมานี่ต้องกินยารวมประมาณ20000 กว่าเม็ด ก็เลยเป็นที่มาของจุดเปลี่ยน ผมมีความพร้อมมีโรงพยาบาลเองแต่ไม่ใช้ยา อยากจะเชิญชวนคนไทยให้มาสู้กับโรคที่มาพร้อมกับความเจริญ คือถ้าเราใช้แบบดั้งเดิมตามวิถีธรรมชาติ เราจะไม่เป็นโรคพวกนี้เลย สังเกตได้ง่ายนะประเทศไหนยิ่งเจริญ ยิ่งเป็นโรคพวกนี้เยอะ

06.11 ความเจริญยัดเยียดอะไรให้เรา  คำตอบคือความสบาย กำลังกายก็ไม่ออก นอนก็ไม่เป็นเวลา ยัดเยียดความเครียดให้เรา แต่ตัวที่เปลี่ยนให้เราป่วยได้รุนแรงและรวดเร็วก็คืออาหาร คืออาหารที่เราผิดจากที่ควรจะเป็นแบบเกือบสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นเราต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ให้เท่ากับธรรมชาติออกแบบร่างกายเรามา

06.31 เริ่มตั้งแต่ง่ายๆเราต้องออกกำลังกาย ไม่ต้องหักโหมแค่วันละครึ่งชม. ขอให้เหงื่อออก ขอให้หอบหายใจ

06.40 พักผ่อน ขั้นต่ำขอ 4 ชม. 4 ทุ่มถึงตี 2 คือเวลาทอง เพราะเป็นจังหวะที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะการฟื้นตัว
 เพราะว่าหลัง 6 โมงเย็นเราไม่ควรกินข้าว  กะเพาะอาหาร ลำไส้เราต้องว่าง พอพระอาทิตย์ตกดินต่อมเหนือสมองจะสร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งออกมาชื่อเมลาโตนิน ทำให้เราเริ่มง่วง แล้วมีฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองมารับช่วงต่อ พอง่วงปุ๊บหลับ มันจะมีโกร๊ธฮอร์โมนมาซ่อม

 เรามักจะเลยช่วงเวลาที่ดีที่สุดไปทำให้ร่างกายเราเสื่อมโทรมเร็ว เจ็บไข้ได้ป่วย ฟื้นตัวยาก 



มะเขือพวงต้องทำสุก




เรื่องเล่าจากพระผู้ป่วยเบาหวาน


https://youtu.be/z8-_mUGEZzg?list=PL3T8J6iBGU4OKdzscfTWMTK8T7Tr9-gT6

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สวนป่านาบุญ ๓ คลองสาม จ.ปทุมธานี



สวนป่านาบุญ ๓

ค่ายสุขภาพ พ.26-อา.30 เม.ย.59

พฤ.27 เม.ย.59 เข้าไปดูบรรยากาศการจัดค่ายสุขภาพ มีคนมาจากหลายจังหวัดโดยดูจากทะเบียนรถยนต์ ที่ศาลาคณะผู้บรรยายกำลังพูดถึงการดื่มน้ำฉี่ของตนเอง

 ด้านขวาและซ้ายกางเต้นท์เป็นหย่อมๆ

   จะไปซื้อหนังสือ แป้งดินสอพอง ขวดดีท็อกซ์ ก็ได้ยินขิตอาสาพูดว่างดขายให้ฟังบรรยายจบก่อน จึงเดินไปดูแปลงผักกวางตุ้ง ข้าวโพด


ห้องน้ำอยู่สุดถนนฝุ่นนับว่าไกลเอาการ คนมาเข้าค่ายก็มาก ไม่น่าจะพอ แต่ได้เห็นคนป่วยที่เลทอกแล้วว่าจะรักษาด้วยวิธีนี้ ไม่ย่อท้อ ต่ออากาศที่ร้อนมาก ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐจริงแท้ แต่คณะผู้จัดทำค่ายสุขภาพจริงยิ่งกว่า ได้สัมผัสกลุ่มคนที่ช่วยบำบัดทุกข์ให้กับคนตั้งมากมายนั่นเอง

30 เม.ย.59 วันสุดท้าย หลังปิดค่าย เปิดขายตลาดวิถีธรรม พายุลมและฝนกระหน่ำน่ากลัว พบภาพการช่วยกันเก็บจอวีซีดี เก็บของที่กระจาย มีจิตอาสาที่ไม่เคยรู้จักมาเตือนว่า“คุณป้ายืนข้างเสาไว้เพราะตรงนี้เป็นที่โล่ง อาจมีอะไรปลิวมา ซึ่งเราไม่คิดถึงอันตรายนี้เลย ทำให้ได้สติระวังตัว“
ดูคลิป https://youtu.be/Z1Ki8W3-TuY

************

สวนป่านาบุญ3 ส้มตำ แกงอ่อม http://youtu.be/-AExqLA8MOU

***************
ติดต่อสอบถาม โทร 081-800-4511
1. รับปรึกษาปัญหาสุขภาพ และการดูแลแบบแพทย์วิถีธรรม (ยา ๙ เม็ด) ทุกวัน
2. มีร้านกองบุญแพทย์วิถีธรรม จำหน่ายสื่อแพทย์วิถีธรรม
แนะ นำ เส้นทางจากต่างระดับคลองหลวง ตลาดบางขันธ์ ผ่าน อำเภอคลองหลวง ( วัดธรรมกาย )เจอสะพานข้ามคลอง 3 เลี้ยวซ้ายเลียบเส้นคลองสาม 3.5 กม ( ขับเลย อบต คลองสาม และวัดกลางคลองสาม )เจอสะพานข้ามคลองสีเขียว มีป้าย สวนป่านาบุญ 3
  ถ้ามาจากคลองสาม ฝั่งรังสิต นครนายก ตรงยาว 12 กม ผ่าน big c คลองสาม อบต คลองสาม วัดกลางคลองสาม เจอสะพานสีเขียวเลี้ยวขวาข้ามคลองถึงเลยคับ พิกัด 14.10199,100.664654  หรือใช้เส้นทางวงแหวนตะวันออก ถ้ามาจากวังน้อย ลงทางลงคลองหลวง กลับรถข้ามสะพานตรงไป 4 กม. ดูป้ายคลอง3 กลับรถใต้สะพาน หรือตรงไปกลับรถแยกไฟแดงวัดธรรมกาย หรือถ้ามาจาก มีนบุรี,บางนา ลงทางลงคลองหลวง แยกซ้ายตรงมา 4 กม. หรือใช้ทางด่วนขั้น2 ลงทางลง ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ขับตรงไปข้ามทางต่างระดับคลองหลวง ผ่าน แมคโคร วัดธรรมกาย ตรงไป สังเกตปั้มคาลเทกซ์ ประมาณ 500 เมตร เลี้ยวซ้ายก่อนสะพานข้ามคลอง 3 ตรงไป 2 กม. สังเกตวัดกลางคลอง3 สะพานสีเขียว เลี้ยวขวาข้ามคลอง มีป้ายสวนป่านาบุญ3  หากมารถโดยสาร มีรถเขียว รังสิต หนองเสือ ( ขึ้นตรงฝั่งตรงข้าม ฟิวเจอร พาร์ค รังสิต )บอกลงคลองสาม แล้วลองหา มอเตอร์ไซด์ปากทางไปส่ง ระยะทางอีกประมาณ 3-4 กม. ลองอ่านแนะนำเส้นทางประกอบ
สวนป่านาบุญ ๓ คลองสาม จ.ปทุมธานี





วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ชะล่าใจเมื่อโรคอาการดีขึ้น


มะเร็งกับระบบภูมิชีวิต

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000057336


มะเร็งกับระบบภูมิชีวิต (1)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   10 พฤษภาคม 2554 15:36 น.

คุณสุภาพรได้มาเข้าคอร์สและปฏิบัติตัวตามแนวชีวิตอย่างเคร่งครัดเป็นเวลาเกือบครึ่งปี หลังจากนั้น เธอได้ไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้งที่โรงพยาบาล ผลของการตรวจร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง ร่างกายของเธอปราศจากโรคร้าย สามารถกลับไปทำงานใช้ชีวิตอย่างปกติสุขทุกอย่างเกินกว่า 5 ปี ซึ่งทางการแพทย์ถือว่า คุณสุภาพรได้หายจากโรคมะเร็งในครั้งนั้นแล้ว ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากในครั้งนั้น คุณสุภาพรประสบความสำเร็จในการฟื้นฟู ระบบภูมิชีวิต ของเธอให้แข็งแรงสมบูรณ์นั่นเอง
       
          แต่แล้วคุณสุภาพรกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้ง


คนไข้มะเร็งรุ่นแรกของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ที่หายเป็น “ปลิดทิ้ง” ในช่วงกลางทศวรรษ 2530 ไม่ได้มีแค่คุณสุภาพรเท่านั้น ตามที่ปรากฏรายชื่ออยู่ในหนังสือ “กูไม่แน่” (พ.ศ. 2548) ของเขา ยังมีอาจารย์เปรื่อง คุณป้อม คุณพิศมัย คุณหน่ำ คุณปู คุณนุช คุณอัญชัน คุณวิจารณ์ คุณสุรีย์ คุณประกิต คุณอนุชา คุณหรรษา คุณเดือนเพ็ญ และคุณหลีอีกด้วย บุคคลที่อาจารย์สาทิสเอ่ยถึงเหล่านี้ ล้วนหายจากมะเร็งมาเกินกว่าห้าปีแล้วทั้งสิ้น
       
       จากกรณีเหล่านี้ทำให้น่าคิดว่า แนวทางแบบชีวจิตในการรักษามะเร็ง น่าจะมีประสิทธิผลในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน และส่งผลให้ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541 รายการโทรทัศน์ “เจาะใจ” โดยคุณสัญญา คุณากร ได้เชิญอาจารย์สาทิสไปออกรายการพร้อมกับคุณจตุพร ช่างสกล เพื่อนำเสนอวิธีการใช้ชีวิตในแนวทางชีวจิตสำหรับการดูแลสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งกายและใจ โดยมีคุณจตุพรเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน วันรุ่งขึ้นหลังจากออกอากาศ ปรากฏการณ์ “ชีวจิตฟีเวอร์” ก็เกิดขึ้นทั่วประเทศในพริบตา ที่สำคัญก็คือ คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ อดีตประธานบริหารบริษัทเครืออมรินทร์ ซึ่งป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2539 หลังจากรักษาตามกระบวนการทางแพทย์แผนปัจจุบันด้วยการทำเคมีบำบัด และฉายรังสีเป็นเวลาหกเดือนเต็มแล้วประสบปัญหาข้างเคียงที่มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียตลอดเวลาทำให้ทุกข์ทรมานมาก แต่แล้วมะเร็งก็ยังกลับมาใหม่โดยไปโผล่ที่ปอดทำให้คุณชูเกียรติตัดสินใจที่จะไม่รับการรักษาแบบเดิม แล้วหันมารักษาตามแนวทางชีวจิตแทน
       
       สิ่งที่เห็นผลทันทีทันใดอย่างชัดเจนก็คือ ปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายหมดไป ทำให้คุณชูเกียรติมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมทั้งกายและใจ คุณชูเกียรติและครอบครัว จึงได้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของ ขบวนการสุขภาพชีวจิต ในประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าคุณชูเกียรติจะไม่หายจากโรคมะเร็ง และเสียชีวิตในเวลาต่อมาก็ตาม
       
       ส่วน คุณสุภาพร พงศ์พฤกษ์ ผู้เป็นคนไข้มะเร็งกรณีแรกๆ ที่รักษาด้วยแนวทางแบบชีวจิตล้วนๆ หลังจากที่ “หาย” จากโรคมะเร็งเต้านมเกินกว่าห้าปีแล้ว เธอก็ไม่ได้ดูแลตัวเองมากนัก เธอหันกลับไปทำงานหนัก และใช้ชีวิตในการกินการอยู่อย่างไม่ถูกต้องอีกเหมือนในช่วงก่อนเป็นมะเร็งครั้งแรก ทำให้มะเร็งกลับมาอีกแล้วกระจายไปที่เต้านมอีกข้าง 
       
       อาจารย์สาทิสเคยแนะนำให้เธอรักษาด้วยวิธีผสมผสานคือ ควรจะใช้การฉายรังสีหรือเคมีบำบัดผสมกับวิธีชีวจิต เพราะประเมินแล้วว่าครั้งนี้จะใช้วิธีชีวจิตเพียงลำพังคงเอาไม่อยู่แล้ว แต่คุณสุภาพรปฏิเสธเด็ดขาด ไม่ยอมใช้วิธีผสมผสาน แต่เธอกลับไปทำโปรแกรมการรักษาด้วยวิธีของเธอเอง ปัญหาก็คือ คุณสุภาพรได้ใช้วิธีการแพทย์ทางเลือกแบบของเธอเองที่ค่อนข้างจะ “งมงาย” โดยเธอได้ทดลองด้วยวิธีต่างๆ หลายสิบวิธี ใช้แม้กระทั่งน้ำมนต์ คาถาบำบัดต่างๆ โดยไม่ได้วิเคราะห์ประเมินว่าวิธีไหนได้ผล วิธีไหนไม่ได้ผล ทุกอย่างจึงดูสับสนไปหมด สุดท้ายคุณสุภาพรก็จากไป
       
       คนไข้มะเร็งรุ่นแรกๆ ของอาจารย์สาทิสที่หายเป็น “ปลิดทิ้ง” เกินกว่าห้าปี แต่กลับมาเป็นมะเร็งใหม่แล้วเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็วนั้น นอกจากคุณสุภาพรแล้ว ยังมีอาจารย์เปรื่องกับคุณป้อม อาจารย์เปรื่องเป็นศิลปินแห่งชาติด้านภาพสีน้ำที่มีอารมณ์ขัน อารมณ์ดีเสมอ ระยะแรกที่อาการของอาจารย์เปรื่องดีขึ้นจนดูเหมือนอาจารย์เปรื่องหายจากมะเร็งเป็นปกติแล้วนั้น อาจารย์เปรื่องกลับไม่ได้ดูแลตนเองเลย คือไม่ได้ดูแล ระบบภูมิชีวิต (Immune System) ให้อยู่ในระดับสมบูรณ์แข็งแรงคงที่เลย แต่กลับปล่อยปละละเลยให้ระบบภูมิชีวิตอ่อนแอลงอีกจนมะเร็งกลับมาใหม่ คราวนี้แม้จะพยายามช่วยกันสักเพียงใดก็แก้ไม่ทันแล้ว กรณีของคุณป้อมก็เช่นกัน ที่พอหายดีจากโรคมะเร็งแล้ว ก็คงเข้าใจผิดคิดว่าหายแล้วหายเลย จึงไม่ได้ดูแลหรือระวังตัวอะไรอีก จึงทำให้มะเร็งกลับมาใหม่ และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
       
       จากกรณีของคุณสุภาพร อาจารย์เปรื่อง และคุณป้อมที่มะเร็งกลับมาใหม่แล้วก็เสียชีวิตไปอย่างรวดเร็วนั้น ล้วนมาจากสาเหตุเหมือนๆ กันคือ เข้าใจผิดคิดว่า หายแล้วหายเลย จึงไม่ดูแลตัวเองในเชิงป้องกันอีกต่อไป ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นสิ่งที่ต้องทำไปตลอดทั้งชีวิต จึงทำให้ระบบภูมิชีวิตกลับมาอ่อนแออีกครั้ง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วโดยแก้ไขไม่ทันแล้ว 
       
       อย่างไรก็ดี คนไข้มะเร็งรุ่นแรกๆ ของอาจารย์สาทิส คนอื่นที่เหลืออีกสิบกว่าคนยังอยู่ดีกันทุกคนคือ หายจากโรคมะเร็งมากว่า 15 ปีแล้ว (ตอนที่อาจารย์สาทิสเขียนหนังสือ “กูไม่แน่” ออกมาในปี พ.ศ. 2548) ซึ่งถ้าคิดตามสถิติการแพทย์ก็ต้องถือว่า หายเป็นปกติแล้ว แม้แต่กลุ่มคนไข้มะเร็งรุ่นหลังๆ ของอาจารย์สาทิส ก็ยังอยู่ดีกันเป็นส่วนมาก ทำให้น่าจะสรุปเป็น บทเรียน ได้ว่า
       
       การสร้างระบบภูมิชีวิตด้วยแนวทางแบบชีวจิต หรือแนวทางดูแลสุขภาพแบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการ ที่เน้นการเปลี่ยน “วิถีชีวิต” โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกิน น้ำดื่ม การนอน การออกกำลังกาย การฝึกหายใจ (ฝึกลมปราณ) การทำสมาธิ การผ่อนคลาย การบริหารความเครียด และการล้างพิษนั้น ทำให้ สามารถยกระดับภูมิชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ จนเป็นที่น่าพอใจ (แม้อาจจะไม่ได้ผลทุกรายก็ตาม) และ เมื่อบำบัดระบบภูมิชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นจนเหมือนเป็นปกติได้แล้ว ผู้นั้นก็ควรที่จะต้องรักษา “สุขภาวะ” และความแข็งแรงของภูมิชีวิตนี้ไว้ให้ได้ไปจนตลอดชีวิตตราบสิ้นอายุขัย มิฉะนั้นแล้วโอกาสที่จะกลับมาเป็นมะเร็งใหม่ และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วนั้นมีได้เสมอ
       
       ผลสะเทือนในเชิงบวกที่ ขบวนการสุขภาพชีวจิต มีต่อการแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศไทยนั้น เริ่มปรากฏเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 2540 เป็นต้นมา แพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก ผู้เขียน “คำนิยม” ให้แก่หนังสือ “กูไม่แน่” (2548) ของอาจารย์สาทิสได้กล่าวว่า เธอได้มีโอกาสรู้จักกับชีวจิต เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 เธอเป็นหมอรักษาโรคมะเร็งแบบแผนปัจจุบันที่ได้เห็นความสิ้นหวัง ท้อแท้ ทุกข์ใจของคนไข้ เมื่อแพทย์แจ้งให้ทราบว่า คนไข้เป็นมะเร็ง และอาจจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 1-2 ปีเท่านั้น เธอรู้สึกหดหู่ เพราะเธอเองก็ไม่ทราบว่าจะช่วยได้อย่างไร
       
       ต่อมาเธอได้พบอาจารย์สาทิส และเข้ารับการอบรมวิถีชีวิตแนวชีวจิต ทำให้เธอคิดว่าแนวทางนี้แหละที่จะสามารถช่วยคนไข้โรคมะเร็งได้ เธอจึงแนะนำคนไข้ให้ เปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ลดสารพิษที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็ง ลดความเครียด ลดอาหารเนื้อสัตว์ ทำจิตใจของคนไข้ให้สงบด้วยการให้นั่งสมาธิ ให้กำลังใจ รวมทั้งให้ออกกำลังกายอย่างเข้มแข็ง เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้คนไข้

      ปรากฏว่า เธอได้เห็น “ความอัศจรรย์” ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ที่มีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ และผลของการสร้างภูมิต้านทาน (ภูมิชีวิต) กับการลดสารพิษ ทำให้คนไข้มีอายุยืนขึ้น จากที่แพทย์เคยบอกว่าจะอยู่ได้เท่านั้นเท่านี้ ก็อยู่นานขึ้นอย่างที่คนไข้เองก็คาดไม่ถึง ส่วนการใช้เคมีบำบัดกับการฉายรังสี ก็มีการปรับให้เข้ากับคนไข้แต่ละคนตามสภาพของคนไข้ที่จะรับได้ โดยใช้ร่วมกับการสร้างภูมิต้านทานโดยหลักของชีวจิตเป็นระยะๆ ทำให้เธอเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน เพราะคนไข้ที่เป็นมะเร็งในระยะขั้น 3 ขั้น 4 ซึ่งปกติจะอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนหรือ 1 ปี ตามที่แพทย์ทำนาย แต่คนไข้อยู่ได้นานเกินห้าปีได้ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อย สิ่งนี้เธอจึงถือว่าเป็น ความสำเร็จของการรักษามะเร็งตามแนวผสมผสาน หรือแบบบูรณาการนี้ ซึ่งเธอเชื่อมั่นว่า จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการแพทย์แผนปัจจุบันไปสู่ทิศทางของ การแพทย์แบบองค์รวม หรือ การแพทย์แบบบูรณาการ และ จะหันมาให้ความสำคัญของการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรคอย่างแน่นอน
       
       สิ่งที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษจากกรณีศึกษาต่างๆ ข้างต้นของคนไข้มะเร็งที่รักษาด้วยแนวทางแบบชีวจิตแล้ว “ดีขึ้น” ในแง่คุณภาพชีวิตทั้งกายใจเป็นจำนวนมากนั้นก็คือ เราจะสามารถอธิบายเหตุผลของการ “ดีขึ้น” นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสุขภาพได้อย่างไร?

จากประสบการณ์ของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ที่ได้เจอผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ไม่ต่ำกว่าสองหมื่นคนในช่วงยี่สิบกว่าปีมานี้ เขามักจะย้ำกับผู้ป่วยเหล่านั้นเสมอว่า ตัวเขาหรือแม้แต่หมอมีความหมายน้อยมากในการบำบัดโรคมะเร็ง ถ้าหากผู้ป่วยจะหายจากโรคมะเร็งได้ นั่นก็เพราะว่าพวกเขาสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเคร่งครัด และเอาจริงเอาจังในการฟื้นฟูระบบภูมิชีวิต (Immune System) ของตัวเอง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงหายได้ เพราะตัวพวกเขาเอง
       
       อาจารย์สาทิสอยากให้คนไทยทั้งหลายได้เข้าใจจริงๆ ว่า ชีวิตและสุขภาพของคนเราทุกคนขึ้นอยู่กับระบบภูมิชีวิต เขาอยากให้แพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกคนใส่ใจ และเข้าใจบทบาทและความสำคัญของระบบภูมิชีวิตอย่างถ่องแท้ และอย่างละเอียด เพราะเขาเชื่อมั่นว่าถ้าทำเช่นนั้นได้ จะทำให้แพทย์ และพยาบาลสามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้อีกเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นการที่คนเราจะมีสุขภาพที่แข็งแรง และป้องกันตัวเองจากโรคร้ายได้ การมีองค์ความรู้ ความเข้าใจว่า ระบบภูมิชีวิตคืออะไร และจะใช้ระบบภูมิชีวิต รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้อย่างไร จึงมีความสำคัญมาก เพราะจะว่าไปแล้ว แก่นกลางของฐานคิดของการแพทย์แบบองค์รวม หรือแบบบูรณาการนั้น อยู่ที่องค์ความรู้อันหลากหลาย และเป็นสหวิทยาการเกี่ยวกับการเสริมสร้างระบบภูมิชีวิต นี้นั่นเอง
       
       ชีวิตของคนเรานั้น อยู่ได้นับแต่เกิดจนตายตามอายุขัยได้ ก็เพราะมีระบบภูมิชีวิตคุ้มครองอยู่โดยไม่เกี่ยงว่า คนคนนั้นจะเป็นคนดีมีคุณธรรมหรือเป็นคนเลวคนชั่วร้ายที่กินบ้านกินเมือง แต่ประการใด การที่คนเรามีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะ ระบบภูมิชีวิตเป็นตัวคุ้มครองป้องกันชีวิตของคนเรา และยังเป็นผู้ทำนุบำรุงเลี้ยงร่างกายให้เติบใหญ่แข็งแรง รวมทั้งยังเป็นตัวสร้างพลังชีวิตให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย
       
       คำว่า “ระบบภูมิชีวิต” ที่อาจารย์สาทิสใช้มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Immune System ซึ่งโดยทั่วไปมักจะแปลว่า “ระบบภูมิคุ้มกัน” ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นคำแปลที่แคบไปแล้ว เมื่อคำนึงถึงบทบาทที่แท้จริงของมัน ดังนั้นเขาจึงเลือกใช้คำว่า ระบบภูมิชีวิตแทน
       
       คำจำกัดความง่ายๆ ของ Immune System ตามตำราแพทย์ทั่วไปนั้น จะหมายถึง ระบบหลายระบบซึ่งทำงานร่วมกันอย่างซับซ้อนในร่างกาย เพื่อสร้างระบบการต่อสู้ และปราบปรามให้แก่ร่างกาย รวมทั้งช่วยป้องกันร่างกายให้พ้นอันตรายจากเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม โดยที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายที่มีส่วนในการสร้าง Immune System นี้ก็คือ
       
       (1) ต่อม Tonsil และ Adenvid ที่อยู่ในช่องปากตรงส่วนต่อกับลำคอ
       
       (2) ต่อม Thymus ตรงกระดูกหน้าอก ต่อมนี้ทำงานตลอดชีวิตแม้ว่าต่อมจะเล็กหรือฝ่อลงเมื่อคนเราโตขึ้น
       
       (3) ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) อันที่จริงต่อมน้ำเหลืองนี้มีระบบของตัวเองเรียกว่า ระบบต่อมน้ำเหลือง (lymphatic system) โดยที่ระบบนี้เป็นระบบย่อย หรือส่วนหนึ่งของระบบภูมิชีวิตอีกทีหนึ่ง
       
       (4) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะสำคัญในการสร้างระบบภูมิชีวิต
       
       (5) แผงต่อมน้ำเหลืองในลำไส้ (Peyer’s patches) อยู่ที่ส่วนปลายของลำไส้เล็ก (ileum)
       
       (6) ไส้ติ่ง (appendix) จริงๆ แล้วไส้ติ่งมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิต้านทานให้ระบบย่อย ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย
       
       (7) ไขกระดูก (bone marrow) กระดูกท่อนยาวต่างๆ ของร่างกาย จะมีโพรงไขกระดูกอยู่ตรงกลาง โดยที่ไขกระดูกก็เป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของระบบภูมิชีวิต
       
       ปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับ Immune System มีความลุ่มลึกกว่าเมื่อสี่สิบห้าสิบปีก่อนมาก จนมีความเข้าใจแล้วว่า Immune System มิได้ทำหน้าที่แค่ป้องกันและปราบปรามเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมเหมือนอย่างที่เคยเข้าใจเช่นนั้นในอดีต แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบำรุงพละกำลังของตัวเองของร่างกายอีกด้วย จึงเกี่ยวโยงกับความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจด้วยอย่างแยกจากกันไม่ได้
       
       หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ถ้าหากคนเรามีร่างกายแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ นั่นก็หมายความว่า ระบบภูมิชีวิตของเขาดีและสมบูรณ์ทุกประการ แต่ถ้าผู้นั้นอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นโรคร้าย นั่นก็ย่อมแสดงว่า ระบบภูมิชีวิตของผู้นั้นต่ำ หรือร่างกายเกือบจะไม่มีระบบภูมิชีวิตเหลือในร่างกายเลย ระบบภูมิชีวิตของคนเราจะทำงานทันที เมื่อมีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตัวที่จะเริ่มทำงานก่อนคือ เลือดขาว (white blood cell) เลือดขาวกลุ่มแรกคือ ตัวเขมือบเซลล์ (phagocyte) โดยมีผู้ช่วยคือ macrophage กับ T เซลล์ และ B เซลล์มาช่วยกันล้อมกรอบเชื้อโรค รวมทั้งสร้าง Antibody ขึ้นมาปราบปราม
       
       หากร่างกายเป็นเหมือนประเทศ เลือดขาวก็จะเป็นเหมือนตำรวจ และทหารซึ่งมีหน้าที่ป้องกันต่อสู้ และปราบปรามศัตรูของประเทศ แต่การที่บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองได้ จะต้องมีการทะนุบำรุงด้านต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย เพราะตำรวจ ทหารอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องทะนุบำรุงจากด้านอื่นๆ ให้ตัวเองแข็งแรงเสียก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
       
       ร่างกายของคนเราก็เช่นกัน การทะนุบำรุงร่างกายก็ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ช่วยเหลือกันเป็นทอดๆ ไปอย่างเป็นระบบ อย่างเช่น เลือดจะเกิดจากไขกระดูกเสียเป็นส่วนมาก ไขกระดูกก็ต้องอาศัยตัวกระดูก ส่วนกระดูกจะแข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ก็ต้องอาศัย สารอาหาร (nutrients) และแร่ธาตุต่างๆ จากภายนอกร่างกาย เมื่อคนเรารับอาหารจากภายนอกร่างกายแล้ว ระบบต่างๆ ก็ต้องแปรอาหารต่างๆ เหล่านั้นให้เป็นสารอาหาร แล้วตัวเลือดเอง (เลือดแดง) ก็ต้องนำสารอาหารต่างๆ นั้นไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งไปสร้างเนื้อเยื่อและไขกระดูก โดยที่ไขกระดูกก็จะผลิตเลือดให้แก่ตัวเองต่อไป นี่คือ หลักการในการทะนุบำรุง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งจะวนเวียน และหมุนเวียนกลับไปกลับมาเช่นนี้ตลอดชั่วชีวิตของคนเรา
       
       ตัวเลือดขาวเองจะทำหน้าที่ปราบปรามต่อสู้กับเชื้อโรคโดยตรงไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเลือดแดงเป็นตัวนำพากลุ่มเลือดขาวออกไปต่อสู้กับเชื้อโรค แต่เลือดแดงถ้าไม่ได้รับการสูบฉีดจากหัวใจ ก็ไปไหนไม่ได้ นอกจากนี้ เลือดแดงยังต้องการการฟอกซักล้างตัวเอง โดยที่ตัวฟอกซักล้างนี้คือ ออกซิเจน ซึ่งต้องผ่านการทำงานของปอด (การหายใจ) แต่หัวใจเอง ถ้าไม่ได้เลือดมาเลี้ยงหัวใจตัวเอง หัวใจก็อยู่ไม่ได้
       
       จึงเห็นได้ว่า ระบบภูมิชีวิต มิได้หมายถึงการต่อสู้ ป้องกัน และปราบปรามอย่างเดียว แต่กินความไปถึงการทะนำบำรุงด้านอื่นๆ และการต้องอาศัยพึ่งพากันและกันของระบบอื่นๆ ด้วย ในการศึกษาระบบภูมิชีวิต จึงจำต้องมองให้เห็น ภาพรวม หรือเห็น เครือข่ายของระบบภูมิชีวิตทั้งหมด ว่ามีหน้าที่ตรงอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องอาศัยระบบอะไร ในการปฏิบัติหน้าที่ของมัน ซึ่งเราพบว่า ระบบภูมิชีวิตนั้นคือ เครือข่ายของระบบรากฐาน 5 ระบบในร่างกาย ดังต่อไปนี้
       
       (1) ระบบเลือด (circulatory system) ซึ่งหมายถึง เครือข่ายของเส้นเลือดทั้งหมด ทั้งเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ
       
       (2) ระบบหายใจ (respiratory system) ความสำคัญของระบบหายใจ คือ การถ่ายเทออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เข้า และออกจากร่างกาย โดยการที่คนเราหายใจออกซิเจนเข้าทางจมูก และปากผ่านหลอดลมลงไปที่ปอด ออกซิเจนจะฟอกเลือดที่ปอดให้บริสุทธิ์ส่งผ่านไปที่หัวใจ หัวใจจะปั๊มเลือดออกไปตามเส้นเลือด เลือดไปเลี้ยงเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาเข้าเลือด เลือดกลับมาที่ปอด ปอดเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปนำออกซิเจนเข้ามาอีก เป็นวงจรอยู่เช่นนี้
       
       (3) ระบบประสาทและสมอง (nervous system) คือระบบที่ควบคุมการทำงานทุกอย่างของร่างกาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ที่แบ่งออกเป็นสมองและไขสันหลังกับระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) ซึ่งมีเส้นประสาทจากไขสันหลัง (spinal nervous) และประสาทอัตโนมัติ
       
       (4) ระบบย่อย (digestive system) ประกอบไปด้วยอวัยวะซึ่งเป็นท่อกล้ามเนื้อ และต่อมต่างๆ ซึ่งขับน้ำย่อย และการหล่อลื่นอวัยวะซึ่งเป็นท่อกล้ามเนื้อนั้นเริ่มจากปาก ลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปสุดที่ทวารหนัก
       
       (5) ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) เป็นระบบที่ทำงานร่วมกับต่อมทอนซิล ไทรอยด์ ไทมัส ม้าม เพเยอร์สแพทช์ ไส้ติ่ง และไขกระดูกที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยมีหน้าที่ร่วมกันต่อต้านปราบปรามศัตรูซึ่งมาจากภายนอกร่างกาย แต่ระบบน้ำเหลืองจะมีส่วนพิสดารกว่าอวัยวะอื่นๆ และต่อมอื่นๆ ของ Immune System ตรงที่ว่า ระบบน้ำเหลืองนี้มีท่อหรือเส้นน้ำเหลืองเป็นเครือข่ายทั่วร่างกาย คล้ายๆ กับเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายเช่นกัน โดยการหมุนเวียนของน้ำเหลืองซึ่งไหลไปตามเส้นน้ำเหลืองทั่วร่างกายนี้จะกวาดท็อกซิน (Toxin) ไขมัน โปรตีน และสิ่งสกปรกซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายไปตามท่อน้ำเหลือง แล้วก็ผลักดันสิ่งต่างๆ เหล่านั้นลงเส้นเลือดด้านซ้ายและขวาของไหปลาร้า
       
       ขอสรุปรวบยอดอีกครั้งว่า เราควรทำความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของระบบภูมิชีวิต จากมุมมองเชิงระบบ (system theory) ในการป้องกันและรักษาโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ โดยมองระบบภูมิชีวิตอย่างเป็นเครือข่ายแบบองค์รวม มิใช่จำกัดแค่ระบบต่อต้านปราบปรามเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมซึ่งมาจากภายนอกร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมไปถึงระบบรากฐานอื่นๆ ทั้งหมดของร่างกายด้วย แล้วเราก็จะเห็นได้เองว่า ระบบภูมิชีวิต คือ ตัวชีวิตเอง และเป็นตัวรักษา “ชีวิต” ในฐานะที่เป็น “ระบบ” (system) ชนิดหนึ่งให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดไปตราบจนสิ้นอายุขัยของมัน สิ่งที่น่าคิดต่อไปก็คือว่า เราจะดูแล เสริมสร้างระบบภูมิชีวิตของคนเราอย่างไร ในการป้องกันโรค และทำให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
       





ความลับสินค้าแพ็คใหญ่ ไม่ถูกจริง มีสารพิษ

















































วัตถุดิบราคาถูกทำให้คุณภาพและรสชาติด้อยลงจึงต้องใส่ผงชูรส เพิ่มความกลมกล่อม

































เนยสด เนยผสม เนยขาว มากาน





อ่านส่วนประกอบของเนยให้เข้าใจได้ยังไง:เชฟนุ่น
https://youtu.be/f78YwZ4UGfY


เนยขาว มาการีน เนยสด เลือกอะไรไม่อันตราย


https://th.m.wikipedia.org/wiki/เนยขาว

เรา:ซาละเปา ขนมอบ มีเนยขาว ที่มีไขมันทรานส์






วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คนญี่ปุ่นในไทย

เผยแพร่เมื่อ 17 ก.ค. 2013
รายการ พันแสงรุ้ง เสนอเรื่องคนณี่ปุ่นในไทย 4 ตอน ได้แก่ สัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ตนญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ ญี่ปุ่นในเชียงใหม่ และ ตรอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่น ในฐานะที่คนไทยและคนญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์­กันยาวนาน และจะยิ่งเพิ่มความสัมพันธ์ และ ความสำคัญต่อกันและกันมากขึ้น จึงขอบันทึกเรื่องราวของไทย-ญี่ปุ่น ลงไว้ ณ ช่องนี้ เพื่อเป็นต้นทางของการศึกษาและการทำความเข­้าใจเกี่ยวกับ ไทย-ญี่ปุ่น ให้ยิ่ง ๆขึ้นไป ขอขอบคุณรายการ พันแสงรุ้ง ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย


คนญี่ปุ่นอายุ กว่า 50 ปีอาศัยอยู่แบบยาวที่เชียงใหม่มากกว่า 800 คน ทำอาหารกินเอง จ่ายตลาดปลอดสารพิษ


https://docs.google.com/file/d/0B24pBhbprz5Na3IyQnppZTU1MVk/edit


ลูกครึ่งญี่ปุ่น






วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557




ลบรอยขีดข่วนมือถือ


  • ใส่ยาสีฟัน (ไม่มีเม็ดหรือผลการฟอกสีฟัน) ลงบนผ้าฝ้ายหรือผ้าฝ้ายและค่อยๆถูเบา ๆ ลงในพื้นผิวกระจกโดยใช้การเคลื่อนไหวเป็นวงกลมประมาณ 10 วินาที ลบร่องรอยของยาสีฟันด้วยน้ำ



พื้นผิวพลาสติก :
  • ข้อบกพร่องบนพื้นผิวพลาสติกเรียบสามารถปกปิดได้โดยวิธีการของ  เครื่องเป่าผมสามัญหรือปืนความร้อน ตั้งพลังงานให้น้อยที่สุดและควบคุมกระแสอากาศร้อนตามความยาวของรอยขีดข่วน ถ้าจำเป็นให้เพิ่มอุณหภูมิจนกระทั่งเครื่องหมายเริ่มหายไปรอประมาณ 10-15 นาทีจากนั้นขัดผิวหน้าเพื่อทำให้รอยขีดข่วนมองไม่เห็นโดยสิ้นเชิง
  • การขัดเงาของรถยนต์ยังมีประสิทธิภาพในการกู้คืนวัตถุพลาสติกที่มีรอยขีดข่วนนำสิ่งสกปรกออกจากบริเวณที่ชำรุดและนำไปใช้ เสร็จสิ้นโดยการขัดพื้นผิวด้วยผ้านุ่มที่ไม่เป็นขุย

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อันตรายแมงกุดจี่เข้าหู



04.05.57  หยอดด้วยน้ำมันมะพร้าว 3 รอบ ใช้ไฟฉายส่องหูด้วย แผ่เมตตา  ขออโหสิกรรม  และสัญญาว่าจะเอาไปปล่อยด้วย  จึงคลานออกมาจากหู  

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

สมาชิกกบข เกษียณ….คุณได้รับอะไรบ้าง


http://www2.diw.go.th/HRMC/training/new006.pdf

คำถามสมาชิกที่พ้นสมาชิกภาพสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินคืนได้เมื่อไร อย่างไร
คำตอบ
สมาชิกสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินคืนจาก กบข. ได้ตั้งแต่วันที่คำสั่งออกมีผลบังคับใช้ โดยติดต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อกรอกแบบฟอร์มขอรับเงินคืน แบบ กบข. รง. 008/1/2551 แนบพร้อมเอกสารประกอบ ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดจะต้องตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล และเอกสารแนบ พร้อมทั้งให้หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดลงนาม แล้วจัดส่งเอกสารดังกล่าวมายัง กบข. ถึงส่วนงานการจ่ายเงินคืนสมาชิกพ้นสภาพ ตู้ปณ.12 ปณ.สาทร กทม. 10341



กระบวนการขอรับเงินคืนจากกองทุนกบข

โปรแกรมคำนวณบำเหน็จบำนาญข้ราชการ

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

อันตรายจากแปรงสีฟันและยาสีฟัน

อันตรายจาก Notebook มือถือ



*****************************************************************************

ดีแต้ใช้มือถือ แล้วชาร์ทแบตมือถือเป็นไหม
1.ควรจะปล่อยให้พลังงานแบตเตอรี่ เหลือเกิน 50% จะดีที่สุด ยิ่งเราปล่อยให้แบตเตอรี่เหลือ 0% บ่อยๆ ยิ่งทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วมากขึ้นเท่านั้น ..
2.อย่าพยายามชาร์จจนเต็ม 100% เพราะนั่นเป็นสาเหตุทำให้แบตเตอรี่ค่อยๆ เสื่อมอายุลง ควรจะชาร์จให้อยู่ที่ระดับ 90% ถ้าหากแบตเตอรี่ลดลงถึงระดับ 40% ควรจะหยิบสายออกมาชาร์จกันได้แล้ว
3.อย่าเสียบชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืน ถ้าต้องการชาร์จให้เต็ม 100% ควรจะทำแค่เดือนละหนก็พอ

4.เมื่อชาร์จแบตเต็มแล้วก็ควรรีบถอดที่ชาร์จออก: เนื่องจากสถานะการชาร์จแบตเต็มนั้นก็เหมือนกับกล้ามเนื้อของเราที่กำลังตึงเครียดอยู่


5.อย่าปล่อยให้มือถือร้อนเกินไป ถ้าคุณรู้สึกว่ามือถือของคุณร้อนมาก เวลาชาร์จแบตให้ถอดเคสออกจะดีกว่า เพื่อให้มือถือสามารถระบายความร้อนได้



6.ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มือถือไปโดนแสงแดด เช่น ทิ้งไว้ในรถยนต์
- Copy - Copy - Copy - Copy - Copy - Copy - Copy - Copy - Copy - Copy - Copy

น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลกรวด น้ำตาลอันตราย





https://youtu.be/GjqRzgm3ceg


เบาหวาน กิน น้ำตาลธรรมชาติได้ น้ำตาลฟรุตโตส, น้ำตาลปี๊ป (น้ำตาลปึก), โอวทึ้ง, น้ำผึ้ง
หยุด   น้ำตาลกรวด, น้ำตาลทรายแดง, น้ำตาลทราย, ซูโครส


น้ำตาลทราย/น้ำตาลกรวด
จะสะสมที่ตับเป็นไขมัน ก่อให้เกิดไตรกลีเซอร์ไรด์
สำหรับน้ำตาลที่ฟอกขาวจะใช้สารคลอลีน ซึ่งมีสารก่อมะเร็ง


(3:30)น้ำตาลทรายขาวและแดง มีฟรุกโต๊ส ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกรดยูริค แล้วไปคั่งตามข้อได้ ที่เรียกว่าเป็นโรคเก๊าท์
https://youtu.be/t8TrJEgMHAg


น้ำตาลมะพร้าว

การผลิตน้ำตาลมะพร้าวนั้นมีความพิถีพิถันมาก ตั้งแต่การเลือกลักษณะงวง การนวดงวง การทำความสะอาดงวง เพื่อให้ได้น้ำตาลสดที่มีคุณภาพดี การขึ้นไปรองน้ำตาลสดนั้นต้องเริ่มแต่เช้ามืดและขึ้นเก็บวันละนับร้อยต้นเพื่อให้ได้น้ำตาลสดเพียงพอในการผลิตน้ำตาลมะพร้าว ทุกเช้าเกษตรกรจะนำกระบอกรองน้ำตาลพร้อมกับมีดปาด งวงปีนขึ้นไปบนยอดของต้นมะพร้าว เพื่อนำกระบอกใส่น้ำตาลภายในบรรจุไม้เคี่ยมหรือไม้พะยอมซึ่งใส่ในปริมาณพอควรเพื่อป้องกันการบูดเน่าของน้ำตาลสด ปลดกระบอกรองตาลที่รองไว้ ตั้งแต่ ๔ โมงเย็นออก ซึ่งกระบอกนี้จะมีน้ำตาลที่ไหลออกมาจากงวงหรือจั่นมะพร้าวตลอดคืนอยู่ประมาณครึ่งกระบอกไปจนถึงเต็มกระบอก (ปริมาณขึ้นอยู่กับพันธุ์มะพร้าวและฤดูกาล) จากนั้นหยิบมีดปาดงวงมะพร้าวใหม่แล้วนำกระบอกรองตาลใบใหม่ผูกติดกับงวงเพื่อรองน้ำตาลที่ไหลออกมาจากรอยที่ปาดไว้ น้ำตาลสดที่รองได้จะถูกนำมาเคี่ยวที่เตาตาล โดยมีการกรองเศษไม้และสิ่งสกปรกทิ้งก่อนเพื่อให้ได้น้ำตาลที่สะอาด น้ำตาลสดจะถูกเคี่ยวจนเดือด พอน้ำตาลเริ่มงวดจึงลดไฟลง เมื่อเหลือ น้ำตาลประมาณ ๑ ใน ๕ หรือ ๑ ใน ๗ ของปริมาณน้ำตาลที่ เทลงไปในตอนแรกจึงยกกระทะลงจากเตา นำพายหรือขดลวดมาตีกระทุ้งเพื่อให้น้ำตาลแห้งและแข็งตัวเร็วขึ้น และช่วยให้น้ำตาลที่ถูกเคี่ยวจนมีสีน้ำตาล (เนื่องจากปฏิกิริยาสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำตาลถูกความร้อน) เปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลขึ้นโดยอาศัยการแทนที่ของอากาศ กระทุ้งจนได้น้ำตาลสีขาวเหลืองน่ากิน น้ำตาลเริ่มแข็งตัวก็จะใช้เกรียงขูดออกจากกระทะ เทใส่ปี๊บ เรียกว่า "น้ำตาลปี๊บ" ถ้าเทลงใส่ถ้วยตะไลหรือพิมพ์ได้น้ำตาลที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมๆ นิยมเรียกว่า "น้ำตาลปึก"


เนื่องจากน้ำตาลมะพร้าวเป็นน้ำตาลที่ยังคงมีน้ำผสมอยู่จึงชื้นได้ง่าย ไม่สามารถคงรูปอยู่ได้นาน มีการคืนตัวเยิ้มเหลวง่ายเมื่อเก็บไว้ที่อุณภูมิห้อง โดยเฉพาะในเวลาที่อากาศร้อนน้ำตาล จะเยิ้มเหลวเร็วมากไม่สามารถคงลักษณะรูปร่างเป็นก้อนน้ำตาลปึกได้นาน ผู้ผลิตบางรายจึงผสมน้ำตาลทรายลงไปเล็กน้อยในการเคี่ยวน้ำตาลสดเพื่อผลิตน้ำตาลปึก เนื่องจากน้ำตาลทรายมีลักษณะเป็นผลึกจึงช่วยให้น้ำตาลมะพร้าวแห้งและแข็งตัวเร็วขึ้นสามารถปั้นเป็นก้อนได้ง่าย ปริมาณน้ำตาลทรายที่มากน้อยต่างกันจะมีผลต่อรสชาติของน้ำตาลมะพร้าว ถ้าผสมน้ำตาลทรายเพียง ๑-๒ กิโลกรัมต่อน้ำตาลสด ๔๐ ลิตร น้ำตาลที่เคี่ยวได้จะยังคงรสชาติหวานมันอยู่ แต่ถ้าใส่มากกว่านี้รสจะเปลี่ยนเป็นหวานแหลมตามปริมาณน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการปรุงรสของอาหาร จะไม่ได้อาหารที่มีรสหวานมัน นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงในการผลิตน้ำตาลปี๊บและน้ำตาลปึกในปัจจุบันก็คือกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่ก่อนผู้บริโภคสนใจเฉพาะเรื่องรสชาติที่หวานมันของน้ำตาลมะพร้าว แต่ปัจจุบันผู้บริโภคกลับสนใจรูปลักษณะ ต้องการน้ำตาลสีขาวนวล เป็นก้อนแข็งไม่เยิ้มเหลว ซึ่งเป็นลักษณะที่ผิดธรรมชาติของน้ำตาลมะพร้าว 

โดยปกติแล้วเมื่อเราเก็บน้ำตาลมะพร้าวไว้ในที่อากาศร้อนชื้นเช่นในบ้านเรานั้น นอกจากน้ำตาลจะเยิ้มเหลวง่ายแล้ว น้ำตาลจะเปลี่ยนสีจากขาวเหลืองเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นในตัวน้ำตาล ดังนั้นจึงมีการเติมสารฟอกขาวลงไปเพื่อฟอกสีน้ำตาลและช่วยคงสภาพสีขาวนวลของน้ำตาลไว้นานๆ สารฟอกขาวกลุ่มของสารซัลไฟด์หลายตัว ได้แก่ โซเดียม-โพแทสเซียมซัลไฟด์ โซเดียม-โพแทสเซียมไบซัลไฟด์ โซเดียม-โพแทสเซียมเมตาซัลไฟด์ เป็นสารฟอกขาวที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใส่ในอาหารได้ แต่ในปริมาณที่กำหนด สำหรับน้ำตาลมะพร้าวนั้นมีการกำหนดไว้ว่าไม่ให้มีการตกค้างเกิน ๔๐ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่เรากลับพบบ่อยครั้งว่า มีการใช้สารฟอกขาวเหล่านี้ในปริมาณมาก บางครั้งด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มีผู้ผลิตบางรายนำสารไฮโดรซัลไฟด์ซึ่งเป็นสารฟอกขาวในอุตสาหกรรมฟอกหนังหรือฟอกสีผ้าซึ่งเรียกกันว่า "ยาซัด" มาใส่ในอาหารที่ไม่ต้องการให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก กะปิ หรือผลไม้อบแห้ง ดองและแช่อิ่ม ตลอดจนพืชผักผลไม้ที่ปอกเปลือกและต้องการให้เก็บไว้โดยไม่เกิดสีน้ำตาลที่ผิวหรือรอยถลอก เช่น ถั่วงอก หน่อไม้ นอกจากนี้ยังนำสารไฮโดรซัลไฟด์ไปฟอกสีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้ง เช่น วุ้นเส้น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ซึ่งล้วนเป็นอาหารที่ผู้บริโภคนิยมกินเป็นประจำ แต่ผู้บริโภคอาจไม่ทราบว่าอาหารเหล่านี้ผสมสารฟอกขาวหรือไม่หรือผสมประเภทไหน จึงมีผู้บริโภคที่ได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหารที่มียาซัดตกค้างอยู่ในปริมาณที่สูงมาก เช่น มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก หายใจขัด ใจสั่น ความดันเลือดลดลง หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืดและเด็กเล็กที่มีความไวต่อการเกิดพิษของสารกลุ่มนี้สูง 

ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลปึกและน้ำตาลปี๊บมีความยากลำบากมาก เพราะต้นมะพร้าวที่มีอายุมากจะมีลำต้นสูงมากยากลำบาก ต่อการปีนขึ้นไปเก็บน้ำตาล อีกทั้งเสี่ยงต่อการตกต้นมะพร้าวลงมาบาดเจ็บ พิการหลายรายถึงกับเสียชีวิต เด็กรุ่นใหม่จึงไม่นิยมสืบทอดอาชีพนี้ทำให้อาชีพการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้ค่อยๆ ลดน้อยลงไป หรือมีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตที่ทำให้ได้น้ำตาลปริมาณมากขึ้น มีผู้ผลิตบางรายผสมแป้งมัน กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทราย ในปริมาณมาก เพื่อเพิ่มปริมาณและลดต้นทุนการผลิต และช่วยให้น้ำตาลไม่คืนตัวเร็วเกินไป มีการใส่สารฟอกขาวเพื่อให้ได้น้ำตาลสีขาวนวลน่ากิน ดังนั้น การควบคุมการผลิตที่ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษ ต่อสุขภาพ และส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวแบบดั้งเดิมสามารถคงการผลิตน้ำตาลมะพร้าวที่ไม่ผสมสารที่จะก่ออันตรายต่อผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรกระทำ ไม่เช่นนั้นเราอาจไม่ได้บริโภคน้ำตาลมะพร้าวแท้กันอีกต่อไป

โชคดีที่มีผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวหลายรายใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภค ผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวเหล่านี้ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตน้ำตาลมะพร้าวที่ไม่ใช้สารฟอกขาวขึ้น แต่ก็ต้องสูญเสียตลาดของผู้บริโภคที่ยังคงต้องการน้ำตาลสีขาวนวลไปให้กับผู้ผลิตที่มีการใช้สารฟอกขาว แต่ด้วยคุณธรรมในการผลิตทำให้ผู้ผลิตเหล่านี้ รวมตัวกันพัฒนาการผลิตน้ำตาลแท้ที่ไม่ใช้สารฟอกขาวต่อไปแม้ว่าหนทางด้านการตลาดจะแย่ลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า เพราะต้องใช้น้ำตาลสดปริมาณมากและต้องเป็นน้ำตาลสดที่มีคุณภาพดี จึงจะเคี่ยวได้น้ำตาลที่แห้ง พอที่จะสามารถเก็บน้ำตาลไว้โดยมีการคืนตัวหรือการเปลี่ยนสีอย่างช้าๆ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยโภชนาการได้ตระหนักถึงน้ำใจสู้ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวเหล่านี้ จากการเข้าไปร่วมในการปรับปรุงการผลิตน้ำตาลมะพร้าวที่ปลอดภัยสู่มือผู้บริโภคกับเกษตรกรผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความพยายามและตั้งใจที่จะอนุรักษ์วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม โดยไม่ผสมแป้งมันหรือสารฟอกขาว อาจจะผสมน้ำตาลทรายเพียงเล็กน้อยเพื่อช่วยให้แห้งและสามารถปั้นเป็นก้อนได้ แต่จะระมัดระวังไม่ผสมน้ำตาลทรายมากไปเพราะจะทำให้รสชาติของน้ำตาลมะพร้าวเสียไป เพื่อคงคุณค่าของน้ำตาลมะพร้าวที่จะทำให้อาหารไทยให้มีรสชาติแบบไทยๆ และสืบสานการผลิตน้ำตาลมะพร้าวที่มีคุณภาพปลอดภัยต่อการบริโภค 

ผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวจึงขอให้ผู้บริโภค "ชิม" น้ำตาลมะพร้าวที่ท่านซื้อว่ามีรสชาติ "หวานมัน" มี "กลิ่นหอมหวาน" หรือไม่ และเมื่อเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติประมาณ ๑-๒ อาทิตย์ น้ำตาลจะเริ่มเยิ้มไม่แข็งเป็นก้อน และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาล ถ้าต้องการเก็บไว้ในลักษณะเป็นก้อนและไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลควรเก็บในตู้เย็น ถ้าท่าน "ชิม" น้ำตาลมะพร้าวแล้ว พบว่ามีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมากจนบางครั้งต้องใช้ของแข็งทุบจึงแตกออก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้กับข้าวโดยสียังคงขาวนวล ลักษณะเช่นนี้ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาว และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ 

นิตยสารหมอชาวบ้าน 297
มกราคม 2547
เรื่องน่ารู้
https://www.doctor.or.th/article/detail/1757


******************************
น้ำตาลอันตรายคือน้ำตาลอุตสาหกรรม HFCS(High Fructose Corn Sysrub)

ปี1966 ชาวญี่ปุ่นชื่อโยชิมูกิ ฮากาซากิ เขาผลิตน้ำตาลไฮฟรุคโตสคอร์นไซรัปเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
ความหวานมากกว่าน้ำตาลกลูโคส 1.7เท่า และถูกกว่าเยอะ
ส่วนใหญ่ทำจากอ้อย
น้ำตาลชนิดนี้แหละที่เป็นอันตราย เวลาดูส่วนประกอบอาจระบุว่าปราศจากน้ำตาล หรือsugarfree
เราต้องดูลงมาข้างล่างด้วยว่ามีcornsysrub น้ำตาลข้าวโพด
ตัวนี้อันตรายเหมือนกัน เพราะเป็นน้ำตาลที่ผลิตขึ้นมา ไม่ใช่น้ำตาลจากธรรมชาติ
อาหารอะไรบ้างที่ใส่น้ำตาลHFCS เช่น
เครื่องดื่มหวานๆ น้ำอัดลม ซอสมะเขือเทศ ซอสต่างๆที่ใช้ปรุงรส
ซีเรียล ขนมหวาน นมผงเด็กรสหวาน
หลายๆคนจึงมีปัญหาน้ำหนัก เราจึงต้องลงไปดูเรื่องอาหารด้วยตัวเอง
ไม่มีใครสามารถบอกเราได้ โดยศึกษา
อันตรายจากHFCS เมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะไม่ย่อยเป็นพลังงาน
แต่จะเอาไปเก็บไว้ในตับ ทำให้เกิดไขมันพอกตับ
หลายคนไม่กินเหล้า ใช้ชีวิตดี แต่กินชาเชียวเยอะ ในชาเขียว1ขวด มีน้ำตาลHFCS13ก้อน
กินน้ำอัดลมเยอะ ในน้ำอัดลม1กระป๋องมีน้ำตาลHFCS12ก้อน
1ก้อน=1ช้อนชา
ในร้านสะดวกซื้อ แก้วใหญ่สุดเมื่อใส่น้ำแข็ง เติมน้ำอัดลม แก้วนี้จะมีน้ำตาลHFCS=40ก้อน
เครื่องดื่มชูกำลัง1ขวด=น้ำตาลHFCS8ก้อน
เรากินก๋วยเตี๋ยวใส่น้ำตาล2ช้อน ก็หวานแล้ว
ซอสมะเขือเทศ1ขวด 1ใน4คือน้ำตาลHFCSล้วนๆ
ขนมกรุบกรอบเใส่น้ำตาลHFCSหมด
ปกติเรากินอาหารอิ่ม ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนออกมาเตือนว่าห้ามกินแล้วนะ
แต่อันตรายจากHFCS เราจะไม่รู้จักอิ่ม หลายครั้งที่เรากินน้ำอัดลม
น้ำผลไม้ เราจะกินได้เรื่อยๆ ไม่หยุดเลย
ในอุตสาหกรรมอาหารใช้น้ำตาลHFCS เพราะเราจะกินไม่อิ่ม เราจะกินต่อ แก้กระหายดี นี่คือสิ่งที่เขาขายได้ทั้งโลกเลย
หมอขอฝากว่าควรศึกษา เรียนรู้ อ่านข้างสลากทุกครั้ง นี่คือปัจจัยที่ทำให้อายุขัยเราสั้นลง


หมอแอมป์ https://youtu.be/ASaZEhMsc3M

*******************

 น้ำตาลธรรมชาติที่อยู่ในอาหาร เช่น ผักและผลไม้ ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพเท่ากับน้ำตาลสังเคราะห์ เช่น น้ำตาลทรายขาว
https://www.fitterminal.com/น้ำตาลกลูโคส-น้ำตาล/

********************

น้ำตาลทราย น้ำตาลทรายแดง กลูโคส ขัณฑสกร

น้ำตาลทราย ซึ่งเป็นชนิดเดียวกันกับที่ฝรั่งเรียกว่า “ซูโครส”  ซูโครสประกอบด้วยน้ำตาลซึ่งมีขนาดเล็ก 2 ตัวมาต่อกัน น้ำตาลทั้งสองชนิดนี้คือ กลูโคส และฟรุกโตส ทั้งนี้หมายความว่าเมื่อร่างกายบริโภคน้ำตาลซูโครสเข้าไป ก็จะถูกย่อยเป็นกลูโคสกับฟรุกโตสก่อนที่จะนำไปผ่านกระบวนการอื่นในร่างกายต่อไปได้

น้ำตาลทรายแดง ซึ่งพบว่ามีการจำหน่ายมากขึ้น ในยุคนี้ที่มีการตื่นตัวเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารธรรมชาติกัน
จุดเด่นของน้ำตาลทรายแดงคือ ไม่ได้ผ่านกระบวนการฟอกสีอย่างสมบูรณ์ ทำให้ยังมีการปนของสารธรรมชาติจากอ้อยอยู่บ้าง น้ำตาลทรายแดงจึงมีกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และอาจไม่ปนเปื้อนกับสารที่ใช้ฟอกสีเหมือนน้ำตาลทรายขาว
ส่วนในแง่คุณค่าทางโภชนาการที่ผู้ผลิตได้อ้างไว้บนถุงที่บรรจุนั้น ได้พิจารณาดูแล้วมีเพียงธาตุเหล็กเท่านั้นที่มีปริมาณน่าสนใจ แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะอยู่ในรูปแบบทางเคมีที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่

กลูโคส
น้ำตาลอีกชนิดหนึ่งที่คุ้นเคยกันพอสมควร ได้แก่ น้ำตาลกลูโคส ซึ่งปกติบรรจุจำหน่ายในกระป๋องโลหะสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน มีฝาปิด กลูโคสถูกจัดว่าเป็นอาหารควบคุมเฉพาะในหมวดเครื่องดื่ม สนนราคาของน้ำตาลชนิดนี้คือ กิโลกรัมละ 60-70 กว่าบาท ซึ่งสูงกว่าน้ำตาลทรายธรรมดาประมาณ 4-6 เท่า

ขัณฑสกร เป็นสารที่ให้ความหวานที่ใช้มาแต่ดั้งเดิม ปัจจุบันสถานะของขัณฑสกรถือว่าปลอดภัย แต่ผู้บริโภคหลายกลุ่มยังไม่มั่นใจนัก เพราะได้เคยมีการศึกษาในอดีตหลายครั้งที่มีผลให้ขัณฑสกรถูกงดใช้ไปหลายครั้ง นอกจากนี้ขัณฑสกรยังมีรสชาติขมในคอหลังจากกลืนแล้ว โดยเฉพาะเมื่อใช้ในปริมาณที่สูง https://www.doctor.or.th/article/detail/3341


น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ อาจเป็นตาลโตนด หรือตาลมะพร้าวก็ได้ค่ะ  ขึ้นอยู่กับว่าพอเคี่ยวแล้วจะขึ้นรูปยังไง
ปกติ น้ำตาลพวกนี้จะใส่น้ำตาลทราย 20% เพื่อให้ขึ้นปึกได้  หากไม่ใส่น้ำตาลทรายจะเหลวได้ง่ายค่ะ
ปัจจุบัน จะมีน้ำตาลหลอมด้วยค่ะ เป็นการเอาน้ำตาลทรายขาวผสมน้ำเคี่ยวให้ข้น ใส่แบะแซ กับให้สีด้วยโมลาส ขายในราคาถูกมาก กิโลละ 10 - 15 บาท ขณะที่น้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดแท้ ตกที่ กิโลละ 35 - 40 บาท แต่กลิ่นหอมที่ได้จะแตกต่างกันมากถึงมากที่สุด
นี่คงเป็นสาเหตุที่คุณสงสัยว่าทำไมมันถึงมีความแตกต่างกัน  คือจริงๆแล้วที่รู้สึกว่าต่างเพราะว่า คุณเจอน้ำตาลที่เป็นน้ำตาลทรายหวานแหลมอย่างเดียว กับน้ำตาลมะพร้าวแท้ ที่มีความหวานคนละอย่างกันและมีกลิ่นเฉพาะตัวด้วย  เพราะฉะนั้นเวลาเลือกซื้อต้องเลือกดีๆ

หลวงปู่“ของดีราคาถูกไม่มี“
https://pantip.com/topic/30110565

น้ำตาลปี๊บ:รักษาโรคปากนกกระจอก ระงับกลิ่นปาก แก้โรคกระเพาะ โรคริดสีดวงทวาร

กาแฟโบราณชงด้วยน้ำตาลปีบกับหัวกะทิ เพราะยังไม่มีนมข้นหวาน

ชื่อนี้คือตัวเดียวกัน:น้ำตาลสด น้ำผึ้งจากน้ำตาล น้ำตาลหม้อ น้ำตาลปี๊บ
น้ำตาลปึก แต่เกิดจากกรรมวิธีต่างกันดังนี้

เอามีดปาดงวงตาลหรืองวงมะพร้าว หยดลงในกระบอกไม้ไผ่ เคี่ยวกลายเป็นน้ำตาลสด คนโบราณใช้ไม้พะยอมเป็นสารกันบูด แต่ปัจจุบันใช้โซเดียมเบนโซเอด แม่ค้าทำแกงหม้อใหญ่ๆ อย่าบอกว่าไม่ใส่
เพราะโซเดียมเบนโซเอดราคา5บาท มีอ.ยรับรองด้วย เราแกง3ชม.บูด เค้าแกง3วัน ทำไมไม่บูด

เคี่ยวๆๆจากน้ำตาลสดกลายเป็นน้ำผึ้งจากน้ำตาล

เคี่ยวต่อ เอาไฟสุมแล้วตีด้วยเหล็ก จากนั้นเทใส่หม้อดินเรียกน้ำตาลหม้อ
ยิ่งเก็บนานยิ่งแข็ง เวลาใช้ต้องกระเทาะด้วยสิ่ว มันไปโดนหม้อดินแตก เค้าเปลี่ยนมาเทใส่ปี๊บจึงเรียกน้ำตาลปี๊บ

ต่อมาปี๊บขึ้นสนิมจึงเอามาเทใส่ชามกระเบื้องตราไก่ มีก้อนใหญ่กับก้อนเล็ก
ยิ่งเก็บนานยิ่งแข็งเพราะมันไม่ใส่อะไรเลย เป็นน้ำตาลบริสุทธิ์ เมื่อหล่นลงโต๊ะขะดังปึกๆ จึงเรียกน้ำตาลปึก

คนจีนมาเมืองไทยแนะนำว่าให้ใส่แบะแซ20%ก่อนใส่นำ้ตาลลงปี๊บ จะไม่แข็ง
(แบะแซคือการปลูกข้าวสาลีในกะบะ แถวพัฒนาการ สำโรง พอข้าวสาลีสูงสัก2นิ้ว15วัน เขาจะเก็บแบะแซมาบีบ เคี่ยวเหมือนกาวแป้งเปียก
ใช่ใส่กะยาสารทให้ไม่แข็ง )
ยิ่งทิ้งไว้นานๆ จะมีน้ำเหลืองๆลอยขึ้นมา ปัญหาจากการใส่แบะแซคือเหม็นเปรี้ยวเหม็นบูด เพราะแบะแซดูดแบคทีเรียในอากาศ จะเกิดเป็นจุลินทรีย์แลคโตบาซิลัส เพราะฉะนั้นตัวนี้ก็คือยาคูลท์
คนโบราณไม่ได้กินตัวนี้แค่อาหาร
คำพังเพยโบราณ“ใครเป็นปากนกกระจอก ให้ไปขโมยน้ำตาลปี๊บบ้านแม่ม่าย“

นำ้ตาลปี๊บใส่แบะแซยังช่วยระงับกลิ่นปาก แก้โรคกระเพาะ โรคริดสีดวงทวาร

น้ำตาลปี๊บทำน้ำพริกกะปิอร่อย ส้มตำอร่อย กล้วยบวชชีอร่อย ใส่น้ำตาลทรายไม่อร่อย

คนโบราณงานบวชงานแต่ง ผู้ชายมีหน้าที่เอาน้ำตาลปี๊บ 1 กก.ผสมน้ำ 1 ลิตร ตั้งเตา ัส่วนผู้หญิงกระเทาะไข่แยกไข่ขาวไข่แดงเพื่อทำทองหยิบ ทองหยอด
สังขยา หม้อแกง แล้วล้างเปลือกไข่ รอน้ำตาลปี๊บเดือด เขาจะเอาเปลือกไข่ ใส่ลงไป 15 นาทีต่อมาน้ำตาลปี๊บจะใสแจ๋วยิ่งกว่าน้ำตาลทราย

ไปเพชรบุรีหม้อแกงใช้น้ำตาลโตนด แม่กิมไล้กิมลี้ทำจากเตาใหม่ๆ จะบอกว่าไอ้หนูกินให้หมดใน 3 วันเนอะ มันจะบูด สมัยนี้ทำจากโรงงาน
3 ถาด 100 เก็บไว้ได้เดือนหนึ่งนะ

คราวนี้ไปเยี่ยมคนป่วยให้ซื้อน้ำตาลปึกไปเยี่ยม แล้วต้องให้story เค้าด้วยนะ
ฝรั่งขายของจะมีstory  คนไทยขายของไม่ค่อยมี

ต่อมาแม็คโครโลตัสเอากระปุกพลาสติกไปอัมพวา ให้คนทำน้ำตาลปี๊บไม่ต้องใส่แบะแซ แต่เอาน้ำตาลทรายใส่ลงไป20%
จะไม่เหม็นบูด ไม่เหนียว. ไม่แข็งแต่ร่วน ผู้ใช้ตักสะดวกกว่าน้ำตาลปี๊บแบบเดิม ใส่เท่าไหร่ก็ได้ กินเยอะหมดไวๆ จะได้ซื้อเยอะๆ

คัดลอกบางส่วนจาก ไกร มาศพิมล https://youtu.be/UgbjiYRCbmo

 น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลมะพร้าว ต่างกันอย่างไรบ้าง http://pantip.com/topic/30110565
 ตอบ1 น้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ อาจเป็นตาลโตนด หรือตาลมะพร้าวก็ได้  ขึ้นอยู่กับว่าพอเคี่ยวแล้วจะขึ้นรูปยังไง ปกติ น้ำตาลพวกนี้จะใส่น้ำตาลทราย 20% เพื่อให้ขึ้นปึกได้  หากไม่ใส่น้ำตาลทรายจะเหลวได้ง่าย ปัจจุบันจะมีน้ำตาลหลอมด้วย เป็นการเอาน้ำตาลทรายขาวผสมน้ำเคี่ยวให้ข้น ใส่แบะแซ กับให้สีด้วยโมลาส ขายในราคาถูกมาก กิโลละ 10 - 15 บาท ขณะที่น้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนดแท้ ตกที่ กิโลละ 35 - 40 บาท แต่กลิ่นหอมที่ได้จะแตกต่างกันมากถึงมากที่สุด
นี่คงเป็นสาเหตุที่คุณสงสัยว่าทำไมมันถึงมีความแตกต่างกัน  คือจริงๆแล้วที่รู้สึกว่าต่างเพราะว่า คุณเจอน้ำตาลที่เป็นน้ำตาลทรายหวานแหลมอย่างเดียว กับน้ำตาลมะพร้าวแท้ ที่มีความหวานคนละอย่างกันและมีกลิ่นเฉพาะตัวด้วย  เพราะฉะนั้นเวลาเลือกซื้อต้องเลือกดีๆ

ตอบ2 แม่กลองเคี่ยวน้ำตาลถ้าใส่ถ้วยเล็กก็คือน้ำตาลปึก  ใส่ปี๊บก็คือน้ำตาลปี๊บ ทั้งสองอย่างได้มาจากมะพร้าว ทั้งหมดก็คือน้ำตาลมะพร้าวนั่นแหล่ะ  ยกเว้นถ้ามาจากทางเพชรบุรี ทำจากตาลโตนด จะเรียกน้ำตาลโตนด


ตอบ3 น้ำตาลปึกทั่วๆไปทำจากจาวมะพร้าวครับ หวานอร่อยแต่ไม่หอม

ตอบ4 น้ำตาลมะพร้าว100%ก็ยังพอมีน่ะครับแม่กลอง แต่หายยากหน่อย ส่วนมากจะมีเจ้าประจำ แต่ก็มีตามร้านออร์แกนิค นั้นน่าจะแท้100%ครับ แล้วก็มีเป็นแบบน้ำหวานกับเป็นผง ที่ผู้ป่วยเบาหวานกินได้ อันนี้น่าจะ100% ออร์แกนิค

ตอบ5  น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก จะเป็นน้ำตาลมะพร้าวจากสมุทรสงคราม ต่างกันที่ การบรรจุนะ
น้ำตาลปี๊บ ใส่ลงปี๊บ
น้ำตาลปึก ใส่ลงถ้วย บางคนก็เรียกน้ำตาลปึกว่า น้ำตาลถ้วย
น้ำตาลโตนด อันนั้นจากทาง เพชรบุรี

"น้ำตาลโตนด" ทำจากจาวตาล

ระวังของแปรรูปจากข้อความต่อไปนี้
ท่านใดสนใจแปรรูปน้ำตาลมะพร้าวให้เข้มข้นเหมือนน้ำผึ้งด้วยระบบสุญญากาศ เพื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาและคุณภาพที่สูงขึ้น  สนใจสอบถามที่ ...............

 ///////////////////////////////
วิธีการทำน้ำตาลโตนด

1. นำกระบอกไม้ไผ่ที่จะไปรองน้ำตาลสดมารมควัน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ แล้วนำมาร้อยเชือก เพื่อใช้แขวนกระบอก แล้วก็นำไม้พยอมใส่ในกระบอกครึ่งฝ่ามือเพื่อป้องกันน้ำตาลสดที่รองไว้มีรสเปรี้ยว
2. เลือกต้นตาลโตนดที่ออกงวง เมื่อเลือกได้แล้วก็จะปีนขึ้นไปเก็บน้ำตาล โดยใช้ไม้คาบนวดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วจึงใช้มีดปาดหน้าตาล การนวดและปาดหน้าตาลทุกวัน เพื่อไม่ให้หน้าตาลแห้ง ตาลตัวผู้จะมีงวง ซึ่งเมื่อใช้ไม้ทาบนวดแล้วจะต้องแช่หน้าตาลไว้ใ  น้ำ เพื่อเป็นการล่อน้ำตาลให้ออกการปาดหน้าตาลจะปาดทุกวันจนกว่างวงตาลจะหมดก็จะถือว่าน้ำตาลจะหมดไปด้วย แต่ถ้าหากน้ำตาลหมดไปแล้วแต่งวงตามีอยู่ก็จะเลิกขึ้นต้นตาลโตนดต้นนี้
3. เมื่อได้นำตาลสดแล้ว นำน้ำตาลสดที่ได้กรองเอาไม้พยอมออกด้วยผ้าขาวบาง นำไปเคี้ยวให้เดือด ถ้าจำหน่ายในรูปน้ำตาลสด ก็เคี่ยวพอน้ำตาลเดือด (ประมาณ 100 เซลเซียส) ปรุงแต่งกลิ่น รสตามใจชอบ เช่นใส่ใบเตยหอม สารแต่งกลิ่นอื่นๆ สารกันเสีย บรรจุขวดเพื่อจำหน่ายต่อไป หรือถ้าทำเป็นน้ำตาลข้น หรือน้ำตาลปึก ก็เคี่ยวต่อไปอีกประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง จนน้ำตาลแก่ (ข้น แดง ฟู) ฟองจะรวมกันก็ยกลงจากเตา คนให้เข้ากันโดยใช้เหล็กกระแทก ตักใส่แบบพิมพ์น้ำปึกที่รองด้วยผ้าขาว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง นำไปจำหน่ายได้

การเคี่ยวน้ำตาลโตนด
- เริ่มจากการนำน้ำตาลสดที่กรอง เอาไม้พยอมออกแล้วนำมาเคี่ยว
- เคี่ยวให้เดือดประมาณ 2-3 ชั่วโมงจนได้น้ำตาลแก่

- เคี่ยวจนได้ที่ จากนั้นนำเอามาใส่แป้นพิมพ์ที่เตรียมไว้

น้ำตาลกรวด
https://www.doctor.or.th/ask/detail/4888
ถาม
ผมอยากทราบว่า “น้ำตาลกรวด” คืออะไร มีชื่อทางเคมีว่าอย่างไร มีโทษต่อร่างกายหรือไม่ อย่างไร เนื่องจากผมเห็นร้านอาหารหลายแห่งเขาใช้น้ำตาลกรวดซึ่งมีลักษณะเหมือนสารส้มใส่ลงไปในอาหาร เช่น น้ำก๋วยเตี๋ยว แกงจืด ได้ถามแม่ค้าดูเขาตอบว่า ใส่เพื่อให้น้ำแกงใส ผมไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยหรือไม่ (ผมต้องกินอาหารที่เขาใส่น้ำตาลกรวดเป็นประจำ)
ตอบ
จากที่ผมได้ปรึกษากับนักวิทยาศาสตร์ทางอาหารแล้ว ก็ทราบว่าน้ำตาลกรวด ก็คือ น้ำตาลทรายธรรมดา ที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิตและไม่เป็นเม็ดเล็ก แต่รวมตัวกันตกผลึกเป็นก้อนน้ำตาลขนาดใหญ่ จึงสามารถจับกลิ่นของน้ำตาลอ้อยไว้ได้ มักนิยมนำมาทำขนม และที่เคยพบ คือ นำไปชงน้ำเก๊กฮวย เพราะทำให้น้ำเก๊กฮวยมีรสชาติดี กลิ่นหอม
ดังนั้นถ้าร้านขายอาหารนำไปใส่ในอาหารก็คงเพียงเพื่อเพิ่มรสชาติความหวานของน้ำต้มกระดูก มิใช่เพื่อทำให้น้ำแกงใส ทั้งนี้เพราะกระดูกที่ใช้ต้มน้ำซุปนั้นมีราคาแพงกว่ากระดูกที่ร้านอาหารนำมาใช้ จึงต้องใช้กระดูกที่ผ่านการต้มแล้วและไม่ค่อยอร่อยมาต้ม แล้วเติมน้ำตาลลงไป
ที่น่าพิจารณาคือ การที่คุณเห็นว่าน้ำตาลกรวดคล้ายสารส้มนั้นผมก็ไม่กล้าเดาว่าไม่ใช่ เพราะปัจจุบันมีการใช้สารเคมีแปลกๆ ในอาหาร เคยมีตัวอย่างการนำเอาสารส้มผสมกับแป้งทำก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่เพื่อให้ได้เส้นที่มีคุณภาพมีสีสวยงาม

ดังนั้นถ้าทำได้ คุณน่าจะขอน้ำตาลกรวดที่แม่ค้าใส่ลงในน้ำซุปมาแตะลิ้นดูสักหน่อย ถ้าหวานก็เป็นน้ำตาลกรวด แต่ถ้าออกรสเฝื่อนๆ เปรี้ยวๆ ก็เป็นสารส้ม ซึ่งถ้ากินเข้าไปมากๆ ก็คงไม่ดีต่อสุขภาพนัก แม้ว่าข้อมูลความเป็นพิษจะไม่ชัดเจน แต่สารส้มก็มีธาตุอะลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นธาตุที่ร่างกายไม่ควรรับเข้าไปมากนัก





น้ำตาลทั้งหลายมีค่าความเป็นด่างสูงมากๆ: กระเพาะอาหารจะต้องผลิตน้ำย่อยซึ่งเป็นกรดเกลืออย่างแรงๆออกมา เพื่อให้ค่าของอาหารเป็นกลาง ถ้าผลิตกรดแรงๆออกมาบ่อยๆ ก็จะไปกัดกระเพาะอาหารทะลุได้ คนที่กินหวานมากๆทั้งหลาย จึงมีแนวโน้มเป็นโรคกระเพาะอาหาร เช่นแผลในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารทะลุ การย่อยอาหารได้ไม่ดี เป็นต้น
คัดลอกจากหนังสือยาพระพุทธเจ้า น้ำปัสสาวะเป็นยารักษาโรค(ฉบับเพิ่มเติม).นิดดา หงษ์วิวัฒน์. หน้า112.