เป็นหวัดไม่กินยาก็หายได้ โดยดำรง พุฒตาล
https://youtu.be/ePOwLZHS0HQ
นพ.วิเชียรชัย ผดุงเกียรติวงษ์
เรื่องเทคนิคสุขภาพดีตามวิถีสมดุลองค์รวม
ณ.โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
******************************
หลวงปู่ตอบบนศาลา“ท่านโรคมากๆไม่มี มีโรคนิดๆหน่อยๆ
อย่าสำออย เข้มแข็ง
หย่าน(กลัว)โรค จะเป็นโรค
อัง.12ธ.ค60
******************************https://youtu.be/9Qn0YsGhOEc
เรา:ึึความเสื่อมของร่างกาย มีขึ้นกับทุกคน การผ่าตัดจึงไม่น่าจะเป็นคำตอบสุดท้าย ต้องคำนึงถึงผลกระทบจากการผ่าตัดด้วย ทีจะเปลี่ยนชีวิตเรา แบบเรียกกลับคืนให้เหมือนเดิมอีกไม่ได้ เมื่อเราตัดสินใจเข้าสู่วงจรการรักษาที่หมอ“ชวนทำ“
******************************
โรงพยาบาลรักษาด้วยการให้คนไข้เคลื่อนที่(ตรงกับคำสอนหลวงปู่
คือลุกได้ไปเลย“
โรงพยาบาลในญี่ปุ่นบางแห่งเชื่อว่าควรให้ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต นอนพักนิ่งๆ แต่ Hatsudai เชื่อว่าหากให้ผู้ป่วยพักมากจนเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกห่อเหี่ยว เสียสุขภาพใจ กล้ามเนื้อก็จะตึงยึด ตัวจะยิ่งเกร็ง แข็ง หากปล่อยไปนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงจริงๆ
โรงพยาบาล Hatsudai จึงใช้วิธีฝึกให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายให้มากที่สุด
ที่โรงพยาบาลจะไม่มีชุดผู้ป่วย คนไข้ต้องเตรียมชุดใส่อยู่บ้านสบายๆ มา ทุกเช้าคนไข้ทุกคนต้องตื่นมาถอดชุดนอนและใส่ชุดของตนเอง คนไหนรักสวยรักงามหน่อยก็อาจเตรียมชุดสีสันสดใสหรือชุดโปรดมาที่นี่ จะได้มีกำลังใจในการทำกายภาพบำบัดมากขึ้นอีกแรง
นอกจากนี้ โรงพยาบาลจะไม่เสิร์ฟอาหารถึงเตียงผู้ป่วยเหมือนโรงพยาบาลทั่วไป แต่พยายามให้ผู้ป่วยค่อยๆ เดินมาที่ห้องอาหารเอง จุดหมายปลายทางของผู้ป่วยทุกคนคืออาหารแสนอร่อย นั่นทำให้ผู้ป่วยพยายามออกกำลังและเดินด้วยตนเองมากขึ้น
เมื่อถึงโต๊ะอาหารเจ้าหน้าที่ก็พยายามให้ผู้ป่วยตักและทานอาหารด้วยตนเอง พยาบาลจะเข้าไปช่วยผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น นี่ก็เป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือ แขน และนิ้ว แบบอ้อมๆ
ด้านการขับถ่ายก็เช่นกัน โรงพยาบาลจะพยายามไม่ให้ผู้ป่วยใช้ผ้าอ้อมทั้งๆ ที่สะดวกกว่า แต่กลับกระตุ้นให้ผู้ป่วยเดินไปเข้าห้องน้ำเอง
ตอนเย็นจะไม่มีพยาบาลมาคอยเช็ดตัวให้ พยาบาลที่นี่จะค่อยๆ พาผู้ป่วยไปอาบน้ำที่อ่างเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้แช่น้ำอุ่นอยู่ที่บ้าน
เพราะฉะนั้น นอกจากโปรแกรมกายภาพบำบัดแล้ว ผู้ป่วยทุกคนจะมีโอกาสขยับเขยื้อนตัวในแทบทุกกิจกรรมแต่ละวันของพวกเขา
หากมองเผินๆ อาจดูเหมือนโรงพยาบาลใจร้าย ไม่ยอมเข้าไปช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เจ้าหน้าที่ Hatsudai ทุกคนทำลงไปก็เพื่อให้ชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยคล้ายกับชีวิตประจำวันเดิมมากที่สุด และเป็นการฝึกกล้ามเนื้อผู้ป่วยให้แข็งแรง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้เร็วที่สุดนั่นเอง
การบริการแบบญี่ปุ่นจึงไม่ใช่การ ‘ปรนนิบัติดูแล’ ลูกค้าให้ดีที่สุด แต่คือการมองให้ขาดว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คืออะไร และกล้ามอบสิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นให้แก่ลูกค้า
หัวใจของ Omotenashi
ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาล Hatsudai คือ คุณหมอมาโกโตะ อิชิกาว่า
www.jarm.or.jp
อดีตท่านเคยเป็นแพทย์ผ่าตัดสมองมาก่อน แต่วันหนึ่งท่านผ่าตัดคนไข้ชายรายหนึ่ง การผ่าตัดประสบความสำเร็จด้วยดี แต่คนไข้คนนั้นลุกขึ้นมาเดินไม่ได้อีกเลย คุณหมอรู้สึกผิดเป็นอย่างมาก คุณหมออิชิกาว่าจึงเริ่มศึกษาศาสตร์ด้านกายภาพบำบัดและผันตนเองมาเป็นแพทย์ในศาสตร์นี้
ในตอนนั้น คนรอบตัวคุณหมอเข้าใจว่ากายภาพบำบัดเป็นเพียงการนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อผู้ป่วย ทุกคนต่างมองว่าอุตส่าห์เป็นถึงนายแพทย์ด้านสมอง แต่ทำไมต้องลดตัวลงมาทำด้านกายภาพบำบัดเช่นนี้ รายได้ก็คงลดลงฮวบฮาบ มีแต่คนมองหมออิชิกาว่าด้วยสายตาแปลกๆ
แต่คุณหมอก็ค้นคว้าต่อไปจนพัฒนาเป็นศาสตร์การรักษาผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต ท่านไม่ยอมปล่อยให้พยาบาลเอาแต่เช็ดเนื้อเช็ดตัวดูแลผู้ป่วยติดเตียงอีก แต่หาวิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังมากขึ้น ฝึกกล้ามเนื้อมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็หาวิธีจูงใจให้ผู้ป่วยปรารถนาที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนชีวิตตนเอง
คุณหมอพยายามเปลี่ยนวิธีการดูแลของพยาบาลในทีม จนเช้าวันหนึ่งท่านไปถึงชั้นผู้ป่วยและพบว่าพยาบาล 7 จาก 12 คนไม่ยอมมาทำงาน พวกเธอรวมตัวกันต่อต้านคุณหมอ
จังหวะที่คุณหมอคิดว่า ‘จบสิ้นกัน’ นั้น
พยาบาลคนหนึ่งเดินมาบอกคุณหมอว่า
“ดิฉันรู้สึกว่าการดูแลผู้ป่วยแบบนี้สนุกดีค่ะ ดิฉันดีใจที่ได้เห็นคนไข้เปลี่ยนไปขนาดนี้ คิดดูสิคะผู้ป่วยที่นอนนิ่งๆ มาตลอด 3 ปี ตอนนี้แกลุกขึ้นและออกไปเดินเล่นได้เองแล้ว”
คำพูดนั้นของนางพยาบาลทำให้คุณหมอฮึดสู้ต่อและตัดสินใจสร้างโรงพยาบาลของท่านเอง เพื่อสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่ในรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนมากที่สุด
นั่นคือจุดกำเนิดของโรงพยาบาล Hatsudai โรงพยาบาลที่ขึ้นชื่อว่ากายภาพบำบัดโหดที่สุด ขณะเดียวกัน ก็รักษาผู้ป่วยได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
ทีม Hatsudai
การรักษาแบบคุณหมออิชิกาว่านี้จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายศาสตร์ ทั้งนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ นักอรรถบำบัด ตลอดจนนักสังคมสงเคราะห์
ปัญหาคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ มักจะเกรงใจคุณหมอหรือแพทย์ในทีม หรือบางครั้งแพทย์บางท่านก็มีอัตตาสูง ไม่ยอมฟังความเห็นใคร
คุณหมออิชิกาว่า จึงแก้ปัญหาด้วยการทำให้ทุกคนในทีมเท่าเทียมกันหมด
ท่านสั่งห้ามเรียกแพทย์ว่า ‘คุณหมอ’ และบังคับให้ทุกคนในทีมเรียกชื่อกันและกัน แล้วลงท้ายชื่อว่า ‘ซัง’ ซึ่งแปลว่า ‘คุณ’ แม้แต่เวลาเจ้าหน้าที่เรียกคุณหมอก็ให้เรียกว่า ‘อิชิกาว่าซัง’
นอกจากนี้ อิชิกาว่าซังยังให้ทุกคนใส่ชุดยูนิฟอร์มเหมือนกันเพื่อแสดงถึงความเท่าเทียมกัน ในขณะที่โรงพยาบาลอื่นนายแพทย์ใส่เสื้อคลุมสีขาว แต่หมอโรงพยาบาล Hatsudai ใส่เสื้อโปโลแขนสั้น กางเกงสแล็ก กับรองเท้าผ้าใบ
topics-jp.com
ทุกทีมจะมี ‘ผู้จัดการทีม’ ซึ่งเป็นคนที่มีความสามารถในการบริหารจัดการคนได้ ผู้จัดการทีมไม่จำเป็นต้องเป็นหมอ อาจเป็นนักกายภาพบำบัดหรือนักโภชนาการก็ได้ โดยจะทำหน้าที่รับฟังความเห็นของทุกคนอย่างเป็นกลาง และร่วมหาวิธีรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนให้ได้มากที่สุด
ความสุขของทุกคนในทีม Hatsudai คือการได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่ตนเองดูแล จากผู้ป่วยที่ขยับร่างกายแทบไม่ได้ กลายเป็นผู้ป่วยที่ยิ้มได้ ลุกขึ้นเดินได้ และจูงมือสมาชิกครอบครัวเดินออกจากโรงพยาบาลไปได้
หัวใจของการบริการที่ดีแบบ Omotenashi นั้นเริ่มจากการดูแลคนภายในให้ดี ช่วยเหลือกันและกันได้อย่างเต็มที่ หากพนักงานในองค์กรแข็งแกร่งและมีความสุข พวกเขาก็จะมีพลังในการส่งต่อบริการที่ดีให้กับลูกค้าได้
Omotenashi จึงไม่ใช่การรอรับใช้ลูกค้า ไม่ใช่การรอว่าลูกค้าจะสั่งอะไร แล้วเราจะทำตามคำสั่งนั้นให้ดีที่สุด
Omotenashi หรือจิตวิญญาณการบริการแบบญี่ปุ่นที่แท้จริงนั้นเริ่มจากความสัมพันธ์ที่ ‘เท่าเทียม’ กับลูกค้า มิได้เป็นผู้รับใช้ แต่เป็นคนที่ห่วงใยและคอยใส่ใจลูกค้าแต่ละคน เมื่อห่วงใยจริงๆ ก็กล้าถามความเห็นลูกค้า กล้าพูดคุยเพื่อเก็บข้อมูล และกล้าเตือน
สิ่งสำคัญอีกประการในการสร้าง Omotenashi นั้น คือการเข้าใจลูกค้าและรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการที่สุด โดยที่ลูกค้าเองอาจไม่คาดคิดหรือไม่รู้ตัวมาก่อน
คนไข้หลายคนของ Hatsudai หมดหวังในการใช้ชีวิต เพราะสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนรู้ว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยคือการได้กลับไปใช้ชีวิตเหมือนแต่ก่อน ทุกคนจึง ‘กล้า’ ที่จะเคี่ยวเข็ญและทำให้ผู้ป่วยฝึกกายภาพบำบัดทุกวิถีทาง
ในตอนแรกผู้ป่วยอาจท้อหรือไม่เข้าใจพนักงานที่ให้บริการ แต่วันที่พวกเขาลุกจากเตียงขึ้นมายืนด้วยขาตนเองได้อย่างมั่นใจนั้น วันนั้นจะเป็นวันที่เปลี่ยนชีวิตพวกเขาไปตลอดกาล และประทับใจการบริการของโรงพยาบาล Hatsudai ไปอย่างมิรู้เลือน
สิ่งที่ทีม Hatsudai มอบให้ผู้ป่วยจึงมิใช่แค่บริการกายภาพบำบัด แต่คือการคืนชีวิตให้กับผู้ป่วยและสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตต่อไปให้กับพวกเขานั่นเอง
https://readthecloud.co/hatsudai-rehabilitation-hospital/******************
เกิดหลังจากวิกฤตอีกวิกฤตหนึ่ง คือพอเราหายจากโรค ปีถัดมา 2547 สามีป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก อันนี้หนักเลย แม้ว่าจะตรวจพบเร็วและอยู่ในขั้นต้น แต่วิธีการรักษามะเร็ง แพทย์จะทำคีโม ต้องฉายแสงและผ่าตัด ผลข้างเคียงคือผมร่วง เหนื่อย ไม่มีแรง หายใจไม่ออก และพอผ่าตัดต่อมลูกหมากก็ทำให้ฉี่ไม่ได้ ต้องใส่แพมเพิร์ส เพราะต่อมลูกหมากเป็นท่อที่เกาะท่อปัสสาวะ แล้วท่อปัสสาวะเคลื่อนตัวได้ด้วยการขยับของต่อมลูกหมาก พอไม่มี ก็เหมือนท่อวางเฉยๆ คุมการฉี่ไม่ได้ ก็ปรึกษากันเราก็เอาแนวความคิดเราบอกกับเขาซึ่งเขาเป็นทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้วย ตกลงกันได้ว่าเราจะไม่ป่วยเพราะรักษา ก็ตัดสินใจย้อนศรไปทางธรรมชาติบำบัด โอเค เราใช้ชีวิตผิดมาแล้ว เครียดกินอาหารไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง
ป้านิดดา สามี และหลาน
ศาสตราจารย์ ดร.ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ อดีตนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลและที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก
***********************************************************
แนวทางเดียวกัน แต่ลงลึกกว่า คือต้องเป็นระดับมังสวิรัติขนานแท้ เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ต้องงดโปรตีน งดเนื้อสัตว์ทุกชนิด ... ต้องกินเปลี่ยนเลือด คือเลือดเรามี 2 ชนิด มีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวมีอายุ 3-4 วัน แปลว่าถ้าได้อาหารดีๆ พอครบกำหนด เขาตายแล้วเกิดใหม่ก็จะแข็งแรง และเม็ดเลือดขาวในร่างกายทั้งหมดก็เป็นเม็ดเลือดขาวตัวใหม่ที่แข็งแรง มันจะสู้โรคได้ ส่วนเม็ดเลือดแดงมีอายุ 4 เดือน เป็นตัวที่มีทั้งสารอาหาร มีทั้งการรับออกซิเจน เป็นตัวผ่านของฮอร์โมนส์ ก็เริ่มจากกินผักและผลไม้ 3 เวลา กินธัญพืชต่างๆ เมล็ดถั่วจำพวกประเภทบีนและนัท ทำน้ำนมธัญพืชกินกันเอง ทำน้ำคลอโรฟิลล์ เพราะคนเป็นมะเร็ง ตัวจะร้อนมาก เนื่องจากมันหิวกระหายการเติบโต เวลาเติบโต มันต้องการเมตาบอลิซึม การกินของเย็นๆ จะช่วยรักษาโรค กาแฟที่เคยกิน เลิกหมด เพราะกาแฟมีคาเฟอีน มันจะบังคับตับทำงาน แล้วมันจะเปลี่ยนเป็นอาหารสำรอง กลายเป็นน้ำตาล ซึ่งน้ำตาลเป็นต้นตอของมะเร็ง น้ำตาลทุกชนิดเป็นอาหารของมะเร็ง ฉะนั้น เมื่อเครียด ร่างกายผลิตน้ำตาล เป็นอาหารของมะเร็ง กินกาแฟ คาเฟอีนบีบตับให้เปลี่ยนไกลโคเจนเป็นน้ำตาล กินแป้งเยอะๆ ขนมต่างๆ แป้งเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ไปเป็นน้ำตาล ฉะนั้น ต้องแก้ให้ครบหมดถึงจะหยุด http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9590000087566 | |||
แต่คุณจะทำอะไรช่างคุณ จิตใจคุณจะตกต่ำหรือวิตกกังวลเครียดช่างคุณ อาหารจะอยากจะกินอะไรเรื่องของคุณ แต่ธรรมชาติบำบัด คุณต้องยกมาหมดเลย อาหารต้องเป็นธรรมชาติ การใช้ชีวิตต้องรู้พักรู้เพียร เมื่อเพียรแล้วก็ต้องรู้พักแล้วก็ต้องรู้ผ่อนคลาย รู้ผ่อนคลายก็จิตใจดี เรียกได้ว่าต้องพรหมวิหาร 4 เลย ซึ่งเราทำได้ ผลปรากฏว่า ไม่ใช่แค่ค่ามะเร็งต่อมลูกหมากลดลงและหายไปอย่างเดียว ผิวพรรณก็ดีขึ้น โรคต่างๆ ที่เคยเป็นอย่าง “กระเนื้อ” “สะเก็ดเงิน” หลุดโดยไม่ต้องไปรักษาทำเลเซอร์ซึ่งกำลังจะตัดสินใจไปด้วย แถมน้ำหนักลดลง 10 กิโลกรัม • อย่างนี้แสดงว่า อาหารออร์แกนิก เหมาะกับการรักษาคนป่วยมากๆ เลย จริงไหมครับ ใช่ค่ะ เพราะคนที่ป่วยมากๆ ร่างกายไม่มีกำลังในการย่อย เราจึงต้องกินอาหารอ่อนๆ พลังในการย่อยอาหารไม่มี แต่คนส่วนมากชอบคิดว่าป่วยแล้วต้องโด๊ป แต่ส่วนใหญ่จะตายเพราะโด๊ป เนื่องจากร่างกายทำงานเกินแรง แทนที่จะเอาพลังไปรักษาโรค กลับต้องไปย่อยอาหารหนักๆ หมอเขียว (ใจเพชร กล้าจน) ถึงบอกให้กินอาหารฤทธิ์เย็น เพราะอาหารเย็นอาศัยแรงในการเผาผลาญน้อย พอเริ่มฟื้นตัวมีกำลัง ต้องการการฟื้นตัว ค่อยโด๊ป ให้อาหารที่ดี และเมื่อเป็นปกติ อย่าไปโด๊ป เพราะร่างกายสมดุลแล้ว โด๊ปไปจะทำให้เปลี่ยนเลย คือการให้อะไรร่างกายเยอะๆ กลับเป็นผลเสีย เหมือนกับการที่เรานิยมกินอาหารเสริมวิตามินในปัจจุบันโดยไม่รู้ สุดท้ายก็กลายเป็นนิ่ว แถมนิ่วประเภทหินอีกด้วย หรือตัวอย่างแคลเซียมตัวเดียวที่บอกว่ากินๆ ทานเข้าไป แต่ถ้าไม่มีวิตามินดีก็เข้าร่างกายไม่ได้ แล้วแม้เข้าร่างกายไปแล้ว ไม่มีแมกนีเซียมกับวิตามินซีก็เข้ากระดูกไม่ได้ ถ้าไม่มีฟอสฟอรัสเข้าช่วยแคลเซียม คุณก็สร้างเยื่อกระดูกไม่ได้ ก็คืออินทรีย์สารจากพืชผักผลไม้ และเกลือแร่ พอเรากินไม่เป็น เราก็ไม่แข็งแรง ฉะนั้น การกินโอเว่อร์ ไม่ดีทั้งนั้น แต่คนส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น ไม่ได้ศึกษา ใช้คอมมอนเซ็นส์ ใช้ความเคยชิน • แล้วคำกล่าวที่ว่า ร่างกายต้องได้รับสารอาหารทั้งพืชผักและเนื้อสัตว์ครบถ้วนล่ะครับ? ต้องถามว่าเขาขาดสารอาหารประเภทอะไร สมมุติโปรตีน ธัญพืชทุกชนิดมีโรตีนสูงมาก เช่น ชิคพี (Chickpea) ถั่วลูกไก่ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “สเต็กบีน” ทำไมเป็นอย่างนั้น นั่นก็เพราะว่าถั่วตัวนี้มีโปรตีนสูงเท่ากับเนื้อสัตว์ ในขณะที่มันสามารถย่อยได้เกือบหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ คือต้องดูว่าขาดอะไร แล้วมาดูซิว่าในธรรมชาติมีไหม ธรรมชาติไม่มีอะไรที่ไม่มีเลย วิตามินดี แสงแดดในเนื้อสัตว์ไม่มีเป็นต้น แต่แน่นอน สัตว์เขากินพืชผักผลไม้ มาเป็นอาหารเขา เขาถึงได้มีสารอาหาร เขาถึงเรียกว่า "Circle of Life" มันเป็นวงวัฏจักรของอาหาร ดังนั้น เรากินเนื้อสัตว์ จริงๆ เราก็กินพืชพักด้วย วัวกินหญ้า โตเอาๆ กล้ามเนื้อใหญ่โต ไม่เห็นไปกินเนื้อวัวด้วยกันเอง นี่เป็นการพูดเพื่อตัวเอง แต่ถ้าให้ยุติธรรม มันต้องย้อนดูสารอาหาร คุณขาดอะไร ขาดคาร์โบไฮเดรต แป้ง น้ำตาล ไขมัน ถั่วทุกชนิด โดยเฉพาะ ไฟน์นัท ถั่วของต้นสน ไขมันสูงอันดับหนึ่ง จนที่นี้ต้องเก็บไว้ในช่องแช่แข็งเพื่อไม่ให้มันหืน แร่ธาตุจากผักผลไม้ไม่มีในสัตว์ คนทุกวันนี้ถึงได้เป็นโรคท้องผูก แล้วเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ เพราะคุณไม่กินไฟเบอร์เลย ไม่มีตัวช่วยกวาดล้างพิษออกจากระบบย่อยอาหารและระบบของการขับถ่าย ยิ่งกว่านั้นมีเอสโตรเจนฮอร์โมนส์ แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส เราเป็นอะไรเราก็ต้องศึกษาว่าต้องการอะไร เพิ่มความรู้ขึ้นไป | |||
องค์การอนามัยโลกบอกว่าขณะนี้ คนตายด้วยโรคที่ไม่มีเชื้อโรค ไม่ใช่โรคระบาด แต่เป็นเพราะโรคที่เกิดจากพฤติกรรม 50 ล้านคนต่อปี ถ้าคนมีความรู้จะลดการตายได้มากกว่าครึ่ง เราอยากทำอะไรที่ให้ความรู้คน เพื่อให้คนสามารถที่อยู่รอดมีความสุขปราศจากโรคภัย ก็เกิดเป็นหนังสือ อาหารดีที่ต้องกิน อาหารสุขภาพบ้านคุณนิดดา ฯลฯ แล้วก็ค่ายอบรม พอรู้จักหมอเขียว ยิ่งร่วมกันทำ คนก็เริ่มถามว่าทำอย่างไร ทำเผื่อพวกเขาด้วยได้ไหม เพราะไหนๆ ก็ทำให้ครอบครัวอยู่แล้ว ก็เลยกลายมาเป็นร้าน และในทุกวันเสาร์ของสัปดาห์ก็มีการจัดอบรมสุขภาพฟรีให้แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งทำอย่างไรให้สุขภาพตัวเองแข็งแรง และสำหรับผู้ที่ป่วยอยากหายขาดจากโรค แต่ละอาทิตย์ก็แตกต่างหัวข้อ ต่างคนประสบการณ์ถ่ายทอด ซึ่งติดตามได้ในเพจเฟซบุ๊ก SANGDADHEALTHMART นั่นคือแนวคิดทั้งหมด เพื่อให้คนสัมผัสอาหารที่ดีกับสุขภาพ ส่วนคนที่พอได้ยินคำว่ามังสวิรัติก็กลัวแล้ว มันจะอร่อยไหม เบื่อ จืดชืด เลยมาทำให้ดูว่าอาหารไม่มีเนื้อสัตว์ก็อร่อยได้อย่างที่เห็นว่ามีเมนูอาหารจานด่วนด้วย ไม่ใช่เพราะว่าเป็นการตลาดที่ปรับให้เข้ากับยุคสมัยหรือกลุ่มลูกค้าที่เร่งรีบในเรื่องของเวลา แต่เราต้องการจะกระตุ้นให้เกิดการใส่ใจในสุขภาพและทุกคนหันมาทำอาหารทานกันเองมากขึ้น เพราะรู้ว่าอาหารอร่อยมันบำรุงจิตใจ กินแล้วมีความสุข ส่วนอาหารดีมันบำรุงร่างกาย สารอาหารมันเป็นตัวซ่อมสร้างอวัยวะ เพราะเรากินอาหารถูก มันซ่อมสร้าง จิตใจเราดีด้วย มันก็ทำให้อวัยวะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้น ฉะนั้น อาหารสุขภาพมันควรจะต้องเป็นอาหารดีและอาหารอร่อยคู่กัน ถามว่าทำยากหรือไม่ ถ้าบอกว่ายากก็ยาก แต่ถ้าชีวิตมันอยู่บนเส้นดายแล้ว คุณทำยาก ตาย ทำไม่ยากก็รอด คือบางครั้ง การเจ็บป่วยกลับเป็นเรื่องดี มันผลักคนไปอยู่ที่มุม ฉะนั้น ไอ้ที่บอกว่ายาก มันกลายเป็นเรื่องง่าย และไม่มีเคล็ดลับอะไรด้วย เพียงแต่ต้องเป็นของที่ปลอดสาร อย่างที่นี่ เราปลอดสารทั้งหมด | |||
ทุกวันนี้ ทั้งเราและสามีแข็งแรง ล่าสุดกิจกรรมที่ทำปีนเขา ปีนแบบเทรคกิ้ง พิชิตภูกระดึง ภูฮิลล์ที่ประเทศเนปาลความสูง 3,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เดินเขาประมาณ 5 ลูก โพคาล่า ก็ไปมา กำลังจะไป ABC เบสแคมป์ ABC ที่ยอดเขาอันนะปุรณะ ความสูงรองจากภูเขาเอเวอร์เรสต์ | |||
เพราะหัวใจของชีวิตเราคือร่างกาย เรามาอาศัยเขาในการทำทุกอย่าง ทีนี้ ถ้าร่างกายเราไม่ดี เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า อะโรคะยา ปะระมา ลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ คือสิ่งที่เราตั้งใจจะทำ ก็จะสำเร็จได้ ทรัพย์สมบัติที่ยังไม่มาก็ไขว่คว้าได้ สมบัติที่มีอยู่แล้วก็งอกเงยได้ ด้วยเพียงสภาพที่ดี ฉะนั้นสุขภาพที่ดีมันช้อนทุกอย่างที่เราต้องการได้หมด แต่สุขภาพไม่ดี สมองเบลอแล้ว ทำงานก็ไม่ได้ ได้แต่เครียด ได้แต่กังวล ก็เหมือนหนอนที่เลื้อย ลุกโงหัวไม่ขึ้น สุขภาพที่ดีจึงเป็นหัวใจของความสำเร็จทุกชนิด รวมทั้งความสุขด้วย ก็ดีใจที่ช่วยลดความทุกข์จากการเจ็บป่วย ถึงจะน้อยนิดก็ยังดี และได้เป็นกำลังใจให้คนที่ป่วย คนที่เขาว้าเหว่ ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ปรึกษา อนาคตก็มีเป้าหมายดึงให้กลุ่มคนที่ไม่ป่วยให้สนใจมากขึ้น เพราะสมัยนี้คนสนใจสุขภาพกันมากกว่าแต่ก่อน แม้ยังไม่ถึงขั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่ถ้ามีโอกาส ทำไมไม่ลองสักหน่อย |
***********************************************************
เรื่องกิน
“ของที่เคยชอบๆอยู่ก็เลิกซะ กินให้ผสมผสาน
ของที่ไม่เคยชอบก็กินๆมั่งซะ
สิ่งที่เราชอบมันมีอยู่ในกายแล้วประจำๆ
ไอ้สิ่งที่เราไม่ชอบนี่ในกายเราไม่มี แร่ธาตุต่างๆมันไม่เคยพบ
ร่างกายมันไม่เคยได้รับรู้ความรู้สึกตรงนี้ ต้องให้้กิดความเคยชินเกิดตัวรู้ขึ้นมาในกาย
ให้ส่วนลึกที่ใช้นี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงธาตุบ้าง
ถาม:คนที่มาหาพระอาจารย์ ไม่หายสักที เป็นเพราะอะไร
ตอบ:พฤติกรรม กลับไปถึงบ้านก็เหมือนเดิม ใช้ชีวิตเดิมๆ ก็เป็นเหมือนเดิมๆ
พระอาจารย์ชัยณรงค์ อุปสโม รายการธรรมนิยาม รักษากาย รักษาใจ 2/4
การรักษาตัวเอง
1.แก้ผดผื่น: อาบแดด ยืนหรือนั่งหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ วันละ2ครั้ง ก่อน09:00 หลัง16:30 ด้านหน้า15นาที ด้านหลัง15นาที
2.ปวดเมื่อย เอาผ้าชุบน้ำมาพัน
3.ปวดหัว เอาน้ำราดหัว
4.กดจุดนวดตัวเองเพื่อผ่อนคลายจิตใจ
จากหนังสือธรรมชาติบำบัดของหมอเจค็อปหน้า163
5.ไม่ควรใช้การสวนทวารล้างพิษในลำไส้ใหญ่ เป็นวิธีการแก้ปัญหาปลายเหตุ โดยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่ของตนเอง เช่นกินเนื้อสัตว์หรือเบเกอรี่ แล้วล้างพิษด้วยการสวน เพราะจะเป็นการรบกวนร่างกาย ซึ่งจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี
การสวนให้ทำระยะเวลาหนึ่ง ไม่เกิน4เดือน อย่าทำจนติด เพราะลำไส้จะไม่ได้ทำหน้าที่ ให้สวน2สัปดาห์ เว้น2สัปดาห์สลับกันไป
เมื่อใดอุจจาระมีกลิ่นเหม็นหมายความว่า ลำไส้ใหญ่เปลี่ยนสภาพจากเป็นกรดเล็กน้อยมาเป็นด่าง และเกิดสารพิษขึ้นแล้ว ซึ่งสารพิษจะดูดซึมกลับไปในกระแสเลือดอีก ทำให้ตับและไตทำงานหนักเป็นทวีคูณ
กาแฟกระตุ้นให้ตับทำงานดีขึ้น ขับพิษในตับได้ดี แต่รุนแรงกว่าน้ำเปล่า ไม่ควรใช้กาแฟสวนทุกวัน ควรเว้นช่วง เพราะมีความรุนแรง
จากหนังสือธรรมชาติบำบัดของหมอเจค็อปหน้า110-111
6.แช่ขาในน้ำอุ่นและพอกสมุนไพร คลายเครียดและดูดพิษ
7.ทำจิตใจให้สะอาด ต้องมีความหวัง และมั่นใจว่าทำได้
จากหนังสือธรรมชาติบำบัดของหมอเจค็อปหน้า108-109
9.ระมัดระวังการพูดกับผู้ที่ไม่มีความเชื่อในเรื่องนี้ เพราะจะทำให้ไขว้เขวได้ ตั้งสติให้มั่นคง
ดูแลตนเองง่ายๆ ดังนี้
■1.ปรับเลือดที่หนืดข้นให้หายข้นด้วยการเพิ่มน้ำเข้ากระแสเลือด โดยทานน้ำอุ่นให้ได้ 8-10 แก้ว ทุกวัน งดการทานน้ำเย็นเด็ดขาด
■2.ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกอย่างต่อเนื่องด้วยการออกกำลังเป็นประจำ
หรืออาจใช้การจัดกระดูกช่วยให้เลือดไหลเวียนสม่ำเสมอ
(หมอลดาวัลย์พูดถึงคนไข้รายหนึ่ง รักษามากับหมอจนดีขึ้น แล้วเสียดายเงินแสนที่ไปเข้าคอร์สจัดกระดูก จึงไปจัดกระดูกด้วย อาการทรุดลง หมอเรียกมาคุย แรกๆพูดอ้อมแอ้ม ในที่สุดจึงเล่าให้ฟัง. ที่มา-รักษาบ้านสวนครั้งที่12,อัง.28 เม.ย58)
■3.ไม่กินอาหารเนื้อสัตว์ ของทอด ของหวานจัด เพราะทำให้เกิดอนุมูลอิสระปริมาณมากจนทำให้หลอดเลือดแข็ง หรือ ตีบตันได้ง่าย
หัวข้อในบล็อกที่เกี่ยวข้อง“เมื่อเริ่มจะไม่สบาย ให้เช็ดตัว ก่อนวิ่งหายามากิน“
https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=3077885054647772908#editor/target=post;postID=2914457195769954133;onPublishedMenu=allposts;onClosedMenu=allposts;postNum=80;src=postname
หมอสันต์กับทางเลือกที่เลือกรักษาตัวเอง
ยาจากร.พจะทำให้หายจากการเจ็บป่วยได้ 20-30%
ดูแลตัวเองจาก7ตัวชี้วัดสุขภาพ จะลดความเสี่ยงตาย(น่าจะใช้ว่าความเจ็บป่วย)ได้91% ได้แก่: นน. ความดัน ไขมัน น้ำตาล การกินผักผลไม้เยอะๆ
การออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่
https://youtu.be/LI7uD_nu-nI
หมอมะเร็งเศรษฐีร้อยล้านจากเมืองดีทรอยค์ Farid Fata 50 ปี
จงใจวินิจฉัยผิด ให้ยาและการรักษาที่ไม่จำเป็นแก่คนไข้กว่า 500 คน
ฟาดเงินค่าตรวจและรักษาไปไม่น้อยกว่า 17 ล้านเหรียญ
ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยมะเร็งหลายสิบคน ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นมะเร็ง
แต่เขาวินิจฉัยว่าเป็น และรักษาด้วยการทำคีโม
บางคนจากสุขภาพแข็งแรง โดนคีโมไปสามปี
เสียขาไปบ้าง เสียฟันไปบ้าง
จากเดินได้กลายเป็นเดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้า
หลายคนเครียดเพราะหมอบอกกำลังจะตายเพราะมะเร็ง (terminal cancer)
ทั้ง ๆ ที่ความจริงไม่ได้เป็นแบบนั้น ต้องตรอมใจ
หลายคนล้มละลายเพราะเจอบิลค่ารักษาพยาบาลสูงลิ่ว
ศาลตัดสินจำคุกเขา 45 ปี แต่คาดว่าจะได้ลดโทษเพราะประพฤติตัวดี
คดีนี้ต้องชมตำรวจและอัยการหาหลักฐานได้แน่นหนามาก จนเอาผิดข้อหา “medical malpractice” และอื่น ๆ ได้
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10214620194124267&id=1404757101
(09:47) สิ่งสุดท้ายคือ เวลาเจ็บป่วยจะทำอย่างไร
ตอนแรกผมก็กังวลใจเหมือนกัน
เพราะผมไม่มีเงินเลย แต่ผมเริ่มไตร่ตรองมากขึ้น
จริงๆแล้วความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา
ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเลย
ความเจ็บป่วยคือบางสิ่งที่จะเตือนให้เรารู้ว่า
เรากำลังทำบางสิ่งบางอย่างในชีวิตผืดพลาดไป
นั่นคือสาเหตุว่า ทำไมเราจึงเจ็บป่วย
ดังนั้นเมื่อผมป่วย ผมจึงต้องหยุดและหันมาดูตัวเอง
และคิดให้ได้ว่า ผมทำอะไรผิดไป
ผมได้เรีบนรู้วิธีการใช้น้ำเพื่อบำบัดตัวเอง
วิธีการใช้ดิน เพื่อรักษาตัวเอง
ผมเรีบนรู้วิธีที่จะใช้ ความรู้พื้นฐสน
หลังจากที่ผมพึ่งพาตัวผมเองใน4เรื่อง(บ้าน เสื้อผ้า อาหาร เจ็บป่วย) ที่ผมกล่าวไปแล้ว
ผมรู้สึกว่าชีวิตช่างแสนง่ายดาย
ผมรู้สึกเหมือนกับว่ามีอิสระเสรี
ผมรู้สึกหมดห่วงกังวลในทุกๆสิ่ง
ผมมีความกลัวน้อยลง
ผมทำอะไรก็ได้ที่อยากจะทำในชีวิต
เมื่อก่อนผมมีแต่ความกลัว ผมไม่กล้าทำอะไรสักอย่าง
ตอนนี้ผมรู้สึกมีอิสระ ราวกับว่าผมเป็นเอกบุรุษของโลกนี้
ไม่มีใครเหมือนผม และผมก็ไม่ต้องการทำตัวเองให้เหมือนกับใครอื่น
ผมมันสุดยอด
สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้มันเป็นเรื่องง่ายๆ เรื่องเบาๆ
https://m.youtube.com/watch?feature=youtuเรื่องกิน
“ของที่เคยชอบๆอยู่ก็เลิกซะ กินให้ผสมผสาน
ของที่ไม่เคยชอบก็กินๆมั่งซะ
สิ่งที่ราชอบมันมีอยู่ในกายแล้วประจำๆ
ไอ้สิ่งที่เราไม่ชอบนี่ในกายเราไม่มี แร่ธาตุต่างๆมันไม่เคยพบ
ร่างกายมันไม่เคยได้รับรู้ความรู้สึกตรงนี้ ต้องให้้กิดความเคยชินเกิดตัวรู้ขึ้นมาในกาย
ให้ส่วนลึกที่ใช้นี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงธาตุบ้าง
ถาม:คนที่มาหาพระอาจารย์ ไม่หายสักที เป็นเพราะอะไร
ตอบ:พฤติกรรม กลับไปถึงบ้านก็เหมือนเดิม ใช้ชีวิตเดิมๆ ก็เป็นเหมือนเดิมๆ
พระอาจารย์ชัยณรงค์ อุปสโม รายการธรรมนิยาม รักษากาย รักษาใจ 2/4
**********************
เมื่อเริ่มจะไม่สบาย ให้เช็ดตัว ก่อนวิ่งหายามากิน
เพื่อให้อาการไม่สบายตัว เมื่อยเนื้อตัว หลังแข็ง ขาตึง มือแข็ง จากการกินไม่สมดุล จากอากาศร้อน จากการทำงานหนัก เครียดหรือนอนไม่หลับ ให้ร่างกายไม่แข็งตึงสามารถยืดหยุ่นได้ เปิดลมปราณให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น ระบายความร้อนและของเสียออกได้ที่จุดอื่นๆ ไม่ต้องมาออกที่จุดเดียวกัน อาการเบาบางและทุเลาได้เร็ว โดยใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ ไล่เช็ดตามร่องกล้ามเนื้อทั้งตัว ลงน้ำหนักนวดเช็ดแรงเท่าที่รู้สึกสบาย หายใจเข้าออกลึกๆ ดังนี้
1.เริ่มจากต้นแขน นวดเช็ดเบาๆใต้รักแร้ ข้อพับ ข้อมือ โคนเล็บนิ้วมือ ไปปลายนิ้วมือ ทำทั้ง2แขน
2.นวดเช็ดโคนขา ข้อเข่า ข้อนิ้วเท้า โคนเล็บเท้า ไปปลายนิ้วมือ ทำทั้ง2ขา
3.มาที่กระดูกสันหลัง นวดเช็ดออกซ้ายขวาตามร่องกล้ามเนื้อ ร่องกระดูกซี่โครง หมั่นเช็ดก้นกบอย่าให้คล้ำ เช็ดให้เลือดลมหมุนเวียน
4.มาที่หน้าอก นวดเช็ดรอยต่อระหว่างกล้ามเนื้อแขนกับหน้าอก ผู้หญิงให้นวดเช็ดรอบฐานเต้านม
5.มาที่หัว นวดเช็ดขยี้ให้ถึงผิวหนัง จะสัมผัสได้ถึงความร้อนในหัว หัวจะร้อน จะใช้ผ้าโพกหรือคลุมไว้ก็ได้เพื่อระบายความร้อน
6.มาที่หู เช็ดและดึงใบหูโคนหู
7.จุดไหนสัมผัสแล้วรู้สึกไม่สบายหรือปวดตึง หมั่นนวดเช็ดบ่อยๆ
คัดลอกจาก : หมอเขียว. คู่มือการใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นกับการดูแลสุขภาพ. หน้า
36-37.
***************
“ป้านิดจะไม่เชื่อผลตรวจจากโรงพยาบาลใดร.พหนึ่ง ห้องแลปไม่เสถียร ผลตรวจออกมาป้านิดคลอเรสตอรอลรวม300กว่า ปอดมีเงา ป้านิดจึงมาตรวจอีกที ห่างกัน1้ดือน
ตามหลักแพทย์ทางเลือก ถ้าร่างกายยังไม่มีอาการอะไรเลย แสดงว่าร่างกายสามารถรักษาสมดุลย์กับสิ่งที่้กิดขึ้นได้ มันเป็นสภาวะที่้กิดขึ้นชั่วคราว แล้วมันจะหาย
สามีป้านิดตรวจเจอมะเร็งต่อมลูกหมาก “นี่เธอยังไม่ได้เป็นอะไร แค่ตรวจเจอ แล้วจะมารักษา เจ็บปวดแสนสาหัส เรา2คนจับมือหันมารักษาทางธรรมชาติบำบัดตั้งแต่นั้นมา
https://m.youtube.com/watch?v=sjjrEL8_Dvw
****************
บทความนี้เราตัดตอนตัดต่อข้อความ ที่เราสนใจจากต้นฉบับในเว็บด้านล่างสุด
ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ การแพทย์ที่เชื่อไม่ได้ เผยแพร่ 11ธ.ค2560
คนทั่วไปมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลมีอะไรบ้าง
1.‘ใหม่ดีกว่าเก่า’ ใคนไข้เวลาไปหาหมอก็อยากได้ยาตัวใหม่ๆ หรือวิธีการรักษาใหม่ๆ เพราะเชื่อว่าได้ผลดีกว่า เช่น ยาแก้แพ้ ทุกวันนี้ถ้าเราไปหาหมอจะได้ยาแก้แพ้แปลกๆ ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ เช่น ทานแล้วไม่ง่วงนอน ไม่ใช่ว่ายาพวกนี้ไม่ดี แต่ผ่านไป 3-4 ปี เราอาจจะเจอข้อเสีย มียาหลายตัวที่พอใช้ไป 10-20 ปีแล้วพบข้อเสียมากมาย ในขณะที่ยาที่ใช้กันมาเป็นเวลานานมีความปลอดภัยกว่า เช่น ยาคลอเฟนิรามีน (CPM) ใช้ช่วยอาการแพ้หรือเป็นหวัดมาเป็นเวลา 60-70 ปีแล้ว ได้รับการพิสูจน์ว่าดีและปลอดภัย ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ก็ได้
2.‘ทำมากดีกว่าทำน้อย’ เช่น การรักษามะเร็งเต้านมในสมัยก่อน นิยมรักษาด้วยการตัดเต้านมและกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกออกทั้งหมด บางทีคนไข้ก็แขนบวมเพราะท่อน้ำเหลืองถูกตัดไปหมด ปัจจุบันพบข้อพิสูจน์แล้วว่าไม่จำเป็นต้องทำตัดออกหมดขนาดนั้นก็ได้ผลการรักษาเท่ากัน
อีกตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ CT Scan ตรวจไส้ติ่งอักเสบ สมัยผมเป็นนักศึกษาแพทย์เราจะวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบด้วยการซักถามและตรวจด้วยมือ อย่างมากที่สุดก็เจาะเลือดดู จนกระทั่งมาระยะหลังมีการใช้เครื่อง CT Scan ซึ่งไม่รู้ว่าช่วยอะไร ผลสุดท้ายคนไข้บางรายไส้ติ่งแตกหรือเกือบแตกอยู่ดีไม่ต่างกับการตรวจด้วยวิธีเดิม
การใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปอาจละเลยสิ่งพื้นฐานสำคัญที่เป็นประโยชน์ เช่น การซักประวัติหรือการตรวจร่างกายคนไข้ บางอย่างตรวจดูจากการทำ CT Scan อาจจะไม่เห็น แต่เมื่อดูประวัติคนไข้อย่างละเอียดแล้ว ใช่แน่นอน แต่ก็ไม่ยอมทำ นี่คือตัวอย่างความสิ้นเปลือง คนไข้เสียประโยชน์ โรงพยาบาลก็บ่นว่าขาดทุน นอกจากนี้ยังอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายเสียด้วยซ้ำ เพราะการทำ CT scan ครั้งหนึ่งเท่ากับการทำ X-ray กว่า 100 ครั้ง
3. ‘ทำก่อนดีกว่าทำทีหลัง’ เช่น การรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ก่อนมีคำแนะนำให้ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก พอเจอก็รีบรักษาก่อนเลย ปรากฏว่าคนไข้ตายมากกว่าเดิม
ต้องเข้าใจว่าคนที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากไม่ได้ตายเพราะมะเร็งต่อมลูกหมากกันทุกคน ถ้าคุณเอาคนที่ตายตอนอายุ 80-90 ปีมาตรวจชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก จะพบว่าเป็นมะเร็งกันเกือบทุกคน แต่เขาตายด้วยโรคอื่นๆ ทุกวันนี้เราอาจมีมะเร็งกันอยู่ทุกคน แต่เป็นมะเร็งที่เป็นมิตรต่อร่างกายไม่ได้ทำให้เสียชีวิต
การรีบรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยไม่จำเป็นทั้งการผ่าตัด ฉายแสง ฝังแร่ ให้ฮอร์โมน หรือบางคนอาจต้องตัดลูกอัณฑะออกไปเลย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต คนไข้ส่วนใหญ่ตายเพราะผลข้างเคียง ตายเพราะตรอมใจตาย หรือตายเพราะกลัวตายนี่แหละ
ตอนนี้หลายประเทศจึงไม่แนะนำให้ทำการตรวจมะเร็งบางประเภทเสียด้วยซ้ำ แต่ทุกวันนี้เรายังพบการตรวจที่เกินความจำเป็นอยู่เสมอ เพราะทุกวันนี้หมอกลัวคนไข้มากกว่าคนไข้กลัวหมอ สมมติว่ามีคนไข้มาขอให้หมอตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากแล้วหมอปฏิเสธ เพราะพิจารณาตามสถิติแล้วเห็นว่าไม่มีความเสี่ยง แต่ภายหลังคนไข้ไปตรวจเจอมะเร็งที่โรงพยาบาลอื่น ก็กลับมาฟ้องหมอได้ ดังนั้นหมอจึงไม่อยากยุ่งอะไรมาก ถ้าคนไข้เรียกร้องก็ยอมตรวจให้
4.สมมติว่าคนสองคนมีอาการป่วยคล้ายกัน ไม่ได้แปลว่าเขาจะเป็นโรคเดียวกัน หรือหากเป็นโรคเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าวิธีการรักษาจะเหมือนกันหมด ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น อายุ เพศ พฤติกรรม ฯลฯ
หมอรักษาหาย100%ได้หรือ
4.สมมติว่าคนสองคนมีอาการป่วยคล้ายกัน ไม่ได้แปลว่าเขาจะเป็นโรคเดียวกัน หรือหากเป็นโรคเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าวิธีการรักษาจะเหมือนกันหมด ขึ้นอยู่กับบริบท เช่น อายุ เพศ พฤติกรรม ฯลฯ
หมอรักษาหาย100%ได้หรือ
คนไข้จะเอาแต่เรียกร้องให้ตรวจโน่นตรวจนี่อยู่ตลอดโดยไม่มีข้อมูลคงไม่ได้ โรคที่เราเป็นกันทุกวันนี้ 1 ใน 3 ไม่ต้องรักษาก็หายเองได้ 1 ใน 3 จะรักษาหรือไม่รักษาก็ไม่ต่างกัน และอีก 1 ใน 3 หมอช่วยได้ ซึ่งจะเห็นว่าสิ่งที่หมอช่วยได้มันนิดเดียวเท่านั้น ที่สำคัญยังขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและการดูและสุขภาพของเราด้วย
เมื่อวิธีการรักษาเปลี่ยนไป
เมื่อวิธีการรักษาเปลี่ยนไป
ทุกวันนี้มีการรักษาหลายอย่างที่สมัยผมเป็นนักศึกษาแพทย์ถือเป็นเรื่องดี ทำกันทั่วไป แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องประหลาด ยกตัวอย่าง
1.สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
เมื่อก่อนเราเชื่อกันว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดจากเซลล์ร่างกายที่เติบโตผิดปกติจนควบคุมไม่ได้ เหมือนกับการเกิดมะเร็งประเภทอื่นๆ แต่ทุกวันนี้มีการพิสูจน์แล้วว่าสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อและสามารถรักษาได้ด้วยการฉีดวัคซีน ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 40-50 ปีก่อนคงไม่มีใครเชื่อแน่นอน
2.วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อประมาณ 100-200 ปีก่อน โรคความดันโลหิตสูงหรือมีอาการปวดหัวหนัก คุณจะถูกรักษาด้วยการเจาะเอาเลือดออกจากตัว ถ้าไปดูตามพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศจะเห็นเครื่องมือเหล่านี้อยู่ วิธีการแบบนี้สามารถช่วยลดความดันได้จริงเพราะเป็นการเอาน้ำออกจากตัว ทำให้ความดันตก แต่ถ้าคุณถูกรักษาด้วยวิธีการนี้ในปัจจุบันคงกลายเป็นเรื่องประหลาดเพราะอันตรายมาก
3.การให้ฮอร์โมนแก่ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนหรือถูกตัดรังไข่
สมัยก่อนเราเชื่อว่าการให้ฮอร์โมนกับผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็วหรือถูกตัดรังไข่ไปก่อนเพราะมีเหตุจำเป็น เป็นเรื่องดีไม่มีข้อเสีย วารสารการแพทย์ในขณะนั้นก็ช่วยสนับสนุน บอกว่าการให้ฮอร์โมนช่วยได้หลายเรื่อง ทั้งลดโรคหัวใจ มะเร็ง และกระดูกพรุนได้ กรณีของแม่ของผม ท่านตัดรังไข่ไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ผมพาแม่ไปหาอาจารย์หมอ ก็ได้รับคำแนะนำมาว่าให้ทานฮอร์โมน แต่ปรากฏว่าพอทานแล้วแพ้ ท่านก็เลยไม่ได้ทานต่อ
เวลาผ่านไป 15 ปี ความรู้เรื่องนี้เปลี่ยนใหม่ กลายเป็นว่าทานฮอร์โมนแล้วเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และแม้ว่าการทานฮอร์โมนจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ได้จริง แต่กลับไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมแทน ซึ่งทั้งโรคหัวใจและมะเร็งเต้านมต่างมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง
4.การใช้สเตียรอยด์กับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางศรีษะ
เมื่อก่อนเราเชื่อกันมากว่า สเตียรอยด์คือยามหัศจรรย์ เพราะใช้แล้วเห็นผลทันที จึงนิยมใช้กันมาก ถ้าคนไข้เป็นอะไรเกี่ยวข้องกับการอักเสบของร่างกาย หรือเป็นโรคภูมิคุ้มทำร้ายตัวเองทำให้เกิดการอักเสบต่างๆ ให้สเตียรอยด์ไปอาการทุกอย่างจะดีขึ้นหมดเลย เช่น เข่าบวมก็ฉีดสเตียร์รอยด์เข้าไปจะยุบเลย เป็นผื่นผิวหนังรุนแรง ทาสเตียรอยด์ไปก็ดีขึ้น
แต่ภายหลังมีข้อค้นพบว่า การใช้สเตียรอยด์นั้นให้ผลดีในการรักษาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นการแก้ที่สาเหตุของโรคจริงๆ และยังสร้างความเสี่ยงให้สุขภาพอีกด้วย
ตอนที่ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ปีสุดท้าย ผมทำงานที่โรงพยาบาลชลบุรี มีคนประสบอุบัติเหตุเยอะมาก แต่ที่โรงพยาบาลมีหมอผ่าตัดสมองอยู่แค่คนเดียว ตอนนั้นผมทำหน้าที่คอยสนับสนุนการทำงานของหมอท่านนั้น แต่ละวันมีคนไข้ที่ต้องผ่าตัดสมองวันละประมาณ 20 คน ผ่าได้จริงแค่วันละ 5-6 คน ผมจึงต้องเป็นคนคัดคนไข้ที่น่าจะได้รับการผ่าตัดมากที่สุดให้หมอท่านนั้น ส่วนคนไข้ที่เหลือหากมีอาการสมองบวม แกก็สอนผมว่าให้ฉีดสเตียรอยด์แบบ High dose ไปก่อนระหว่างรอ เพื่อลดการบวม ตอนนั้นผมก็เชื่อ แม้จะยังอธิบายกลไกไม่ได้ว่าทำไมถึงทำให้คนไข้อาการดีขึ้น แต่ฟังดูมันเข้าเค้ามากและเป็นแนวปฏิบัติที่ทำกันทั่วไป ผมจึงทำตาม ใครมาเราก็ฉีดสเตียรอยด์ให้ ช่วงที่ทำงานอยู่ที่นั่น ผมน่าจะทำไปประมาณ 200 รายได้
หลังผมจบมาได้ 4-5 ปี มีคนอังกฤษกลุ่มหนึ่งสงสัยว่า การใช้สเตียรอยด์กับคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุทางสมองเป็นผลดีจริงหรือ จึงรวบรวมข้อมูลจากทั่วโลก พบว่าไม่มีข้อสรุปว่าดีหรือไม่ดี จากนั้นเขาทำวิจัย จนได้งานวิจัยออกมาในอีก 4 ปีให้หลัง งานชิ้นนั้นสรุปผลจากคนไข้กว่าหมื่นราย พบว่า การฉีดสเตียรอยด์ในคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุทางสมองจะทำให้คนไข้มีโอกาสเสียชีวิตมากขึ้นประมาณ 12%
ความรู้ของหมอยังถูกบิดเบือนด้วย ‘อคติ’หรือความลำเอียง อีกหลายอย่าง
1.อคติจากความเชื่อมั่นในตนเอง
โดยทั่วไปหมอมักเชื่อมั่นในข้อมูลและความรู้ของตัวเอง เวลาหมอถามอาการคนไข้หลังการรักษา ก็มักได้รับคำตอบว่าดีขึ้นทั้งนั้น เอาของเอาขนมมาขอบคุณบ้าง ทำให้หลงคิดไปว่าประสบความสำเร็จในการรักษามาก มีความรู้มากพอ ไม่ต้องตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงอะไร
แต่ลืมคิดไปว่าคนไข้ที่รักษาแล้วได้ผลไม่ดีบางครั้งเขาก็ไม่กลับมาหาหรอก เปลี่ยนไปรักษาที่อื่นแทน
หรือคนไข้อาจรู้สึกว่าถูกเฝ้าดูจากหมอจึงแสดงออกในแบบหนึ่งที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง
2.ยาดีมีจริงหรือ ในเมื่ออคติในการศึกษาวิจัย
ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยยา โดยกระบวนการแล้วก่อนที่ยาจะได้รับการขึ้นทะเบียน จะต้องผ่านการวิจัยเชิงทดลองกับมนุษย์ เปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยกับยาเก่า
แต่การทำวิจัยแบบนี้มีต้นทุนสูงมาก ต้องติดตามผลกับคนไข้ที่ทดลองในระยะยาว
บริษัทยาจึงมีแนวโน้มที่จะบิดเบือนขั้นตอนในการวิจัยบางอย่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สนับสนุนยาที่ลงทุนไปเช่น สมมติผมเป็นหัวหน้าทีมของบริษัทยา ลงทุนคิดค้นยาไปกว่า 100 ล้านบาท แทนที่ผมจะเลือกคนมาทดลองแบบถูกต้องตามหลักการวิจัย ผมก็ต้องเลือกคนไข้ที่มีอาการมากกว่าปกติ หรือเคยใช้ยาตัวอื่นมาแล้วมีปัญหา พอใช้ยาของผมแล้วจะได้ได้ผลดี หรือผมก็ไปลดการศึกษาผลกระทบในระยะยาวลง เพราะการติดตามผลจากคนไข้ต้องใช้เวลา 1 ปีก็มากแล้ว 4-5 ปียิ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะไม่เช่นนั้นกว่าจะออกยามาได้ โรคนั้นก็อาจจะมีวิธีการรักษาอื่นไปแล้ว
3.อคติในการไม่ตีพิมพ์ข้อมูลสู่สาธารณะเพราะผลประโยชน์
ในทางปฏิบัติมีข้อมูลความรู้หลายอย่างที่ไม่ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ บางครั้งแพทย์และนักวิจัยรู้ แต่จงใจปิดบังข้อมูลไว้เพราะผลประโยชน์ ในต่างประเทศมีหลายกรณีที่บริษัทยาถูกปรับเนื่องจากจงใจปิดบังผลข้างเคียงของยา ซึ่งบางครั้งเป็นผลที่รุนแรงถึงชีวิต เช่น ทำให้คนไข้เป็นโรคหัวใจ หรือฆ่าตัวตาย
ถ้าคุณเป็นบริษัทยา แล้วพบว่ายาที่คุณวิจัยทดลองไม่เป็นประโยชน์ หรือถ้าร้ายกว่านั้นคือมีโทษ คุณคงไม่ตีพิมพ์ข้อค้นพบนี้เพื่อประจานตัวเอง ในต่างประเทศมีบริษัทยาที่ทดลองยาในมนุษย์จำนวนไม่กี่ราย พบว่ามีผลเสียร้ายแรง ฉีดยาไปแล้วเกือบตายหมด แต่ไม่ตีพิมพ์ผลออกมาสู่สาธารณะ เพราะเขาคิดว่าบริษัทตัวเองจะไม่เอายาตัวนี้ออกมาใช้ แต่ในโลกนี้สารเคมีมีอยู่ไม่กี่ชนิด ถ้าบริษัทนี้ไม่ใช้ บริษัทอื่นก็ไปทดลองเอามาใช้ได้
มีกรณีหนึ่งเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษมีอาสาสมัครวิจัยเกือบเสียชีวิตทั้ง 6 รายจากการใช้ยาตัวหนึ่ง สืบไปสืบมาพบว่ายาตัวนั้นเป็นยาที่เคยถูกทดลองโดยบริษัทอื่นมาก่อน แต่บริษัทนั้นไม่ยอมรายงานผลออกมา ประมาณ 20 ปีให้หลัง นักวิจัยจากบริษัทยานั้นออกมายอมรับว่ารู้ข้อมูลมาก่อนแต่ไม่ได้เผยแพร่เพราะไม่เห็นความจำเป็น นี่คือตัวอย่างที่ต้องการเตือนให้เห็นถึงผลกระทบจากการกระทำที่มีอคติเช่นนี้
4.อคติในการเลือกใช้งานวิจัยเพื่อเอาข้อมูลความปลอดภัย ประสิทธิผล และความคุ้มค่าเกี่ยวกับยาต่างๆ
HITAP ทำงานกับคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้เราได้ทบทวนงานวิจัยของต่างประเทศเยอะ
รู้ไหมว่างานของต่างประเทศบางชิ้นไม่สามารถใช้กับบริบทประเทศไทยได้เลย เช่น มีครั้งหนึ่งเราเคยทำวิจัยเรื่องโรคข้อเข่า ต้องการพิจารณายาใหม่ราคาแพงสำหรับคนไทยที่ใช้ยาอื่นๆ แล้วไม่หาย เนื่องจากยานี้มีราคาแพงมากสำหรับคนไทย จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาเป็นทางเลือกที่สามหลังจากใช้ยาอื่นๆ ไม่ได้ผลไปอย่างน้อยสองขนาน
แต่ข้อมูลงานวิจัยต่างประเทศล้วนแต่ใช้ยาตัวนี้เป็นทางเลือกแรกหรือทางเลือกที่สอง
รู้ไหมว่างานของต่างประเทศบางชิ้นไม่สามารถใช้กับบริบทประเทศไทยได้เลย เช่น มีครั้งหนึ่งเราเคยทำวิจัยเรื่องโรคข้อเข่า ต้องการพิจารณายาใหม่ราคาแพงสำหรับคนไทยที่ใช้ยาอื่นๆ แล้วไม่หาย เนื่องจากยานี้มีราคาแพงมากสำหรับคนไทย จึงถูกนำมาใช้ในการรักษาเป็นทางเลือกที่สามหลังจากใช้ยาอื่นๆ ไม่ได้ผลไปอย่างน้อยสองขนาน
แต่ข้อมูลงานวิจัยต่างประเทศล้วนแต่ใช้ยาตัวนี้เป็นทางเลือกแรกหรือทางเลือกที่สอง
5.อคติจากการตลาดของบริษัทยา
การตลาดมีส่วนทำให้ความรู้มาถึงแพทย์โดยลำเอียง ผู้ที่ทำหน้าที่เอาความรู้มาให้แพทย์ก็คือบริษัทยาหรือบริษัทเครื่องมือแพทย์นั่นเอง เพราะเขารู้ว่าแพทย์ทำงานเยอะไม่มีเวลาหาข้อมูล ยิ่งไปกว่านั้นแพทย์เองก็เชื่อว่าผู้แทนบริษัทยาหรือบริษัทเคร่ืองมือการแพทย์ คือ ‘เพื่อน’ ที่มีความรู้ดีและไว้ใจได้
ความคิดแบบนี้ก็ถูกปลูกฝังมาแต่เป็นสมัยนักเรียนแพทย์ ที่สร้างวัฒนธรรมให้ยอมรับบริษัทยา สิ่งของเครื่องใช้ทุกอย่างในชีวิตนักเรียนแพทย์มาจากบริษัทยาแทบทั้งหมด ทั้งกระเป๋า ปากกา สมุด ฯลฯ ผมเคยคุยเล่นๆ กับคนอื่นว่า ในห้องพักแพทย์มีแค่ผนังกับเพดานเท่านั้นที่ไม่มีบริษัทยาสนับสนุน ที่เหลือไม่ว่าจะทีวี ตู้เย็น ขนมในตู้เย็น น้ำดื่ม ล้วนได้มาจากบริษัทยาทั้งหมด เราก็เลยคิดว่านี่คือเพื่อนเรา เห็นแล้วรู้สึกดีไม่ได้รู้สึกรังเกียจ เพราะฉะนั้นเมื่อเขาให้ข้อมูลมา หมอก็พร้อมเชื่อทันที
โดยทั่วไปแนวทางการรักษา เราจะคิดว่ามันต้องมีประโยชน์แน่นอน
อย่าเชื่อสนิทใจว่าการรักษาที่แพทย์กำลังให้หรือเรากำลังรับ มันดีเสมอไป
อย่าเชื่อสนิทใจว่าการรักษาที่แพทย์กำลังให้หรือเรากำลังรับ มันดีเสมอไป
ตัวอย่างเช่น เร็วๆ นี้ องค์กรอนามัยโลกออกรายงานมาแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ 8 ครั้งเป็นอย่างน้อย จากเดิมแค่ 4 ครั้ง ถ้าเป็นประเทศด้อยพัฒนา การฝากครรภ์แค่ครั้งเดียวก็ลำบากแล้ว ปรากฏว่าไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนเลยที่บอกว่าการฝากครรภ์ 8 ครั้งเป็นผลดีกว่าการฝากครรภ์ 4 ครั้ง งานวิจัยที่สนับสนุนก็แย่มากและเก่ามากด้วย โดยงานวิจัยชิ้นนั้นเปรียบเทียบผลของการฝากครรภ์มากกว่า 8 ครั้งขึ้นไปกับการฝากครรภ์น้อยกว่า 8 ครั้งลงมาแบบเหมารวม กรณีแบบนี้จะสรุปได้อย่างไรว่าการฝากครรภ์ 4 ครั้งไม่ดี
ทางด้านคนไข้ก็ต้องถามหมอเยอะๆ ไม่ใช่หมอสั่งอะไร เราก็ทำตามทุกอย่างหรือเป็นฝ่ายรอให้หมอบอก บางทีหมอต้องตรวจคนไข้วันละ 80-90 คน เช่น อันนี้ไม่ต้องทำได้ ไหม ยานี้ไม่ต้องกินได้หรือไม่ ไม่ใช้ยาที่สั่งให้ได้ไหม หรือมีวิธีรักษาอื่นที่ดีง่ายกว่า ปลอดภัยกว่าไหม ถ้าไม่กินยาตัวนี้จะเกิดอะไรขึ้น
การให้ข้อมูลก็เช่นกัน หลายครั้งคนไข้ส่วนใหญ่มักจะบอกว่าตัวเองดีขึ้นตลอด แม้ว่าจะได้รับการรักษาที่ผิด จนกระทั่งวันดีคืนร้ายเป็นอะไรขึ้นมา ถึงค่อยรู้ว่ามันไม่ดี แต่หากเมื่อใดที่คนไข้ตั้งข้อสงสัยไว้ เขาก็มีแนวโน้มที่จะไม่ลำเอียงในการเล่าอาการให้หมอฟัง บทสนทนาอย่างเปิดใจระหว่างหมอกับคนไข้จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะทำให้เกิดความเข้าใจต่อกันมากขึ้น
ผมเคยเจอคนไข้ที่มีเพื่อนบ้านเป็นโรคหนึ่งแล้วรักษาหาย ซึ่งโรคนั้นมีอาการคล้ายกับโรคที่เขาเป็นอยู่ พอมาหาผม ก็บอกเลยว่า เขาเป็นโรคนี้ ต้องได้ยานี้ ผมดูแล้วก็เออใช่นะ ก็เลยให้ไป ปรากฏว่ารักษาไม่หาย เมื่อมาดูให้ละเอียดดีๆ พบว่าไม่ใช่โรคเดียวกัน กรณีแบบนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งหมอและคนไข้ ชวนกันเข้ารกเข้าพงกันไปเลย
หมอไม่สามารถติดตามความรู้ใหม่ๆ ได้ทันด้วยหลายสาเหตุ
เช่น หมอทำงานหนักมากจนไม่มีเวลา หมอบางคนอาจไม่เห็นความสำคัญ หมอบางคนมีอีโก้สูงเชื่อในประสบการณ์และความรู้ของตัวเอง และที่สำคัญ หมอถูกฝึกมาให้รู้เรื่องงานวิจัยน้อยมาก ทำให้อาจจะไม่รู้เท่าทันความลำเอียงและอคติในงานวิจัย
ผลประโยชน์ทับซ้อนเยอะมาก องค์กรแพทย์อย่างราชวิทยาลัยต่างๆ มีการจัดประชุมทุกเดือน จะเห็นเลยว่ามีบริษัทยาหรืออุปกรณ์การแพทย์ให้การสนับสนุนตลอด มีการตั้งซุ้ม มีพริตตี้แจกกระเป๋า มีอาหารเครื่องดื่มพร้อม โรงแรมก็จ่ายค่าเครื่องบินให้ ระหว่างประชุมก็พาครอบครัวของหมอที่เดินทางมาด้วยไปเลี้ยงดูปูเสื่ออย่างดี ประชุมเสร็จมีการแสดงโดยดารานักร้อง มีงานเลี้ยง แล้วแบบนี้จะให้องค์กรวิชาชีพออกมาวิจารณ์บริษัทยาก็คงลำบาก
การหาข้อมูลด้วยตัวเองทำได้ไหม และควรทำอย่างไร
ผมให้เขาใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียวคือมือถือ พอสอนเสร็จ ผมก็ลองให้หาข้อมูลทดสอบความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับนวัตกรรม 4 เรื่องที่ใช้กันทั่วไปในตลาดเมืองไทย แต่ไม่มีหลักฐานใดๆ รองรับว่าควรทำ ได้แก่ 1. การทำ CT-Scan ตั้งแต่หัวจรดเท้าในการตรวจสุขภาพ 2. การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก 3. การให้ฮอร์โมนกับคนไข้หญิงที่หมดประจำเดือน 4. การทำ Fetal Heart Sound Monitoring เพื่อวัดหัวใจเด็กในระหว่างรอคลอด
ผมให้เวลาเขาครึ่งชั่วโมงในการหาคำตอบจากอินเทอร์เน็ต ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมีคุณสมบัติ เช่น
หนึ่ง ต้องเป็นข้อมูลเชิงทดลองที่มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก ไม่เช่นนั้นอาจมีผลลำเอียง และจะน่าเชื่อถือมากที่สุด เมื่อเป็นข้อมูลจากการทำเป็นวิจัยเชิงทดลองหลายๆ ชิ้นมาวิเคราะห์รวมกัน
สอง แหล่งข้อมูลต้องปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
สาม ต้องเป็นข้อมูลที่อัปเดตมากที่สุด ไม่เอาข้อมูลจากสิบปีที่แล้วมาใช้
จากหลักการที่ให้ไป ปรากฏว่าเขาก็ตอบได้หมดภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงว่าอะไรควรหรือไม่ควรทำ
สำหรับคนไข้ อาจจะยากเสียหน่อยถ้าจะต้องไปอ่านงานวิจัยทางการแพทย์ แต่สิ่งที่ทำได้คือการระวังและอย่าเพิ่งเชื่อถือข้อมูลที่ได้มาเสียแต่แรก ที่สำคัญคือไม่ควรเชื่อข้อมูลที่ไม่มีการอ้างแหล่งที่มา อย่างข่าวใน Line ที่ชอบส่งเข้ามาก็อย่าเพิ่งไปเชื่อและอย่าไปส่งต่อเลย ถ้ามีการอ้างอิงก็ควรไปศึกษาว่าแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นเชื่อถือได้และมีโอกาสที่จะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนมากน้อยแค่ไหน และพยายามเช็คข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง แหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษได้ จะเป็นประโยชน์มาก
การตรวจสุขภาพเพื่อ ‘กันไว้ดีกว่าแก้’ จำเป็นจริงหรือไม่
ทุกวันนี้เรามีมักตรวจสุขภาพกันอย่างผิดๆ HITAP มีการทำวิจัยศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพ ออกมาเป็นรายงานเรื่อง “เช็คระยะสุขภาพ: ตรวจดีได้ ตรวจร้ายเสีย” เราพบว่าการตรวจสุขภาพในปัจจุบันมีแนวโน้มจะ ‘ตรวจร้ายเสีย’ มากกว่าเสียด้วยซ้ำ สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักในการตรวจร่างกายมี 2 เรื่อง
หนึ่ง วิธีการตรวจสุขภาพที่ดีที่สุดคือการประเมินความเสี่ยงด้วยการพูดคุยกับหมอ ไม่ใช่การเข้าแล็บหรือใช้เทคโนโลยีอะไรเยอะแยะ ผลจากการตรวจในแล็บเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ทำให้รู้ผลที่ปลายเหตุ กว่าคุณจะรู้ว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงก็อาจเป็นเบาหวานไปแล้ว ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพป้องกันไม่ให้มีความเสี่ยงต่อโรค
แต่เวลาคุณไปโรงพยาบาล เขาก็ต้องการจะเก็บเงินคุณเยอะๆ ถ้าคุณไปนั่งคุยกับหมอ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน แค่ 20-30 นาทีแล้วต้องจ่ายแพง คุณคงไม่ยอม โรงพยาบาลจึงต้องออกแพ็คเกจมาให้คุณตรวจสารพัด ทั้งเจาะเลือด ตรวจปัสสาวะ ฯลฯ คุณถึงจะยอมจ่าย เพราะคิดว่าจับต้องได้เป็นประโยชน์กับคุณมากกว่า
ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนความคิด คนไม่เหมือนกับรถยนต์นะ เขาชอบเอาการตรวจสภาพรถยนต์มาใช้กับการตรวจสุขภาพ การไปหาหมอเพื่อตรวจสุขภาพไม่จำเป็นต้องมีแล็บเหมือนศูนย์รถยนต์ที่เอาขั้วบวกขั้วลบไปจี้แบตเตอร์รีแล้วรู้ประจุได้ คนเราไม่ได้ใช้งานฟังก์ชันเดียวแบบรถยนต์ เรามีปัจจัยทั้งด้านกาย ด้านจิต พฤติกรรมความรู้สึก ที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของสุขภาพ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถวัดไม่ได้ง่ายๆ ด้วยการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะในแล็บ
สอง อย่าตรวจเพื่อหาความปกติและไม่ปกติเท่านั้น เพราะจะทำให้คุณเข้าใจผิด สมมติคุณตรวจแล็บมาแล้วพบว่าเป็นผลปกติดีทุกอย่าง มันอาจเป็นดาบสองคมนะ คุณกลับไปฉลองกินขนมไปเยอะ แต่อย่างที่บอกไปนี่อาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่ซ่อนความเสี่ยงไว้ข้างใต้
ทุกวันนี้ทั้งคนตรวจและผู้ถูกตรวจสนใจแต่จะตรวจหาความปกติและไม่ปกติที่วัดได้ แต่ละเลยแนวโน้มความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีโรงพยาบาลไหนหรอกที่เก็บข้อมูลการตรวจเลือดของคนไข้ไว้ดูแนวโน้มของโรค ส่วนใหญ่ก็ให้บริการเป็นครั้งๆ ไป คนไข้เองก็ไม่ได้สนใจเช่นกัน บางครั้งก็เปลี่ยนโรงพยาบาลตามราคาการตรวจ ที่ไหนถูกก็ไปที่นั่นแทน ทำให้ข้อมูลอาจขาดหายไม่ต่อเนื่อง
เมื่อก่อนมีแนวคิดเรื่องแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ประจำครอบครัว ซึ่งเป็นประโยชน์มาก เพราะเขาจะรู้จักคนไข้เป็นอย่างดีจากการติดตามดูแลระยะยาว รู้ว่ามีพฤติกรรมอะไร กินอะไรบ้าง ช่วยติดตามแนวโน้มความเสี่ยงของคนไข้ได้ ตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขพยายามเอาแนวคิดเรื่องแพทย์ประจำครอบครัวกลับมา แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของมัน
สาม การตรวจสุขภาพเป็นภาพลวงตาหลอกเราได้ง่าย คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดในการตรวจคือ ผู้ที่ตรวจมาแล้วเป็นผลบวกและพบว่าเป็นโรคจริง แต่คนที่เสียประโยชน์มากที่สุดคือผู้ที่ตรวจมาแล้วเป็นผลลบลวง คือผลตรวจบอกว่าเป็นปกติทั้งๆ ที่เป็นโรค คนพวกนี้จะไม่มีวันรู้ว่าการตรวจครั้งนั้นผิดพลาด หากเป็นโรคก็อาจจะคิดว่าเพิ่งมาเป็นภายหลัง
ธุรกิจตรวจสุขภาพจึงเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเวลาเกิดผลลบลวงก็ไม่มีใครรู้ได้ ทุกวันนี้จึงพบเห็นการโฆษณาให้ตรวจเยอะมาก ตามคอนโดต่างๆ บางครั้งก็มีโรงพยาบาลมาตั้งโต๊ะรอตรวจให้เลยเสียด้วยซ้ำ
การตรวจบางประเภทมี ‘ความไว’ สูง เขาจะไม่ยอมให้คนที่มีความเสี่ยงหลุดไปเลย เหมือนการใช้แหที่มีความถี่มากมาคัดกรอง ปลาตัวเล็กตัวน้อยอยู่ในนั้นหมด ไม่ได้มีความแม่นยำ 100% หรอก เป็นเพียงการตรวจเบื้องต้นแล้วจึงมายืนยันโรคด้วยการตรวจขั้นต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ถ้าคุณตรวจคัดกรองเบื้องต้นแล้วได้ผลบวก คุณอาจจะไม่ได้เป็นโรคนั้นก็ได้ หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคทั้งๆ ที่อาการยังปกติอยู่ จนตรอมใจทรุดลงเสียชีวิตก็มี
สี่ ตรวจแล้วพบว่าเป็นโรค ไม่ได้แปลว่าคุณมีปัญหาทางสุขภาพเสมอไป เช่น กรณีมะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งที่อยู่กับเราได้ ไม่ได้เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้เสียชีวิต บางคนเข้าใจผิด วิตกกังวลไปขวนขวายรักษาจนเกินพอดี ในขณะที่เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคก็ต้องดูแลสุขภาพให้ดี เราเคยวิจัยพบว่าคนไทยที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน กลับไม่ได้กลับมาฟังผล หรือแจ้งผลแล้วแต่ไม่เข้าใจ ทำให้หลุดไปจากกระบวนการรักษากว่า 1 ใน 4 ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งสุขภาพและทรัพยากร
ฝากข้อคิดทิ้งท้าย
เปลี่ยนจากความคิดว่าทุกอย่างสำเร็จรูปสมบูรณ์แบบ มาหาหมอไม่เหมือนเข้าศูนย์ซ่อมรถยนต์ ซ่อมทีได้ทุกอย่างและการันตีผลได้ เราระลึกไว้ว่าการรักษาทุกอย่างที่เราทำวันนี้อยู่บนหลักการของความน่าจะเป็น การวิจัยเชิงทดลองต่างๆ ไม่ได้แปลว่าคนไข้ร้อยคนจะหายหมด ไม่มีหรอกการรักษาหรือยาแบบนั้น แต่ที่ควรใช้กันคือสิ่งที่มีความน่าจะเป็นว่าประโยชน์มากกว่าโทษเท่านั้นเอง
ระบบสุขภาพเป็นเรื่องของแพทย์ พยาบาล หรือกระทรวง อย่าไปคิดว่าเรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเราในฐานะคนไข้ เพราะคนไข้เองเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถ้าไม่ช่วยกัน มันก็แย่ลงไปกว่าเดิมเรื่อยๆ หมอทั้งกระทรวงฯ มี 3 หมื่นคน บุคลากรทั้งประเทศอย่างเก่งก็แค่ 2 แสนคน แต่คนไทยมีตั้ง 70 ล้านคนที่ต้องใช้บริการ
https://www.the101.world/thoughts/myth-in-health-system/