วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ชะล่าใจเมื่อโรคอาการดีขึ้น


มะเร็งกับระบบภูมิชีวิต

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000057336


มะเร็งกับระบบภูมิชีวิต (1)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   10 พฤษภาคม 2554 15:36 น.

คุณสุภาพรได้มาเข้าคอร์สและปฏิบัติตัวตามแนวชีวิตอย่างเคร่งครัดเป็นเวลาเกือบครึ่งปี หลังจากนั้น เธอได้ไปตรวจร่างกายอย่างละเอียดอีกครั้งที่โรงพยาบาล ผลของการตรวจร่างกายสมบูรณ์ทุกอย่าง ร่างกายของเธอปราศจากโรคร้าย สามารถกลับไปทำงานใช้ชีวิตอย่างปกติสุขทุกอย่างเกินกว่า 5 ปี ซึ่งทางการแพทย์ถือว่า คุณสุภาพรได้หายจากโรคมะเร็งในครั้งนั้นแล้ว ซึ่งสาเหตุหลักน่าจะมาจากในครั้งนั้น คุณสุภาพรประสบความสำเร็จในการฟื้นฟู ระบบภูมิชีวิต ของเธอให้แข็งแรงสมบูรณ์นั่นเอง
       
          แต่แล้วคุณสุภาพรกลับมาเป็นมะเร็งเต้านมอีกครั้ง


คนไข้มะเร็งรุ่นแรกของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ที่หายเป็น “ปลิดทิ้ง” ในช่วงกลางทศวรรษ 2530 ไม่ได้มีแค่คุณสุภาพรเท่านั้น ตามที่ปรากฏรายชื่ออยู่ในหนังสือ “กูไม่แน่” (พ.ศ. 2548) ของเขา ยังมีอาจารย์เปรื่อง คุณป้อม คุณพิศมัย คุณหน่ำ คุณปู คุณนุช คุณอัญชัน คุณวิจารณ์ คุณสุรีย์ คุณประกิต คุณอนุชา คุณหรรษา คุณเดือนเพ็ญ และคุณหลีอีกด้วย บุคคลที่อาจารย์สาทิสเอ่ยถึงเหล่านี้ ล้วนหายจากมะเร็งมาเกินกว่าห้าปีแล้วทั้งสิ้น
       
       จากกรณีเหล่านี้ทำให้น่าคิดว่า แนวทางแบบชีวจิตในการรักษามะเร็ง น่าจะมีประสิทธิผลในระดับหนึ่งอย่างแน่นอน และส่งผลให้ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541 รายการโทรทัศน์ “เจาะใจ” โดยคุณสัญญา คุณากร ได้เชิญอาจารย์สาทิสไปออกรายการพร้อมกับคุณจตุพร ช่างสกล เพื่อนำเสนอวิธีการใช้ชีวิตในแนวทางชีวจิตสำหรับการดูแลสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งกายและใจ โดยมีคุณจตุพรเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน วันรุ่งขึ้นหลังจากออกอากาศ ปรากฏการณ์ “ชีวจิตฟีเวอร์” ก็เกิดขึ้นทั่วประเทศในพริบตา ที่สำคัญก็คือ คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ อดีตประธานบริหารบริษัทเครืออมรินทร์ ซึ่งป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2539 หลังจากรักษาตามกระบวนการทางแพทย์แผนปัจจุบันด้วยการทำเคมีบำบัด และฉายรังสีเป็นเวลาหกเดือนเต็มแล้วประสบปัญหาข้างเคียงที่มีอาการท้องผูกสลับกับท้องเสียตลอดเวลาทำให้ทุกข์ทรมานมาก แต่แล้วมะเร็งก็ยังกลับมาใหม่โดยไปโผล่ที่ปอดทำให้คุณชูเกียรติตัดสินใจที่จะไม่รับการรักษาแบบเดิม แล้วหันมารักษาตามแนวทางชีวจิตแทน
       
       สิ่งที่เห็นผลทันทีทันใดอย่างชัดเจนก็คือ ปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายหมดไป ทำให้คุณชูเกียรติมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าเดิมทั้งกายและใจ คุณชูเกียรติและครอบครัว จึงได้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญของ ขบวนการสุขภาพชีวจิต ในประเทศไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าคุณชูเกียรติจะไม่หายจากโรคมะเร็ง และเสียชีวิตในเวลาต่อมาก็ตาม
       
       ส่วน คุณสุภาพร พงศ์พฤกษ์ ผู้เป็นคนไข้มะเร็งกรณีแรกๆ ที่รักษาด้วยแนวทางแบบชีวจิตล้วนๆ หลังจากที่ “หาย” จากโรคมะเร็งเต้านมเกินกว่าห้าปีแล้ว เธอก็ไม่ได้ดูแลตัวเองมากนัก เธอหันกลับไปทำงานหนัก และใช้ชีวิตในการกินการอยู่อย่างไม่ถูกต้องอีกเหมือนในช่วงก่อนเป็นมะเร็งครั้งแรก ทำให้มะเร็งกลับมาอีกแล้วกระจายไปที่เต้านมอีกข้าง 
       
       อาจารย์สาทิสเคยแนะนำให้เธอรักษาด้วยวิธีผสมผสานคือ ควรจะใช้การฉายรังสีหรือเคมีบำบัดผสมกับวิธีชีวจิต เพราะประเมินแล้วว่าครั้งนี้จะใช้วิธีชีวจิตเพียงลำพังคงเอาไม่อยู่แล้ว แต่คุณสุภาพรปฏิเสธเด็ดขาด ไม่ยอมใช้วิธีผสมผสาน แต่เธอกลับไปทำโปรแกรมการรักษาด้วยวิธีของเธอเอง ปัญหาก็คือ คุณสุภาพรได้ใช้วิธีการแพทย์ทางเลือกแบบของเธอเองที่ค่อนข้างจะ “งมงาย” โดยเธอได้ทดลองด้วยวิธีต่างๆ หลายสิบวิธี ใช้แม้กระทั่งน้ำมนต์ คาถาบำบัดต่างๆ โดยไม่ได้วิเคราะห์ประเมินว่าวิธีไหนได้ผล วิธีไหนไม่ได้ผล ทุกอย่างจึงดูสับสนไปหมด สุดท้ายคุณสุภาพรก็จากไป
       
       คนไข้มะเร็งรุ่นแรกๆ ของอาจารย์สาทิสที่หายเป็น “ปลิดทิ้ง” เกินกว่าห้าปี แต่กลับมาเป็นมะเร็งใหม่แล้วเสียชีวิตไปอย่างรวดเร็วนั้น นอกจากคุณสุภาพรแล้ว ยังมีอาจารย์เปรื่องกับคุณป้อม อาจารย์เปรื่องเป็นศิลปินแห่งชาติด้านภาพสีน้ำที่มีอารมณ์ขัน อารมณ์ดีเสมอ ระยะแรกที่อาการของอาจารย์เปรื่องดีขึ้นจนดูเหมือนอาจารย์เปรื่องหายจากมะเร็งเป็นปกติแล้วนั้น อาจารย์เปรื่องกลับไม่ได้ดูแลตนเองเลย คือไม่ได้ดูแล ระบบภูมิชีวิต (Immune System) ให้อยู่ในระดับสมบูรณ์แข็งแรงคงที่เลย แต่กลับปล่อยปละละเลยให้ระบบภูมิชีวิตอ่อนแอลงอีกจนมะเร็งกลับมาใหม่ คราวนี้แม้จะพยายามช่วยกันสักเพียงใดก็แก้ไม่ทันแล้ว กรณีของคุณป้อมก็เช่นกัน ที่พอหายดีจากโรคมะเร็งแล้ว ก็คงเข้าใจผิดคิดว่าหายแล้วหายเลย จึงไม่ได้ดูแลหรือระวังตัวอะไรอีก จึงทำให้มะเร็งกลับมาใหม่ และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
       
       จากกรณีของคุณสุภาพร อาจารย์เปรื่อง และคุณป้อมที่มะเร็งกลับมาใหม่แล้วก็เสียชีวิตไปอย่างรวดเร็วนั้น ล้วนมาจากสาเหตุเหมือนๆ กันคือ เข้าใจผิดคิดว่า หายแล้วหายเลย จึงไม่ดูแลตัวเองในเชิงป้องกันอีกต่อไป ทั้งๆ ที่ควรจะเป็นสิ่งที่ต้องทำไปตลอดทั้งชีวิต จึงทำให้ระบบภูมิชีวิตกลับมาอ่อนแออีกครั้ง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วโดยแก้ไขไม่ทันแล้ว 
       
       อย่างไรก็ดี คนไข้มะเร็งรุ่นแรกๆ ของอาจารย์สาทิส คนอื่นที่เหลืออีกสิบกว่าคนยังอยู่ดีกันทุกคนคือ หายจากโรคมะเร็งมากว่า 15 ปีแล้ว (ตอนที่อาจารย์สาทิสเขียนหนังสือ “กูไม่แน่” ออกมาในปี พ.ศ. 2548) ซึ่งถ้าคิดตามสถิติการแพทย์ก็ต้องถือว่า หายเป็นปกติแล้ว แม้แต่กลุ่มคนไข้มะเร็งรุ่นหลังๆ ของอาจารย์สาทิส ก็ยังอยู่ดีกันเป็นส่วนมาก ทำให้น่าจะสรุปเป็น บทเรียน ได้ว่า
       
       การสร้างระบบภูมิชีวิตด้วยแนวทางแบบชีวจิต หรือแนวทางดูแลสุขภาพแบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการ ที่เน้นการเปลี่ยน “วิถีชีวิต” โดยเฉพาะในเรื่องอาหารการกิน น้ำดื่ม การนอน การออกกำลังกาย การฝึกหายใจ (ฝึกลมปราณ) การทำสมาธิ การผ่อนคลาย การบริหารความเครียด และการล้างพิษนั้น ทำให้ สามารถยกระดับภูมิชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ จนเป็นที่น่าพอใจ (แม้อาจจะไม่ได้ผลทุกรายก็ตาม) และ เมื่อบำบัดระบบภูมิชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นจนเหมือนเป็นปกติได้แล้ว ผู้นั้นก็ควรที่จะต้องรักษา “สุขภาวะ” และความแข็งแรงของภูมิชีวิตนี้ไว้ให้ได้ไปจนตลอดชีวิตตราบสิ้นอายุขัย มิฉะนั้นแล้วโอกาสที่จะกลับมาเป็นมะเร็งใหม่ และเสียชีวิตอย่างรวดเร็วนั้นมีได้เสมอ
       
       ผลสะเทือนในเชิงบวกที่ ขบวนการสุขภาพชีวจิต มีต่อการแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศไทยนั้น เริ่มปรากฏเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 2540 เป็นต้นมา แพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล กรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลในเครือบางปะกอก ผู้เขียน “คำนิยม” ให้แก่หนังสือ “กูไม่แน่” (2548) ของอาจารย์สาทิสได้กล่าวว่า เธอได้มีโอกาสรู้จักกับชีวจิต เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2540 เธอเป็นหมอรักษาโรคมะเร็งแบบแผนปัจจุบันที่ได้เห็นความสิ้นหวัง ท้อแท้ ทุกข์ใจของคนไข้ เมื่อแพทย์แจ้งให้ทราบว่า คนไข้เป็นมะเร็ง และอาจจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 1-2 ปีเท่านั้น เธอรู้สึกหดหู่ เพราะเธอเองก็ไม่ทราบว่าจะช่วยได้อย่างไร
       
       ต่อมาเธอได้พบอาจารย์สาทิส และเข้ารับการอบรมวิถีชีวิตแนวชีวจิต ทำให้เธอคิดว่าแนวทางนี้แหละที่จะสามารถช่วยคนไข้โรคมะเร็งได้ เธอจึงแนะนำคนไข้ให้ เปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิต ให้ลดสารพิษที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็ง ลดความเครียด ลดอาหารเนื้อสัตว์ ทำจิตใจของคนไข้ให้สงบด้วยการให้นั่งสมาธิ ให้กำลังใจ รวมทั้งให้ออกกำลังกายอย่างเข้มแข็ง เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้คนไข้

      ปรากฏว่า เธอได้เห็น “ความอัศจรรย์” ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ที่มีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ และผลของการสร้างภูมิต้านทาน (ภูมิชีวิต) กับการลดสารพิษ ทำให้คนไข้มีอายุยืนขึ้น จากที่แพทย์เคยบอกว่าจะอยู่ได้เท่านั้นเท่านี้ ก็อยู่นานขึ้นอย่างที่คนไข้เองก็คาดไม่ถึง ส่วนการใช้เคมีบำบัดกับการฉายรังสี ก็มีการปรับให้เข้ากับคนไข้แต่ละคนตามสภาพของคนไข้ที่จะรับได้ โดยใช้ร่วมกับการสร้างภูมิต้านทานโดยหลักของชีวจิตเป็นระยะๆ ทำให้เธอเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน เพราะคนไข้ที่เป็นมะเร็งในระยะขั้น 3 ขั้น 4 ซึ่งปกติจะอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนหรือ 1 ปี ตามที่แพทย์ทำนาย แต่คนไข้อยู่ได้นานเกินห้าปีได้ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อย สิ่งนี้เธอจึงถือว่าเป็น ความสำเร็จของการรักษามะเร็งตามแนวผสมผสาน หรือแบบบูรณาการนี้ ซึ่งเธอเชื่อมั่นว่า จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการแพทย์แผนปัจจุบันไปสู่ทิศทางของ การแพทย์แบบองค์รวม หรือ การแพทย์แบบบูรณาการ และ จะหันมาให้ความสำคัญของการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรคอย่างแน่นอน
       
       สิ่งที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษจากกรณีศึกษาต่างๆ ข้างต้นของคนไข้มะเร็งที่รักษาด้วยแนวทางแบบชีวจิตแล้ว “ดีขึ้น” ในแง่คุณภาพชีวิตทั้งกายใจเป็นจำนวนมากนั้นก็คือ เราจะสามารถอธิบายเหตุผลของการ “ดีขึ้น” นี้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสุขภาพได้อย่างไร?

จากประสบการณ์ของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ที่ได้เจอผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง ไม่ต่ำกว่าสองหมื่นคนในช่วงยี่สิบกว่าปีมานี้ เขามักจะย้ำกับผู้ป่วยเหล่านั้นเสมอว่า ตัวเขาหรือแม้แต่หมอมีความหมายน้อยมากในการบำบัดโรคมะเร็ง ถ้าหากผู้ป่วยจะหายจากโรคมะเร็งได้ นั่นก็เพราะว่าพวกเขาสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเคร่งครัด และเอาจริงเอาจังในการฟื้นฟูระบบภูมิชีวิต (Immune System) ของตัวเอง เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงหายได้ เพราะตัวพวกเขาเอง
       
       อาจารย์สาทิสอยากให้คนไทยทั้งหลายได้เข้าใจจริงๆ ว่า ชีวิตและสุขภาพของคนเราทุกคนขึ้นอยู่กับระบบภูมิชีวิต เขาอยากให้แพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกคนใส่ใจ และเข้าใจบทบาทและความสำคัญของระบบภูมิชีวิตอย่างถ่องแท้ และอย่างละเอียด เพราะเขาเชื่อมั่นว่าถ้าทำเช่นนั้นได้ จะทำให้แพทย์ และพยาบาลสามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้อีกเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นการที่คนเราจะมีสุขภาพที่แข็งแรง และป้องกันตัวเองจากโรคร้ายได้ การมีองค์ความรู้ ความเข้าใจว่า ระบบภูมิชีวิตคืออะไร และจะใช้ระบบภูมิชีวิต รักษาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยได้อย่างไร จึงมีความสำคัญมาก เพราะจะว่าไปแล้ว แก่นกลางของฐานคิดของการแพทย์แบบองค์รวม หรือแบบบูรณาการนั้น อยู่ที่องค์ความรู้อันหลากหลาย และเป็นสหวิทยาการเกี่ยวกับการเสริมสร้างระบบภูมิชีวิต นี้นั่นเอง
       
       ชีวิตของคนเรานั้น อยู่ได้นับแต่เกิดจนตายตามอายุขัยได้ ก็เพราะมีระบบภูมิชีวิตคุ้มครองอยู่โดยไม่เกี่ยงว่า คนคนนั้นจะเป็นคนดีมีคุณธรรมหรือเป็นคนเลวคนชั่วร้ายที่กินบ้านกินเมือง แต่ประการใด การที่คนเรามีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะ ระบบภูมิชีวิตเป็นตัวคุ้มครองป้องกันชีวิตของคนเรา และยังเป็นผู้ทำนุบำรุงเลี้ยงร่างกายให้เติบใหญ่แข็งแรง รวมทั้งยังเป็นตัวสร้างพลังชีวิตให้แก่ร่างกายได้อีกด้วย
       
       คำว่า “ระบบภูมิชีวิต” ที่อาจารย์สาทิสใช้มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Immune System ซึ่งโดยทั่วไปมักจะแปลว่า “ระบบภูมิคุ้มกัน” ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นคำแปลที่แคบไปแล้ว เมื่อคำนึงถึงบทบาทที่แท้จริงของมัน ดังนั้นเขาจึงเลือกใช้คำว่า ระบบภูมิชีวิตแทน
       
       คำจำกัดความง่ายๆ ของ Immune System ตามตำราแพทย์ทั่วไปนั้น จะหมายถึง ระบบหลายระบบซึ่งทำงานร่วมกันอย่างซับซ้อนในร่างกาย เพื่อสร้างระบบการต่อสู้ และปราบปรามให้แก่ร่างกาย รวมทั้งช่วยป้องกันร่างกายให้พ้นอันตรายจากเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอม โดยที่อวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายที่มีส่วนในการสร้าง Immune System นี้ก็คือ
       
       (1) ต่อม Tonsil และ Adenvid ที่อยู่ในช่องปากตรงส่วนต่อกับลำคอ
       
       (2) ต่อม Thymus ตรงกระดูกหน้าอก ต่อมนี้ทำงานตลอดชีวิตแม้ว่าต่อมจะเล็กหรือฝ่อลงเมื่อคนเราโตขึ้น
       
       (3) ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) อันที่จริงต่อมน้ำเหลืองนี้มีระบบของตัวเองเรียกว่า ระบบต่อมน้ำเหลือง (lymphatic system) โดยที่ระบบนี้เป็นระบบย่อย หรือส่วนหนึ่งของระบบภูมิชีวิตอีกทีหนึ่ง
       
       (4) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะสำคัญในการสร้างระบบภูมิชีวิต
       
       (5) แผงต่อมน้ำเหลืองในลำไส้ (Peyer’s patches) อยู่ที่ส่วนปลายของลำไส้เล็ก (ileum)
       
       (6) ไส้ติ่ง (appendix) จริงๆ แล้วไส้ติ่งมีความสำคัญต่อการสร้างภูมิต้านทานให้ระบบย่อย ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย
       
       (7) ไขกระดูก (bone marrow) กระดูกท่อนยาวต่างๆ ของร่างกาย จะมีโพรงไขกระดูกอยู่ตรงกลาง โดยที่ไขกระดูกก็เป็นส่วนสำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของระบบภูมิชีวิต
       
       ปัจจุบันองค์ความรู้เกี่ยวกับ Immune System มีความลุ่มลึกกว่าเมื่อสี่สิบห้าสิบปีก่อนมาก จนมีความเข้าใจแล้วว่า Immune System มิได้ทำหน้าที่แค่ป้องกันและปราบปรามเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมเหมือนอย่างที่เคยเข้าใจเช่นนั้นในอดีต แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบำรุงพละกำลังของตัวเองของร่างกายอีกด้วย จึงเกี่ยวโยงกับความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจด้วยอย่างแยกจากกันไม่ได้
       
       หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ถ้าหากคนเรามีร่างกายแข็งแรง สุขภาพสมบูรณ์ทั้งกายและใจ นั่นก็หมายความว่า ระบบภูมิชีวิตของเขาดีและสมบูรณ์ทุกประการ แต่ถ้าผู้นั้นอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อยหรือเป็นโรคร้าย นั่นก็ย่อมแสดงว่า ระบบภูมิชีวิตของผู้นั้นต่ำ หรือร่างกายเกือบจะไม่มีระบบภูมิชีวิตเหลือในร่างกายเลย ระบบภูมิชีวิตของคนเราจะทำงานทันที เมื่อมีเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตัวที่จะเริ่มทำงานก่อนคือ เลือดขาว (white blood cell) เลือดขาวกลุ่มแรกคือ ตัวเขมือบเซลล์ (phagocyte) โดยมีผู้ช่วยคือ macrophage กับ T เซลล์ และ B เซลล์มาช่วยกันล้อมกรอบเชื้อโรค รวมทั้งสร้าง Antibody ขึ้นมาปราบปราม
       
       หากร่างกายเป็นเหมือนประเทศ เลือดขาวก็จะเป็นเหมือนตำรวจ และทหารซึ่งมีหน้าที่ป้องกันต่อสู้ และปราบปรามศัตรูของประเทศ แต่การที่บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองได้ จะต้องมีการทะนุบำรุงด้านต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วย เพราะตำรวจ ทหารอยู่ไม่ได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องทะนุบำรุงจากด้านอื่นๆ ให้ตัวเองแข็งแรงเสียก่อน จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
       
       ร่างกายของคนเราก็เช่นกัน การทะนุบำรุงร่างกายก็ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ช่วยเหลือกันเป็นทอดๆ ไปอย่างเป็นระบบ อย่างเช่น เลือดจะเกิดจากไขกระดูกเสียเป็นส่วนมาก ไขกระดูกก็ต้องอาศัยตัวกระดูก ส่วนกระดูกจะแข็งแรงหรือไม่แข็งแรง ก็ต้องอาศัย สารอาหาร (nutrients) และแร่ธาตุต่างๆ จากภายนอกร่างกาย เมื่อคนเรารับอาหารจากภายนอกร่างกายแล้ว ระบบต่างๆ ก็ต้องแปรอาหารต่างๆ เหล่านั้นให้เป็นสารอาหาร แล้วตัวเลือดเอง (เลือดแดง) ก็ต้องนำสารอาหารต่างๆ นั้นไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งไปสร้างเนื้อเยื่อและไขกระดูก โดยที่ไขกระดูกก็จะผลิตเลือดให้แก่ตัวเองต่อไป นี่คือ หลักการในการทะนุบำรุง และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งจะวนเวียน และหมุนเวียนกลับไปกลับมาเช่นนี้ตลอดชั่วชีวิตของคนเรา
       
       ตัวเลือดขาวเองจะทำหน้าที่ปราบปรามต่อสู้กับเชื้อโรคโดยตรงไม่ได้เลย ถ้าไม่มีเลือดแดงเป็นตัวนำพากลุ่มเลือดขาวออกไปต่อสู้กับเชื้อโรค แต่เลือดแดงถ้าไม่ได้รับการสูบฉีดจากหัวใจ ก็ไปไหนไม่ได้ นอกจากนี้ เลือดแดงยังต้องการการฟอกซักล้างตัวเอง โดยที่ตัวฟอกซักล้างนี้คือ ออกซิเจน ซึ่งต้องผ่านการทำงานของปอด (การหายใจ) แต่หัวใจเอง ถ้าไม่ได้เลือดมาเลี้ยงหัวใจตัวเอง หัวใจก็อยู่ไม่ได้
       
       จึงเห็นได้ว่า ระบบภูมิชีวิต มิได้หมายถึงการต่อสู้ ป้องกัน และปราบปรามอย่างเดียว แต่กินความไปถึงการทะนำบำรุงด้านอื่นๆ และการต้องอาศัยพึ่งพากันและกันของระบบอื่นๆ ด้วย ในการศึกษาระบบภูมิชีวิต จึงจำต้องมองให้เห็น ภาพรวม หรือเห็น เครือข่ายของระบบภูมิชีวิตทั้งหมด ว่ามีหน้าที่ตรงอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และต้องอาศัยระบบอะไร ในการปฏิบัติหน้าที่ของมัน ซึ่งเราพบว่า ระบบภูมิชีวิตนั้นคือ เครือข่ายของระบบรากฐาน 5 ระบบในร่างกาย ดังต่อไปนี้
       
       (1) ระบบเลือด (circulatory system) ซึ่งหมายถึง เครือข่ายของเส้นเลือดทั้งหมด ทั้งเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ
       
       (2) ระบบหายใจ (respiratory system) ความสำคัญของระบบหายใจ คือ การถ่ายเทออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เข้า และออกจากร่างกาย โดยการที่คนเราหายใจออกซิเจนเข้าทางจมูก และปากผ่านหลอดลมลงไปที่ปอด ออกซิเจนจะฟอกเลือดที่ปอดให้บริสุทธิ์ส่งผ่านไปที่หัวใจ หัวใจจะปั๊มเลือดออกไปตามเส้นเลือด เลือดไปเลี้ยงเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์มาเข้าเลือด เลือดกลับมาที่ปอด ปอดเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปนำออกซิเจนเข้ามาอีก เป็นวงจรอยู่เช่นนี้
       
       (3) ระบบประสาทและสมอง (nervous system) คือระบบที่ควบคุมการทำงานทุกอย่างของร่างกาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ที่แบ่งออกเป็นสมองและไขสันหลังกับระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) ซึ่งมีเส้นประสาทจากไขสันหลัง (spinal nervous) และประสาทอัตโนมัติ
       
       (4) ระบบย่อย (digestive system) ประกอบไปด้วยอวัยวะซึ่งเป็นท่อกล้ามเนื้อ และต่อมต่างๆ ซึ่งขับน้ำย่อย และการหล่อลื่นอวัยวะซึ่งเป็นท่อกล้ามเนื้อนั้นเริ่มจากปาก ลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปสุดที่ทวารหนัก
       
       (5) ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) เป็นระบบที่ทำงานร่วมกับต่อมทอนซิล ไทรอยด์ ไทมัส ม้าม เพเยอร์สแพทช์ ไส้ติ่ง และไขกระดูกที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยมีหน้าที่ร่วมกันต่อต้านปราบปรามศัตรูซึ่งมาจากภายนอกร่างกาย แต่ระบบน้ำเหลืองจะมีส่วนพิสดารกว่าอวัยวะอื่นๆ และต่อมอื่นๆ ของ Immune System ตรงที่ว่า ระบบน้ำเหลืองนี้มีท่อหรือเส้นน้ำเหลืองเป็นเครือข่ายทั่วร่างกาย คล้ายๆ กับเส้นเลือดแดงและเส้นเลือดดำซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายเช่นกัน โดยการหมุนเวียนของน้ำเหลืองซึ่งไหลไปตามเส้นน้ำเหลืองทั่วร่างกายนี้จะกวาดท็อกซิน (Toxin) ไขมัน โปรตีน และสิ่งสกปรกซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายไปตามท่อน้ำเหลือง แล้วก็ผลักดันสิ่งต่างๆ เหล่านั้นลงเส้นเลือดด้านซ้ายและขวาของไหปลาร้า
       
       ขอสรุปรวบยอดอีกครั้งว่า เราควรทำความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของระบบภูมิชีวิต จากมุมมองเชิงระบบ (system theory) ในการป้องกันและรักษาโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ โดยมองระบบภูมิชีวิตอย่างเป็นเครือข่ายแบบองค์รวม มิใช่จำกัดแค่ระบบต่อต้านปราบปรามเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมซึ่งมาจากภายนอกร่างกายเท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมไปถึงระบบรากฐานอื่นๆ ทั้งหมดของร่างกายด้วย แล้วเราก็จะเห็นได้เองว่า ระบบภูมิชีวิต คือ ตัวชีวิตเอง และเป็นตัวรักษา “ชีวิต” ในฐานะที่เป็น “ระบบ” (system) ชนิดหนึ่งให้แข็งแรงสมบูรณ์ตลอดไปตราบจนสิ้นอายุขัยของมัน สิ่งที่น่าคิดต่อไปก็คือว่า เราจะดูแล เสริมสร้างระบบภูมิชีวิตของคนเราอย่างไร ในการป้องกันโรค และทำให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
       





ความลับสินค้าแพ็คใหญ่ ไม่ถูกจริง มีสารพิษ

















































วัตถุดิบราคาถูกทำให้คุณภาพและรสชาติด้อยลงจึงต้องใส่ผงชูรส เพิ่มความกลมกล่อม

































เนยสด เนยผสม เนยขาว มากาน





อ่านส่วนประกอบของเนยให้เข้าใจได้ยังไง:เชฟนุ่น
https://youtu.be/f78YwZ4UGfY


เนยขาว มาการีน เนยสด เลือกอะไรไม่อันตราย


https://th.m.wikipedia.org/wiki/เนยขาว

เรา:ซาละเปา ขนมอบ มีเนยขาว ที่มีไขมันทรานส์